หน้าหลัก รู้ทันประกันรถยนต์ มีประกันรถยนต์ แต่ทำไมยังต้องจ่าย อาจเป็นเพราะ ‘ค่าเสียหายส่วนแรก’ อย่าง Excess และ Deductible

มีประกันรถยนต์ แต่ทำไมยังต้องจ่าย อาจเป็นเพราะ ‘ค่าเสียหายส่วนแรก’ อย่าง Excess และ Deductible

“ค่าเสียหายส่วนแรก” คืออะไร? มีกี่ประเภท? ซันเดย์จะมาอธิบายความหมายของคำว่า Exceed และ Deductible ในแบบที่เข้าใจง่ายให้ทุกคนได้ทราบกัน

เคยไหม? ซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 ให้กับรถยนต์สุดรักทั้งที แต่พอเกิดอุบัติเหตุขับไปชนกระถางต้นไม้ รั้วข้างทาง หรือเสาไฟ ฯลฯ เราก็ต้องควักกระเป๋าจ่ายเองจำนวนหนึ่งก่อนเสมอ สาเหตุนั้นก็มาจากสิ่งที่เรียกว่า “ค่าเสียหายส่วนแรก” ที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์นั่นเอง

แล้ว “ค่าเสียหายส่วนแรก” นี่คืออะไร? มีกี่ประเภท? เพื่อให้ความกระจ่างแก่ลูกค้าประกันรถยนต์ ซันเดย์จึงขออธิบายความหมายของคำๆ นี้ในแบบที่เข้าใจง่ายให้ได้ทราบกัน

ก่อนอื่นเลยต้องอธิบายว่าความเสียหายส่วนแรกนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท นั่นก็คือ

ค่าเสียหายส่วนแรกภาคบังคับ (Excess)

1. ค่าเสียหายส่วนแรกภาคบังคับ (Excess)

อ่านออกเสียงว่า “เอ็กเซส” หรือที่หลายๆ คนอาจจะเรียกกันติดปากว่าค่าเอ็กเซป หรือแอ็กเซป โดยค่าเสียหายส่วนแรกภาคบังคับ คือ ค่าใช้จ่ายที่ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยบังคับเก็บทุกคนไม่ว่าคุณจะทำประกันชั้นใดก็ตา

เป้าหมายของการเก็บค่าเสียหายส่วนแรกภาคบังคับ (Excess) คือ ป้องกันไม่ให้คนขับแจ้งเคลมโดยที่ไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจริงเพื่อหวังซ่อมรถฟรี นั่นเอง 

ตัวอย่างเงื่อนไขการเกิดเหตุที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนแรกภาคบังคับ 

ตัวอย่างการเกิดเหตุที่ต้องเสียค่าเสียหายส่วนแรกภาคบังคับตัวอย่างการเกิดเหตุที่ไม่ต้องเสียค่าเสียหายส่วนแรกภาคบังคับ
– ขับไปชนกับรถยนต์คันอื่นจนเกิดความเสียหาย แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าคู่กรณีที่ขับไปชนนั้นเป็นใคร และไม่มีรายละเอียดอื่นๆ เลย

– รถมีความเสียหายโดยที่ไม่ได้เกิดจากการชน หาคู่กรณีไม่ได้ หรือระบุสาเหตุที่ทำให้รถเสียหายไม่ได้

เช่น ขับไปเฉี่ยวกิ่งไม้ ลวดหนาม สายไฟฟ้า ตกหลุม หรือขับไปเหยียบตะปูและของมีคมจนทำให้ยางฉีกเสียหาย ตัวรถมีร่องรอยความเสียที่เกิดจากสัตว์กัดแทะ






– ขับรถไถลตกข้างทางแต่ไม่พลิกคว่ำ
– ขับไปชนกับรถยนต์คันอื่นจนเกิดความเสียหาย แต่บอกรายละเอียดของคู่กรณีที่ขับไปชนได้ รวมถึงมีบาดแผลบนตัวรถตรงกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

– เจ้าของรถขับขี่ไปชนกับ “สิ่งที่ไม่ใช่รถยนต์” จนทำให้ตัวรถหรืออุปกรณ์มีการบุบ แตก ร้าว โดยต้องบอกรายละเอียดการเกิดเหตุได้ รวมถึงบาดแผลบนตัวรถต้องตรงกับสถานการณ์ที่เกิดเหตุขึ้น

– เจ้าของรถขับขี่ไปชนกับ “สิ่งที่ไม่ใช่รถยนต์” แต่ตัวรถหรืออุปกรณ์ไม่มีการบุบ แตก ร้าว

เช่น ขับไปชนกับคนหรือสัตว์ ชนกับวัตถุที่ยึดแน่นกับพื้นดินอย่าง เสา กำแพง ป้าย ประตู ขอบถนน ราวสะพาน หน้าผา กองดิน หรือต้นไม้

– พลาดเกิดอุบัติเหตุจนรถพลิกคว่ำ

ต้องเสียค่าเสียหายส่วนแรกภาคบังคับ (Excess) เท่าไหร่?

ค่าเสียหายส่วนแรกภาคบังคับ (Excess) จะมีการเรียกเก็บครั้งละ 1,000 บาท / เหตุการณ์ เช่น ถ้าคุณโชคร้าย ขับรถตกหลุมและล้อรถเหยียบตะปูในคราวเดียวกัน จะนับเป็น 2 เหตุการณ์ กรณีนี้คุณต้องเสียค่าเสียหายส่วนแรกภาคบังคับทั้งหมด 1,000 x 2 = 2,000 บาท เป็นต้น


ค่าเสียหายส่วนแรกภาคสมัครใจ (Deductible)

2. ค่าเสียหายส่วนแรกภาคสมัครใจ (Deductible)

หรือที่หลายๆ คนเรียกกันติดปากว่า “ค่าดีดั๊ก” โดยค่าเสียหายส่วนแรกภาคสมัครใจ คือ ค่าใช้จ่ายที่คุณซึ่งเป็นคนซื้อประกันยินยอมชำระโดยสมัครใจ ทุกครั้งที่เกิดการเคลมในอุบัติเหตุที่คุณเป็นฝ่ายผิด

เป้าหมายของการเก็บค่าเสียหายส่วนแรกภาคสมัครใจ (Deductible) คือ ช่วยประหยัดค่าเบี้ยประกันที่คุณต้องชำระในการซื้อประกัน นอกจากนั้นยังช่วยกระตุ้นให้คนขับขี่รถยนต์มีความระมัดระวังมากขึ้นได้อีกทางหนึ่ง 

ตัวอย่างเงื่อนไขการเกิดเหตุที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนแรกภาคสมัครใจ

ตัวอย่างการเกิดเหตุที่ต้องเสียค่าเสียหายส่วนแรกภาคสมัครใจตัวอย่างการเกิดเหตุที่ไม่ต้องเสียค่าเสียหายส่วนแรกภาคสมัครใจ 
เมื่อเกิดอุบัติเหตุ และมีการเคลมประกันเกิดขึ้น โดยที่มีการพิสูจน์แล้วว่าเราเป็นฝ่ายผิด เช่น กรณีที่เราขับรถไปเฉี่ยวชนผู้อื่น โดยผู้ที่ถูกเฉี่ยวชนนั้นขับขี่อย่างถูกต้องตามกฏหมาย* เมื่อเกิดอุบัติเหตุ และมีการเคลมประกันเกิดขึ้น โดยที่มีการพิสูจน์แล้วว่าเราไม่ได้เป็นฝ่ายผิด เช่น กรณีที่มีผู้อื่นมาขับขี่เฉี่ยวชนรถของเรา โดยที่เราขับขี่ตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด*
*หากไม่สามารถหาข้อสรุปว่าใครเป็นผู้ถูกหรือผิดในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น จะต้องเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับผิดชอบในพื้นที่เป็นผู้พิสูจน์

ต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกภาคสมัครใจ (Deductible) เท่าไหร่?

คุณสามารถเลือกจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกภาคสมัครใจ (Deductible) ได้หลายระดับตามแต่ที่บริษัทประกันกำหนด สมมติว่าคุณตัดสินใจซื้อประกันรถยนต์เจ้าหนึ่ง ที่ต้องชำระเบี้ยประกันทั้งหมด 10,000 บาท แต่ถ้าคุณสมัครใจจ่ายค่า Deductible จำนวน 2,000 บาท คุณก็จะเหลือเบี้ยประกันที่ต้องชำระเพียง 10,000 – 2,000 = 8,000 บาท เท่านั้น 

ทั้งนี้ หากเกิดอุบัติเหตุและมีการเคลมประกันขึ้นโดยที่คุณเป็นฝ่ายผิด คุณจำเป็นต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกภาคสมัครใจตามจำนวนที่ระบุเอาไว้ ซึ่งจะเป็นการหักลบออกจากค่าเสียหายที่ทางบริษัทประกันประเมินออกมาให้โดยตรง เช่น อุบัติเหตุนี้บริษัทประกันตีค่าความเสียหายไว้ที่ 10,000 บาท คุณจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกภาคสมัครใจ (Deductible) ทันที 2,000 บาท ส่วนอีก 8,000 บาท บริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบ

ไม่จ่ายค่าเสียหายส่วนแรกภาคสมัครใจ (Deductible) ได้หรือไม่?

ปกติแล้ว ถ้าคุณเป็นคนที่ขับรถอย่างระมัดระวังและแทบไม่เคยเกิดอุบัติเหตุด้วยตนเองเลย ส่วนใหญ่ก็มักจะเลือกจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกภาคสมัครใจ (Deductible) เสมอ เพราะเป็นการช่วยประหยัดค่าเบี้ยประกันรถยนต์ได้มาก 

แต่ถ้าคุณรู้ตัวว่าเป็นนักขับที่มักจะ “เป็นฝ่ายผิด” ในอุบัติเหตุเฉี่ยวชน คุณก็สามารถเลือกที่จะไม่จ่ายค่าเสียหายส่วนแรกภาคสมัครใจได้เช่นกัน เพราะค่าเบี้ยประกันที่ลดไปได้อาจไม่คุ้มกับค่า Deductible ที่ต้องเสียบ่อยครั้ง

อย่างไรก็ดี หากคุณมีประวัติการขับขี่ที่ไม่ดี มีการเคลมโดยที่เป็นฝ่ายผิดหลายต่อหลายครั้ง นอกจากจะส่งผลเสียต่อการทำประกันรถยนต์ของคุณ ยังเสี่ยงที่จะทำให้ค่าเบี้ยประกันรถยนต์สูงขึ้นในปีถัดๆ เสี่ยงต่อกรมธรรม์ประกันรถยนต์ไม่ได้ หรือ ตามเงื่อนไขที่บริษัทประกันรถยนต์แต่ละแห่งกำหนด


เลือกประกันรถยนต์ซันเดย์ ปรับแต่งค่าเสียหายส่วนแรกภาคสมัครใจได้ตามต้องการ

เลือกประกันรถยนต์ซันเดย์ ปรับแต่งค่าเสียหายส่วนแรกภาคสมัครใจได้ตามต้องการ

ไม่ว่าคุณมีไลฟ์สไตล์การขับขี่บนท้องถนนแบบไหน ประกันรถยนต์ซันเดย์ก็สามารถปรับแต่งความคุ้มครอง รวมถึงเลือกค่าเสียหายส่วนแรกภาคสมัครใจ (Deductible) ให้เข้ากับตัวคุณได้ ไม่ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันเกินจริงอีกต่อไป เพราะนี่คือประกันที่สั่งตัดมาให้เข้ากับสิ่งที่คุณและรถยนต์ของคุณต้องการที่สุด

ซื้อประกันรถยนต์ผ่านออนไลน์ง่าย ๆ ได้ด้วยตัวเองที่ https://easysunday.com/th/motor/

สิ่งที่คุณจะได้รับเมื่อตัดสินใจซื้อประกันรถยนต์กับซันเดย์

  • ปรับแต่งความคุ้มครองได้ละเอียด เลือกเพิ่มหรือลดความคุ้มครองที่ไม่จำเป็น ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การขับขี่ของคุณได้เต็มที่ มีให้เลือกทั้งประกันรถยนต์ทั่วไปและประกันรถยนต์ไฟฟ้า
  • เลือกรับส่วนลดได้มากถึง 4 จุด ทั้งส่วนลดค่าเบี้ยประกันให้ลูกค้าประวัติดี ส่วนลดระบุชื่อผู้ขับขี่ ส่วนลดติดกล้องหน้ารถยนต์ และ ส่วนลดการขับขี่ปราศจากแอลกอฮอล์ *เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯกำหนด
  • เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่มีวันหยุด
  • มาพร้อมระบบ Livestream Claim จบงานเคลมออนไลน์ได้ใน 15 นาที
  • ส่งเคลม ติดตามสถานะการดำเนินการของประกันรถยนต์ได้ด้วยตนเองผ่านซูเปอร์แอปฯ Jolly by Sunday (เร็ว ๆ นี้)
  • ประกันรถยนต์ซันเดย์มีอู่ซ่อมที่ได้มาตรฐานพร้อมรองรับงานซ่อมอยู่ทั่วประเทศกว่า 400+ แห่ง

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

สรุปให้! ตารางเบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้า ครบทุกแบรนด์ฮิต

ซื้อ EV เช็กก่อน! ตารางเบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้า รวมทุกค่ายฮิต อยากซื้อรถยนต์ไฟฟ้าให้ตอบโจทย์…
ค่าเบี้ยประกันรถ EV
0
Share