หน้าหลัก รู้ทันประกันสุขภาพ ทำประกันสุขภาพเหมาจ่ายผู้ป่วยใน (IPD) อย่างเดียวพอไหม?

ทำประกันสุขภาพเหมาจ่ายผู้ป่วยใน (IPD) อย่างเดียวพอไหม?

ทำประกันสุขภาพเหมาจ่าย IPD อย่างเดียว ต้องเข้าใจอะไรบ้าง?

ไม่เพียงแต่จะยากต่อการคาดเดาเท่านั้น แต่ “การเจ็บป่วย” ยังมาพร้อมกับค่ารักษาพยาบาลรวมถึงค่าเสียโอกาสในการทำงานและใช้ชีวิต ซึ่งถือเป็นหนึ่งในความเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสภาพการเงินส่วนบุคคลได้

การทำประกันสุขภาพ ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยบริหารความเสี่ยงด้านการเงินที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีเจ็บป่วยแล้วต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งนอกจากจะเสียโอกาสชีวิตแล้ว ยังเสี่ยงเสียเงินก้อนสำหรับเป้าหมาย หรือ ค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่นๆ อีกด้วย 

และเพื่อหาตัวช่วยรับมือความเสี่ยงที่หลายคนกังวลมากที่สุด อย่างค่าใช้จ่ายในการนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล การทำประกันสุขภาพเหมาจ่ายผู้ป่วยใน หรือ ประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกดีๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

ทำประกันสุขภาพเหมาจ่าย IPD

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายคืออะไร?

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย คือ ประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองตามทุนประกันที่กำหนด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้

  • ประกันสุขภาพเหมาจ่ายรายครั้ง ที่มีการจำกัดวงเงินรักษาเหมาจ่ายแบบรายครั้ง หรือคิดง่ายๆ คือ ทุกครั้งที่ป่วยจะมีวงเงินรักษาพยาบาลแบบเหมาจ่ายให้ และ หากป่วยใหม่ก็จะรีเซตวงเงินกลับไปที่จุดเริ่มต้นใหม่ ไม่มีการหักออก หรือขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด
  • ประกันสุขภาพเหมาจ่ายรายปี ที่มีการจำกัดวงเงินรักษาเหมาจ่ายแบบรายปี ซึ่งอาจมีการกำหนดจำนวนครั้งที่เข้ารักษาพยาบาล หรือ ไม่มีก็ได้ โดยส่วนใหญ่จะหักค่ารักษาพยาบาลแต่ละครั้งจากวงเงินที่ได้รับในแต่ละปี แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกันแต่ละแห่งด้วย

นอกจากลักษณะความคุ้มครองที่แตกต่างกันแล้ว ประกันสุขภาพเหมาจ่ายยังแบ่งได้ตามประเภทความคุ้มครองด้วย เช่น ประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย, ประกันสุขภาพ OPD เหมาจ่าย, หรือ ประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่ายและมีวงเงิน OPD ให้ เป็นต้น

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย IPD คุ้มครองอะไรบ้าง?

ประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย เป็นอีกหนึ่งทางเลือกประกันสุขภาพที่ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากสามารถให้ความคุ้มครองที่จำเป็น อย่างการเจ็บป่วยที่หนักจนต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล

โดยพื้นฐานแล้ว ประกันเหมาจ่าย IPD สามารถให้ความคุ้มครอง 3 กลุ่มหลัก ประกอบไปด้วย

  1. ผลประโยชน์กรณีผู้ป่วยใน 

จะประกอบไปด้วยค่าห้องผู้ป่วยใน ค่าห้อง ICU ค่าบริการทางแพทย์ที่ตรวจวินิจฉัย ค่าผ่าตัด ซึ่งบริษัทประกันแต่ละแห่งก็มีการกำหนดวงเงินการรักษาพยาบาลในแต่ละหมวดที่แตกต่างกัน หรือบางหมวดก็จะมีการเหมาจ่ายให้ตามจริง 

  1. ผลประโยชน์กรณีไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน 

เช่น ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย ก่อนและหลังที่เข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟู ค่าบำบัดมะเร็ง ค่าบริการรถพยาบาลฉุกเฉิน และค่าผ่าตัดเล็ก เป็นต้น ซึ่งแต่ละรายการก็จะมีกำหนดวงเงิน หรือ เงื่อนไขการเหมาจ่ายให้ตามจริงที่ต่างกันออกไป

  1. ความคุ้มครองเนื่องจากอุบัติเหตุ 

เช่น การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สูญเสียสายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง หรือ ทุพพลภาพถาวร รวมไปถึงการถูกฆาตกรรม ถูกทำร้ายร่างกาย การขับขี่ หรือ โดยสารรถจักรยานยนต์ ซึ่งกรณีความคุ้มครองอุบัติเหตุก็จะแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขของบริษัทประกันแต่ละแห่งด้วยเช่นกัน

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย IPD ต่างจากประกันสุขภาพทั่วไปอย่างไร?

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายดีไหม เชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายคนสงสัย โดยเฉพาะประกัน IPD เหมาจ่ายที่เน้นความคุ้มครองการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยในโดยเฉพาะ 

ดังนั้น เพื่อช่วยให้สามารถเลือกประกันสุขภาพที่เหมาะกับตัวเองได้มากที่สุด ลองมาพิจารณาความแตกต่างของประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่ายกับประกันสุขภาพทั่วไปกัน

ความแตกต่างประกัน IPD เหมาจ่ายประกันสุขภาพทั่วไป
ลักษณะความคุ้มครองมีทั้งแบบจำกัดวงเงิน และ แบบเหมาจ่ายการรักษาพยาบาลกำหนดวงเงินสำหรับการรักษาพยาบาลแต่ละรายการ
ผลประโยชน์กรณีผู้ป่วยใน 
ผลประโยชน์กรณีไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน คุ้มครองเฉพาะกรณีที่เข้าเงื่อนไข
ผลประโยชน์สูงสุดต่อรอบปีกรมธรรม์
ค่าห้องรักษาพยาบาลกำหนดค่าห้องผู้ป่วยในเหมาจ่ายค่าห้อง ICUกำหนดวงเงินสำหรับค่าห้องผู้ป่วยในและค่าห้อง ICU
ความคุ้มครองผู้ป่วยนอก (OPD)เลือกแผนที่มีวงเงิน OPD ได้

อ้างอิงข้อมูลจาก

แผนประกันสุขภาพแบบ IPD เหมาจ่าย และ แผนซันเดย์เอ็กซ์คลูซีฟโปรแกรม

เทียบกับแผนอื่นแล้ว ทำไมถึงควรทำประกันสุขภาพเหมาจ่าย IPD?

ข้อดีของประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย คือ นอกจากจะได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมกรณีที่จำเป็น อย่างการเจ็บป่วยที่จำเป็นต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลที่หลายคนเป็นกังวลในเรื่องค่าใช้จ่ายแล้ว ประกันสุขภาพเหมาจ่าย IPD ยังมีราคาเบี้ยประกันที่ไม่สูงมาก เหมาะสำหรับผู้ที่มีงบประมาณจำกัดและกำลังมองหาประกันสุขภาพที่มีความคุ้มค่า

นอกจากนี้ ประกัน IPD บางแผนยังให้ความคุ้มครองด้านการชดเชยรายได้ในกรณีเจ็บป่วยแล้วต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล ทำให้ตอบโจทย์ความต้องการของคนทำงานทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟรีแลนซ์ที่มีรายได้ขึ้นอยู่กับงานที่ทำได้

ทำประกันสุขภาพเหมาจ่าย IPD

เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย IPD ต้องเข้าใจอะไรบ้าง?

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย IPD คิดราคาเบี้ยจากอะไร?

  1. จำนวนเงินคุ้มครอง ยิ่งวงเงินคุ้มครองสูง ความคุ้มครองเพิ่ม ค่าเบี้ยประกันสูงขึ้น
  2. ปัจจัยจากผู้เอาประกัน เช่น อายุ เพศกำเนิด ผู้ที่มีประวัติเจ็บป่วยรุนแรงในอดีต รวมไปถึงผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพสูง ทำให้ใช้ระยะเวลาในการรักษาตัวนานกว่าคนทั่วไป 
  3. อาชีพ หากเป็นอาชีพที่ต้องเสี่ยงภัย มีโอกาสได้รับบาดเจ็บสูง หรือ เจ็บป่วยได้ง่าย อาจทำให้ค่าเบี้ยประกันสุขภาพสูงกว่าอาชีพทั่วไปได้เช่นกัน
  4. เงื่อนไขของบริษัทแต่ละแห่ง ที่มีการพิจารณาการรับประกันที่ไม่เหมือนกัน ทำให้เบี้ยประกันจากแต่ละบริษัทไม่เท่ากัน

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย IPD แบบไหนดี?

ซันเดย์ มาพร้อมกับประกันสุขภาพเหมาจ่ายออนไลน์ที่ “คุณ” สามารถเลือกแผนความคุ้มครองเหมาะกับตัวเองง่ายๆ 

โดยประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่ายแผนใหม่มีให้เลือกพิจารณามากถึง 4 แผน ซึ่งจะมีความคุ้มครองและเบี้ยประกันที่แตกต่างกัน ดังนี้

ความคุ้มครองแผนประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่ายแผนใหม่
แผน 1แผน 2แผน 3แผน 4
ผลประโยชน์สูงสุดต่อปีกรมธรรม์400,000600,000900,0001,200,000
ค่าห้องผู้ป่วยใน สูงสุดต่อคืน4,0006,0008,00010,000
ค่ารักษาพยาบาลเหมาจ่ายให้ตามจริง
เบี้ยเริ่มต้น อายุ 21 – 30 ปี12,11014,63020,64024,520
ประกัน Sunday lumpsum ipd only เหมาจ่าย แบบผู้ป่วยใน

นอกจากจะได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมในเบี้ยประกันที่คุ้มค่า ซันเดย์ยังพร้อมอำนวยความสะดวกให้คุณสามารถผ่อน 0% ประกันสุขภาพเริ่มเดือนละ 1,000 บาท นาน 10 เดือนกับบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ ให้คุณได้มีประกันสุขภาพดีๆ ที่สอดคล้องกับสภาพการเงินของตัวเองได้อย่างลงตัว

เช็กเบี้ยประกันสุขภาพที่เหมาะกับคุณเองได้ง่ายๆ ใช้แค่ “วันเดือนปีเกิด” ของคุณ พร้อมเลือกแผนความคุ้มครองที่เหมาะกับตัวเองได้ทันที

ประกัน ipd ผู้ป่วยใน

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

ประกันอุบัติเหตุจำเป็นแค่ไหน ผู้หญิงเสี่ยงกว่าจริงไหม?

ผู้หญิงเสี่ยงอุบัติเหตุมากกว่าจริงหรือไม่ ทำไมต้องทำประกันอุบัติเหตุผู้หญิงโดยเฉพาะ? “อุบัติเหตุ”…
does-woman-face-more-accidents-than-men

โรคที่รักษาแบบผู้ป่วยนอก คุ้มครองด้วยประกันสุขภาพ OPD

การรักษาแบบ OPD คืออะไร ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกคุ้มครองโรคไหนบ้าง? จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า…
opd-diseases-and-opd-health-insurance

ทำประกันต้องรู้! ค่าห้องพิเศษโรงพยาบาล อัปเดตปี 2567

ซื้อประกันต้องเข้าใจ! ค่าห้องพิเศษโรงพยาบาลคืออะไร พร้อมอัปเดตค่าห้องปี 2567 นอกจากโรงพยาบาลในเครือข่ายแล้ว…
private-room-hospital-update-2024

อัปเดต! ค่าห้องโรงพยาบาลเอกชนปี 2567 งบไม่เกิน 10,000 บาท!

ค่าห้องโรงพยาบาลเอกชน ไม่เกิน 10,000 บาท อัปเดตล่าสุด เจ็บป่วยต้องนอนโรงพยาบาล เชื่อว่าหลายๆ…
hospital-room-costs-2024
0
Share