hero-image

อัปเดต! เกณฑ์ใหม่ประกันรถ EV มีอะไรบ้าง

สำหรับเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงผู้ที่กำลังวางแผนซื้อรถยนต์ไฟฟ้าคันใหม่ นอกจากจะวางแผนค่าใช้จ่ายสำหรับการซื้อและดูแลรักษารถยนต์ไฟฟ้าแล้ว การพิจารณารายละเอียดประกันรถยนต์ไฟฟ้าก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน

มาอัปเดตเกณฑ์ใหม่ประกันรถ EV พร้อมทำความเข้าใจเงื่อนไขความคุ้มครองของประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้าฉบับใหม่จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. เพื่อช่วยให้ทั้งเจ้าของและผู้สนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ได้วางแผนค่าใช้จ่ายและเลือกซื้อประกันรถไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสมกัน

เกณฑ์ใหม่ประกันรถ EV ที่ควรรู้

เกณฑ์ประกันรถยนต์ไฟฟ้าใหม่ มีอะไรบ้าง?

เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ได้ทำการเผยแพร่ “คำสั่งนายทะเบียนที่ 47/2566 เรื่อง ให้ใช้ แบบ ข้อความ และพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัย ของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า” ซึ่งถือเป็นเกณฑ์ใหม่ประกันรถ EV ที่เจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าและผู้สนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าต้องทำความเข้าใจให้ละเอียด

ณ ขณะนี้ คำสั่งเกณฑ์ใหม่ประกันรถ EV ดังกล่าวได้ผ่านการอนุมัติและมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งทางบริษัทประกันรถยนต์ไฟฟ้าเองก็มีเวลาในการเตรียมตัวและปรับเปลี่ยนความคุ้มครองให้สอดคล้องกับคำสั่งใหม่ได้จนถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 

โดยสาระสำคัญของเกณฑ์ประกันรถไฟฟ้าฉบับใหม่ที่เจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle : BEV) รวมถึงผู้สนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าต้องพิจารณาให้ดี จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ดังนี้

1. ความคุ้มครองค่าเสียหายแบตเตอรี่แบบขั้นบันได

เกณฑ์ใหม่ประกันรถ EV ได้มีการระบุให้เพิ่มความคุ้มครองแบตเตอรี่โดยคำนวณค่าเสื่อมของแบตเตอรี่ตามอายุการใช้งาน โดยในปีแรกจะคุ้มครอง 100% และลดลงเรื่อย ๆ สูงสุดอยู่ที่ 50 ปี โดยจะเป็นตามเงื่อนไขของอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ ดังนี้

อายุการใช้งานแบตเตอรี่ความคุ้มครอง
ไม่เกิน 1 ปี100%
ไม่เกิน 2 ปี90%
ไม่เกิน 3 ปี80%
ไม่เกิน 4 ปี70%
ไม่เกิน 5 ปี60%
มากกว่า 5 ปีขึ้นไป50%

ในกรณีที่รถยนต์ไฟฟ้าของผู้เอาประกันภัยได้รับความเสียจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือ ได้รับความเสียจนต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ บริษัทประกันรถยนต์ไฟฟ้าจะมีการพิจารณาอนุมัติเคลมที่แตกต่างกันไปตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด เช่น เปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ แต่นับอายุแบตเตอรี่ตามเดิม หรือ มีการเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ใหม่และนับอายุแบตเตอรี่ใหม่ เป็นต้น 

นอกจากนี้ ผู้เอาประกันยังมีสิทธิเป็นเจ้าของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าได้ก็ต่อเมื่อมีการออกค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ 

เช่น หากใช้รถยนต์ไฟฟ้าเข้าปีที่ 2 แล้วเกิดอุบัติเหตุ แบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้าจะได้รับความคุ้มครองที่ 90% เท่ากับว่า หากต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าลูกใหม่ ผู้เอาประกันจะต้องจ่ายอีก 10% ที่เหลือ ซึ่งเมื่อบริษัทประกันภัยนำแบตเตอรี่ไปขายต่อและได้เงินมา ผู้เอาประกันจะได้รับเงิน 10% ที่ออกไปก่อนหน้าด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ดี การพิจารณาความคุ้มครอง การกำหนดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ รวมถึงเงื่อนไขกรรมสิทธิ์ของแบตเตอรี่รถยนต์จะเป็นไปตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด ดังนั้น ขอแนะนำให้ติดต่อสอบถามไปยังบริษัทประกันรถยนต์ไฟฟ้าที่สนใจก่อนตัดสินใจทำประกันด้วย

2. การระบุผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้า 

ในอดีตการซื้อประกันชั้น 1 รถยนต์ EV จะสามารถเลือกกำหนดผู้ขับขี่ได้สูงสุด 2 คน ซึ่งทางผู้เอาประกันเองก็สามารถเลือกไม่ระบุผู้ขับขี่ได้เช่นกัน อย่างไรก็ดี เกณฑ์ประกันรถไฟฟ้าใหม่ได้มีการกำหนดให้ ‘ต้องระบุชื่อผู้ขับขี่’ โดยสามารถเลือกระบุได้สูงสุด 5 รายชื่อ 

โดยหากผู้เอาประกันนำรถยนต์ไฟฟ้าไปให้ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อในกรมธรรม์ประกันรถยนต์ไฟฟ้า ผู้เอาประกันอาจต้องเสีย ‘ค่าเสียหายส่วนแรก’ แต่ยังได้รับความคุ้มครองตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์อยู่ 

นอกจากนี้ หากต้องการต่อประกันรถยนต์ไฟฟ้าเจ้าเดิมในปีที่ 2 ทางบริษัทประกันจะนำพฤติกรรมการขับขี่ส่วนบุคคลของทั้ง 5 ผู้ขับขี่ที่มีชื่ออยู่ในกรมธรรม์มาประเมินและพิจารณาค่าเบี้ยประกันในปีต่อ ๆ ไป
โดยหากยิ่งมีประวัติดี ร่วมกับมีพฤติกรรมในการขับขี่ที่อยู่ในเกณฑ์ดีด้วย ผู้เอาประกันก็มีโอกาสได้รับส่วนลดประกันรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยส่วนลดประวัติดีสูงสุดอยู่ที่ 40% และส่วนลดพฤติกรรมการขับขี่ดีจะอยู่ที่ 40%

3. คุ้มครองสายชาร์จพกพา (Portable EV Charger)

เกณฑ์ใหม่ประกันรถ EV จะให้ความคุ้มครองกับสายชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ติดมากับตัวรถยนต์ โดยประกันรถยนต์ไฟฟ้าจะให้ความคุ้มครองในกรณีที่สายชาร์จสูญหายจากการโจรกรรมและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ 

นอกจากนี้ ผู้เอาประกันยังสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มเติมได้ ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุกับเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า โดยเบี้ยประกันจะคิดเป็นสัดส่วนตั้งแต่ 0.035% – 3.5% ของมูลค่าเครื่องชาร์จ หรือเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด

อย่างไรก็ดี ความคุ้มครองสำหรับอุปกรณ์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าอื่น ๆ จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกันภัยแต่ละแห่ง โดยผู้เอาประกันสามารถติดต่อสอบถามไปยังบริษัทประกันภัยที่สนใจ เพื่อรับทราบความคุ้มครองของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้าอื่น ๆ ได้เช่นกัน

อนาคตของประกันรถยนต์ไฟฟ้า

อนาคตของประกันรถไฟฟ้า

การปรับเปลี่ยนเกณฑ์ใหม่ประกันรถ EV ในครั้งนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญที่ช่วยให้เจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าสามารถใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างอุ่นใจจากความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

ในอนาคต ยังอาจมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขความคุ้มครองใหม่ ๆ ตามการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจำนวนศูนย์บริการ ผู้เชี่ยวชาญ อะไหล่ การซ่อมบำรุง รวมถึงความเสี่ยงในการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในแง่อื่น ๆ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ก็เป็นหนึ่งในส่วนสำคัญที่อาจส่งผลต่อเบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้าในภายภาคหน้าด้วยเช่นกัน ดังนั้น อย่าลืมติดตามข่าวสารอัปเดตของความคุ้มครองประกันรถไฟฟ้าในอนาคตให้ดี

แต่เพื่อช่วยให้เจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าสามารถตั้งรับความเสี่ยงได้อย่างครอบคลุมมากที่สุด นอกจากจะเลือกระบุชื่อผู้ขับขี่อย่างรอบคอบ ตลอดจนเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่แล้ว การเลือกทำประกันรถยนต์ไฟฟ้าที่สามารถปรับแต่งความคุ้มครองได้ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกดี ๆ ที่ช่วยให้ได้รับความคุ้มครองที่เหมาะสมมากที่สุดได้


ประกันรถยนต์ไฟฟ้า Sunday ไม่เพียงแต่จะสามารถปรับแต่งความคุ้มครองให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อให้ระบบคำนวณเบี้ยประกันที่เหมาะสมได้เท่านั้น แต่ผู้เอาประกันยังสามารถรับส่วนลดได้ถึง 4 จุด ทั้งจากการติดกล้องหน้ารถยนต์ การระบุผู้ขับขี่ การขับขี่ปราศจากแอลกอฮอล์ และ ประวัติการขับขี่ที่ดี พร้อมบริการ Livestream Claim จบงานเคลมไวใน 15 นาที

เช็กเบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้าง่าย ๆ กรอกแค่ ‘วันเดือนปีเกิดผู้ขับขี่’ และ ‘รหัสไปรษณีย์ที่อยู่ปัจจุบัน’ หรือหากสงสัยว่าประกันชั้น 1 ของรถยนต์ไฟฟ้าคุ้มครองอะไรบ้าง กำหนดความคุ้มครองอย่างไรให้เหมาะสม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ Line: @easysunday (มี @ ด้วย)