หน้าหลัก สาระรถยนต์ไฟฟ้า ระบุชื่อผู้ขับขี่มากกว่า 1 คน คิดเบี้ยประกันรถไฟฟ้ายังไง?

ระบุชื่อผู้ขับขี่มากกว่า 1 คน คิดเบี้ยประกันรถไฟฟ้ายังไง?

คิดเบี้ยประกันรถไฟฟ้ายังไง เมื่อต้องระบุชื่อผู้ขับขี่มากกว่า 1 คน เฉลี่ยความเสี่ยงผู้ขับขี่เพื่อลดเบี้ยได้หรือไม่?

จากเงื่อนไขประกันรถไฟฟ้าที่สำนักงานคปภ. ประกาศบังคับใช้ในปีพ.ศ. 2567 ที่กำหนดให้ต้องระบุชื่อผู้ขับขี่ในกรมธรรม์ประกันรถยนต์ไฟฟ้าอย่างน้อย 1 คน สูงสุดไม่เกิน 5 คน ประกอบกับเงื่อนไขระดับพฤติกรรมการขับขี่ที่นำมาพิจารณาเพื่อคำนวณเบี้ยประกันรถไฟฟ้า อาจทำให้ใครหลายคนสงสัยว่า หากกรมธรรม์มีชื่อผู้ขับขี่มากกว่า 1 คน บริษัทประกันจะมีหลักในการคำนวณเบี้ยประกันรถไฟฟ้าอย่างไร

How is electric car insurance priced

ผู้ขับขี่ 1 คน คิดเบี้ยประกันรถไฟฟ้าอย่างไร?

หนึ่งในเงื่อนไขประกันรถไฟฟ้าที่สำนักงานคปภ. ประกาศบังคับใช้ คือ เงื่อนไขการนำ “ระดับพฤติกรรมการขับขี่” มาพิจารณาในการรับประกันภัย แทนการใช้ระดับอายุของผู้ขับขี่เหมือนสมัยก่อน ซึ่งเงื่อนไขนี้สามารถช่วยให้บริษัทประกันภัยทุกแห่งสามารถคำนวณเบี้ยประกันรถไฟฟ้าที่เหมาะสมกับประวัติการเคลม ประวัติการขับขี่ รวมถึงอัตราความเสี่ยงของผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างแท้จริง

หากในกรมธรรม์ประกันรถไฟฟ้ามีการระบุชื่อผู้ขับขี่ 1 คน โดยเบื้องต้นจะมีการพิจารณาระดับพฤติกรรมการขับขี่ ดังนี้

ระดับพฤติกรรมการขับขี่อัตราความเสี่ยงระดับนี้ หมายความว่าอย่างไร?ต้องจ่ายเบี้ยประกันรถไฟฟ้าเท่าไหร่
ระดับที่ 1100%ทำประกันรถไฟฟ้าเป็นครั้งแรก หรือ เคยเกิดอุบัติเหตุที่เป็นฝ่ายผิดมาอย่างน้อย 1 ครั้งอาจต้องจ่ายเบี้ยประกันรถไฟฟ้าเท่ากับการทำประกันกรมธรรม์ใหม่ หรือ ตามที่บริษัทกำหนด
ระดับที่ 290%ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุที่เป็นฝ่ายผิดใน 1 ปีที่ผ่านมาต่ออายุกับบริษัทเดิม อาจได้รับส่วนลด 10%
ระดับที่ 380%ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุที่เป็นฝ่ายผิดใน 2 ปีที่ผ่านมาต่ออายุกับบริษัทเดิมอาจได้รับส่วนลด 20%
ระดับที่ 470%ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุที่เป็นฝ่ายผิดใน 3 ปีที่ผ่านมาต่ออายุกับบริษัทเดิมอาจได้รับส่วนลด 30%
ระดับที่ 560%ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุที่เป็นฝ่ายผิดใน 4 ปีที่ผ่านมาต่ออายุกับบริษัทเดิมอาจได้รับส่วนลด 40%

ตารางนี้หมายความว่าอย่างไร?

สำหรับประกันรถไฟฟ้าที่มีการระบุชื่อผู้ขับขี่ 1 คน ในปีที่ 1 ที่ทำประกันรถไฟฟ้าเป็นครั้งแรก ผู้เอาประกันจะอยู่ในระดับพฤติกรรมการขับขี่ที่ระดับ 1 ที่มีอัตราเสี่ยง 100% เท่ากันทุกคน 

โดยระดับที่ 1 จะเป็นระดับที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด ทำให้ต้องจ่ายเบี้ยเทียบเท่ากับซื้อประกันรถไฟฟ้าใหม่ในราคาที่ขายช่วงนั้น หรือ ตามที่บริษัทกำหนด

หากในรอบ 12 เดือนกรมธรรม์ที่ผ่านมา ไม่มีอุบัติเหตุที่เป็นฝ่ายผิดเลย ระดับพฤติกรรมการขับขี่ก็จะเพิ่มไปอยู่ที่ “ระดับที่ 2” อัตราความเสี่ยงลดลงมาอยู่ที่ 90% และอาจได้รับส่วนลดเบี้ยประกันรถไฟฟ้า 10% 

หากในปีต่อๆ ไปไม่มีอุบัติเหตุที่เป็นฝ่ายผิดเกิดขึ้นเลย ระดับพฤติกรรมการขับขี่ก็จะเพิ่มปีละ 1 ระดับ อัตราความเสี่ยงก็จะลดลงปีละ 10% และอาจได้รับส่วนลดเบี้ยประกันรถไฟฟ้าสะสมเรื่อยๆ สูงสุด 40%

แต่หากวันใดเกิดอุบัติเหตุที่เป็นฝ่ายผิดขึ้นมา แม้แต่ 1 ครั้ง ระดับพฤติกรรมการขับขี่ก็จะรีเซตกลับไปที่ระดับที่ 1 ใหม่ทุกกรณี ไม่ว่าตอนนี้จะอยู่ระดับไหนก็ตาม ทำให้มีความเสี่ยงที่จะต้องจ่ายเบี้ยประกันรถไฟฟ้าในราคาเท่ากับซื้อกรมธรรม์ใหม่ ณ ช่วงเวลานั้น หรือ ตามที่บริษัทประกันกำหนด ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะต้องจ่ายเบี้ยแพงขึ้นนั่นเอง

ณ ขณะนี้ ทุกบริษัทก็มีเงื่อนไขการพิจารณาเบี้ยประกันรถไฟฟ้าตามระดับพฤติกรรมการขับขี่เหมือนกัน ดังนั้น ไม่ว่าจะต่อประกันรถยนต์ไฟฟ้ากับบริษัทเดิม หรือ ย้ายค่ายไปบริษัทประกันแห่งใหม่ ก็มีความเสี่ยงต้องจ่ายเบี้ยแพงขึ้นได้ หากยังขับขี่ประมาทและเกิดอุบัติเหตุที่เป็นฝ่ายผิดขึ้น

ผู้ขับขี่มากกว่า 1 คน คิดเบี้ยประกันรถไฟฟ้าอย่างไร?

จากเงื่อนไขประกันรถไฟฟ้าที่สำนักงานคปภ. กำหนดให้ต้องระบุชื่อผู้ขับขี่อย่างน้อย 1 คน แต่สูงสุดไม่เกิน 5 คน เชื่อว่าหลายๆ คนก็คงสงสัยเหมือนกันว่า ถ้ามีชื่อผู้ขับขี่มากกว่า 1 คน ประกอบมีระดับพฤติกรรมการขับขี่ด้วย แบบนี้จะสามารถนำผู้ขับขี่คนอื่นๆ มาถัวเฉลี่ยความเสี่ยงเพื่อคำนวณเบี้ยประกันที่ถูกลงได้หรือไม่

ลองมาพิจารณาเงื่อนไขการคำนวณความเสี่ยงตามระดับพฤติกรรมการขับขี่ตาม 3 กรณี ดังนี้

1. กรณีต่ออายุประกัน โดยระบุชื่อผู้ขับขี่ทุกคนเหมือนเดิม

หากผู้ขับขี่ที่มีชื่อในกรมธรรม์ทุกคน ไม่มีอุบัติเหตุที่เป็นฝ่ายผิดเกิดขึ้นเลย เมื่อถึงรอบต่ออายุประกันรถไฟฟ้า ระดับพฤติกรรมการขับขี่ของกรมธรรม์นี้จะเพิ่มขึ้น 1 ระดับ อัตราความเสี่ยงลดลง 10% และอาจได้รับส่วนลดเพิ่มขึ้น 10%

แต่หากผู้ขับขี่ที่มีชื่อในกรมธรรม์ แม้เพียง 1 คน เกิดอุบัติเหตุเพียง 1 ครั้ง เท่ากับว่า เมื่อถึงรอบต่ออายุประกันรถไฟฟ้า อัตราความเสี่ยงของกรมธรรม์นี้จะรีเซตกลับไปที่ 100% หรือ กลับไประดับพฤติกรรมการขับขี่ที่ระดับที่ 1 ใหม่อีกครั้ง

ตัวอย่างเช่น 

หากมีผู้ขับขี่ที่ระบุชื่อในกรมธรรม์รถไฟฟ้า 3 คน แล้วผู้ขับขี่คนที่ 3 เกิดอุบัติเหตุ 1 ครั้ง เท่ากับว่า กรมธรรม์นี้จะมีระดับความเสี่ยงอยู่ที่ “ระดับที่ 1” หรือ คิดเป็นอัตราความเสี่ยง 100% 

แต่หากทุกคนขับขี่ดี ไม่มีอุบัติเหตุที่เป็นฝ่ายผิดเกิดขึ้น กรมธรรม์นี้ก็จะเพิ่มระดับพฤติกรรมไปที่ระดับที่ 2 คิดเป็นอัตราความเสี่ยง 90% ทำให้อาจได้ส่วนลดเบี้ยประกันรถไฟฟ้า 10% 

2. กรณีต่ออายุประกัน โดยนำชื่อผู้ขับขี่ที่เกิดอุบัติเหตุที่เป็นฝ่ายผิดออก

หากนำชื่อผู้ที่เกิดอุบัติเหตุที่เป็นฝ่ายผิดออก กรมธรรม์นี้จะคิดอัตราความเสี่ยงจากระดับพฤติกรรมของชื่อผู้ที่ยังอยู่ในกรมธรรม์

ตัวอย่างเช่น

หากมีผู้ขับขี่ที่ระบุชื่อในกรมธรรม์รถไฟฟ้า 3 คน และ ผู้ขับขี่คนที่ 3 เกิดอุบัติเหตุที่เป็นฝ่ายผิด 1 ครั้ง ส่วนอีก 2 คนที่เหลือไม่มีประวัติเกิดอุบัติเหตุที่เป็นฝ่ายผิด 

หากตัดสินใจนำชื่อผู้ขับขี่คนที่ 3 ออก กรมธรรม์นี้จะมีอัตราความเสี่ยงที่ 90% มีระดับพฤติกรรมอยู่ที่ระดับที่ 2 ทำให้อาจได้รับส่วนลด 10%

3. กรณีต่ออายุประกัน โดยนำชื่อผู้ขับขี่คนใหม่เข้ามาแทน

หากนำชื่อผู้ขับขี่คนใหม่มาแทนที่ชื่อผู้ที่เกิดอุบัติเหตุที่เป็นฝ่ายผิด ในรอบปีนั้นจะยังคงพิจารณาระดับความเสี่ยงตามชื่อผู้ขับขี่ที่มีอยู่เดิม จากนั้นจึงพิจารณาระดับความเสี่ยงใหม่ตามประวัติการเกิดอุบัติเหตุที่เป็นฝ่ายผิดในปีกรมธรรม์นั้น

ตัวอย่างเช่น

หากมีผู้ขับขี่ที่ระบุชื่อในกรมธรรม์รถไฟฟ้า 3 คน และ ผู้ขับขี่คนที่ 3 เกิดอุบัติเหตุที่เป็นฝ่ายผิด 1 ครั้ง ส่วนอีก 2 คนที่เหลือไม่มีประวัติเกิดอุบัติเหตุที่เป็นฝ่ายผิด 

หากตัดสินใจนำชื่อผู้ขับขี่คนที่ 3 ออก และ นำชื่อผู้ขับขี่คนใหม่เข้ามาแทนที่ กรมธรรม์นี้จะมีอัตราความเสี่ยงที่ 90% มีระดับพฤติกรรมอยู่ที่ระดับที่ 2 ทำให้อาจได้รับส่วนลด 10% เหมือนเดิม 

แต่ถ้าผู้ขับขี่คนใหม่เกิดอุบัติเหตุที่เป็นฝ่ายผิด 1 ครั้ง ระดับพฤติกรรมของกรมธรรม์นี้จะรีเซตกลับไปที่ระดับที่ 1 อัตราความเสี่ยง 100% แต่หากผู้ขับขี่ทุกคน รวมถึงผู้ขับขี่คนใหม่ไม่เกิดอุบัติเหตุที่เป็นฝ่ายผิดเลย ระดับพฤติกรรมการขับขี่ก็จะเพิ่มขึ้นไปที่ระดับที่ 2 อัตราความเสี่ยงลดลงมาที่ 90%

คิดเบี้ยประกันรถไฟฟ้ายังไง ถ้าระบุชื่อผู้ขับขี่มากกว่า 1 คน

ถ้ายกเลิกกรมธรรม์ แล้วค่อยต่อประกันรถไฟฟ้าใหม่ แบบนี้จะรีเซตความเสี่ยงได้หรือไม่?

หากตัดสินใจยกเลิกกรมธรรม์ประกันรถไฟฟ้า หรือ มีเหตุทำให้ไม่สามารถทำประกันรถไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง ระดับพฤติกรรมการขับขี่จะรีเซตกลับไปที่ “ระดับที่ 1” ทุกกรณี ทำให้ต้องจ่ายเบี้ยเท่ากับทำประกันรถไฟฟ้ากรมธรรม์ใหม่ หรือ ตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนดในช่วงเวลานั้น

ด้วยเหตุนี้ การต่ออายุประกันรถยนต์ไฟฟ้าตามเวลาที่กำหนด ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกดีๆ ที่จะช่วยให้ผู้เอาประกันได้รับความคุ้มครองที่ต่อเนื่องในเบี้ยประกันรถไฟฟ้าที่เหมาะสม

จะเห็นได้ว่า การขับขี่อย่างปลอดภัยถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อเบี้ยประกันรถไฟฟ้า เนื่องจากหากประวัติการขับขี่ดี ระดับพฤติกรรมการขับขี่สูง อัตราความเสี่ยงต่ำ ไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนเท่านั้น แต่ยังอาจเพิ่มโอกาสทำให้ได้เบี้ยประกันรถไฟฟ้าที่คุ้มค่ามากขึ้นได้อีกด้วย


ก่อนจากกันไป ถ้าหากคุณมีรถหลายคัน ขับขี่ทั้งรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์น้ำมันการวัดระดับพฤติกรรมการขัขี่ก็จะเปลี่ยนไป อย่าพลาดบทความนี้

กรณีมีรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์น้ำมัน คิดระดับพฤติกรรมการขับขี่อย่างไร?

และอย่าลืมติดตามข่าวสารการอัปเดตเงื่อนไข ความคุ้มครอง และราคาประกันรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อช่วยให้คุณวางแผนซื้อและดูแลรถได้ง่ายขึ้น

เช็กค่าเบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้ากับซันเดย์ได้ง่าย ๆ ในบทความ “รวมครบ! ความคุ้มครองและเบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้าซันเดย์” เพื่อเลือกความคุ้มครองที่เหมาะสมในราคาคุ้มค่า

เบี้ยประกันรถ ev

ซื้อประกันรถ ev

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

ต่อประกันรถ EV เจ้าไหน ก็ใช้ประวัติขับขี่คำนวณเบี้ยเหมือนกัน

ต่อประกันรถ EV เจ้าไหนก็เกณฑ์เดียวกัน ใช้ “ระดับพฤติกรรมการขับขี่” ร่วมคำนวณเบี้ยแล้ว! จากเกณฑ์ใหม่ประกันรถยนต์…
driver score ระดับพฤติกรรมการขับขี่

ราคารถไฟฟ้ามีแนวโน้มถูกลง ค่าประกันรถยนต์ไฟฟ้าจะถูกลงไหม?

รถ EV มีแนวโน้มถูกลง ค่าประกันรถยนต์ไฟฟ้าจะถูกลงด้วยไหม? นับตั้งแต่เริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย จะเห็นได้ว่า…

เหตุผลที่เบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้าแพงกว่ารถยนต์ทั่วไป

ทำไมเบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้าถึงแพงกว่าประกันรถยนต์ทั่วไป? “ประกันรถยนต์ไฟฟ้าแพงไหม” เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายๆ…
why-ev-car-insurance-premium-more-expensive
0
Share