หน้าหลัก รู้ทันประกันสุขภาพ เปรียบเทียบ! ประกันสุขภาพเหมาจ่าย “รายปี” และ “รายครั้ง”

เปรียบเทียบ! ประกันสุขภาพเหมาจ่าย “รายปี” และ “รายครั้ง”

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายคืออะไร?

เมื่อต้องการซื้อประกันสุขภาพ เชื่อว่า ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ต้องเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่หลายคนแนะนำ เพราะนอกจากจะให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมแล้ว ผู้เอาประกันยังไม่ต้องเสียเวลามานั่งคำนวณค่ารักษาพยาบาลที่เข้าเงื่อนไขความคุ้มครองแต่ละรายการเองอีกด้วย

แล้วประกันสุขภาพเหมาจ่ายคืออะไร ควรเปรียบเทียบประกันสุขภาพประเภทนี้อย่างไร มาทำความเข้าใจแบบครบจบได้ในบทความนี้กัน

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายคืออะไร

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย คืออะไร?

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย คือ ประกันสุขภาพที่จะกำหนดวงเงินสูงสุดสำหรับค่ารักษาพยาบาลเอาไว้ ซึ่งผู้เอาประกันจะได้รับความคุ้มครองด้านค่ารักษาพยาบาลตามวงเงินสูงสุดที่กำหนดไว้โดยวงเงินดังกล่าวสามารถเป็นได้ทั้งแบบรายปีกรมธรรม์ รายครั้งที่เข้ารับการรักษาพยาบาล หรือ เป็นไปตามเงื่อนไขที่บริษัทประกันภัยแต่ละแห่งกำหนด

หากเปรียบเทียบกับประกันสุขภาพแบบแยกค่าใช้จ่ายแล้ว ประกันสุขภาพเหมาจ่ายสามารถเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องของการรับความคุ้มครองได้ 

โดยหากเป็นประกันสุขภาพแบบแยกค่าใช้จ่าย ผู้เอาประกันจะต้องมาคำนวณและแยกค่าใช้จ่ายในแต่ละรายการที่เข้าเงื่อนไขด้วยตัวเอง ซึ่งนอกจากจะเสียเวลาแล้ว ยังเสี่ยงเกิดข้อผิดพลาดในการคำนวณและพิจารณาความคุ้มครองได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมือใหม่ที่ยังไม่เคยมีประกันสุขภาพมาก่อน

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย คุ้มครองอะไรบ้าง

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย คุ้มครองอะไรบ้าง?

สำหรับมือใหม่หัดซื้อประกันสุขภาพออนไลน์ด้วยตัวเอง แต่ไม่แน่ใจว่าคำว่า “เหมาจ่าย” ของประกันสุขภาพเหมาจ่ายสามารถให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากแค่ไหน ลองมาทำความเข้าใจ 4 ความคุ้มครองพื้นฐานของประกันสุขภาพเหมาจ่าย เพื่อให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบประกันสุขภาพประเภทนี้กัน

1. ความคุ้มครองการรักษาแบบผู้ป่วยใน (IPD)

การรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยใน (IPD) คือ การเข้ารับการรักพยาบาลในสถานพยาบาลมากกว่า 6 ชั่วโมง เช่น การนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล หรือ การเฝ้าดูอาการที่โรงพยาบาลนานกว่า 6 ชั่วโมงตามความเห็นของแพทย์

ความคุ้มครองการรักษาแบบ IPD จะครอบคลุมไปถึงค่าห้อง ค่าอาหาร ค่ายา ค่าผ่าตัด ค่าพยาบาล ค่าแพทย์ ค่าใช้จ่ายในการตรวจวินิจฉัยที่เป็นไปตามความเห็นของแพทย์ หรือ ค่าบริการอื่นๆ ภายในสถานพยาบาลที่เกี่ยวข้องและเข้าเงื่อนไข

2. ความคุ้มครองการรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD)

การรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก (OPD) คือ การเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลน้อยกว่า 6 ชั่วโมง เช่น การเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยแล้วรับยากลับมารักษาตัวต่อที่บ้าน รวมไปถึงการเข้ารับการตรวจกับผู้ให้บริการทางการแพทย์ หรือ บริการทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในเครือข่ายของบริษัทประกันภัยที่สนใจ หรือตามเงื่อนไขที่บริษัทประกันภัยกำหนด

ความคุ้มครองการรักษาแบบ OPD จะครอบคลุมถึงค่ายา ค่าแพทย์ ค่าทำแผล ค่าผ่าตัดในกรณีที่สามารถกลับไปรักษาตัวต่อที่บ้านได้ ค่ากายภาพบำบัดตามคำสั่งของแพทย์ ไปจนถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เข้าเงื่อนไขตามที่บริษัทประกันภัยกำหนด

3. การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

น้อยคนจะรู้ว่า ประกันสุขภาพเหมาจ่ายสามารถให้ความคุ้มครองในกรณีที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุได้เช่นกัน เริ่มตั้งแต่การบาดเจ็บทางร่างกายจากอุบัติเหตุตลอด 24 ชั่วโมง การเข้ารับการรักษาพยาบาลแบบฉุกเฉิน หรือ การเจ็บป่วยฉุกเฉินในต่างประเทศตามเงื่อนไขที่บริษัทประกันภัยกำหนด

4. ความคุ้มครองอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

นอกจาก 3 ความคุ้มครองข้างต้นแล้ว บริษัทประกันภัยแต่ละแห่งเองยังได้ออกแบบความคุ้มครองในแง่มุมอื่นๆ เพื่อให้ผู้เอาประกันได้รับความคุ้มครองที่เหมาะสมและตอบโจทย์มากยิ่งขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นแผนชดเชยรายได้ในกรณีที่เจ็บป่วยนาน ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแบบประคับประคองในกรณีที่ต้องฟื้นฟูหลังการรักษา การใช้เครื่องมือลดความเจ็บปวด ค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟูหลังการพักรักษาเป็นผู้ป่วยใน หรือ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ในส่วนนี้ ผู้เอาประกันสามารถสอบถามไปยังบริษัทประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่สนใจ เพื่อรับทราบถึงความคุ้มครอง พร้อมนำมาพิจารณาเพื่อเลือกซื้อประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับตัวเองต่อไป

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย มีกี่แบบ?

จะเห็นได้ว่า ประกันสุขภาพเหมาจ่ายสามารถให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมการรักษาพยาบาลได้หลายรูปแบบ แต่ถึงจะเป็นเช่นนั้น ประกันสุขภาพเหมาจ่ายเองยังแบ่งเงื่อนไขความคุ้มครองออกเป็น 2 แบบหลักด้วยเช่นกัน โดยแต่ละแบบจะมีรายละเอียด ดังนี้

1. เหมาจ่ายแบบ “รายปี”

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายแบบรายปี คือ ประกันสุขภาพที่กำหนดวงเงินรักษาเอาไว้ 1 ก้อนใหญ่ที่สามารถใช้ได้ทั้งปี จะเข้ารับการรักษากี่ครั้งก็ได้ใน 1 ปี แต่ต้องไม่เกินวงเงินรักษาก้อนใหญ่คงเหลือ

เช่น หากซันนี่ซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่ายแบบรายปี วงเงินรักษาสูงสุด 1 ล้านบาทต่อปี หากซันนี่ป่วยมาแล้ว 1 ครั้ง มีค่ารักษาพยาบาล 100,000 บาท เท่ากับว่า ถ้าซันนี่ป่วยครั้งต่อไป ซันนี่จะมีวงเงินรักษาสูงสุดอยู่ที่ 900,000 บาท ซึ่งวงเงินนี้จะลดลงไปเรื่อยๆ ทุกครั้งตามค่ารักษาพยาบาล

2. เหมาจ่ายแบบ “รายครั้ง”

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายแบบรายครั้ง คือ ประกันสุขภาพที่กำหนดวงเงินรักษาเอาไว้ 1 ก้อนที่สามารถใช้ได้ต่อการรักษา 1 ครั้ง โดยวงเงินนี้จะครอบคลุมถึงค่าห้องและค่ารักษาพยาบาลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไว้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ประกันสุขภาพประเภทนี้จะมีการกำหนดจำนวนครั้งเอาไว้

เช่น หากซันนี่ซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่ายแบบรายครั้ง วงเงินรักษาสูงสุด 100,000 บาทต่อครั้ง เท่ากับว่า ไม่ว่าซันนี่จะป่วยกี่ครั้ง ก็มีวงเงินรักษาสูงสุดที่ 100,000 บาทเท่ากันทุกครั้ง

เปรียบเทียบประกันสุขภาพเหมาจ่าย

เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่ายอย่างไรให้ตอบโจทย์

เมื่ออ่านมาถึงจุดนี้ เชื่อว่าหลายคนคงสงสัยเหมือนกันว่า ควรจะเปรียบเทียบประกันสุขภาพเหมาจ่ายอย่างไร หรือ จะมีวิธีเลือกซื้อประกันสุขภาพประเภทนี้อย่างไรให้ตอบโจทย์ความต้องการมากที่สุด

ในส่วนนี้ ขอให้เริ่มต้นจากการพิจารณาถึง “งบประมาณที่ไหว” ก่อน หากยังไม่เห็นภาพว่างบควรจะอยู่ที่เท่าไหร่ แนะนำให้นำค่าเบี้ยประกันสุขภาพมาคำนวณร่วมกับค่าใช้จ่ายรายปีและค่าใช้จ่ายรายเดือนทั้งหมด จากนั้นพิจารณากับตัวเองเลยว่า งบเท่าไหร่ถึงจะไม่สร้างภาระทางการเงินเพิ่มให้กับตัวเอง

หลังจากที่เลือกงบประมาณได้แล้ว ทีนี้ก็ลองมาพิจารณาถึงความคุ้มครองที่สอดคล้องกับงบประมาณที่ตั้งเอาไว้ และสุดท้ายจึงมาดูถึงความสะดวก การให้บริการ รวมถึงความน่าเชื่อถือของบริษัทประกันภัยแต่ละแห่ง ง่ายๆ เพียงเท่านี้ก็สามารถเลือกซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่เหมาะกับตัวเองได้แล้ว

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ที่ซันเดย์มีแผนไหนบ้าง?

ซันเดย์ มาพร้อมกับประกันสุขภาพเหมาจ่ายแบบรายปี โดยคุณสามารถซื้อประกันสุขภาพออนไลน์เองได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ซึ่งแผนประกันสุขภาพเหมาจ่ายซันเดย์ ณ ขณะนี้จะมีด้วยกันทั้งหมด 2 ประเภทหลัก ดังนี้

แผนประกันสุขภาพเหมาจ่ายค่าเบี้ยเริ่มต้น/ปี
ค่ารักษาผู้ป่วยในค่ารักษาผู้ป่วยนอก
ประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย9,900 บาท
ประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย + OPD✅ เริ่มต้นที่ 1,500 บาท/ครั้ง18,400 บาท

วงเงิน OPD ของซันเดย์ นอกจากจะคุ้มครองการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลแล้ว ยังสามารถนำมาใช้กับบริการทางการแพทย์อย่าง Walk-in Pharmacy หรือ บริการปรึกษาเภสัชกรในร้านขายยาในเครือข่ายแบบไม่ต้องสำรองจ่าย รวมไปถึงบริการ Telemedicine ที่ให้คุณสามารถปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรออนไลน์ พร้อมมีบริการจัดส่งยาถึงบ้านได้อย่างสะดวก

IPD OPD what is the diffe

ที่สำคัญ ซันเดย์ยังมาพร้อมกับซูเปอร์แอปฯ Jolly by Sunday ที่คุณสามารถยื่นและติดตามสถานะการเคลมได้ในกรณีที่เข้ารับการรักษาตัวกับสถานพยาบาลนอกเครือข่าย ให้คุณได้รับประสบการณ์ประกันภัยที่ง่าย สะดวก และครบจบได้ในที่เดียว

เช็กเบี้ยประกันสุขภาพเหมาจ่ายซันเดย์สุดง่าย ใช้แค่ “วันเดือนปีเกิด” เท่านั้น ไม่ต้องกรอกข้อมูลติดต่อให้ลำบากใจ

การมองหาประกันเอาไว้ป้องกันความเสี่ยง ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยทำให้คุณวางแผนการเงินได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หากคุณกำลังมองหาประกันสุขภาพ ที่ครอบคลุม ราคาเมคเซนส์ ลองคลิกที่ ซันเดย์

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

คนไทยป่วย OPD โรคอะไรมากที่สุด รักษาอะไรบ้างที่ผ่านมา?

การรักษาแบบ OPD คืออะไร คนไทยป่วยด้วย OPD ด้วยโรคอะไรมากที่สุด? การรักษาแบบ OPD หรือ Out-Patient Department คือ…
5 โรคแบบ OPD

ครบที่เดียว! สรุปสาเหตุ + อาการของวัยทองในผู้หญิงและผู้ชาย

สูงวัยเช็กด่วน! รวมสาเหตุและอาการของวัยทองในผู้หญิงและผู้ชาย เมื่อเวลาเปลี่ยนไป…
menopause-in-men-and-women

เข้าใจก่อนซื้อ! 6 ปัจจัยที่ส่งผลต่อเบี้ยประกันสุขภาพ

สรุปครบ! ทำไมจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพไม่เท่ากัน ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางประชากร รวมถึงความเสี่ยงจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ…
factors-affect-health-insurance-premium

ประกันอุบัติเหตุจำเป็นแค่ไหน ผู้หญิงเสี่ยงกว่าจริงไหม?

ผู้หญิงเสี่ยงอุบัติเหตุมากกว่าจริงหรือไม่ ทำไมต้องทำประกันอุบัติเหตุผู้หญิงโดยเฉพาะ? “อุบัติเหตุ”…
does-woman-face-more-accidents-than-men
0
Share