อาจกล่าวได้ว่า ‘ร่างกายมนุษย์’ ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งมหัศจรรย์ของโลกก็ว่าได้ เพราะไม่เพียงแต่จะมาพร้อมความแข็งแกร่งที่สามารถก้าวข้ามสารพัดขีดจำกัดได้เท่านั้น แต่ร่างกายของมนุษย์แต่ละคนก็ยังมาพร้อมกับความซับซ้อนเฉพาะตัว ทำให้เกิดเป็นโรคภัยไข้เจ็บที่มีความซับซ้อนได้แตกต่างกัน
แม้จะเป็นอาการเจ็บป่วยทางร่างกายเหมือนกัน แต่โรคภัยไข้เจ็บหลาย ๆ โรคเองก็มีความซับซ้อนและรุนแรงสูง ทำให้ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ไปจนถึงเครื่องมือแพทย์พิเศษในการรักษา จนเกิดเป็นการนิยาม ‘โรคร้ายแรง’ ขึ้นมา
แล้วโรคร้ายแรงคืออะไร มีอะไรบ้าง มีมาตรฐานการแบ่งโรคที่แตกต่างจากโรคธรรมดาทั่วไปอย่างไร มาหาคำตอบได้ในบทความนี้กัน
โรคร้ายแรงคืออะไร?
‘ระดับความร้ายแรง’ ของแต่ละคนไม่เท่ากัน ด้วยเหตุนี้ หลายคนจึงสงสัยอยู่ไม่น้อยว่า ‘โรคร้ายแรง’ นี้ต้องมี ‘ระดับความร้ายแรง’ แค่ไหนถึงจะเรียกว่า ‘โรคร้ายแรง’
หากอธิบายให้เห็นภาพ ‘โรคร้ายแรง’ (Critical Iillness) หมายถึง โรคที่มีความซับซ้อน หายได้ยาก ใช้เวลาในการรักษาที่ยาวนาน ทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะลุกลามและก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นได้ ด้วยเหตุนี้ การรักษาโรคร้ายแรงจึงจำเป็นต้องใช้เทคนิค เทคโนโลยี รวมถึงแพทย์เฉพาะทางในการรักษา ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงมาก
Q&A Sunday ตอบให้! Q: ‘โรคเรื้อรัง’ และ ‘โรคติดต่อ’ ถือเป็น ‘โรคร้ายแรง’ หรือไม่? A: โรคเรื้อรัง (Chronic Disease) คือ โรคที่ต้องใช้เวลาในการรักษาติดต่อกันนาน บางครั้งอาจใช้เวลาตลอดชีวิตในการรักษา เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันสูง ในขณะที่โรคติดต่อ (Communicable Diseases) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโรคที่สามารถแพร่กระจายไปสู่สิ่งมีชีวิตด้วยกันเองได้ อย่างไรก็ดี หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษา โรคเรื้อรังและโรคติดต่ออาจลุกลามกลายเป็นโรคร้ายแรงได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูงอาจลุกลามกลายเป็นโรคหลอดเลือดสมองแตก หรือ โรคเบาหวานเองก็สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างโรคหลอดเลือดสมองตีบ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของโรคร้ายแรงได้เช่นกัน นอกจากนี้ โรคติดต่ออย่างไวรัสตับอักเสบก็สามารถลุกลามกลายเป็นมะเร็งตับ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของโรคร้ายแรงเช่นกัน |
โรคร้ายแรงมีอะไรบ้าง?
ตามคำนิยามของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) แล้ว ‘โรคร้ายแรง’ มีด้วยกันทั้งหมด 50 โรคร้ายแรง แต่โดยพื้นฐานแล้ว โรคร้ายแรงจะประกอบไปด้วย 7 กลุ่มโรคหลัก ดังนี้
- กลุ่มโรคมะเร็ง ประกอบไปด้วยมะเร็งทุกชนิด ทั้งในระยะลุกลามและไม่ลุกลาม
- กลุ่มโรคระบบประสาทและสมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอกในสมองชนิดที่ไม่ได้เป็นมะเร็ง พาร์กินสัน และอัลไซเมอร์ เป็นต้น
- กลุ่มโรคหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น
- กลุ่มโรคไวรัสตับอักเสบ ประกอบไปด้วยโรคไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี ดี และ อี เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งตับ ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงทำให้ตับวายได้
- กลุ่มโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดระยะสุดท้าย โรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง
- กลุ่มโรคเกี่ยวกับอวัยวะสำคัญ เช่น โรคไตวายเรื้อรัง การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ การปลูกถ่ายไขกระดูก แผลไหม้ฉกรรจ์ การสูญเสียการได้ยิน และ การสูญเสียความสามารถในการพูด เป็นต้น
- กลุ่มโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ เช่น การผ่าตัดกระดูกสันหลังคด โรคโปลิโอ และภาวะข้ออักเสบรูมาตอยด์ชนิดรุนแรง เป็นต้น
ดูแลสุขภาพอย่างไรเมื่อเป็นโรคร้ายแรง?
แม้การดูแลสุขภาพเป็นอย่างดีจะไม่ได้การันตีว่าจะไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง แต่หากตรวจพบโรคร้ายแรงเมื่อไหร่ การดูแลสุขภาพอย่างรอบด้านถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน
ไม่เพียงแต่จะต้องเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและเหมาะสมกับโรคร้ายแรงแต่ละโรคเท่านั้น แต่ผู้ป่วยยังควรหมั่นออกกำลังกายและหากิจกรรมผ่อนคลายทำอยู่เสมอ ทั้งนี้เพื่อฟื้นฟูและสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายไปพร้อมกับรักษาสุขภาพใจให้มั่นคง
นอกจากนี้ แม้จะยังไม่มีอาการแทรกซ้อน หรือ อยู่ในภาวะวิกฤต แต่ผู้ป่วยโรคร้ายแรงยังควรเข้ารับการตรวจสุขภาพและเข้าพบแพทย์ตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมความรุนแรงและเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคร้ายแรงอย่างต่อเนื่อง
การทำประกันสุขภาพโรคร้ายแรงช่วยคุ้มครองได้มากแค่ไหน?
หลังจากที่ทำความรู้จักเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่าโรคร้ายแรงคืออะไร มีอะไรบ้าง และจะมีวิธีดูแลรักษาตัวเองอย่างไรให้เหมาะสมแล้ว แน่นอนว่า เพื่อบริหารความเสี่ยงที่มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายในการรักษานี้ เป็นไปได้ว่าใครหลายคนอาจกำลังนึกถึงการทำประกันโรคร้ายแรงด้วยเช่นกัน
‘ประกันโรคร้ายแรง’ เป็นประกันภัยที่ออกแบบมาเพื่อให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายที่มาพร้อมกับการรักษาโรคร้ายที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยในปัจจุบันจะมีด้วยกัน 2 แบบหลัก ๆ ประกอบไปด้วย
- ประกันโรคร้ายแบบเจอ-จ่าย-จบ ที่ผู้เอาประกันจะรับเงินก้อนในกรณีที่ตรวจเจอโรคร้ายแรง
- ประกันโรคร้ายแรงแบบมีวงเงินรักษา เป็นประกันภัยที่คุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคร้ายแรงตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ สามารถเป็นได้ทั้งการรักษาโรคใดโรคหนึ่ง โรคเฉพาะทาง กลุ่มโรค หรือ กำหนดจำนวนโรคขึ้นมา ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกันภัยแต่ละแห่ง
ประกันโรคร้ายแรงไม่คุ้มครองกรณีไหนบ้าง?
โดยทั่วไปแล้ว ประกันโรคร้ายแรงจะยกเว้นความคุ้มครองตามเงื่อนไข ดังนี้
- การเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงก่อนที่จะทำประกันโรคร้ายแรง หรือเป็นโรคร้ายแรงในระหว่างที่ยังไม่พ้นระยะรอคอย
- การติดเชื้อไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่อง (HIV Positive) หรือ ภาวะของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS)
- การฆ่าตัวตาย ทำร้ายร่างกายตนเอง หรือ พยายามกระทำเช่นว่า
- ปฏิเสธไม่ยอมรับการรักษาแนะนำ หรือ ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
- ใช้ หรือ เคยใช้สารเสพติด หรือ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือ ใช้ยาในทางที่ผิด (Substance Abuse)
- มีประวัตินำสารพิษเข้าสู่ร่างกายด้วยการสูด ฉีด กิน ดื่ม หรือ วิธีใดก็ตาม
อย่างไรก็ดี ความคุ้มครองของประกันโรคร้ายแรงจะแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขของบริษัทประกันภัยแต่ละแห่ง เช่น บางบริษัทกำหนดอายุผู้ทำประกันไว้ไม่เกิน 65 ปี ในขณะที่บางบริษัทอาจกำหนดให้ทำประกันชีวิตร่วมกับประกันโรคร้ายแรง นอกจากนี้ บางบริษัทอาจมีกำหนดระยะและความรุนแรงของโรคที่คุ้มครอง
ดังนั้น ก่อนตัดสินใจทำประกันโรคร้ายแรงกับที่ใดก็ตาม อย่าลืมตรวจสอบเงื่อนไขของบริษัทประกันภัยแต่ละแห่งให้รอบคอบ เพื่อเลือกซื้อประกันโรคร้ายแรงที่ตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างตรงจุดมากที่สุด
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การรักษาโรคร้ายแรงมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายมหาศาลที่ต้องแบกรับ ซึ่งสามารถสร้างความกังวลใจให้กับผู้ป่วยและผู้ดูแลได้ในระยะยาว ซึ่งหลังจากที่เข้าใจเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่าโรคร้ายแรงคืออะไร มีอะไรบ้าง รวมไปถึงเข้าใจเงื่อนไขการทำประกันโรคร้ายเบื้องต้นแล้ว หากคุณเป็นอีกคนที่กำลังมองหาประกันโรคร้ายแรงที่ตอบโจทย์ความต้องการ ให้ความคุ้มครองเมคเซนส์ในเบี้ยประกันที่เหมาะสม มาเช็กเบี้ย พร้อมพิจารณาเงื่อนไขประกันสุขภาพออนไลน์ที่ใช่ด้วยตัวเองที่ Sunday