hero-image

รถไฟฟ้า VS รถน้ำมัน เลือกแบบไหนให้เหมาะกับเรา?

นับตั้งแต่มีการเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าหลากหลายรุ่น ที่มาพร้อมกับค่าตัวไม่เกิน 1 ล้านบาท เชื่อว่าคนที่กำลังเล็งซื้อรถยนต์คันใหม่ในเร็วๆ นี้คงจะมีการเปรียบเทียบระหว่างรถไฟฟ้าและรถน้ำมันอยู่แน่นอน

สำหรับใครที่ยังตัดสินใจไม่ได้ ไม่แน่ใจว่าจะมีวิธีเลือกซื้อรถยนต์อย่างไรให้ตอบโจทย์การใช้งานและสภาพคล่องทางการเงินมากที่สุด มาดู 5 ข้อเปรียบเทียบระหว่างรถไฟฟ้าและรถน้ำมันที่คนอยากซื้อรถคันใหม่ต้องรู้กัน

รถไฟฟ้า VS รถน้ำมัน เลือกแบบไหนดี

1. งบประมาณสำหรับการซื้อรถยนต์

รถยนต์ที่ดี คือ รถยนต์ที่ไม่สร้างปัญหาทางการเงินในภายหลัง ดังนั้น การกำหนดงบประมาณการซื้อรถยนต์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่จำเป็นต้องขอสินเชื่อหรือจัดไฟแนนซ์มาเพื่อซื้อรถยนต์คันใหม่โดยเฉพาะ

หากเปรียบเทียบในแง่มุมของค่าตัวรถยนต์แล้ว ราคารถไฟฟ้านั้นจะอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับรถน้ำมันที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกัน หรือ มีการใช้งานในระดับเดียวกัน เช่น รถยนต์ไฟฟ้า Neta V มีราคาค่าตัวอยู่ที่ 549,000 บาท* ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มรถยนต์ B-Segment แบบเดียวกับ Toyota Yaris ที่มีราคาค่าตัวเริ่มต้นอยู่ที่ 559,000 บาท* แต่หากนับจำนวนรุ่นรถยนต์ในเซกเมนต์เดียวกันกลับยังมีน้อยอยู่กว่ามาก

ดังนั้น หากใครกำลังเล็งซื้อรถยนต์คันใหม่อยู่ ขอแนะนำให้ลองตั้งงบประมาณที่สอดคล้องกับสภาพคล่องทางการเงินก่อน จากนั้นจึงค่อยๆ ลิสต์รถยนต์ที่อยู่ในวงเงินที่รับไหว สุดท้ายจึงทำการเปรียบเทียบปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลกับราคารถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นรุ่นรถยนต์ สมรรถนะรถยนต์ ของแถม การจัดยอดและโปรโมชัน ไปจนถึงสิทธิพิเศษอื่นๆ ที่จะได้รับจากการซื้อรถยนต์


2. ลักษณะการใช้งาน

นอกจากงบประมาณสำหรับรถยนต์แล้ว การตัดสินใจซื้อรถยนต์สักคันยังต้องพิจารณาถึงลักษณะการใช้งานรถยนต์ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งแน่นอนว่ารถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์น้ำมันก็ตอบโจทย์ลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันด้วยเช่นกัน

สำหรับใครที่ต้องเดินทางไกล ออกต่างจังหวัดบ่อย อาศัยอยู่ห่างไกลจากถนนสายหลัก หรือ กำลังมองหารถยนต์สำหรับครอบครัวที่มีสมาชิก 4 คนขึ้นไป การซื้อรถยนต์ไฟฟ้าอาจเป็นทางเลือกที่ไม่ตอบโจทย์มากนัก 

ทั้งนี้เป็นเพราะรถยนต์ไฟฟ้ายังคงมีข้อจำกัดในด้านระยะทางการขับขี่เมื่อเทียบกับรถยนต์น้ำมัน อีกทั้งราคาค่าตัวที่ค่อนข้างสูง หากต้องการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าที่มีขนาด 4 ที่นั่งขึ้นไป ที่สำคัญ ในปัจจุบันนี้ยังมีสถานีชาร์จที่น้อยและใช้เวลาในการชาร์จไฟที่ค่อนข้างนาน ทำให้ผู้ขับขี่ต้องวางแผนการเดินทางอย่างรอบคอบ

อย่างไรก็ดี สำหรับใครที่ขับขี่บนเส้นทางเดิมเป็นประจำ มองหารถยนต์ครอบครัวขนาดเล็ก เน้นการขับขี่ในเมืองเป็นหลัก หรือ มีการใช้งานรถยนต์ที่ไม่เกิน 300 กิโลเมตรต่อวัน การซื้อรถยนต์ไฟฟ้าก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์ได้อย่างตรงจุด ทั้งยังช่วยประหยัดค่าน้ำมันและค่าเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ลงไปได้อีกด้วย


3. การบำรุงรักษารถยนต์

เนื่องจากยังเป็นระบบที่ค่อนข้างใหม่สำหรับวงการยนตรกรรม จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่ารถยนต์ไฟฟ้านั้นจำเป็นต้องใช้การบำรุงรักษาเฉพาะทาง ทำให้มีค่าบำรุงรักษารถยนต์ที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรถยนต์น้ำมัน 

ไม่ว่าจะเป็นค่าแรงสำหรับช่างผู้เชี่ยวชาญ อะไหล่ชิ้นพิเศษอย่างแบตเตอรี่และยางสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ ไปจนถึงการดูแลรักษาระบบการควบคุมและขับเคลื่อนที่มีความแตกต่างจากรถยนต์น้ำมันในหลายๆ ด้าน

อย่างไรก็ดี แม้จะมีราคาบำรุงรักษาที่น้อยกว่าในปัจจุบัน แต่ในระยะยาวแล้ว รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเองก็มีค่าบำรุงรักษาหลายรายการเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเครื่อง คลัตช์ ระบบหล่อเย็น ไปจนถึงชิ้นส่วนอื่นๆ ภายในห้องเครื่อง รวมถึงไประบบขับเคลื่อนและช่วงล่างที่เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลาเช่นกัน

ดังนั้น วิธีเลือกซื้อรถยนต์ให้ตอบโจทย์กับตัวเอง นอกจากจะดูงบประมาณในการซื้อรถยนต์ รวมถึงลักษณะการใช้งานแล้ว อย่าลืมศึกษาถึงปัญหาของรถยนต์แต่ละค่ายในรุ่นที่สนใจ ไปจนถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมเอาไว้สำหรับการเช็กระยะ อะไหล่ในกรณีชำรุดหรือเกิดอุบัติเหตุ ไปจนถึงค่าเซอร์วิส หรือ ค่าแรงของช่าง ทั้งนี้เพื่อเป็นการวางแผนการเงินในระยะยาวร่วมด้วย

วิธีเลือกซื้อรถยนต์ให้ตอบโจทย์

4. ค่าพลังงานในการขับเคลื่อน

เมื่อดูราคาน้ำมันย้อนหลัง จะเห็นได้ว่าในแต่ละปีที่ผ่านไปนั้นมาพร้อมกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้ค่าน้ำมันสำหรับรถยนต์เป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน ซึ่งรถยนต์แต่ละรุ่นเองก็มีอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานที่แตกต่างกันด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ดี หากเปรียบเทียบรถไฟฟ้ากับรถน้ำมันแล้ว แม้จะมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าในปัจจุบัน แต่ค่าไฟชาร์จรถ EV ก็จะมีแนวโน้มจะปรับตัวขึ้นตามความผันผวนของค่าไฟฟ้าในแต่ละช่วงเวลา รวมไปถึงค่าบริการของแต่ละสถานี ซึ่งหากยิ่งรถยนต์ไฟฟ้ามีความจุแบตเตอรี่สูงเท่าไหร่ ก็ยิ่งใช้จำนวนไฟฟ้าและเวลาในการชาร์จสูงขึ้นด้วยเช่นกัน 

ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่สนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้ายังควรติดตามข่าวสารค่าไฟฟ้าอย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นการวางแผนค่าไฟชาร์จรถ EV พร้อมคำนวณระยะทางใช้งานรถยนต์เพื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายในการใช้งานรถยนต์ ในขณะที่ผู้สนใจซื้อรถยนต์น้ำมันยังควรติดตามราคาน้ำมันในปัจจุบัน พร้อมเทียบกับราคาน้ำมันย้อนหลังด้วย


5. ประกันรถยนต์

เมื่อทราบถึงข้อดีและข้อเสียของรถยนต์ไฟฟ้าเทียบกับรถยนต์น้ำมันในหลายๆ ด้านแล้ว ทีนี้ลองมาพิจารณาถึงรายจ่ายก้อนใหญ่ประจำปีอย่าง ‘ประกันรถยนต์’ กัน

ในปัจจุบันนี้ รถยนต์น้ำมันยังได้เปรียบอยู่ในเรื่องของจำนวนชั้นประกันที่สามารถเลือกพิจารณาได้ตามความเหมาะสมและความต้องการของเจ้าของรถยนต์ ตั้งแต่ประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่คุ้มครองอย่างครอบคลุมไปจนถึงประกันชั้น 3 

ในทางตรงกันข้าม ประกันรถยนต์ไฟฟ้า ณ ขณะนี้ยังคงให้ความคุ้มครองเทียบเท่ากับประกันรถยนต์ชั้น 1 อยู่ แต่จะมีความคุ้มครองเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาเพื่อรับช่วยบริหารความเสี่ยงได้อย่างตรงจุด ไม่ว่าจะเป็นความคุ้มครองแบตเตอรี่ในรถยนต์ไฟฟ้า BEV ไปจนถึงความคุ้มครองเรื่องการชาร์จไฟฟ้า* 

*เงื่อนไขความคุ้มครองจะแตกต่างกันตามนโยบายของบริษัทประกันภัยแต่ละแห่ง


สำหรับใครที่ยังไม่ชัวร์เรื่องค่าใช้จ่ายอย่างประกันรถยนต์ ลองมาเช็กเบี้ยประกันรถยนต์กับ Sunday เพื่อเป็นการเตรียมตัววางแผนค่าใช้จ่ายด้านประกันก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์จริงได้แล้ววันนี้ คำนวณได้ทั้งเบี้ยประกันสำหรับรถยนต์ทั่วไปและเบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้า กรอกแค่ ‘วันเดือนปีเกิด’ และ ‘รหัสไปรษณีย์ที่อยู่ปัจจุบัน’ ไม่ต้องกรอกข้อมูลติดต่อให้ลำบากใจ