การวางแผนการเงินเป็นสิ่งสำคัญที่หลายคนอาจมองข้ามไป เนื่องจากพอพูดถึงคำว่าการวางแผน และยังเกี่ยวกับการเงินอีก ก็จะคิดว่าเป็นเรื่องยากและเป็นเรื่องไกลตัว วันนี้ซันเดย์เลยอยากพาทุกคนไปทำความรู้จักกับการวางแผนเงินแบบง่าย ๆ ที่ช่วยทำให้แผนทางการเงินของเพื่อน ๆ พัฒนาขึ้นได้ อย่างเช่น กองทุน SSF ว่ากองทุนนี้คืออะไร ลดหย่อนภาษีได้ไหม และต้องเริ่มต้นอย่างไรบ้าง
กองทุน SSF คืออะไร? ดียังไง?
SSF ย่อมาจาก คำว่า Super Savings Fund ซึ่งเป็นกองทุนรวมเพื่อการออมระยะยาว ซึ่งมาแทนที่กองทุนรวมหุ้นระยะยาว Long – Term Equity Fund (LTF) เมื่อปี พ.ศ. 2563 จุดประสงค์หลัก ๆ ของกองทุน SSF คือการส่งเสริมให้คนหันมาออมเงินระยะยาวกันมากขึ้นและส่งเสริมการลงทุนในตลาดหุ้นไทย โดยผู้ลงทุนในกองทุน SSF ได้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ด้วย แถมยังมีให้เลือกลงทุนในหลากหลายกองทุนด้วยกัน ตามการวางแผนการเงินของแต่ละคนเลย
กองทุน SSF มีข้อดี คือ ไม่มีข้อจำกัดในการลงทุน หมายความว่า ไม่มีการจำกัดวงเงินลงทุนในแต่ละปี สามารถเริ่มได้จากน้อย ๆ ไปจนถึงระดับที่เราสบายใจได้เลย นอกจากนี้ก็มีหลากหลายประเภทสินทรัพย์ให้เลือกลงทุนด้วยนะ ไม่ว่าจะเป็น หุ้นตราสารหนี้ การลงทุนในหุ้น การลงทุนแบบผสม การลงทุนในต่างประเทศ รวมถึงการลงทุนในทรัพย์สินอย่างทองคำหรืออสังหาริมทรัพย์ด้วยเช่นกัน
ความเสี่ยงของการลงทุนในกองทุน SSF
ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ถึงแม้ว่ากองทุน SSF จะเป็นการลงทุนระยะยาว แต่ก็มีความเสี่ยงที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละประเภทการลงทุน เช่น
- ลงทุนในกองทุนหุ้น (Equity SSF) จะเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง เพราะมีความผันผวนค่อนข้างมาก แต่ก็มาพร้อมกับผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนในกองทุนอื่น ๆ
- ลงทุนในตราสารหนี้ (Fixed Income SSF) เป็นการลงทุนที่ความผันผวนน้อยกว่ากองทุนหุ้ม ทำให้มีความเสี่ยงในการลงทุนน้อยกว่า ได้ผลตอบแทนค่อนข้างคงที่
- ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment SSF) มีความเสี่ยงที่ขึ้นตรงกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดต่างประเทศ รวมถึงอัตราการแลกเปลี่ยนค่าเงิน
จะจัดการความเสี่ยงได้ยังไง?
เราเห็นแล้วว่า SSF มีความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ที่มีความเสี่ยง ดังนั้นการเลือกลงทุนในกองทุนที่คุณสบายใจและคิดว่าเหมาะสมกับการวางแผนจึงเป็นสิ่งสำคัญ การประเมินความเสี่ยงของการลงทุนใน SSF สามารถพิจารณาได้ ดังนี้
- นโยบายการลงทุนของกองทุน ดูว่ากองทุนนั้น ๆ ลงทุนในทรัพย์สินประเภทไหน เพื่อประเมินความเสี่ยงจากการลงทุนว่ามีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน
- จัดสรรสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้คุณบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เลือกลงทุนตามความเชี่ยวชาญของตัวเอง หรือถ้าใครต้องการลงทุนจริงจัง ก็อาจจะหาผู้ช่วยในการลงทุนเพื่อช่วยจัดสรรเงินลงทุนให้เหมาะสมได้
- ตรวจสอบความผันผวนของตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ เพราะมีความแตกต่างกัน เหมาะกับการลงทุนที่ต่างกัน
ขายกองทุนคืนได้ไหม มีเงื่อนไขอะไรบ้าง?
สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่า เราสามารถถอนทุนกลับมาได้หรือไม่นั้น ซันเดย์ขอตอบเลยว่าได้แน่นอน โดยการถอนเงินหรือการขายหน่วยลงทุนคืนจะไม่ทำให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียสิทธิประโยชน์ทางภาษี แต่จะต้องถือครองตัวหุ้นครบ 10 ปีขึ้นไป ถ้าถอนเงินก่อนครบกำหนด 10 ปี จะมีการเรียกภาษีที่ได้หักลดหย่อนออกไปคืน แล้วก็จะมีเบี้ยปรับตามมาอีกด้วย
เพราะกองทุน SSF เป็นกองทุนรวมเพื่อการออมระยะยาว การถอนออกมาก่อนระยะเวลาที่กำหนดถือว่าไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของกองทุน ดังนั้นก่อนที่จะลงทุนใน SSF ควรวางแผนการเงินให้ดีก่อน เพื่อที่จะได้สิทธิประโยชน์สูงสุดจากการลงทุนนั่นเอง
ดูวีดีโอเงื่อนไขการลงทุนของ SSF
ดูวีดีโอการผิดเงื่อนไข SSF มีอะไรบ้าง?
ดูวีดีโอขายกองทุน SSF ก่อนกำหนด ทำยังไงได้บ้าง?
เริ่มต้นลงทุนกับ SSF ปี 2567 ยังไงดี?
ใครที่อยากเริ่มต้นลงทุนตั้งแต่ตอนนี้ ก็สามารถเริ่มต้นได้ง่าย ๆ ตามเช็กลิสต์นี้เลย
- กำหนดเป้าหมายการลงทุนและระยะเวลาการลงทุนให้เหมาะสมกับแผนการเงินของตัวเอง โดยเฉพาะการลงทุนใน SSF ที่เป็นการลงทุนระยะยาว อาจจะเริ่มจากการตั้งเป้าหมายว่าตั้งใจจะลงทุนไว้เพื่อการศึกษาของบุตร เป็นต้น
- เลือกประเภทของกองทุนให้เหมาะสมกับเป้าหมาย รวมถึงพิจารณาความเสี่ยงในการลงทุนให้เหมาะสมกับสไตล์การลงทุนของตัวเอง หากยอมรับความเสี่ยงได้น้อย หรือ เพิ่งเริ่มต้นลงทุน อาจกระจายความเสี่ยงด้วยการลงเริ่มลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ ซึ่งถือว่าเป็นก้าวแรกที่น่าสนใจไม่น้อย
- อย่างไรก็ตาม ควรมองหาที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทุน
เพียงเท่านี้ก็สามารถเริ่มต้นลงทุนในกองทุน SSF ได้แล้ว กองทุน SSF เป็นกองทุนที่ง่ายสำหรับผู้เริ่มต้นลงทุนอย่างมาก แต่การวางแผนการเงินให้ดี จะต้องวางแผนเพื่อกระจายความเสี่ยงให้รอบด้าน รวมถึงด้านสุขภาพด้วยเช่นกัน
ลดความเสี่ยงของแผนการลงทุนด้วยประกันสุขภาพดีๆ จากซันเดย์
สุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่สุด อาการเจ็บป่วยเป็นเรื่องรบกวนสภาพคล่องของเราไม่น้อย หนึ่งในวิธีบริหารเงินและความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพอีกทางหนึ่งคือการซื้อประกันสุขภาพที่เหมาะสมให้กับตัวเอง เพราะประกันสุขภาพนี่แหละที่จะกลายมาเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้แผนการเงินของเรามีความเสี่ยงน้อยลงจากปัญหาด้านสุขภาพที่ไม่สามารถคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าได้