หน้าหลัก รู้ทันประกันสุขภาพ มารู้จักประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่คุ้มครองทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก

มารู้จักประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่คุ้มครองทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก

4 เรื่องต้องเข้าใจ! ก่อนซื้อประกัน IPD เหมาจ่าย + OPD 1,500 บาทของซันเดย์

ซันเดย์ ไม่เพียงแต่จะมีแผนประกันสุขภาพเหมาจ่ายออนไลน์ให้พิจารณามากมายเท่านั้น แต่วงเงิน OPD ของประกันสุขภาพซันเดย์ยังมีความคุ้มครองที่ครอบคลุมถึงการรับยาจากเภสัชกรและการปรึกษาแพทย์ออนไลน์ จึงทำให้ใครหลายคนให้ความสนใจประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกของซันเดย์เป็นอย่างมาก 

ซึ่งเมื่อสงสัยว่าประกันสุขภาพที่มี OPD ที่ไหนดี นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2567 เรื่อยมา “ประกัน IPD เหมาจ่าย + OPD 1,500 บาท” ต้องเป็นอีกหนึ่งแผนประกันสุขภาพที่ได้รับความสนใจสูงสุดเมื่อเทียบกับแผนประกันที่มี OPD และแผนเหมาจ่ายอื่นๆ 

แต่ก่อนจะตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพแผนนี้ ลองมาดู 4 เรื่องสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจให้ดีก่อนซื้อกัน!

1. ประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย + OPD 1,500 บาท คืออะไร?

ประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย + OPD 1,500 บาท คือ แผนประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาลผู้ป่วยใน (IPD) แบบเหมาจ่ายตามจริง และมีวงเงินสำหรับการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD) ให้ครั้งละ 1,500 บาท สูงสุด 30 ครั้งต่อปี

เช่นเดียวกับประกันสุขภาพแผนอื่นๆ จากซันเดย์ ประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย + OPD 1,500 บาท ยังสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท ทั้งยังสามารถเลือกผ่อน 0% นาน 10 เดือนกับบัตรเครดิตที่ร่วมรายการเช่นกัน

2. ประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย + OPD 1,500 บาท คุ้มครองอะไรบ้าง?

ประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย + OPD 1,500 บาท สามารถแบ่งความคุ้มครองออกเป็น 5 ส่วนหลัก ซึ่งแต่ละส่วนจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ดังนี้

ส่วนที่ 1: ผลประโยชน์สูงสุดต่อปีกรมธรรม์

ผลประโยชน์สูงสุดต่อปีกรมธรรม์ คือ วงเงินสูงสุดที่ผู้เอาประกันจะได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ 

โดยประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย + OPD 1,500 บาท จะมีผลประโยชน์สูงสุดต่อปีกรมธรรม์ที่แตกต่างกันให้เลือกด้วยกัน 4 แผน ดังนี้

ผลประโยชน์สูงสุดต่อปีกรมธรรม์ประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย + OPD 1,500 บาท
แผนผลประโยชน์สูงสุดต่อปีกรมธรรม์ (บาท)
1300,000
2500,000
3800,000
41,000,000

ส่วนที่ 2: ผลประโยชน์กรณีผู้ป่วยใน

ผลประโยชน์กรณีผู้ป่วยใน เป็นส่วนที่จะกำหนดถึงความคุ้มครองที่ผู้เอาประกันจะได้รับ เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยใน (IPD) 

โดยแผนประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย + OPD 1,500 บาท จะให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยในแบบเหมาจ่ายให้ตามจริง แต่จะมีข้อแตกต่างกันในเรื่องของค่าห้องพักรักษาตัวในกรณีที่ต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล ดังนี้

ค่าห้องกรณีรักษาแบบ IPDประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย + OPD 1,500 บาท
แผนคุ้มครองค่าห้องสูงสุด (บาท)
13,000
25,000
38,000
410,000

ส่วนที่ 3: ผลประโยชน์กรณีที่ไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน

ในกรณีที่มีการรักษากลุ่มโรค หรือ หัตถการบางประเภท ที่ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล หรือที่เรียกว่าการรักษาแบบ Day Case ผู้เอาประกันยังสามารถได้รับความคุ้มครองในส่วนนี้จากเงื่อนไขผลประโยชน์กรณีที่ไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ซึ่งจะเป็นคนละกรณีกับการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก (OPD)

โดยประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย + OPD 1,500 บาท จะเหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ตามจริง แต่จะมีการจำกัดวงเงินการรักษาสำหรับ 3 หมวดการรักษาพยาบาล ประกอบไปด้วย

  • ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อการบำบัดรักษาโรคไตวายเรื้อรัง 10,000 บาทต่อรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย
  • ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อการบำบัดรักษาโรคมะเร็ง 50,000 บาทต่อรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย เฉพาะวิธีรังสีรักษา รังสีร่วมรักษา เวชศาสตร์นิวเคลียร์รักษา
  • ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อการบำบัดรักษาโรคมะเร็ง 50,000 บาทต่อรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย เฉพาะวิธีเคมีบำบัด

โดยทั้ง 4 แผนของประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย + OPD 1,500 บาท จะจำกัดวงเงินสำหรับ 3 หมวดการรักษาพยาบาลข้างต้นด้วยวงเงินและเงื่อนไขที่เหมือนกัน

ส่วนที่ 4: ความคุ้มครองอุบัติเหตุ

รู้หรือไม่? ข้อดีของการทำประกันสุขภาพนั้นไม่ได้จำกัดอยู่ที่ความคุ้มครองด้านการรักษาพยาบาลเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงการเกิดอุบัติเหตุด้วย โดยประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย + OPD 1,500 บาท ยังให้ความคุ้มครองการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ (อบ.2) ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • การเสียชีวิต
  • สูญเสียอวัยวะ
  • สูญเสียสายตา
  • สูญเสียการรับฟังเสียง
  • สูญเสียการพูดออกเสียง
  • ทุพพลภาพถาวร
  • รวมถึงกรณีอื่นๆ เช่น การถูกฆาตกรรม การถูกทำร้ายร่างกาย การขับขี่ หรือ โดยสารรถจักรยานยนต์

ส่วนที่ 5: การรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก

ประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย + OPD 1,500 บาท เป็นประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกที่ให้ความคุ้มครอง 1,500 บาทต่อครั้ง ต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 30 ครั้งต่อปี โดยผู้เอาประกันจะได้รับความคุ้มครองจากวงเงิน OPD ทั้งหมด 3 ส่วนหลัก ประกอบไปด้วย

  • บริการ Walk-in Pharmacy ที่ให้คุณรับยาจากเภสัชกรจากร้านขายยาในเครือข่ายได้โดยไม่ต้องสำรองจ่าย ซึ่งจะตัดวงเงิน OPD จากจำนวนครั้งที่ใช้ได้
  • บริการ Telemedicine ที่ให้คุณปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกรออนไลน์ผ่านผู้ให้บริการในเครือข่าย พร้อมบริการจัดส่งยาถึงที่หมาย โดยไม่ต้องสำรองจ่าย ซึ่งจะตัดวงเงิน OPD จากจำนวนครั้งที่ใช้ได้
  • การรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก หรือ การรักษาพยาบาลแบบที่รับยากลับมารักษาตัวต่อ หรือ รักษาตัวในโรงพยาบาลน้อยกว่า 6 ชั่วโมง

3. ประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย + OPD 1,500 บาท แต่ละแผนต่างกันอย่างไร?

ประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย + OPD 1,500 บาท มาพร้อมกับความคุ้มครองให้คุณได้เลือกพิจารณามากถึง 4 แผน ซึ่งแต่ละแผนจะมีความแตกต่างกัน 3 จุดหลัก ดังนี้

สรุปความแตกต่างประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย + OPD 1,500 บาท
แผนผลประโยชน์สูงสุดต่อปีกรมธรรม์ (บาท)คุ้มครองค่าห้องสูงสุด (บาท)เบี้ยประกันเริ่มต้นสำหรับอายุ 21-30 ปี (บาท)
1300,0003,00018,400
2500,0005,00020,100
3800,0008,00022,700
41,000,00010,00027,300
ประกันสุขภาพ ipdopd1500

4. เบี้ยประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย + OPD 1,500 บาท คิดจากอะไรบ้าง?

ประกันสุขภาพ IPD+OPD1500 ไม่เพียงแต่จะเป็นประกันสุขภาพที่มี OPD แต่ยังเหมาจ่ายการรักษาพยาบาลแบบ IPD ให้ด้วย โดยเบี้ยประกันของแผนนี้จะพิจารณาจาก 2 ปัจจัยหลัก ดังนี้

  • ความเสี่ยงจากผู้เอาประกัน เช่น อายุ อาชีพ เพศกำเนิด การเจ็บป่วยในอดีต
  • วงเงินคุ้มครองที่ต้องการ

หากไม่มั่นใจว่า ตัวเราเหมาะกับความคุ้มครองของประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย + OPD 1,500 บาทแผนไหน หรือ ต้องจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพเท่าไหร่ สามารถมาเช็กเบี้ยประกันสุขภาพเหมาจ่ายออนไลน์กับซันเดย์ได้ง่ายๆ ใช้แค่ “วันเดือนปีเกิด” เท่านั้น

ประกัน opd ราคา

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

คนไทยป่วย OPD โรคอะไรมากที่สุด รักษาอะไรบ้างที่ผ่านมา?

การรักษาแบบ OPD คืออะไร คนไทยป่วยด้วย OPD ด้วยโรคอะไรมากที่สุด? การรักษาแบบ OPD หรือ Out-Patient Department คือ…
5 โรคแบบ OPD

ครบที่เดียว! สรุปสาเหตุ + อาการของวัยทองในผู้หญิงและผู้ชาย

สูงวัยเช็กด่วน! รวมสาเหตุและอาการของวัยทองในผู้หญิงและผู้ชาย เมื่อเวลาเปลี่ยนไป…
menopause-in-men-and-women

เข้าใจก่อนซื้อ! 6 ปัจจัยที่ส่งผลต่อเบี้ยประกันสุขภาพ

สรุปครบ! ทำไมจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพไม่เท่ากัน ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางประชากร รวมถึงความเสี่ยงจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ…
factors-affect-health-insurance-premium

ประกันอุบัติเหตุจำเป็นแค่ไหน ผู้หญิงเสี่ยงกว่าจริงไหม?

ผู้หญิงเสี่ยงอุบัติเหตุมากกว่าจริงหรือไม่ ทำไมต้องทำประกันอุบัติเหตุผู้หญิงโดยเฉพาะ? “อุบัติเหตุ”…
does-woman-face-more-accidents-than-men
0
Share