ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาอย่าง ‘ยุคดิจิทัล’ เชื่อว่าใครหลายคนคงกำลังสงสัยอยู่ไม่น้อยว่า ควรจะเลือกเส้นทางอาชีพใดถึงจะสามารถสร้างรายได้และทำงานได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดก็ตาม
หากใครรู้ตัวว่ามีอาชีพในฝันอยู่ในใจ แต่ไม่ชัวร์ว่าอาชีพที่สนใจจะเป็นอาชีพที่เป็นที่ต้องการในยุคดิจิทัลหรือไม่ มาทำความรู้จักกับ 10 อาชีพที่น่าสนใจและเป็นที่ต้องการมากที่สุดในอนาคตที่นำมาฝากในบทความนี้กัน
1. Content Marketing
ในยุคที่ ‘เทคโนโลยี’ เป็นส่วนสำคัญของชีวิต หลากหลายธุรกิจจึงจำเป็นต้องขยายช่องทางสร้างโอกาสธุรกิจผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นโซเชียลมีเดีย มาร์เก็ตเพลส รวมไปถึงเว็บไซต์ของตัวธุรกิจที่แข่งขันกันบน Google
แน่นอนว่า การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นจะต้องมี ‘คอนเทนต์’ ที่โดดเด่นควบคู่ไปกับ ‘สินค้า’ ที่มีคุณภาพและช่วยตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างตรงจุด
Content Marketing คือ อาชีพที่ต้องใช้ความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตเนื้อหา หรือ คอนเทนต์ ที่สามารถดึงดูดความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ จากนั้นจึงใช้คอนเทนต์ตามกลยุทธ์ต่าง ๆ มาโน้มน้าวใจกลุ่มเป้าหมายให้กลายเป็นลูกค้าและสร้างยอดขายให้กับธุรกิจในที่สุด
ในสายของ Content Marketing แล้ว Content Creator คือ ผู้ที่นำกลยุทธ์ของ Content Marketing มาผลิตเป็นคอนเทนต์ในรูปแบบต่าง ๆ ตามแพลตฟอร์มที่ธุรกิจเลือกใช้ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งภาพนิ่ง การเขียนแคปชัน ไปจนถึงการทำวิดีโอสำหรับโซเชียลมีเดียช่องทางต่าง ๆ
ในปัจจุบันนี้ Content Creator ถือเป็นหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจ ทั้งยังมีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากมีการเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ พร้อมฝึกฝนความคิดสร้างสรรค์อยู่เสมอด้วยแล้ว Content Creator ก็สามารถเป็นอีกหนึ่งอาชีพรายได้ดีในยุคดิจิทัลเลยทีเดียว
2. SEO Specialist
นอกจากการทำ Content Marketing บนโซเชียลมีเดียแล้ว ธุรกิจหลากหลายแห่งยังให้ความสำคัญกับการทำเว็บไซต์ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ขยายโอกาสในการสร้างยอดขาย ตลอดจนเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์มาช่วยแก้ปัญหาใน Google ซึ่งเป็น Search Engine หรือ เครื่องมือค้นหาที่ใหญ่ที่สุดในโลกปัจจุบัน
โดยนอกจากจะใช้ Content Creator เพื่อสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจแล้ว ธุรกิจยังต้องมองหาคนทำ SEO หรือก็คือ SEO Specialist ซึ่งจะมาเป็นผู้ช่วยให้เว็บไซต์ของธุรกิจติดอยู่ในอันดับต้น ๆ ของ Google ทำให้เพิ่มการมองเห็น ตลอดจนโอกาสที่กลุ่มเป้าหมายจะเจอเว็บไซต์ของธุรกิจก่อนคู่แข่ง
อย่างไรก็ดี ธุรกิจส่วนใหญ่มักเชื่อว่า การทำ SEO คือ การทำเว็บไซต์ให้อยู่หน้าแรกของ Google โดยใช้ Keyword นำ ซึ่งหากติดอันดับที่ดีแล้วก็ไม่จำเป้นต้องทำ SEO ใหม่ก็ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว Google เองก็มีการอัปเดตอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้อันดับสามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ
ด้วยเหตุนี้ การมี SEO Specialist อยู่ด้วยจึงสามารถช่วยให้ธุรกิจอัปเดตเว็บไซต์ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง พร้อมรักษาอันดับในการค้นหาของ Google ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแน่นอนว่าในปัจจุบันนี้ ยังคงมีผู้ที่ใช้ Google ในการค้นหาสินค้าและบริการอยู่ จึงทำให้ SEO Specialist เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดในอนาคตเช่นกัน
Sunday Tips! ความแตกต่างของการทำ SEO และ SEM คืออะไร? คำตอบ คือ การทำ SEO จะเน้นการปรับปรุงด้านเทคนิคต่าง ๆ ของเว็บไซต์ รวมถึงการสร้างคอนเทนต์ เพื่อให้เว็บไซต์ค่อย ๆ ไต่อันดับใน Google แบบไม่เสียเงิน ซึ่งจะใช้เวลาอย่างน้อย 1 – 3 เดือนในการเริ่มเห็นผลลัพธ์ เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการค่อย ๆ สร้างแบรนด์ แต่การทำ SEM จะเป็นการซื้อโฆษณาบน Google ซึ่งธุรกิจสามารถเลือกหน้าเว็บไซต์และ Keyword เพื่อมาติดอันดับแรก ๆ ได้ จึงเหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการสร้างยอดขาย สร้างการมองเห็น หรือ ต้องการหา Insight ในช่วงเวลาสั้น ๆ โดยเว็บไซต์ที่มีการทำ SEM จะเขียนคำว่า Sponsored บน Title ของเว็บไซต์นั่นเอง |
3. UX/UI Designer
การออกแบบ UX/UI หรือ UX/UI Designer จะเป็นผู้ออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้งานบน Digital Product ซึ่งอาจเป็นเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน ไปจนถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ประเภทต่าง ๆ
โดย UX หรือ User Experience จะเป็นผู้ออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้งาน ทำให้ Digital Product สามารถใช้งานได้ง่าย ตอบโจทย์ความต้องการ และสอดคล้องกับอารมณ์ความรู้สึกผู้ใช้มากที่สุด
ในขณะที่ UI หรือ User Interface จะให้ความสำคัญกับการออกแบบ Digital Product ให้สอดคล้องกับ User Experience ซึ่งจะมีเรื่องความสวยงาม รวมไปถึงจิตวิทยาในการเลือกใช้สีและออกแบบเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ในปัจจุบันนี้ UX/UI Designer เป็นหนึ่งในอาชีพที่รายได้ดีและเป็นที่ต้องการสูงในหลายธุรกิจ เนื่องจากเป็นหนึ่งในส่วนงานที่ส่งผลต่อกลุ่มเป้าหมายใหม่และกลุ่มลูกค้าเดิมมากที่สุด อย่างไรก็ดี UX/UI Designer ก็เป็นอาชีพที่ต้องใช้ความสามารถและประสบการณ์สูง ทำให้ต้องหมั่นฝึกฝนและติดตามการออกแบบใหม่ ๆ อยู่เสมอ
สำหรับใครที่สนใจอาชีพการออกแบบ UX/UI อยู่ ลองมาทำความรู้จักอาชีพนี้ให้มากขึ้นกับ UX/UI Designer ตัวจริงที่ Sunday กัน
4. Developer
Developer คือ นักพัฒนา Digital Product ด้วยการเขียนโปรแกรม หรือ ที่หลายคนเรียกว่าการเขียน Code โดย Digital Product นี้สามารถเป็นได้ตั้งแต่เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน โปรแกรม ไปจนถึงซอฟต์แวร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
แต่นอกจากการเขียนโปรแกรมแล้ว Developer ยังมีหน้าที่ในการวางแผน ออกแบบ ตรวจสอบ รวมถึงปรับปรุง Digital Product ร่วมกับทีมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้ได้อย่างครอบคลุมและต่อเนื่อง
คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า Developer 1 คนสามารถดูแลทั้งกระบวนการพัฒนา Digital Product ได้คนเดียว เช่น บางคนเข้าใจว่า Web Developer คือ ผู้ออกแบบและดูแลเว็บไซต์คนเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ด้วยความซับซ้อนของการเขียนโปรแกรม จึงทำให้ Developer เป็นอาชีพในยุคดิจิทัลที่แบ่งได้ถึง 4 สาย ประกอบไปด้วย
- Front End Developer หรือ ผู้พัฒนาส่วนหน้าบ้าน หรือ ส่วนที่ผู้ใช้งานสามารถเห็นและใช้งานได้
- Back End Developer หรือ ผู้พัฒนาระบบหลังบ้าน หรือ ระบบควบคุม ฟังก์ชัน และฟีเจอร์ทั้งหมด
- Full Stack Developer หรือ ผู้ที่สามารถพัฒนาและดูแลระบบหน้าบ้านและหลังบ้านของ Digital Product ได้ในคนเดียว
- DevOps Engineer หรือ เป็นผู้ที่ออกแบบระบบที่ใช้ทดสอบ Digital Product ก่อนที่จะส่งไปให้ผู้ใช้งานจริง ทำให้สามารถลดข้อผิดพลาดของ Digital Product ก่อนถึงมือผู้ใช้งานได้
DevOps Engineer เป็นสายงานที่มีรายละเอียดสูง ทั้งยังมีความเฉพาะตัวไม่แพ้กับ Developer สายอื่น ๆ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในอาชีพในยุคดิจิทัลที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก มาทำความรู้จักกับการทำงานจริงของ DevOps Engineer ได้ที่คลิปด้านล่างนี้
5. Software Engineer
Software Engineer เป็นหนึ่งในอาชีพที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะรายได้สูงแล้ว ก็ยังเป็นอาชีพที่เป็นที่ต้องการของทั่วโลก โดยหากฝึกฝนจนมีประสบการณ์สูงแล้ว โอกาสในการเข้าทำงานกับบริษัทชั้นนำของโลกก็ไม่ไกลเกินฝันเช่นกัน
เรียกได้เลยว่า ผู้ที่จะมาดูแลระบบซอฟแวร์แบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่การออกแบบ พัฒนา ไปจนถึงการบำรุงรักษาซอฟแวร์ทั้งหมด เพื่อเสริมประสิทธิภาพ รักษาการทำงาน และป้องกันความเสียหายมูลค่ามหาศาลที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยซอฟแวร์ดังกล่าวนี้สามารถเป็นได้ตั้งแต่ซอฟแวร์สำหรับการผลิต พัฒนา ออกแบบ เก็บข้อมูล ไปจนถึงซอฟแวร์เฉพาะทางของธุรกิจแต่ละแห่ง
6. Data Scientist
Data Scientist คือ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ซึ่งจะเป็นผู้รวบรวม จัดเก็บ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคชั้นสูง อาทิ การใช้อัลกอริทึม หรือ สร้างระบบ Machine Learning ขึ้นมาเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล ไปจนถึงทำนายความน่าจะเป็นที่เกิดขึ้นจากข้อมูลที่มีอยู่
การวิเคราะห์ข้อมูลของ Data Scientist ถือเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยวางแผนธุรกิจ ตั้งแต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเข้าถึงกลุ่มลูกค้าและกลุ่มเป้าหมาย ไปจนถึงเรียนรู้ถึงข้อผิดพลาดที่ส่งผลเสียต่อธุรกิจ ทำให้ Data Scientist เป็นหนึ่งในอาชีพที่มีความสำคัญ เป็นที่ต้องการทั่วโลก ทั้งยังเป็นหนึ่งในอาชีพรายได้ดีที่สุดในปัจจุบัน
Sunday Tips! หน้าที่ของ Data Scientist และ Data Engineer ต่างกันอย่างไร? คำตอบ หน้าที่ของ Data Engineer คือ การพัฒนาระบบโครงสร้างของข้อมูลดิบทั้งหมด ซึ่งจะรวมไปจนถึงการพัฒนา ทดสอบ และดูแลระบบโครงพื้นฐาน ทำให้สามารถนำข้อมูลมาใช้งานต่อได้ง่ายและสะดวกมากที่สุด ในขณะที่ Data Scientist จะเป็นผู้นำข้อมูลที่วิศวกรข้อมูล หรือ Data Engineer วางโครงสร้างและพัฒนาเอาไว้ ไปวิเคราะห์และใช้งานต่อตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ |
7. QA Engineer
QA Engineer คือ วิศกรคุณภาพ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของสินค้าขององค์กรให้ได้มาตรฐานตามที่ลูกค้าต้องการ โดยสินค้าดังกล่าวนี้สามารถเป็นได้ตั้งแต่สินค้าทั่วไป จนถึง Digital Product ในสายต่าง ๆ
QA Engineer จะเป็นผู้ช่วยประกันคุณภาพของสินค้า ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าของธุรกิจ ตลอดจนเป็นการรักษาคุณภาพของการผลิตสินค้าขององค์กรไปในตัว ทำให้สามารถสร้างโอกาสธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ถือเป็นอีกอาชีพที่นิยมในปัจจุบันและกำลังเป็นที่ต้องการมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย
8. Cyber Security
Cyber Security คือ ผู้สร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับองค์กร ซึ่งถือเป็นหนึ่งในตำแหน่งสำคัญที่ช่วยป้องกันความเสียหายให้กับองค์กรได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสียหายจากการโดนโจมตีทางไซเบอร์
องค์กรแต่ละแห่งไม่ได้มีเพียงแค่ข้อมูลสำหรับธุรกิจเท่านั้น แต่ยังมีทั้งทรัพย์สินทางปัญญา ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลลูกค้า ไปจนถึงข้อมูลสำคัญระดับประเทศ การโดนโจมตีทางไซเบอร์หนึ่งครั้งจึงไม่ได้เสียหายแค่ทางตัวเงินเพียงอย่างเดียว แต่ยังครอบคลุมไปถึงชื่อเสียงและความปลอดภัยของบุคคลอื่นด้วย
Cyber Security จึงเป็นอาชีพสำคัญในยุคดิจิทัลที่จะเข้ามารับมือความเสี่ยง ตลอดจนอัปเดตเทคโนโลยีให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลง ทำให้สามารถวางแผนรับมือภัยทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
9. Product Owner
Product Owner หรือ PO คือ หนึ่งในอาชีพที่มาแรงที่สุดในยุคดิจิทัลเลยก็ว่าได้ โดย Product Owner จะเป็นผู้ดูแลและพัฒนา Digital Product ที่ได้รับมอบหมายเอาไว้ให้เป็นไปตามกระบวนการและขั้นตอนที่วางแผนเอาไว้ทั้งหมด
โดยพื้นฐานแล้ว การทำงานของ Product Owner จะเริ่มต้นจากการรับข้อมูลมาจากฝั่งผู้ใช้งาน หรือ ฝั่งธุรกิจ จากนั้นจึงนำมาทำความเข้าใจและประสานงานต่อไปให้ทีมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา Digital Product ทั้งหมด เปรียบได้กับเป็นหัวหน้าที่ประสานงานเพื่อพัฒนา ดูแล และบำรุงรักษา Digital Product ที่ได้รับมอบหมายนั่นเอง
10. Project Manager
Project Manager คือ ผู้จัดการโครงการ ถือเป็นหัวเรือใหญ่ที่ต้องการบริหารงานทั้งหมดภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ ตั้งแต่กำลังคน งบประมาณ การจัดการผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน ไปจนถึงการบริหารของธุรกิจให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้โครงการประสบความสำเร็จสูงสุดและมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด
Project Manager เป็นหนึ่งในอาชีพที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดในอนาคต เนื่องจากในปัจจุบันนี้ธุรกิจหลายแห่งเองก็มีโครงการ ผลิตภัณฑ์ รวมถึงนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาอยู่เสมอ ทำให้จำเป็นที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการบริหารงานให้ราบรื่นและประสบความสำเร็จสูงสุดเช่นกัน
จบลงไปแล้วกับ 10 อาชีพที่เป็นที่ต้องการในยุคดิจิทัล แต่นอกจากทั้ง 10 อาชีพที่น่าสนใจที่นำมาฝากในบทความนี้แล้ว ไม่แน่ว่าในอนาคตยังอาจมีอาชีพใหม่ ๆ ที่น่าสนใจเกิดขึ้นอีกมากมาย ตามยุคสมัยและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคตเช่นกัน
การรับมือความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับรายได้ นอกจากจะต้องพิจารณาเลือกอาชีพที่สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องเท่านั้น แต่การหาผลิตภัณฑ์ช่วยลดความเสี่ยงจากค่าใช้จ่ายที่มาจากการเจ็บป่วยอย่างการทำประกันสุขภาพออนไลน์ ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาให้ดีเช่นกัน
Sunday มาพร้อมกับประกันสุขภาพออนไลน์ที่พร้อมให้ความคุ้มครองที่เมคเซนส์ในเบี้ยประกันที่เหมาะสม เป็นตัวเลือกช่วยบริหารความเสี่ยงด้านค่าใช้จ่ายที่มาพร้อมกับการรักษาพยาบาล ช่วยให้คุณได้โฟกัสกับการทำงานและปรับตัวให้เข้ากับยุคดิจิทัลได้โดยไม่ต้องกังวล เลือกกรมธรรม์ประกันสุขภาพได้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ เช็กเบี้ยง่าย ๆ ใช้แค่ ‘วันเดือนปีเกิด’ เท่านั้น ไม่ต้องกรอกข้อมูลติดต่อให้ลำบากใจ
10+1 Sunday Affiliate Program
สำหรับใครที่กำลังตามหา Affiliate Marketing ที่ให้ค่าคอมสูง Sunday Affiliate Program ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณไม่ควรพลาด
โดยคุณจะได้รับค่าแนะนำ 1,000 บาทต่อกรมธรรม์ เมื่อมีคนคลิกและซื้อประกันซันเดย์ผ่านลิงก์ของคุณ ไม่ว่าจะเป็น ประกันสุขภาพ ประกันโรคร้ายแรง ประกันรถยนต์ และ ประกันรถยนต์ไฟฟ้า (ดูเพิ่มเติม) ขอเพียงมีเบี้ยขั้นต่ำเพียง 10,000 บาทหลังจากหักส่วนลดแล้ว และต้องถือกรมธรรม์ให้ครบ 30 วัน เท่านี้ก็สามารถรับค่าแนะนำจากซันเดย์ได้แล้ว
สมัครง่ายๆ เพียงคุณอายุ 20 ปีขึ้นไป และ ไม่ได้มีใบอนุญาตนายหน้า หรือ ตัวแทนประกันภัยจากที่ไหน ก็สามารถสมัครเข้าร่วมโปรแกรมและรับค่าแนะนำจากซันเดย์ได้ในทันที ที่สำคัญ คุณยังสามารถติดตามผลการแนะนำ เงื่อนไขและข้อกำหนด รวมถึงรายได้จากการแนะนำประกันซันเดย์ได้อย่างสะดวกผ่านระบบแดชบอร์ดหลังบ้านด้วย
นอกจากนี้ ในแต่ละเดือน ซันเดย์ยังมี Secret Mission ที่เป็นโบนัสพิเศษเพิ่มให้ ซึ่งคุณสามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมได้ง่ายๆ ด้วยเช่นกัน
หากคุณเป็นอีกคนที่กำลังมองหา Affiliate Marketing ที่ให้ค่าคอมสูง และ มีคุณสมบัติครบ อย่าลืมมาสมัครเข้าร่วม Sunday Affiliate Program เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างรายได้เสริมด้วย ทำง่ายๆ อยู่บ้าน หรือ อยู่ที่ไหนก็ทำได้