หน้าหลัก สาระสุขภาพ วิตามินเอช่วยอะไร ขาดวิตามินเออันตรายแค่ไหน?

วิตามินเอช่วยอะไร ขาดวิตามินเออันตรายแค่ไหน?

วิตามินเอ (Vitamin A) ไม่เพียงแต่จะเป็นวิตามินที่มีส่วนช่วยสำคัญในการต้านอนุมูลอิสระเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยลดการอักเสบและสร้างสมดุลให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ทั้งยังมีส่วนช่วยสำคัญในการบำรุงสุขภาพผิวให้แข็งแรงอีกด้วย

แต่ด้วยความที่เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน เชื่อว่าหลาย ๆ คนก็คงเป็นกังวลถึงความปลอดภัยในการรับประทานวิตามินเอเช่นกัน ดังนั้น เพื่อช่วยสร้างความมั่นใจและไขข้อสงสัยเกี่ยวกับวิตามินเอให้กระจ่าง ลองมาทำความรู้จักวิตามินเอให้มากขึ้นในบทความนี้ พร้อมทำความเข้าใจให้ชัวร์ว่า วิตามินเอคืออะไร กินตอนไหน มีเรื่องใดที่ต้องระมัดระวังบ้าง

วิตามินเอช่วยอะไร ขาดได้ไหม?

วิตามินเอคืออะไร?

วิตามินเอ (Vitamin A) จัดเป็นวิตามินในกลุ่มที่ละลายในไขมันที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้ ซึ่งร่างกายจะสามารถรับวิตามินเอได้จากอาหารที่รับประทานเข้าไป โดยปกติแล้ว ร่างกายจะดูดซึมวิตามินเอโดยใช้ไขมันและแร่ธาตุต่าง ๆ เป็นตัวช่วย ทั้งยังสามารถเก็บสะสมเอาไว้ในร่างกายเพื่อนำกลับมาใช้ได้ ดังนั้น แม้ไม่ได้รับประทานอาหารที่มีวิตามินเอสูงทุกวัน ร่างกายก็สามารถได้รับวิตามินเอที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายได้


วิตามินเอมีกี่ประเภท พบได้ที่ไหนบ้าง?

โดยปกติแล้ว วิตามินเอจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ซึ่งจะมีรายละเอียดแตกต่างกัน ดังนี้

  1. วิตามินเอแบบสำเร็จ หรือ เรตินอล (Retinol) ที่พบได้เฉพาะในเนื้อสัตว์เท่านั้น โดยอาหารที่มีวิตามินเอแบบสำเร็จสูงจะประกอบไปด้วยไข่ ปลาไขมันสูง นมและโยเกิร์ต และตับ
  2. วิตามินเอแบบสารตั้งต้น หรือ โปรวิตามินเอ (Pro-Vitamin A) หรือ แคโรทีน (Carotene) ที่พบได้ในพืชและสัตว์ เช่น ผักผลไม้บำรุงสายตาอย่างผักบุ้ง มะละกอ แครอท ฟักทอง คะน้า ผักโขม น้ำมันตับปลา เนย รวมถึงไข่แดง ซึ่งเมื่อรับประทานอาหารที่มีโปรวิตามินเอสูงเข้าไป ร่างกายจะทำการเปลี่ยนแคโรทีนที่อยู่ในอาหารให้กลายเป็นวิตามินเอ หรือ เรตินอลต่อไป

ประโยชน์ของวิตามินเอมีอะไรบ้าง?

“กินวิตามินเอช่วยอะไรได้บ้าง” เชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลาย ๆ คนสงสัยอยู่ไม่น้อย โดยประโยชน์ของวิตามินเอที่มีต่อสุขภาพนั้นจะประกอบไปด้วย 5 ส่วนหลัก ดังนี้

1. บำรุงสายตา

วิตามินเอเป็นส่วนประกอบสำคัญของ ‘สารโรดอปซิน’ ในเซลล์ที่อยู่ในจอประสาทตา ด้วยเหตุนี้ วิตามินเอจึงมีหน้าที่ช่วยบำรุงสายตา การมองเห็นในสภาวะต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่มีแสงน้อย นอกจากนี้ วิตามินเอยังมีส่วนช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นของดวงตา ตลอดจนช่วยชะลอความเสื่อมของดวงตาได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคตาแห้งแล้ว ยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงโรคจอประสาทตาเสื่อมและโรคตาบอดตอนกลางคืนได้อีกด้วย

Sunday Tips!
คำถาม : ตาเหลืองขาดวิตามินอะไร?
คำตอบ : อาการตาเหลืองเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายที่เกี่ยวข้องกับตับ รวมถึงความผิดปกติในส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกาย หนึ่งในนั้น คือ การเป็นสัญญาณเตือนของภาวะขาดวิตามินเอ แต่ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อวิตามินเอมารับประทาน ขอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมก่อน ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยและการรักษาโรคที่ตรงจุดมากยิ่งขึ้น

2. ต่อต้านอนุมูลอิสระ และ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน

วิตามินเอมีหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวในร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถกำจัดเชื้อโรค อาการอักเสบ ตลอดจนบรรเทาอาการติดเชื้อภายในร่างกายได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมากขึ้น ซึ่งถือว่ามีส่วนช่วยสำคัญในการเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงได้

3. บำรุงผิวพรรณ

หากสงสัยว่า การรับประทานวิตามินเอสามารถช่วยอะไรที่เกี่ยวกับผิวได้บ้าง คำตอบ คือ วิตามินเอจะทำหน้าที่เป็นตัวต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นกับผิว ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสกับมลพิษในอากาศ รังสียูวี ไปจนถึงการอักเสบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิว นอกจากนี้ วิตามินเอยังมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดฝ้า กระ ริ้วรอย ตลอดจนช่วยผลัดเซลล์ผิวที่ตายออกไป ทำให้ผิวดูอ่อนเยาว์และเรียบเนียนขึ้นได้

4. ตัวช่วยดูแลสุขภาพของกระดูก

นอกจากวิตามินดี โปรตีน และแคลเซียมแล้ว วิตามินเอยังมีส่วนช่วยในการบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรงได้ ซึ่งการรับประทานวิตามินเอในปริมาณที่เหมาะสมสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน รวมถึงภาวะกระดูกเปราะได้อีกด้วย

5. บำรุงระบบสืบพันธุ์

วิตามินเอเป็นวิตามินสำคัญที่ช่วยบำรุงระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงและชาย ตลอดจนช่วยบำรุงทารกในครรภ์ให้แข็งแรงและมีพัฒนาการตามเกณฑ์ปกติ ซึ่งถือเป็นวิตามินสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการมีบุตร รวมถึงผู้ที่ประสบปัญหาภาวะมีบุตรยาก


ขาดวิตามินเอแล้วเป็นอันตรายหรือไม่?

หากร่างกายขาดวิตามินเอ หรือได้รับวิตามินเอที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการเมื่อใด ร่างกายก็จะเริ่มเกิดความผิดปกติในส่วนต่าง ๆ ได้ ตั้งแต่สุขภาพของดวงตาที่อ่อนแอลงจนส่งผลต่อการมองเห็นและส่วนประกอบภายในดวงตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กที่เสี่ยงเกิดภาวะตาบอดและสูญเสียการมองเห็นจากการขาดวิตามินเอ ในขณะที่กลุ่มวัยรุ่นและผู้ใหญ่อาจมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะนัยน์ตาแห้งและอาการตาบอดในตอนกลางคืน

นอกจากนี้ การขาดวิตามินเอยังส่งผลกระทบต่อความสมดุลของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพของกระดูก ระบบสืบพันธุ์ ผิวพรรณ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบภูมิคุ้มกันที่จะได้รับผลกระทบโดยตรง เนื่องจากวิตามินเอเป็นหนึ่งในสารสำคัญที่ช่วยการทำงานของเม็ดเลือดขาว ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย โดยผู้ที่มีภาวะขาดวิตามินเอส่วนใหญ่จึงมักป่วยง่าย ร่างกายฟื้นตัวช้า และเกิดการอักเสบในร่างกายขึ้นบ่อย ๆ


วิตามินเอ กินตอนไหนดีที่สุด?

วิตามินเอเป็นวิตามินที่ละลายได้ดีในไขมัน หากอยากได้รับประโยชน์ของวิตามินเอได้อย่างเต็มที่ ขอแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีวิตามินเอสูงในระหว่างมื้ออาหาร หรือ หลังอาหารไม่เกิน 30 นาที เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมวิตามินและนำไปใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ข้อควรระวังของวิตามินเอ

ข้อควรระวังของวิตามินเอ

วิตามินเอเป็นวิตามินที่ละลายได้ดีในไขมัน แต่หากใช้ไม่หมด ร่างกายจะลำเลียงวิตามินเอไปสะสมที่ตับ ซึ่งหากรับประทานอาหารที่มีวิตามินเอสูงอย่างต่อเนื่อง หรือ รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารวิตามินเอสะสมสูงเกินกว่า 10,000 ไมโครกรัมต่อวัน อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดกระดูกและข้อ รวมถึงเกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง หรือเกิดความผิดปกติที่ตับ

นอกจากนี้ ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ สงสัยว่าจะท้อง หรือกำลังให้นมบุตร ยังควรรับประทานวิตามินเอให้เหมาะสม เนื่องจากวิตามินเอที่สูงเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงให้กับทารกในครรภ์ได้เช่นกัน

โดยปริมาณวิตามินเอที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายจะแตกต่างกันไปตามช่วงอายุและเพศ ดังนี้

เพศ และ ช่วงอายุปริมาณแนะนำ (ไมโครกรัมต่อวัน)
เด็กอายุไม่เกิน 3 ปี300 – 600
เด็กอายุ 4 – 8 ปี400 – 900
เด็กอายุ 9 – 13 ปี600 – 1,700
เด็กอายุ 14 – 18 ปี700 – 2,800
ผู้หญิง อายุ 19 ปีขึ้นไป600 – 3,000
ผู้ชาย อายุ 19 ปีขึ้นไป700 – 3,000

อย่างไรก็ดี หากต้องการบำรุง หรือ ดูแลรักษาร่างกายด้วยการรับประทานวิตามินเอเสริม ขอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมกำหนดปริมาณวิตามินเอให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายก่อนทุกครั้ง ทั้งนี้เพื่อป้องกันผลข้างเคียงและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการรับประทานวิตามินเอเกินขนาดด้วย


เท่านี้ก็ได้ทราบถึงการรับประทานวิตามินเอที่เหมาะสม อาการเมื่อขาดวิตามินเอที่ควรรู้ ไปจนถึงประโยชน์ของวิตามินเอที่ต้องทำความเข้าใจให้ดี ซึ่งถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้เลือกรับประทานวิตามินเอที่ดีและปลอดภัยต่อสุขภาพเป็นที่เรียบร้อย

แต่นอกจากจะเข้าใจวิธีการดูแลสุขภาพอย่างปลอดภัยและเหมาะสมแล้ว การมองหาตัวช่วยอย่างการทำประกันสุขภาพออนไลน์ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยเพิ่มความคุ้มครองให้สุขภาพในยามเจ็บป่วยเช่นกัน หากคุณเป็นอีกคนที่กำลังมองหาประกันสุขภาพออนไลน์อยู่ Sunday มาพร้อมกับประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองเมคเซนส์ เพิ่มความอุ่นใจให้การใช้ชีวิตและสภาพคล่องทางการเงินด้วยเบี้ยประกันที่เหมาะสม เช็กเบี้ยประกันง่าย ๆ ใช้แค่ ‘วันเดือนปีเกิด’ เท่านั้น

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

รู้จักไวรัส RSV โรคทางเดินหายใจในเด็ก อันตรายถึงชีวิต

โรค RSV คืออะไร สังเกตอาการได้อย่างไรบ้าง? ในช่วงที่อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ อย่างช่วงปลายฝนต้นหนาว…

นอนเยอะแต่เหมือนนอนไม่พอ คุณอาจจะเป็นโรคนอนเกิน!

นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ อาจเป็นโรคนอนเกินได้นะ! มีใครเคยเป็นบ้าง นอนเต็ม 8 ชั่วโมงก็แล้ว 12 ชั่วโมงก็แล้ว…
oversleeping-symptoms-feeling-tired-despite-sleeping-a-lot
0
Share