หน้าหลัก สาระสุขภาพ ปวดหัว เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก อาจเป็นสัญญาณของโรคความดัน

ปวดหัว เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก อาจเป็นสัญญาณของโรคความดัน

โรคความดัน

เคยไหม? เวลาลุกขึ้นยืนเร็ว ๆ แล้วรู้สึกเวียนหัว มึนหัวเหมือนจะล้ม หรือบางครั้งรู้สึกปวดหัวโดยไม่มีสาเหตุ หายใจก็ลำบาก? อาการเหล่านี้อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคความดันก็ได้นะ ซันเดย์จะพาทุกคนไปสังเกตอาการ รวมถึงทำความรู้จักกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคความดันโลหิตต่ำกัน เผื่อใครที่กำลังกังวลว่ามีความเสี่ยงต่อโรคนี้จะได้รีบเข้าไปรับการตรวจร่างกายกับแพทย์โดยตรง

โรคไม่ติดต่อแต่อันตรายถึงชีวิต

เมื่ออายุมากขึ้น หลาย ๆ คนน่าจะมีความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มขึ้นตามมาด้วย นอกจากโรคร้ายแรงที่น่าเป็นกังวลแล้ว ก็ยังมีโรคไม่ติดต่อหรือ NCDs ที่สามารถส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจนทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ โรคเหล่านี้ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวานและโรคความดัน ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องโรคความดันกันเป็นหลัก เพราะมักจะเป็นโรคที่หลาย ๆ คนไม่ทันได้ระวังตัว กว่าจะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว!

บทความน่าอ่าน > อัปเดต 2567 เบี้ยประกันมะเร็ง ทำประกันมะเร็งแบบไหนดี?

โรคความดันคืออะไร?

โรคความดันเป็นโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติของความดันโลหิตที่ไม่ปกติ โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  • โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
  • โรคความดันโลหิตต่ำ (Hypotension)

ซึ่งทั้งสองประเภทนี้สามารถส่งผลก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนและโรคเรื้อรังอื่น ๆ ตามมาได้

โรคความดันโลหิตสูงคืออะไร?

ซันเดย์ต้องอธิบายก่อนว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่เกิดจากการที่ความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพอมีความดันมากขึ้น หัวใจก็จะทำงานหนักขึ้นเพื่อส่งเลือดออกไปให้ทั่วร่างกาย พอมีอาการของโรคนี้ไปนาน ๆ ก็จะส่งผลร้ายกับหัวใจและหลอดเลือดได้ โดยโรคความดันโลหิตสูงจะมี 2 ประเภทคือ

  • ความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (Primary or Essential Hypertension) เป็นภาวะที่ไม่มีเหตุผลชัดเจน น่าจะมาจากทั้งพันธุกรรม การรับประทานอาหารที่มีเกลือเยอะ ความเครียดและการไม่ค่อยออกกำลังกาย
  • ความดันโลหิตสูงทุติยภูมิ (Secondary Hypertension) จะเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอื่น ๆ เช่น โรคไต หรือมีการใช้ยาบางชนิดที่ส่งผลโดยตรงกับความดันโลหิต

อาการของโรคความดันโลหิตสูง

ต้องบอกว่าอาการของโรคความดันโลหิตสูงมีหลากหลายแบบมาก ๆ และไม่ค่อยมีอาการที่รุนแรง ทำให้หลาย ๆ คนมองข้ามสัญญาณเตือนเหล่านี้ไป ไม่ว่าจะเป็น 

  • ปวดศีรษะบริเวณท้ายทอยบ่อย ๆ 
  • วิงเวียนศีรษะและมีอาการมึนงง
  • เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก
  • เจ็บหน้าอก

ซันเดย์แนะนำว่าถ้าหากมีอาการเหล่านี้ หรือรู้สึกว่ามีอาการที่ไม่ปกติ ควรรีบเข้าไปรับการตรวจสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังความเสี่ยงของโรคที่อาจจะเป็นได้

โรคความดันโลหิตต่ำคืออะไร? 

โรคความดันโลหิตต่ำจะตรงข้ามกับความดันโลหิตสูง คือความดันในหลอดเลือดต่ำกว่าปกติ ทำให้เสี่ยงที่เลือดจะไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญได้ไม่เพียงพอ โดยความดันโลหิตต่ำจะวัดออกมาแล้วได้ค่าความดันที่ต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท (mmHg)

อาการของโรคความดันโลหิตต่ำ

หนึ่งในสัญญาณที่บ่งบอกได้ว่าคุณอาจจะเป็นโรคความดันโลหิตต่ำ หรือมีความเสี่ยงคือการรู้สึกวิงเวียนศีรษะหรือหน้ามืดบ่อย ๆ เมื่อลุกขึ้นยืนแบบเร็ว ๆ หรืออาจจะเกิดขึ้นระหว่างที่ใช้แรงยกของ หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงที่สมองและอวัยวะอื่น ๆ ไม่เพียงพอต่อความต้องการนั่นเอง โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทเช่นกัน ได้แก่

  • ความดันโลหิตต่ำชั่วคราว (Acute Hypotension) จะเป็นภาวะที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ เช่น ในการช็อกฉับพลันหรือเมื่อลุกขึ้นยืนเร็ว ๆ อาจเกิดจากการขาดน้ำ ความเครียดและอากาศที่ร้อนจัด
  • ความดันโลหิตต่ำเรื้อรัง (Chronic Hypotension) จะเป็นภาวะที่ความดันโลหิตต่ำตลอดเวลา มักพบในผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไตและโรคระบบประสาท

ความดันปกติคือเท่าไหร่?

ความดันโลหิตปกติสำหรับผู้ใหญ่ อายุ 18 ปีขึ้นไป จะอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท แต่ต้องบอกว่าค่านี้จะแตกต่างกันออกไปตามอายุและเพศด้วยนะ เช่น

  • ผู้หญิงมักมีความดันโลหิตต่ำกว่าผู้ชายเล็กน้อย
  • ความดันโลหิตมีแนวโน้มสูงขึ้นตามอายุ
  • โรคบางชนิด เช่น โรคหัวใจ โรคไตและโรคเบาหวาน อาจส่งผลต่อความดันโลหิตได้ในระยะยาว

นอกจากนี้ก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ด้วยเช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การทานอาหารที่มีไขมันสูง การไม่ออกกำลังกายและความเครียด

ตารางแสดงระดับความดันโลหิต

ระดับความดันโลหิตความดันซีสโตลิก (mmHg)ความดันไดแอสโตลิก (mmHg)
ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension)น้อยกว่า 90น้อยกว่า 60
ความดันโลหิตปกติ (Normal)90-12060-80
ความดันโลหิตสูงเล็กน้อย (Elevated)120-129น้อยกว่า 80
ความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 (Hypertension Stage 1)130-13980-89
ความดันโลหิตสูงระยะที่ 2 (Hypertension Stage 2)140 ขึ้นไป90 ขึ้นไป
ความดันโลหิตสูงขั้นรุนแรง (Hypertensive Crisis)มากกว่า 180มากกว่า 120

วิธีป้องกันตัวเองจากโรคความดัน

หากคุณมีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิต หรือมีอาการของโรคแล้ว การรักษาส่วนมากจะทำด้วยการรับประทานยาที่ช่วยควบคุมความดันให้อยู่ในอัตราปกติ นอกจากนี้ก็ยังมีอาหารที่ควรรับประทานและหลีกเลี่ยงด้วย ได้แก่

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดัน

  • ควรรับประทานผักสีเขียวเข้ม รวมถึงผลไม้ที่มีเส้นใยสูง เช่น ผักบุ้ง ผักกาดขาว แอปเปิล กล้วยและส้ม
  • ควรรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีโปรตีนสูงและมีไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลาและไก่
  • เลือกกินไขมันดีให้มากขึ้น เช่น ไขมันจากปลาทะเลน้ำลึก
  • ควรลดการกินอาหารที่มีเกลือสูง หรือมีการปรุงรสจัด
  • ลดการกินอาหารที่มีน้ำตาลเยอะ รวมถึงอาหารประเภทแป้ง 
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ความดันสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดได้ ด้วยการดูแลสุขภาพ ระวังเรื่องอาหารการกิน ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ นอกจากนี้ก็ยังควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อลความเสี่ยงการเกิดโรค และควรจัดการความเครียดอย่างถูกวิธี เพราะความเครียดเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตได้เช่นกัน รวมถึงการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อเฝ้าระวังความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ได้ตามช่วงอายุที่เหมาะสม

หากคุณกำลังมองหาประกันสุขภาพ ที่ครอบคลุม ราคาเมคเซนส์ ลองคลิกที่ ซันเดย์

ซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่าย

Loading

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

ไขมันพอกตับ โรคร้ายที่ทุกคนต้องระวัง ถึงไม่อ้วนก็เป็นได้!

ไขมันพอกตับ ไม่อ้วนก็เป็นได้ โรคร้ายที่หลายคนมองข้าม หลายคนเข้าใจผิดว่าโรคไขมันพอกตับเป็นโรคของคนอ้วนเท่านั้น…
โรคไขมันพอกตับ

5 วิธีแก้เครียดทำได้ทุกคน เลิกแบกความเครียดได้ชัวร์!

การแก้ปัญหาความเครียดแบบมือโปร ที่ใคร ๆ ก็ทำได้ ร้อยวันพันเหตุการณ์มีอยู่จริง เชื่อว่าหลาย ๆ…
วิธีแก้เครียด
0
Share