หน้าหลัก สาระรถยนต์ไฟฟ้า ซื้อรถไฟฟ้า 1 คัน เตรียมค่าบำรุงรักษารถไฟฟ้าเท่าไหร่?

ซื้อรถไฟฟ้า 1 คัน เตรียมค่าบำรุงรักษารถไฟฟ้าเท่าไหร่?

ซื้อรถไฟฟ้า 1 คัน เตรียมค่าบำรุงรักษารถไฟฟ้าเท่าไหร่

เช่นเดียวกับการซื้อรถยนต์สันดาป การซื้อรถยนต์ไฟฟ้าก็ไม่ได้มีแค่ค่าตัวรถยนต์เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีค่าบำรุงรักษารถไฟฟ้าอีกหลายรายการ 

แล้วการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า 1 คันจำเป็นต้องเตรียมเงินเอาไว้เท่าไหร่ ควรกำหนดงบประมาณในการซื้อรถไฟฟ้าหรือ EV อย่างไร มีค่าใช้จ่ายก้อนไหนที่ต้องเตรียมเป็นพิเศษบ้าง มาหาคำตอบได้ในบทความนี้กัน

ราคารถยนต์ไฟฟ้าแพงไหม-เตรียมตัวซื้อยังไงดี

1. ค่ารถยนต์ไฟฟ้า

ค่ารถยนต์ไฟฟ้าเป็นค่าใช้จ่ายก้อนแรกที่ต้องเตรียมให้พร้อม โดยราคารถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันนั้นจะแตกต่างกันไปตามนวัตกรรม เทคโนโลยี รุ่น รวมถึงยี่ห้อของรถยนต์ไฟฟ้า 

โดยเฉลี่ยแล้ว ราคารถยนต์ไฟฟ้าจะเริ่มต้นอยู่ที่ 4xx,xxx บาทไปจนถึงหลายสิบล้านบาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ซื้อ ภาษีรถยนต์ไฟฟ้า ของแต่งและอุปกรณ์เสริม ตลอดจนโปรโมชันรถยนต์ไฟฟ้าจากโชว์รูมที่แตกต่างกันออกไป 

แต่สำหรับใครที่มีเงินก้อนไม่เพียงพอที่จะซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเงินสดได้ อย่าลืมพิจารณาถึงอัตราดอกเบี้ย ค่างวด รวมถึงระยะเวลาในการผ่อนชำระ เพราะการขอสินเชื่อมาซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเองก็เป็นค่าใช้จ่ายในระยะยาวเช่นเดียวกัน


2. ค่าบำรุงรักษารถยนต์ไฟฟ้า

เช่นเดียวกับรถยนต์สันดาปที่ใช้เชื้อเพลิงเป็นพลังงาน รถยนต์ไฟฟ้าเองก็มีค่าบำรุงรักษาเช่นเดียวกัน เริ่มตั้งแต่ค่าใช้จ่ายในการตรวจเช็กระยะและตรวจสอบสภาพรถยนต์ตามรอบที่กำหนด ไม่ว่าจะเป็นสภาพแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่เป็นอะไหล่ที่สำคัญและมีราคาสูงที่สุด ไปจนถึงระบบชาร์จและระบบการทำงานเฉพาะของรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละรุ่น

ถัดจากค่าใช้จ่ายในการตรวจสภาพรถยนต์แล้ว เจ้าของรถยนต์ยังต้องสำรองเงินไว้สำหรับการบำรุงรักษาในอนาคต แม้รถยนต์ไฟฟ้าจะไม่ต้องซ่อมบำรุงจุกจิกเท่ากับรถยนต์ทั่วไป แต่ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนอะไหล่อย่างยางรถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ รวมถึงระบบการทำงานเฉพาะของรถยนต์แต่ละรุ่นก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงเช่นกัน

ไม่เพียงเท่านั้น นอกจากจะพิจารณาราคารถยนต์ไฟฟ้าแล้ว ผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้ายังต้องเตรียมติดตั้งอุปกรณ์การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเอาไว้ที่บ้าน แม้ทางศูนย์รถยนต์จะมีโปรโมชันสำหรับแท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า แต่ผู้ซื้อเองก็ต้องเตรียมเงินเอาไว้อย่างน้อย 30,000 – 50,000 บาท ทั้งนี้สำหรับค่าแท่นชาร์จ ค่าช่างผู้เชี่ยวชาญ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการติดตั้งทั้งหมด

รถไฟฟ้าที่ชาร์จไฟบ้านใช้เงินกี่บาท

3. ค่าไฟฟ้าสำหรับการชาร์จรถยนต์

หลายคนเชื่อว่า การใช้รถยนต์ไฟฟ้าจะสามารถช่วยประหยัดค่าน้ำมันได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่สนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้ายังต้องคำนวณถึงค่าไฟรถไฟฟ้า หรือ EV ควบคู่ไปกับการพิจารณาราคารถยนต์ไฟฟ้าและค่าบำรุงรักษารถไฟฟ้า

รถไฟฟ้าที่ชาร์จไฟบ้านใช้เงินกี่บาท?

ค่าใช้จ่ายจากการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าขึ้นอยู่กับ ‘ค่าพลังงานไฟฟ้า’ และ ‘ความจุแบตเตอรี่’ เช่น หากรถยนต์ไฟฟ้ามีความจุแบตเตอรี่ที่ 50 kWh หากอัตราการใช้ไฟฟ้า 1 หน่วยมีค่าใช้จ่าย 4.5 บาท เท่ากับว่าการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 1 ครั้งจะมีค่าไฟฟ้าอยู่ที่ 50 x 4.5 = 225 บาท 

ด้วยเหตุนี้ หากรถยนต์ไฟฟ้ายิ่งมีแบตเตอรี่ขนาดใหญ่เท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าก็จะยิ่งสูงขึ้น ดังนั้น อย่าลืมติดตามข่าวสารถึงค่าพลังงานไฟฟ้าที่คิดเป็นหน่วย พร้อมคำนวณค่าใช้ไฟฟ้าที่มากับรถยนต์ร่วมด้วย

ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่สถานีมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าตามสถานี หรือ จุดบริการ มีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไปตามเงื่อนไขของผู้ให้บริการ แต่เริ่มต้นจะอยู่ที่ 5.5 – 8 บาท/หน่วย เท่ากับว่า หากรถยนต์ไฟฟ้ามีความจุแบตเตอรี่ที่ 50 kWh ค่าใช้จ่ายในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะอยู่ที่ 225 – 400 บาท แต่ราคานี้ยังไม่รวมภาษีและค่าบริการอื่น ๆ ที่เป็นไปตามเงื่อนไขของผู้ให้บริการแต่ละเจ้าด้วย


4. ภาษีรถยนต์ไฟฟ้า

นอกจากค่ารถยนต์ ค่าบำรุงรักษา รวมไปถึงค่าไฟฟ้าแล้ว การกำหนดงบประมาณในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV ยังต้องพิจารณาถึงภาษีรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระเป็นประจำทุกปี

โดยพื้นฐานแล้ว ภาษีรถยนต์ไฟฟ้าจะแตกต่างกันไปตาม ‘ประเภท’ และ ‘น้ำหนักของรถยนต์’ ทั้งนี้มีการเปลี่ยนแปลงมาตรการภาษีอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น สำหรับใครที่สนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าอยู่ อย่าลืมติดตามข่าวสารในส่วนนี้ให้ดีเช่นกัน

โดยในปี 2567 นี้ รถยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คนจะเสียภาษีต่อปีสูงสุดอยู่ที่ 720 บาท ในขณะที่รถยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คนจะเสียภาษีสูงสุดอยู่ที่ 360 บาทต่อปี ซึ่งภาษีรถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าวจะเป็นภาษีสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่มีน้ำหนัก 7,001 กิโลกรัมขึ้นไป

แต่หลังวันที่ 30 กันยายน 2568 รถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลแบบไม่เกิน 7 ที่นั่งจะเสียภาษีต่อปีอยู่ที่ 3,600 บาท ในขณะที่รถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลแบบเกิน 7 ที่นั่งจะเสียภาษีต่อปีสูงสุดอยู่ที่ 1,800 บาท ซึ่งภาษีรถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าวจะเป็นภาษีสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่มีน้ำหนัก 7,001 กิโลกรัมขึ้นไป


5. ประกันรถยนต์ไฟฟ้า

เช่นเดียวกับการซื้อรถยนต์ทั่วไป การซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเองก็ต้องพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายที่มากับประกันรถยนต์ไฟฟ้าเช่นกัน โดยค่าเบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้านั้นจะแตกต่างกันไปตามรุ่น แบรนด์ ทุนประกันภัย ไปจนถึงประวัติในการขับขี่ของผู้ใช้งานรถยนต์

เบื้องต้นแล้ว ประกันรถยนต์ไฟฟ้าจะมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นอยู่ที่ 2x,xxx บาท ซึ่งเงื่อนไขความคุ้มครอง บริการเสริม ไปจนถึงความคุ้มครองอุปกรณ์เฉพาะของรถยนต์ไฟฟ้านั้นจะแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขของบริษัทประกันภัยแต่ละแห่ง

ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า 1 คัน ค่าบำรุงรักษารถไฟฟ้าเท่าไหร่

สรุป! ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า 1 คัน เตรียมเงินเท่าไหร่บ้าง? 

การซื้อรถยนต์ไฟฟ้า 1 คันต้องเตรียมเงินเบื้องต้นเอาไว้ตามรายการ ดังนี้

  • สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ 4xx,xxx บาท 
  • ค่าใช้จ่ายรายปีอย่างค่าภาษีรถยนต์ไฟฟ้าและประกันรถยนต์ไฟฟ้าเบื้องต้นอยู่ที่ 3x,xxx บาท 
  • ค่าใช้จ่ายรายเดือนสำหรับค่าไฟฟ้าที่ 1,xxx บาทหรือตามการใช้งาน 
  • ค่าใช้จ่ายสำหรับการซ่อมบำรุงในอนาคตที่ 4xx,xxx – 5xx,xxx บาท หรือ สามารถพิจารณาและคำนวณได้จากราคาอะไหล่ของรถยนต์แต่ละแบรนด์ได้เช่นกัน

จะเห็นได้ว่า การซื้อรถยนต์ไฟฟ้าจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก ทั้งยังต้องพิจารณาถึงการใช้งานในปัจจุบันจนถึงอนาคตไม่ต่างจากรถยนต์สันดาปทั่วไป รู้แบบนี้แล้ว อย่าลืมนำทั้ง 5 ค่าใช้จ่ายในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเบื้องต้นไปพิจารณาและวางแผนการเงินให้เหมาะสมกับตัวเองด้วย 

หากยังไม่ชัวร์ในเรื่องของค่าเบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้า อย่าลืมมาเช็กเบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้าตามแบรนด์และรุ่นที่สนใจได้ที่ Sunday เช็กง่ายด้วยตัวเอง ปรับแต่งความคุ้มครองเองได้ รู้เบี้ยประกันได้ในไม่กี่คลิก


Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

เหตุผลที่เบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้าแพงกว่ารถยนต์ทั่วไป

ทำไมเบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้าถึงแพงกว่าประกันรถยนต์ทั่วไป? “ประกันรถยนต์ไฟฟ้าแพงไหม” เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายๆ…
why-ev-car-insurance-premium-more-expensive

จริงไหม? รถยนต์ไฟฟ้า ประหยัดกว่ารถน้ำมัน

รถ EV ที่ไม่ได้มีแค่รักษ์โลก แต่ประหยัดได้มากกว่า! ในยุคที่คนรอบ ๆ ตัวเริ่มหันไปใช้งาน รถยนต์ไฟฟ้า…
benefits-of-electric-cars-vs-gasoline-cost-savings
0
Share