Simple Disease คือ หนึ่งในเงื่อนไขการพิจารณาประกันสุขภาพ Co-payment ในปีต่ออายุที่สำนักงานคปภ. ประกาศบังคับใช้กับบริษัทประกันชีวิตในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2568 ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี เมื่อประกาศบังคับใช้เงื่อนไข Co-payment ออกมา เชื่อว่ายังมีหลายๆ คนที่ยังสงสัยอยู่ไม่น้อยว่า ทำไมอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ อย่าง Simple Disease ถึงถูกนำมาพิจารณาในเงื่อนไขประกันสุขภาพ Co-payment ได้ และจะมีเงื่อนไขการพิจารณาความหนักเบาของอาการเจ็บป่วยที่เข้าข่าย Simple Disease อย่างไร
หากคุณเป็นอีกคนที่สงสัยเรื่องนี้เหมือนกันอยู่ ลองมาไขข้อสงสัยทุกเรื่องเกี่ยวกับเงื่อนไข Simple Disease ในประกาศบังคับใช้ประกันสุขภาพ Co-payment ในปีต่ออายุของบริษัทประกันชีวิตในบทความนี้กัน

Simple Disease คืออะไร?
Simple Disease คือ โรค หรือ อาการเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรง ซึ่งสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องใช้เทคนิคทางการแพทย์ที่ซับซ้อน และมีแนวโน้มที่ผู้ป่วยจะหายเองได้ หรือ สามารถรักษาได้ด้วยยาพื้นฐาน
โดยอาการเจ็บป่วยและโรคที่เข้าข่าย Simple Disease ตามเงื่อนไขประกันสุขภาพ Co-payment ในครั้งนี้จะประกอบไปด้วย
- ไข้หวัดใหญ่
- โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน
- ท้องเสีย
- เวียนศีรษะ
- เป็นไข้ไม่ระบุสาเหตุ
- ปวดหัว
- กล้ามเนื้ออักเสบ
- ภูมิแพ้
- กระเพาะอาหารอักเสบ
- กรดไหลย้อน
- โควิดกลุ่มอาการสีเขียว
- โรคอื่นๆ ที่เป็นไปตามเงื่อนไขการพิจารณาของบริษัทประกันภัย
ป่วยด้วย Simple Disease แบบไหน ถึงเข้าข่ายเงื่อนไขประกันสุขภาพ Co-payment?
ด้วยอัตราเงินเฟ้อทางการแพทย์ (Medical Inflation) ที่พุ่งเฉลี่ย 8% – 15% ต่อปี ประกอบกับการเคลมประกันสุขภาพที่เกินความจำเป็นทางการแพทย์ จนส่งผลให้เบี้ยประกันในภาพรวมปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้สำนักงานคปภ. ต้องนำเงื่อนไขประกันสุขภาพ Co-payment ออกมาใช้ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว
จริงอยู่ว่า Simple Disease คือ อาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ที่สามารถหายเองได้ หรือ รับการรักษาพื้นฐานก็สามารถหายจากการเจ็บป่วยได้แล้ว แต่ในบางครั้ง การเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ก็สามารถเพิ่มระดับความรุนแรงจนต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล หรือ เข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน (IPD)
อย่างไรก็ดี หากผู้เอาประกันเข้ารับการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยใน (IPD) ด้วย Simple Disease มากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้ง และมีอัตราการเคลมสูงกว่า 200% ของเบี้ยประกันสุขภาพ บริษัทประกันอาจกำหนดให้ในปีต่ออายุกรมธรรม์ ผู้เอาประกันจะต้องร่วมจ่าย Co-payment คิดเป็น 30% ของทุกค่ารักษาพยาบาลในปีถัดไป
สรุป:
- ป่วยด้วย Simple Disease
- เข้ารับการรักษาตัวแบบ IPD หรือ นอนโรงพยาบาลมากกว่า 6 ชั่วโมง
- จำนวนมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้ง หรือ มีอัตราการเคลมสูงกว่า 200% ของเบี้ยประกันสุขภาพ
- ในปีต่ออายุ บริษัทประกันอาจกำหนดให้ผู้เอาประกันต้องมีการร่วมจ่าย หรือ Co-Payment จำนวน 30% ของทุกค่ารักษาในปีถัดไป
ยังสับสนว่า Co-payment คืออะไร และการเข้าเงื่อนไขประกัน Co-payment มีทั้งหมดกี่แบบ?
ถ้าอยากเข้าใจให้ชัดว่า Co-payment คืออะไร ส่งผลต่อการจ่ายค่ารักษาอย่างไร และแบบไหนถึงจะคุ้มสำหรับคุณ แนะนำให้ลองอ่านบทความนี้เลย → คลิกอ่านต่อที่นี่
ประกันสุขภาพ หรือ ประกันชีวิต ที่มีเงื่อนไข Co-payment?
จริงๆ แล้ว Co-payment เป็นเงื่อนไขที่มาพร้อมกับมาตรฐานประกันสุขภาพใหม่ หรือ New Health Standard ที่นำมาใช้เพื่อรับมือกับค่ารักษาพยาบาลและเบี้ยประกันสุขภาพที่สูงขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2564 แล้ว
โดยประกันวินาศภัย หรือ ประกันสุขภาพ ได้มีบังคับใช้เงื่อนไข Co-payment อยู่แล้ว โดยการปรับใช้จะเป็นไปตามเงื่อนไขที่บริษัทประกันสุขภาพแต่ละแห่งกำหนด ซึ่งผู้เอาประกันสามารถศึกษาเงื่อนไขนี้ได้ที่สลักหลังของกรมธรรม์ประกันสุขภาพที่ถืออยู่
ในส่วนเงื่อนไข Co-payment ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2568 นี้ จะเป็นประกาศบังคับใช้กับประกันชีวิตในปีต่ออายุ ซึ่งการพิจารณาบังคับใช้จะเป็นไปตามเงื่อนไขที่บริษัทประกันชีวิตแต่ละแห่งกำหนดเช่นกัน

ไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพ หรือ ประกันชีวิต แต่ละบริษัทก็จะมีการพิจารณาบังคับใช้เงื่อนไข Co-payment ที่แตกต่างกันไป โดยสามารถเป็นได้ทั้งแบบการพิจารณาปีต่อปี แบบถาวร หรือ เป็นไปตามเงื่อนไขที่บริษัทแต่ละแห่งกำหนด
ดังนั้น ก่อนทำประกันสุขภาพ หรือ ประกันสุขภาพที่พ่วงประกันชีวิต อย่าลืมสอบถามการบังคับใช้เงื่อนไข Co-payment เพื่อรับทราบเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ก่อนตัดสินใจทำประกันด้วย
ยังสับสนว่า Co-payment คืออะไร?
ถ้าอยากเข้าใจให้ชัดว่า Co-payment คืออะไร ส่งผลต่อการจ่ายค่ารักษาอย่างไร และแบบไหนถึงจะคุ้มสำหรับคุณ แนะนำให้ลองอ่านบทความนี้เลย → คลิกอ่านต่อที่นี่
บทความนี้จะช่วยให้คุณตัดสินใจเรื่องประกันสุขภาพได้อย่างมั่นใจมากขึ้นแน่นอน!

*เงื่อนไขเป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักงานคปภ. และตามที่บริษัทประกันกำหนด
**ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียด ความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
ถ้ายังไม่แน่ใจว่าแผนประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายไหนคุ้มครองอะไรบ้าง หรือเบี้ยประกันจะเท่าไหร่ ลองเช็กเบี้ยประกันสุขภาพซันเดย์ได้เลย แค่กรอก ‘วันเดือนปีเกิด’ ก็รู้ได้ทันทีว่าแผนไหนเหมาะกับคุณที่สุด!
