“นี่เธอ บริษัทนี้ดี๊ดี สวัสดิการดีมาก”
ประโยคทำนองนี้เป็นสิ่งที่เราเคยได้ยินกันบ่อยครั้งในหมู่เพื่อนสนิท ก็แน่ล่ะ เพราะสวัสดิการเป็นหนึ่งในปัจจัยอันดับต้นๆ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบริษัททำงาน จนบางครั้ง บางคนถึงขนาดเลือกบริษัทที่ให้เงินเดือนน้อยหน่อย แต่สวัสดิการคุ้ม
ส่วนในมุมมองของบริษัท กองทัพย่อมเดินด้วยท้องฉันใด บริษัทก็ย่อมเดินด้วยพนักงานฉันนั้น บริษัทที่มองการณ์ไกลจึงพยายามรักษา “คนดีๆ เก่งๆ ไว้” ด้วยการจัดหาสวัสดิการมาจูงใจพนักงาน เสมือนเป็นของผูกใจให้อยู่กันไปนานๆ
บทความหนึ่งในเว็บไซต์ Entrepreneur ซึ่งพูดถึงสิ่งที่บริษัทจะได้จากการมอบสวัสดิการด้านสุขภาพแก่พนักงานระบุว่า การให้สวัสดิการด้านสุขภาพดังกล่าวจะช่วยเพิ่ม Retention Rate หรือความสามารถขององค์กรที่จะรักษาพนักงานไว้ โดยบริษัทที่มี Retention Rate สูงหรือมีอัตราการลาออกของพนักงานต่ำก็จะประหยัดงบประมาณในการเทรนด์งานพนักงานใหม่ได้มากกว่า บทความดังกล่าวอ้างผลการศึกษา Harvard Review Study ซึ่งสำรวจพนักงานจำนวน 2,000 คนในสหรัฐอเมริกา โดยให้พนักงานเหล่านั้นเรียงลำดับสวัสดิการทั้งหมด 17 ประเภทสวัสดิการ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกระหว่างงานที่ให้เงินเดือนสูงกับงานที่ให้เงินเดือนต่ำ ผลการศึกษาพบว่า สวัสดิการด้านสุขภาพ เช่น การประกันสุขภาพ ประกันทันตกรรม เป็นสิ่งที่พนักงานส่วนใหญ่เลือกเป็นอันดับแรก โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 88 เปอร์เซ็นต์ยกให้สวัสดิการด้านสุขภาพเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สุดของการเลือกสถานที่ทำงาน
นอกจากนี้ ยังมีผลการศึกษาของสถาบันการวิจัยสวัสดิการพนักงาน (Employee Benefits Research Institute – EBRI) ของสหรัฐฯ ที่่ถูกอ้างถึงในงานศึกษาของเอลเลน โอไบรอัน ซึ่งพบว่า การจัดให้มีสวัสดิการด้านสุขภาพส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของผลประกอบการของบริษัทอีกต่อหนึ่งด้วย
ความเจ็บป่วยไม่เข้าใครออกใคร
ไม่มีใครอยากป่วย เพราะป่วยทีก็เสียสุขภาพจิต เสียเวลาใช้ชีวิต แถมยังเสียตังค์อีกด้วย แต่คนนะไม่ใช่หุ่นยนต์ ดูแลรักษาตัวเองดีอย่างไรก็ต้องมีป่วยเข้าจนได้ สิ่งสำคัญคือจะป่วยอย่างไรไม่ให้ล่มจม ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันสังคมจึงเป็นฮีโร่ที่จะมาช่วยดูแลค่าใช้จ่ายในยามยากเช่นนี้
บางบริษัทคิดว่า ในเมื่อพนักงานมีประกันสังคมซึ่งเป็นสวัสดิการภาคบังคับตามกฎหมายอยู่แล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจัดหาประกันสุขภาพให้พนักงานอีก จริงอยู่ การมีประกันสังคมไว้ดูแลยามเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่ดี แต่ในบางครั้ง การใช้สิทธิรักษาพยาบาลด้วยประกันสังคมก็มีความไม่สะดวกหลายประการ ซึ่งพนักงานตาดำๆ อย่างเรารู้ซึ้งกันดี ไม่ว่าจะเป็นการต้องตื่นแต่เช้าเพื่อไปเข้าคิวที่โรงพยาบาล รอหมอจนอ่านนิยายจบไปหลายบท เล่นไลน์จนนิ้วเคล็ดแล้วก็ยังไม่ได้ตรวจเสียที นอกจากจะทำให้เสียอารมณ์แล้ว ก็ยังพลอยทำให้เสียงานเสียการ อันจะส่งผลเสียต่อบริษัทอีกด้วย
บริษัทที่ใส่ใจความเป็นอยู่ของพนักงานจึงมักจัดทำ ประกันสุขภาพกลุ่ม ให้ ทำให้เวลาเจ็บป่วย พนักงานสามารถเลือกเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใดก็ได้ในเครือข่าย ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่โรงพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมอยู่เท่านั้น และไม่ต้องเสียเวลารอคิวนาน ซึ่งการรอคิวที่ว่านี้ ไม่ได้หมายถึงการรอคิวตรวจทั่วไปที่ทำให้แค่เสียเวลาเท่านั้น แต่ในบางกรณี ยังหมายถึงการรอคิวรับการรักษาสำคัญๆ เช่นการผ่าตัดหรือการรักษาเฉพาะทาง ซึ่งมีผลต่อความเป็นความตายเลยทีเดียว
รู้ไหม ประกันสังคมและประกันสุขภาพกลุ่มใช้ประกอบกันได้
นอกจากนี้ รู้หรือไม่ว่า สิทธิประกันสังคมและประกันสุขภาพที่บริษัทมีให้สามารถใช้ควบคู่กันได้ ซึ่งจะช่วยลดค่ารักษาพยาบาลได้อีกทางหนึ่งด้วย
สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด มีประกันสุขภาพแล้วก็อย่าเพิ่งตายใจ การหมั่นดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ และนอนหลับให้เพียงพอยังเป็นสูตรคลาสสิกที่ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย โบราณเขาว่าไว้ว่า กันไว้ย่อมดีกว่าแก้ เพราะอาการป่วยทุกโรคใช้ว่าหมอจะซ่อมได้เสมอไป
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หากมีข้อสงสัยหรืออยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสุขภาพกลุ่มซันเดย์
สามารถเยี่ยมชมเว็บไซด์ได้ที่ >> ประกันสุขภาพกลุ่มซันเดย์
หรือติดต่อซันเดย์ได้ที่ ebservice@easysunday.com
ทำไมประกันสุขภาพกลุ่มจากซันเดย์จึงแตกต่าง
- Paperless – ลดความยุ่งยากในการจัดการเอกสาร เพราะเอกสารและข้อมูลทุกอย่างถูกบันทึกและจัดเก็บอย่างเป็นระบบอยู่บนแพลตฟอร์มดิจิทัล
- Analytics – มี Claim Dashboard ช่วยให้คุณมองเห็นและสามารถวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพโดยรวมของพนักงาน ทำให้วางนโยบายดูแลพนักงานได้ดีขึ้น
- Flexibility – มีแผนความคุ้มครองให้พนักงานเลือกมากขึ้น โดยควบคุมงบประมาณให้เท่าเดิม พนักงานสามารถเลือกแผนความคุ้มครองที่เหมาะกับตนเอง ไม่ว่าจะเน้นไปที่ OPD หรือ IPD ภายใต้งบประมาณที่บริษัทจัดสรรให้
อ้างอิงข้อมูลจาก:
- Kiran Kalakuntala, 5 Ways Employee Healthcare Benefits Can Do Wonders for an Organization
- Ellen O’Brien, Employers’ Benefits from Workers’ Health Insurance