ถึงการทำงานที่บ้าน (Work from home) จะช่วยป้องกันสุขภาพร่างกายในสถานการณ์วิกฤติ แต่สำหรับ “สุขภาพจิต” ก็ต้องได้รับการดูแลให้ดีไปพร้อมกันๆ ซันเดย์ในฐานะของบริษัทที่ได้เริ่มปรับใช้นโยบาย “การทำงานแบบไฮบริด” ด้วยการสลับทีมทำงานที่บ้านและที่ออฟฟิศมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ได้มองเห็นปัญหาของการ WFH จากคนทำงานจริงหลากหลายแง่มุม และพบว่าสำหรับบางคนนั้น การนั่งทำงานที่บ้านเป็นเวลานานๆ ก็สามารถบั่นทอนจิตใจของเราให้แย่ลงได้มากกว่าที่หลายคนคิด
แน่นอนว่าปัญหาเรื่องของสุขภาพ (โดยเฉพาะสุขภาพจิต) ของพนักงานทุกคน เป็นสิ่งที่ซันเดย์ให้ความสำคัญเสมอ ออฟฟิศของเราจึงได้เพิ่มสวัสดิการที่อนุญาตให้พนักงานทุกคนสามารถขอรับคำปรึกษากับนักจิตบำบัดที่ได้รับการรับรองจากพาร์ทเนอร์ของเราอย่าง OOCA (อูก้า) ผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิตยุคใหม่ ซึ่งสามารถใช้บริการและขอคำปรึกษาผ่านออนไลน์ได้สะดวก
ทำงานที่บ้าน (WFH) อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตอะไรบ้าง?
ไม่ใช่ทุกคนที่จะชอบทำงานที่บ้าน และไม่ใช่ทุกบ้านจะมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับการทำงานอย่างจริงจัง โดยเฉพาะคนที่มีหน้าที่ติดต่อพบปะกับผู้คนบ่อยๆ การต้องคุยงานผ่านการประชุมออนไลน์ อาจทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายแทนที่จะช่วยแก้ปัญหา ยังไม่รวมถึงสภาพของการทำงานที่บีบคั้นจากเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ในสถานการณ์วิกฤติ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยที่นำพาเอา “ความเครียด” มาหาเราได้ทั้งนั้น โดยแยกประเภทได้ ดังนี้
1. ทำงานที่บ้านอาจทำให้เกิดปัญหาขาดสมาธิและแรงจูงใจ
สภาพแวดล้อมที่บ้านคือสิ่งสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาในการทำงาน เพราะบางบ้านนั้นหาสถานที่ที่มีความเป็นส่วนตัวได้ยาก หรืออาจเป็นบ้านที่มีทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และสัตว์เลี้ยงอยู่รวมกัน ทำให้เราไม่สามารถตั้งสมาธิไปกับการทำงานได้อย่างจริงจัง ไม่นับที่แต่ละคนจะมีกิจวัตรประจำวันแตกต่างกันไป ส่งผลให้แรงจูงใจในการทำงานนั้นต่ำเพราะต้องทำงานในสถานที่ๆ ไม่คุ้นเคย หรือไม่ได้มีบรรยากาศแห่งการทำงานห้อมล้อมเหมือนที่ออฟฟิศ
2. ความเครียดจากการปรับตัวและวิตกกังวลจากสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด
เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อยโดยเฉพาะในช่วงวิฤติ COVID-19 ที่แม้จะมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย แต่ก็ทำให้เกิดความวิตกจริตว่าจะติดเชื้อไวรัสอันตรายหรือไม่ (จะไปตรวจยืนยันก็ลำบาก) นอกจากนั้นการที่เราทุกคนต่างก็ไม่แน่ใจว่าอีกนานแค่ไหนที่สถานการณ์จะดีขึ้น “การควบคุมสถานการณ์ไม่ได้” ก็ส่งผลให้เกิดความเครียดอย่างเลี่ยงไม่ได้ หลายคนอาจจะมีอาการ นอนไม่หลับ กินน้อยลงหรือกินเยอะขึ้นอย่างผิดสังเกต ปวดหัว หรือปวดท้องเนื่องจากแผลในกระเพาะอาหาร เป็นต้น
3. ต้องอยู่ในสถานที่จำกัดเป็นเวลานาน อาจโดดเดี่ยวหรือเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า
สำหรับคนที่ไม่ได้รักความสันโดษ หรือเป็นคนที่ชอบมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง การทำงานที่บ้านหรือคอนโดมิเนียมอยู่คนเดียวหลายต่อหลายวันโดยไม่ได้ออกไปไหน หรือจำเป็นต้องแยกกักตัว 14 วันเพื่อสังเกตุอาการ ก็เหมือนกับการใช้ชีวิตอยู่ในห้องขังดีๆ นี่เอง นอกจากนี้ยังมีการวิจัยพฤติกรรมของคนที่ถูกกักกันโรคให้อยู่คนเดียวเป็นเวลานานเป็นเดือนๆ พบว่า อัตราเสี่ยงของโรคซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้นถึง 20-30% เลยทีเดียว
4. การทำงานที่บ้านอาจทำให้เกิดภาวะเฉื่อยและควบคุมตนเองได้ยาก (Low self-control)
ด้วยสภาพการทำงานที่บ้านซึ่งมีความอิสระสูง อาจทำให้คนทำงานบางคนไม่ได้รู้สึกถึงภาวะกดดันที่มากเพียงพอในการกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน โดยเฉพาะถ้าเราไม่ได้มีการวางแผนการทำงานหรือจัดตารางชีวิตที่ชัดเจน จนทำให้งานสะสมเข้าหลายๆ วัน ก็จะยิ่งทำให้คนๆ นั้นเกิดภาวะเฉี่อยชา ขี้เกียจ และควบคุมตนเองไม่ได้ (Low self-control) จนส่งผลกระทบทั้งทางหน้าที่การงาน รวมถึงความรู้สึกในแง่ลบที่มีต่อตนเองยิ่งขึ้นได้เช่นกัน
มีวิธีไหนที่จะช่วยดูแลสุขภาพจิตที่อาจเกิดจากการทำงานที่บ้านได้บ้าง?
เจอปัญหามาก็มา แล้วจะมีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยเยียวยาปัญหาด้านสุขภาพจิตที่เกิดจากการทำงานที่บ้านได้ ซันเดย์ขอแนะนำ ดังนี้
- ต้องรู้ตัวเองก่อน ว่ากำลังมีปัญหาสุขภาพจิตหรือเปล่า
เหงา โดดเดี่ยว หยุดคิดเรื่องงานไม่ได้ นอนไม่หลับ ไม่เชื่อมั่นใจตนเอง ฯลฯ หากเริ่มมีความรู้สึกแบบนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ก็หมายความว่าสุขภาพจิตเราเริ่มมีปัญหาแล้ว - จัดตารางกิจวัตรประจำวันให้ชัดเจนสำหรับแยกเวลาทำงานและเวลาส่วนตัว
กำหนดเวลาตื่น เวลานอน เวลาทำงาน เวลาพัก ให้เหมือนกับเราเดินทางไปงานที่ออฟฟิศ นอกจากจะช่วยให้ชีวิต WFH ของเรามีประสิทธิภาพแล้ว ยังทำให้เราสามารถขีดเส้นแบ่งกับการใช้ชีวิตเพื่อพักผ่อนหรือทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องการได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะลดความเครียดได้มาก - สื่อสารกับเพื่อนร่วมงานให้บ่อยเพื่อกระตุ้นตนเองและคลายเหงา
การติดต่อสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน รวมถึงการติดตามงานเป็นระยะผ่านช่องทางออนไลน์ จะช่วยเพิ่มความกระตือรือร้นในการทำงาน และสามารถรักษาความสัมพันธุ์ที่ดีระหว่างทีมงานได้อีกด้วย - ปรึกษานักจิตบำบัดหรือจิตแพทย์ช่วยได้มากกว่าที่คิด
หากมีปัญหาเมื่อไหร่ การได้ระบายและพูดคุยกับคนที่ตั้งใจรับฟังปัญหาของเราอย่างจริงจังนั้นช่วยได้เสมอ อย่างที่ซันเดย์เอง ได้มีการจัดสรรสวัสดิการสำหรับพนักงานที่รู้สึกต้องการคำปรึกษาจากนักจิตบำบัด ให้สามารถใช้บริการ OOCA (อูก้า) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมนักจิตวิทยา นักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบประกอบวิชาชีพมาให้บริการโดยเฉพาะ
ทั้งนี้ สวัสดิการในส่วนของการพบนักจิตบำบัดจากพาร์เนอร์ OOCA (อูก้า) นั้น ทางซันเดย์ได้เริ่มนำมาใช้จริงเมื่อช่วงกลางปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ได้มีการประกาศนโยบาย WFH จากทางบริษัทอย่างเป็นทางการ โดยเราได้มีการสำรวจพบว่า สวัสดิการนี้ทำให้พนักงานมีความกล้าที่จะพบนักจิตบำบัดมากขึ้น และทำให้การเยียวยาจิตใจรวมถึงการดูแลสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ง่ายไม่ยุ่งยากอีกต่อไป
OOCA (อูก้า) คือ ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ ที่ช่วยให้คุณสามารถพูดคุยปัญหาคาใจกับจิตแพทย์ และนักจิตวิทยาได้ผ่าน Video call โดยผู้ใช้สามารถขอรับบริการได้อย่างเป็นส่วนตัว และปลอดภัย ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือของคุณ