หน้าหลัก สาระสุขภาพ “โรคฉี่หนู” ภัยร้ายหน้าฝน โดนน้ำนิดเดียวก็เสี่ยงได้

“โรคฉี่หนู” ภัยร้ายหน้าฝน โดนน้ำนิดเดียวก็เสี่ยงได้

โรคฉี่หนูมีวิธีรักษาอย่างไร?

โรคฉี่หนูเกิดจากอะไร แสดงอาการแบบไหน มีวิธีการรักษาอย่างไร?

น้ำท่วมขังตามพื้น ไม่เพียงแต่จะอัดแน่นไปด้วยสิ่งสกปรกเท่านั้น แต่ยังมาพร้อมกับเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมากมาย หนึ่งในโรคร้ายนั้น คือ “โรคฉี่หนู” ที่ต่อให้สัมผัสโดนน้ำขังแม้เพียงเล็กน้อยก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อนี้ได้แล้ว

แล้วโรคฉี่หนูเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไร หากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายต่อชีวิตหรือไม่ มาไขทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคฉี่หนูในบทความนี้กัน

โรคฉี่หนู เกิดจากอะไร Leptospirosis

“โรคฉี่หนู” เกิดจากอะไร?

เมื่อเปลี่ยนผ่านฤดูร้อนมาเป็นฤดูฝน นอกจากจะต้องระมัดระวังอาการเจ็บป่วยจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง ไปจนถึงเชื้อโรคในอากาศที่เพิ่มขึ้นจากความชื้นแล้ว “โรคฉี่หนู” ก็ถือเป็นอีกหนึ่งโรคระบาดประจำฤดูฝนที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

โดย “โรคฉี่หนู” หรือ “โรคเล็ปโตสไปโรซิส” คือ โรคระบาดที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสเชื้อแบคทีเรีย Pathogenic Leptospires ของสัตว์ที่เป็นพาหะ เช่น หนู สุนัข หรือ สัตว์ด้านการเกษตรอย่างโค กระบือ ไปจนถึงหมู โดยเชื้อดังกล่าวนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อสัตว์พาหะ แต่จะมาเพิ่มจำนวนในบริเวณที่มีน้ำขังและสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้นานหลักเดือน

โดยบริเวณน้ำขังเหล่านี้ นอกจากจะเป็นน้ำขังตามดิน แอ่งน้ำ หรือ น้ำขังตามพื้นถนนแล้ว แม่น้ำ ร่องน้ำตก รวมถึงลำคลองเองก็ถือเป็นบริเวณน้ำขังที่สามารถแพร่เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคฉี่หนูได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับว่ามีสัตว์ที่เป็นพาหะมาปัสสาวะลงในแหล่งน้ำ หรือ มีปัสสาวะของสัตว์ที่เป็นพาหะปะปนมากแค่ไหน

“โรคฉี่หนู” ติดสู่คนได้อย่างไร?

จริงอยู่ว่า โรคฉี่หนูเกิดจากการสัมผัสโดยน้ำที่มีเชื้อแบคทีเรีย Pathogenic Leptospires ที่อยู่ในสัตว์ที่เป็นพาหะ แต่เชื่อว่าใครหลายคนเองคงสงสัยอยู่ไม่น้อยว่า โรคฉี่หนูสามารถติดสู่คนได้อย่างไร

โดยทั่วไปแล้ว คนสามารถติดเชื้อโรคฉี่หนูได้ผ่านการสัมผัสสัตว์ที่เป็นพาหะ หรือ การสัมผัสน้ำที่มีเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคฉี่หนูอยู่ ซึ่งหากยิ่งผิวหนังมีแผลเปิด หรือ เกิดการสำลักน้ำที่มีเชื้อโรคปะปนเข้าไป ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคฉี่หนู

เมื่อเข้าสู่ร่างกายเป็นที่เรียบร้อย เชื้อโรคฉี่หนูจะใช้เวลา 1 – 3 สัปดาห์จากนั้นจึงค่อยแสดงอาการของฉี่หนูในเวลาต่อมา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเชื้อด้วยเช่นกัน

โรคฉี่หนู เกิดจากอะไร Leptospirosis

7 อาการของโรคฉี่หนู

หลังจากที่เชื้อฟักตัวในร่างกายเป็นที่เรียบร้อย โดยส่วนใหญ่แล้ว โรคฉี่หนูมักจะแสดงอาการออกมาให้เห็น ดังนี้

  1. มีไข้สูง
  2. ปวดศีรษะ สับสน
  3. มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  4. เจ็บคอ เจ็บหน้าอก
  5. มีผื่นที่บริเวณผิวหนัง
  6. มีความผิดปกติที่ดวงตา เช่น ตาแดง เลือดออกใต้ตาขาว ตาเหลือง
  7. มีความผิดปกติจากภาวะแทรกซ้อน เช่น ตัวเหลือง คอแข็ง ความดันโลหิตต่ำ เลือดออกผิดปกติ ต่อมน้ำเหลืองโต ตับโต ม้ามโต หรือ มีภาวะปอดอักเสบร่วมด้วย

อย่างไรก็ดี หากเริ่มมีอาการผิดปกติตั้งแต่ข้อ 1 – 5 เมื่อไหร่ ขอแนะนำให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วนก่อนที่จะมีอาการผิดปกติที่ดวงตาและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เสียชีวิตได้

โรคฉี่หนู มีวิธีรักษาอย่างไร?

เมื่อเข้ารับการตรวจและวินิจฉัยว่าเป็นโรคฉี่หนู แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ฟักตัวอยู่ในร่างกาย

โดยส่วนใหญ่แล้ว การรักษาโรคฉี่หนูมักใช้เวลาอย่างน้อย 7 วัน แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน

โรคฉี่หนู วิธีรักษา

4 ข้อแนะนำ ช่วยป้องกันโรคฉี่หนูได้

จะเห็นได้ว่า การสัมผัสโดนเชื้อแบคทีเรีย Pathogenic Leptospires ที่ปะปนอยู่ในน้ำเพียงเล็กน้อยก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคฉี่หนูที่สามารถลุกลามกลายเป็นโรคร้ายแรงจนเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งจากสถิติพบว่า การติดเชื้อโรคฉี่หนูรุนแรงมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 5-15% เลยทีเดียว

ดังนั้น เพื่อช่วยป้องกันความเสี่ยงที่จะเสียชในการเป็นโรคฉี่หนู อย่าลืมมาดูแลตัวเองด้วย 4 วิธีง่ายๆ ดังนี้

  1. กำจัดหนู เพื่อป้องกันพาหะโรคฉี่หนูโดยตรง ตลอดจนช่วยป้องกันไม่ให้หนูมาสัมผัสกับอาหาร ข้าวของในบ้าน ตลอดจนช่วยป้องกันความเสียหายในทรัพย์สินอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากหนูด้วย
  2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นพาหะโดยตรง เช่น หนู โค กระบือ หมู รวมถึงสุนัขจรจัด
  3. ควรสวมรองเท้าที่ป้องกันการสัมผัสน้ำในช่วงฤดูฝน เช่น รองเท้าบู๊ท ถุงเท้า ถุงมือ รวมถึงเสื้อผ้าเวลาไปเที่ยวแหล่งน้ำต่างๆ
  4. เมื่อจำเป็นต้องลุยน้ำ หรือ สัมผัสกับแหล่งน้ำขัง เมื่อขึ้นมาจากน้ำแล้ว ให้รีบทำความสะอาดร่างกายอย่างรวดเร็ว พร้อมล้างเท้า มือ และร่างกายด้วยสบู่ที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ (Antiseptic Soap)

บทความน่าอ่าน > ฝนตกหนักทุกวัน เตรียมพร้อมป้องกันน้ำท่วม อย่างไร?

สำหรับใครที่ยังไม่มั่นใจถึงอันตรายของโรคฉี่หนู สาเหตุในการเกิดโรค หรือ อยากทราบว่าโรคฉี่หนูมีวิธีรักษาอย่างไร ลองมาดูสรุปทุกประเด็นเกี่ยวกับโรคฉี่หนูจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่วิดีโอนี้เช่นกัน

รักษาโรคฉี่หนู แพงไหม?

จริงอยู่ว่า โรคฉี่หนูสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ แต่หากเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นเมื่อไหร่ ไม่เพียงแต่จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตมากขึ้นเท่านั้น แต่แน่นอนว่าการรักษาเองก็ย่อมมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่เชื้อโรคฉี่หนูลุกลามหนักจนเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิตอย่างภาวะดีซ่าน ภาวะไตวายเฉียบพลัน ไปจนถึงความผิดปกติทางระบบการแข็งตัวของเลือด ทำให้เกิดภาวะเลือดออกในอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย ซึ่งแม้จะมีโอกาสในการเกิดน้อย แต่ด้วยความไม่แน่นอนของเชื้อโรค ก็ย่อมมีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้เช่นกัน

โรคฉี่หนู รักษา

ดังนั้น ไม่เพียงแต่จะดูแลรักษาสุขภาพ พร้อมป้องกันการเกิดโรคฉี่หนูเท่านั้น การมองหาประกันสุขภาพดีๆ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ไม่เพียงแต่จะช่วยให้เข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในโรงพยาบาลชั้นนำเท่านั้น แต่ยังช่วยให้วางใจเรื่องค่ารักษาพยาบาลได้เช่นกัน

ซันเดย์ มาพร้อมกับประกันสุขภาพหลากหลายแผนที่ช่วยให้คุณวางใจด้านค่ารักษาพยาบาล เข้ารับการรักษากับโรงพยาบาลในเครือได้โดยไม่ต้องสำรองจ่าย พร้อมเลือกแผนที่ให้ความคุ้มครองด้านผู้ป่วยใน (IPD) และ ผู้ป่วยนอก (OPD) ได้ด้วยตัวคุณเอง 

เช็กเบี้ยประกันสุขภาพซันเดย์ได้ง่ายๆ ใช้แค่ “วันเดือนปีเกิดของคุณ” เท่านั้น

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

นอนเยอะแต่เหมือนนอนไม่พอ คุณอาจจะเป็นโรคนอนเกิน!

นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ อาจเป็นโรคนอนเกินได้นะ! มีใครเคยเป็นบ้าง นอนเต็ม 8 ชั่วโมงก็แล้ว 12 ชั่วโมงก็แล้ว…
oversleeping-symptoms-feeling-tired-despite-sleeping-a-lot

หนาวนี้ ดูแลตัวเองยังไงให้ห่างไกลจากโรคที่มากับหน้าหนาว

ระวังโรคช่วงหน้าหนาว พร้อมวิธีดูแลสุขภาพช่วงอากาศเปลี่ยน เผลอแปปเดียวก็จะสิ้นปีอีกแล้ว ช่วงใกล้หน้าหนาวแบบนี้…
winter-health-tips-prevent-cold-season-illnesses
0
Share