หน้าหลัก ข่าวคราวซันเดย์ Sunday เพิ่มสวัสดิการพนักงาน เลือกเข้าปรึกษานักจิตบำบัดเพื่อลดความเครียด ดูแลสุขภาพจิตในการทำงานในช่วง WFH ได้

Sunday เพิ่มสวัสดิการพนักงาน เลือกเข้าปรึกษานักจิตบำบัดเพื่อลดความเครียด ดูแลสุขภาพจิตในการทำงานในช่วง WFH ได้

ถึงการทำงานที่บ้าน (Work from home) จะช่วยป้องกันสุขภาพร่างกายในสถานการณ์วิกฤติ แต่สำหรับ “สุขภาพจิต” ก็ต้องได้รับการดูแลให้ดีไปพร้อมกันๆ ซันเดย์ในฐานะของบริษัทที่ได้เริ่มปรับใช้นโยบาย “การทำงานแบบไฮบริด” ด้วยการสลับทีมทำงานที่บ้านและที่ออฟฟิศมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ได้มองเห็นปัญหาของการ WFH จากคนทำงานจริงหลากหลายแง่มุม และพบว่าสำหรับบางคนนั้น การนั่งทำงานที่บ้านเป็นเวลานานๆ ก็สามารถบั่นทอนจิตใจของเราให้แย่ลงได้มากกว่าที่หลายคนคิด

แน่นอนว่าปัญหาเรื่องของสุขภาพ (โดยเฉพาะสุขภาพจิต) ของพนักงานทุกคน เป็นสิ่งที่ซันเดย์ให้ความสำคัญเสมอ ออฟฟิศของเราจึงได้เพิ่มสวัสดิการที่อนุญาตให้พนักงานทุกคนสามารถขอรับคำปรึกษากับนักจิตบำบัดที่ได้รับการรับรองจากพาร์ทเนอร์ของเราอย่าง OOCA (อูก้า) ผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิตยุคใหม่ ซึ่งสามารถใช้บริการและขอคำปรึกษาผ่านออนไลน์ได้สะดวก

ทำงานที่บ้าน (WFH) อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตอะไรบ้าง?

ไม่ใช่ทุกคนที่จะชอบทำงานที่บ้าน และไม่ใช่ทุกบ้านจะมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับการทำงานอย่างจริงจัง โดยเฉพาะคนที่มีหน้าที่ติดต่อพบปะกับผู้คนบ่อยๆ การต้องคุยงานผ่านการประชุมออนไลน์ อาจทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายแทนที่จะช่วยแก้ปัญหา ยังไม่รวมถึงสภาพของการทำงานที่บีบคั้นจากเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ในสถานการณ์วิกฤติ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยที่นำพาเอา “ความเครียด” มาหาเราได้ทั้งนั้น โดยแยกประเภทได้ ดังนี้

1. ทำงานที่บ้านอาจทำให้เกิดปัญหาขาดสมาธิและแรงจูงใจ 

สภาพแวดล้อมที่บ้านคือสิ่งสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาในการทำงาน เพราะบางบ้านนั้นหาสถานที่ที่มีความเป็นส่วนตัวได้ยาก หรืออาจเป็นบ้านที่มีทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และสัตว์เลี้ยงอยู่รวมกัน ทำให้เราไม่สามารถตั้งสมาธิไปกับการทำงานได้อย่างจริงจัง ไม่นับที่แต่ละคนจะมีกิจวัตรประจำวันแตกต่างกันไป ส่งผลให้แรงจูงใจในการทำงานนั้นต่ำเพราะต้องทำงานในสถานที่ๆ ไม่คุ้นเคย หรือไม่ได้มีบรรยากาศแห่งการทำงานห้อมล้อมเหมือนที่ออฟฟิศ

2. ความเครียดจากการปรับตัวและวิตกกังวลจากสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด

เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อยโดยเฉพาะในช่วงวิฤติ COVID-19 ที่แม้จะมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย แต่ก็ทำให้เกิดความวิตกจริตว่าจะติดเชื้อไวรัสอันตรายหรือไม่ (จะไปตรวจยืนยันก็ลำบาก) นอกจากนั้นการที่เราทุกคนต่างก็ไม่แน่ใจว่าอีกนานแค่ไหนที่สถานการณ์จะดีขึ้น “การควบคุมสถานการณ์ไม่ได้” ก็ส่งผลให้เกิดความเครียดอย่างเลี่ยงไม่ได้ หลายคนอาจจะมีอาการ นอนไม่หลับ กินน้อยลงหรือกินเยอะขึ้นอย่างผิดสังเกต ปวดหัว หรือปวดท้องเนื่องจากแผลในกระเพาะอาหาร เป็นต้น

3. ต้องอยู่ในสถานที่จำกัดเป็นเวลานาน อาจโดดเดี่ยวหรือเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า

สำหรับคนที่ไม่ได้รักความสันโดษ หรือเป็นคนที่ชอบมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง การทำงานที่บ้านหรือคอนโดมิเนียมอยู่คนเดียวหลายต่อหลายวันโดยไม่ได้ออกไปไหน หรือจำเป็นต้องแยกกักตัว 14 วันเพื่อสังเกตุอาการ ก็เหมือนกับการใช้ชีวิตอยู่ในห้องขังดีๆ นี่เอง นอกจากนี้ยังมีการวิจัยพฤติกรรมของคนที่ถูกกักกันโรคให้อยู่คนเดียวเป็นเวลานานเป็นเดือนๆ พบว่า อัตราเสี่ยงของโรคซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้นถึง 20-30% เลยทีเดียว

4. การทำงานที่บ้านอาจทำให้เกิดภาวะเฉื่อยและควบคุมตนเองได้ยาก (Low self-control)

ด้วยสภาพการทำงานที่บ้านซึ่งมีความอิสระสูง อาจทำให้คนทำงานบางคนไม่ได้รู้สึกถึงภาวะกดดันที่มากเพียงพอในการกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน โดยเฉพาะถ้าเราไม่ได้มีการวางแผนการทำงานหรือจัดตารางชีวิตที่ชัดเจน จนทำให้งานสะสมเข้าหลายๆ วัน ก็จะยิ่งทำให้คนๆ นั้นเกิดภาวะเฉี่อยชา ขี้เกียจ และควบคุมตนเองไม่ได้ (Low self-control) จนส่งผลกระทบทั้งทางหน้าที่การงาน รวมถึงความรู้สึกในแง่ลบที่มีต่อตนเองยิ่งขึ้นได้เช่นกัน

มีวิธีไหนที่จะช่วยดูแลสุขภาพจิตที่อาจเกิดจากการทำงานที่บ้านได้บ้าง?

เจอปัญหามาก็มา แล้วจะมีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยเยียวยาปัญหาด้านสุขภาพจิตที่เกิดจากการทำงานที่บ้านได้ ซันเดย์ขอแนะนำ ดังนี้

  • ต้องรู้ตัวเองก่อน ว่ากำลังมีปัญหาสุขภาพจิตหรือเปล่า
    เหงา โดดเดี่ยว หยุดคิดเรื่องงานไม่ได้ นอนไม่หลับ ไม่เชื่อมั่นใจตนเอง ฯลฯ หากเริ่มมีความรู้สึกแบบนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ก็หมายความว่าสุขภาพจิตเราเริ่มมีปัญหาแล้ว
  • จัดตารางกิจวัตรประจำวันให้ชัดเจนสำหรับแยกเวลาทำงานและเวลาส่วนตัว
    กำหนดเวลาตื่น เวลานอน เวลาทำงาน เวลาพัก ให้เหมือนกับเราเดินทางไปงานที่ออฟฟิศ นอกจากจะช่วยให้ชีวิต WFH ของเรามีประสิทธิภาพแล้ว ยังทำให้เราสามารถขีดเส้นแบ่งกับการใช้ชีวิตเพื่อพักผ่อนหรือทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องการได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะลดความเครียดได้มาก
  • สื่อสารกับเพื่อนร่วมงานให้บ่อยเพื่อกระตุ้นตนเองและคลายเหงา
    การติดต่อสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน รวมถึงการติดตามงานเป็นระยะผ่านช่องทางออนไลน์ จะช่วยเพิ่มความกระตือรือร้นในการทำงาน และสามารถรักษาความสัมพันธุ์ที่ดีระหว่างทีมงานได้อีกด้วย
  • ปรึกษานักจิตบำบัดหรือจิตแพทย์ช่วยได้มากกว่าที่คิด
    หากมีปัญหาเมื่อไหร่ การได้ระบายและพูดคุยกับคนที่ตั้งใจรับฟังปัญหาของเราอย่างจริงจังนั้นช่วยได้เสมอ อย่างที่ซันเดย์เอง ได้มีการจัดสรรสวัสดิการสำหรับพนักงานที่รู้สึกต้องการคำปรึกษาจากนักจิตบำบัด ให้สามารถใช้บริการ OOCA (อูก้า) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมนักจิตวิทยา นักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบประกอบวิชาชีพมาให้บริการโดยเฉพาะ

ทั้งนี้ สวัสดิการในส่วนของการพบนักจิตบำบัดจากพาร์เนอร์ OOCA (อูก้า) นั้น ทางซันเดย์ได้เริ่มนำมาใช้จริงเมื่อช่วงกลางปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ได้มีการประกาศนโยบาย WFH จากทางบริษัทอย่างเป็นทางการ โดยเราได้มีการสำรวจพบว่า สวัสดิการนี้ทำให้พนักงานมีความกล้าที่จะพบนักจิตบำบัดมากขึ้น และทำให้การเยียวยาจิตใจรวมถึงการดูแลสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ง่ายไม่ยุ่งยากอีกต่อไป


OOCA (อูก้า) คือ ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ ที่ช่วยให้คุณสามารถพูดคุยปัญหาคาใจกับจิตแพทย์ และนักจิตวิทยาได้ผ่าน Video call โดยผู้ใช้สามารถขอรับบริการได้อย่างเป็นส่วนตัว และปลอดภัย ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือของคุณ

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

รู้จัก Work Life Balance กันมานาน มารู้จัก Work Life Harmony บ้างดีกว่า

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ กระแส Work Life Balance (เวิร์ค ไลฟ์ บาลานซ์) ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักในวงกว้าง…
Work Life Balance vs Work Life Harmony

7 เทคนิคเตรียมตัวสัมภาษณ์งาน เพิ่มโอกาสได้งานที่หวังไว้!

สัมภาษณ์งานมาหลายที่ก็ยังถูกเลือกให้เป็นผู้ที่ผิดหวัง แต่รอบนี้ทุกอย่างจะต้องเปลี่ยนไป…
how to interview