หน้าหลัก สาระรถยนต์ไฟฟ้า สรุป! เงื่อนไขประกันกับความคุ้มครองแบตเตอรี่รถไฟฟ้า

สรุป! เงื่อนไขประกันกับความคุ้มครองแบตเตอรี่รถไฟฟ้า

เงื่อนไขประกันกับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า

แม้จะมีการปรับลดราคาลง ตลอดจนมีผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น แต่เชื่อว่าหลายคนยังคงเป็นกังวลถึง “แบตเตอรี่รถไฟฟ้า” ซึ่งเป็นอะไหล่ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในรถยนต์ คิดเป็น 80%–90% ของมูลค่าทั้งคัน ที่ส่งผลโดยตรงต่อเบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้าด้วยเช่นกัน

แล้วบริษัทประกันจะคุ้มครองแบตเตอรี่ของรถไฟฟ้าอย่างไร มีเงื่อนไขใดที่ผู้เอาประกันควรทราบ เพื่อช่วยให้ตัดสินใจทำประกันรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงซื้อรถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มาไขทุกข้อสงสัยในบทความนี้กัน

เปลี่ยนแบตเตอรี่รถไฟฟ้า ประกันรถยนต์ไฟฟ้าคุ้มครองอย่างไร

เงื่อนไขความคุ้มครองแบตเตอรี่รถไฟฟ้าเบื้องต้น

ตามเงื่อนไขประกันรถไฟฟ้าที่ประกาศใช้ในปีพ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ สำนักงานคปภ. ได้มีข้อกำหนดให้ประกันจะคุ้มครองแบตเตอรี่ของรถไฟฟ้าตามอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ พร้อมพิจารณาร่วมกับความคุ้มครองและการชดใช้สินไหมที่เป็นไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์

โดยเบื้องต้นแล้ว ประกันรถยนต์ไฟฟ้าจะให้ความคุ้มครองแบตเตอรี่ตามอายุการใช้งานตามรายละเอียด ดังนี้

อายุการใช้งานแบตเตอรี่ความคุ้มครอง
ไม่เกิน 1 ปี100%
ไม่เกิน 2 ปี90%
ไม่เกิน 3 ปี80%
ไม่เกิน 4 ปี70%
ไม่เกิน 5 ปี60%
มากกว่า 5 ปีขึ้นไป50%

*กรรมสิทธิ์ของซากแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าให้เป็นของผู้เอาประกันภัยและบริษัทตามสัดส่วนเดียวกับอัตราการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแบตเตอรี่

**กรณีที่มีการตกลงให้มีการจำหน่ายแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่ถูกเปลี่ยนให้บริษัทดำเนินการจำหน่ายและจัดสรรจำนวนเงินที่ได้จากการจำหน่ายดังกล่าวให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามสัดส่วนข้างต้น

ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่รถไฟฟ้า ผู้เอาประกันควรทำอย่างไร?

สิทธิการเปลี่ยนแบตเตอรี่รถไฟฟ้าที่ต้องรู้

เมื่อจำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่รถไฟฟ้า ผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกใช้สิทธิ 2 แบบ

  1. ปรับเพิ่มทุนประกันภัย ตามมูลค่าของรถและแบตเตอรี่ลูกใหม่ โดยต้องชำระเบี้ยประกันเพิ่มตามทุนที่ปรับขึ้น บริษัทจะออกเอกสารแนบท้ายเพื่อยืนยันการปรับเปลี่ยนทุนประกัน
  1. ไม่ปรับเพิ่มทุนประกันภัย  แม้จะมีการเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ โดยความคุ้มครองจะยังอ้างอิงตามทุนประกันเดิมและอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ก่อนเปลี่ยน ตามตารางการชดเชยที่กำหนดไว้

หลังจากเลือกสิทธิที่ต้องการแล้ว ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งการใช้สิทธิให้บริษัททราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากบริษัท หากเกินกว่า 30 วัน จะถือว่าผู้เอาประกันเลือกไม่ปรับเพิ่มทุนประกันภัย

บริษัทประกันรถยนต์ไฟฟ้า ต้องแจ้งให้ผู้เอาประกันทราบใน 7 วัน ในกรณีรถยนต์ไฟฟ้าได้รับความเสียหาย และ บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าใหม่ นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์

กรณีการเปลี่ยนแบตเตอรี่รถไฟฟ้า

ผู้เอาประกันสามารถเลือกเปลี่ยนแบตเตอรี่รถไฟฟ้า ได้เป็น 2 กรณีหลัก ดังนี้

1. กรณีให้บริษัทเป็นผู้เปลี่ยนแบตเตอรี่ให้ใหม่

กรณีที่ 1: ผู้เอาประกัน ยินยอมเพิ่มทุนประกัน

  • ผู้เอาประกันต้องชำระเบี้ยประกันเพิ่มเติม
  • บริษัทจะออก เอกสารแนบท้าย (ร.ย.ฟ.08) เพื่อเพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัย
  • หากเกิดอุบัติเหตุในช่วง 30 วันหลังเปลี่ยนแบตเตอรี่ บริษัทจะคุ้มครองในระดับเดียวกับปีแรก แม้ยังไม่ชำระเบี้ยเพิ่ม

กรณีที่ 2: ผู้เอาประกัน ไม่ยินยอมหรือไม่แจ้งความประสงค์

  • บริษัทจะให้ความคุ้มครอง ตามทุนประกันเดิม และตามอายุของแบตเตอรี่เดิม
  • ไม่มีการเพิ่มทุน และจะไม่ใช้เอกสารแนบท้าย (ร.ย.ฟ.06) เพื่อการชดเชย

2. กรณีผู้เอาประกันเป็นผู้เปลี่ยนแบตเตอรี่เอง

กรณีที่ 1: ผู้เอาประกัน แจ้งขอเพิ่มทุนประกัน

  • ต้องแจ้งความประสงค์ต่อบริษัท และชำระเบี้ยเพิ่ม ก่อนเกิดความเสียหาย
  • บริษัทจะออก เอกสารแนบท้าย (ร.ย.ฟ.08) เพื่อเพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัย

กรณีที่ 2: ผู้เอาประกัน ไม่แจ้งหรือไม่ชำระเบี้ยเพิ่ม

  • บริษัทจะให้ความคุ้มครอง ตามทุนประกันเดิม และตามอายุแบตเตอรี่ก่อนเปลี่ยน
  • ค่าชดเชยจะเป็นไปตาม ตารางอัตราการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแบตเตอรี่
เปลี่ยนแบตเตอรี่รถไฟฟ้า ประกันรถยนต์ไฟฟ้าคุ้มครองอย่างไร

แบตเตอรี่รถไฟฟ้าเสียหาย ประกันรถยนต์ไฟฟ้าคุ้มครองอย่างไร?

หากรถยนต์ไฟฟ้าของผู้เอาประกันภัยเกิดอุบัติเหตุ หรือ ได้รับความเสียหายจนต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่รถไฟฟ้าใหม่ บริษัทประกันภัยจะมีการพิจารณาอนุมัติเคลมที่แตกต่างกันไปตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด

ในส่วนผู้เอาประกัน

หากต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่รถไฟฟ้าใหม่ ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์แล้ว กรรมสิทธิ์ของซากแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นของผู้เอาประกันภัยและบริษัท ตามสัดส่วนเดียวกับอัตราการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแบตเตอรี่

กล่าวคือ หากมีการเปลี่ยนแบตเตอรี่รถไฟฟ้าใหม่ ผู้เอาประกันก็จะได้สิทธิประโยชน์ เมื่อมีการออกค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ เช่น หากใช้รถยนต์ไฟฟ้าเข้าปีที่ 2 แล้วเกิดอุบัติเหตุ แบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้าจะได้รับความคุ้มครองที่ 90% 

เท่ากับว่า เมื่อเปลี่ยนแบตเตอรี่รถไฟฟ้าลูกใหม่ ผู้เอาประกันจะต้องจ่ายอีก 10% ที่เหลือ ซึ่งเมื่อบริษัทประกันภัยนำแบตเตอรี่ไปขายต่อและได้เงินมา ผู้เอาประกันจะได้รับเงิน 10% ที่ออกไปก่อนหน้า

ในส่วนบริษัทประกันรถยนต์ไฟฟ้า

ผู้เอาประกันภัยที่รถยนต์ไฟฟ้ามีแบตเตอรี่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป สามารถซื้อความคุ้มครองการเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่เพิ่มได้ 

แต่หลังจากบริษัทประกันภัยมีการจ่ายชดใช้ค่าความเสียหายเนื่องจากต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่เรียบร้อยแล้ว สำนักงานคปภ. ระบุเงื่อนไขให้ซากแบตเตอรี่ดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทประกันภัยแทน

โดยหลังจากการเปลี่ยนแบตเตอรี่รถไฟฟ้าใหม่แล้ว ผู้เอาประกันสามารถขอปรับทุนประกันตามมูลค่าแบตเตอรี่ใหม่ได้ ซึ่งสามารถติดต่อสอบถามเรื่องทุนประกันใหม่กับบริษัทประกันรถยนต์ไฟฟ้าได้ทันที โดยการพิจารณาจะเป็นไปตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด

กรณีไหนที่อาจต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่รถไฟฟ้า?

แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าเป็นอะไหล่ชิ้นสำคัญที่มีมูลค่าสูงที่สุดในรถยนต์ไฟฟ้า โดยการตัดสินใจเปลี่ยนแบตเตอรี่รถไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับความเสียหายและมาตรฐานความปลอดภัยที่บริษัทรถยนต์แต่ละแห่งกำหนด 

เช่น รถยนต์ไฟฟ้าบางค่ายอาจมีการกำหนดระดับความเสียหายของแบตเตอรี่รถไฟฟ้า รวมถึงความรุนแรงของอุบัติเหตุที่ทำให้โครงสร้างแบตเตอรี่เสียหาย รั่ว หรือ บิดเบี้ยว 

ในขณะที่รถยนต์ไฟฟ้าบางค่ายอาจมีกำหนดลักษณะความเสียหายที่ส่งผลต่อการใช้งาน และจำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ เช่น เหตุไฟไหม้ หรือ ไฟลัดวงจร ส่งผลให้เกิดความร้อน หรือ แรงดันไฟฟ้าที่ผิดปกติ และทำให้ไม่สามารถใช้งานต่อได้ หรือ ความเสียหายต่อกรณีน้ำท่วม เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ประกันรถยนต์ไฟฟ้าจะไม่คุ้มครองแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าในกรณีที่เกิดจากการเสื่อมสภาพจากการใช้งานปกติ ความเสียหายจากการใช้ผิดวิธีและการประมาท เช่น ชาร์จผิดประเภท หรือ เป็นไปตามที่บริษัทประกันรถยนต์ไฟฟ้ากำหนด

ลุยน้ำท่วม ฝนตกหนัก เครื่องยนต์รถยนต์ไฟฟ้า EV จะมีปัญหาไหม?

เหตุผลที่เบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้าแพงกว่ารถยนต์ทั่วไป

หากใครมีข้อสงสัย หรือ คำถามเกี่ยวกับความคุ้มครองรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มเติม สามารถแอดไลน์มาสอบถามได้ที่ @easysunday 

สำหรับใครที่กำลังมองหาประกันรถยนต์ไฟฟ้าที่ “คุณ” สามารถออกแบบความคุ้มครองเองได้ สามารถเข้ามาเช็กเบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้ากับซันเดย์ได้บนเว็บไซต์ได้ง่ายๆ แค่ 3 ขั้นตอน

  1. เลือกรุ่นรถยนต์ไฟฟ้า
  2. กรอก “วันเดือนปีเกิด” 
  3. กรอก “รหัสไปรษณีย์ที่อยู่ปัจจุบัน

แค่นี้ก็เช็กเบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้าที่ตอบโจทย์ได้แล้ว ไม่ต้องกรอกข้อมูลติดต่อให้ซับซ้อน!

ซื้อประกันรถ ev

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

ต่อประกันรถ EV เจ้าไหน ก็ใช้ประวัติขับขี่คำนวณเบี้ยเหมือนกัน

ต่อประกันรถ EV เจ้าไหนก็เกณฑ์เดียวกัน ใช้ “ระดับพฤติกรรมการขับขี่” ร่วมคำนวณเบี้ยแล้ว! จากเกณฑ์ใหม่ประกันรถยนต์…
driver score ระดับพฤติกรรมการขับขี่

ราคารถไฟฟ้ามีแนวโน้มถูกลง ค่าประกันรถยนต์ไฟฟ้าจะถูกลงไหม?

รถ EV มีแนวโน้มถูกลง ค่าประกันรถยนต์ไฟฟ้าจะถูกลงด้วยไหม? นับตั้งแต่เริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย จะเห็นได้ว่า…
0
Share