จากรายงานของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พบว่า ในปีพ.ศ. 2567 คนไทยที่ทำประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเกือบ 28% เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่กลับมีเพียง 15% เท่านั้นที่รู้ว่ากรมธรรม์ของตนคุ้มครองการบำบัดมะเร็งแบบไม่ต้องนอนโรงพยาบาล (Day Case Cancer Therapy)
อย่างไรก็ดี แม้หลายคนจะคุ้นเคยกับคำว่า “ประกันสุขภาพเหมาจ่าย” แต่เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังมีความเข้าใจผิดว่า ประกันสุขภาพนี้จะครอบคลุมเพียงแค่ค่ารักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD) หรือผู้ป่วยใน (IPD) เท่านั้น
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประกันสุขภาพเหมาจ่ายยังให้ความคุ้มครองที่ซับซ้อนและครอบคลุมยิ่งกว่านั้น โดยเฉพาะ 3 เงื่อนไขสำคัญที่นำมาฝากในบทความนี้

เงื่อนไขที่ 1: ความคุ้มครองโรคมะเร็ง
ประกันสุขภาพเหมาจ่ายหลายแผนในประเทศไทย ไม่ว่าจะซื้อเป็นประกันสุขภาพออนไลน์ หรือ ซื้อผ่านช่องทางใด ก็มีความคุ้มครองเฉพาะด้านสำหรับ “โรคมะเร็ง” ซึ่งนับเป็นหนึ่งในโรคร้ายแรงที่ต้องใช้เวลาในการรักษาต่อเนื่องและมีค่าใช้จ่ายสูงอย่างมาก ต่อให้ไม่ใช่ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง แต่ในประกันสุขภาพเหมาจ่ายยังมีความคุ้มครองมะเร็งที่รวมอยู่ในหมวด “ผลประโยชน์กรณีไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน” ด้วยเช่นกัน
โดยในกรมธรรม์ประกันสุขภาพ ความคุ้มครองโรคมะเร็งจะครอบคลุม 2 หมวดหลัก ได้ก
- หมวดที่ 10 จะเป็นค่าบริการทางแพทย์ เพื่อการบำบัดรักษาโรคมะเร็ง โดยรังสีวิทยา รังสีร่วมรักษา เวชศาสตร์นิวเคลียร์รักษา โดยจะคุ้มครองแบบ “ต่อรอบปีกรมธรรม์”
- หมวดที่ 11 จะเป็นค่าบริการทางแพทย์ เพื่อการรักษาบำบัดรักษาโรคมะเร็ง โดยเคมีบำบัด โดยจะคุ้มครองแบบ “ต่อรอบปีกรมธรรม์” เช่นกัน
มะเร็งยังเป็นโรคเงียบที่หลายคนไม่รู้ตัว เพราะอาจไม่แสดงอาการในระยะแรก ลองดู มะเร็งในผู้ใหญ่ที่หลายคนไม่รู้ตัว เพื่อทำความเข้าใจสัญญาณเตือนและปัจจัยเสี่ยงที่ควรระวัง

เงื่อนไขที่ 2: Day Case หรือ Day Surgery ในประกันสุขภาพเหมาจ่าย
อีกหนึ่งความเข้าใจผิดที่พบบ่อย คือ การคิดว่า “การผ่าตัด” ต้องนอนโรงพยาบาลจึงจะสามารถเคลมประกันได้ แต่ในปัจจุบัน การผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอก (Day Case หรือ Day Surgery) ก็ได้รับความคุ้มครองจากประกันสุขภาพเหมาจ่ายเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ผู้ที่ทำประกันสุขภาพได้รับความคุ้มครองจากการเจ็บป่วยที่ต้องผ่าตัด แต่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาลด้วย โดย Day Case หรือ Day Surgery คือ การเข้ารับบริการรักษา หรือ ผ่าตัด ที่สามารถกลับบ้านได้ภายในวันเดียว โดยไม่ต้องนอนค้างในโรงพยาบาล ซึ่งจะอยู่ภายใต้หมวดผลประโยชน์กรณีผู้ป่วยใน (IPD) แต่ไม่จำเป็นต้องพักค้างคืน
ในปัจจุบันนี้ ความคุ้มครองในส่วน Day Case หรือ Day Surgery จะครอบคลุมทั้งหมด 21 โรค ดังนี้
- การสลายนิ่ว (ESWL : Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy)
- การตรวจเส้นเลือดหัวใจโดยการฉีดสี (Coronary Angiogram/Cardiac Catheterization)
- การผ่าตัดต้อกระจก (Extracapsular Cataract Extraction with Intraocular Lens)
- การผ่าตัดโดยการส่องกล้องทุกชนิด (Laparoscopic Surgery)
- การตรวจโดยการส่องกล้องทุกชนิด (Endoscopy)
- การผ่าตัด หรือเจาะไซนัส (Sinus surgery)
- การรักษาริดสีดวงทวารโดยการฉีดยาหรือผูก (Injection or Rubber Band Ligation)
- การตัดก้อนเนื้อที่เต้านม (Breast Mass Excision)
- การตัดชิ้นเนื้อจากกระดูก (Bone Biopsy)
- การตัดชิ้นเนื้อเพื่อการวินิจฉัยจากอวัยวะใดๆ (Tissue Biopsy)
- การตัดนิ้วมือหรือนิ้วเท้า (Amputation)
- การจัดกระดูกให้เข้าที่ (Manual Reduction)
- การเจาะตับ (Liver Puncture /Liver Aspiration)
- การเจาะไขกระดูก (Bone Marrow Aspiration)
- การเจาะช่องเยื่อหุ้มไขสันหลัง (Lumbar Puncture)
- การเจาะช่องเยื่อหุ้มปอด (Thoracentesis / Pleurocentesis / Thoracic Aspiration / Thoracic Paracentesis)
- การเจาะช่องเยื่อบุช่องท้อง (Abdominal Paracentesis / Abdominal Tapping)
- การขูดมดลูก (Curettage, Dilatation and Curettage, Fractional Curettage)
- การตัดชิ้นเนื้อจากปากมดลูก (Colposcope, Loop diathermy)
- การรักษา Bartholin’s Cyst (Marsupialisation of Bartholin’s Cyst)
- การรักษาด้วยรังสีแกมม่า (Gamma Knife)
อย่างไรก็ดี ก่อนเข้ารับการรักษาและใช้สิทธิ์ความคุ้มครองแบบ Day Case หรือ Day Surgery อย่าลืมตรวจสอบวงเงินความคุ้มครองให้ดีด้วย โดยสามารถตรวจสอบได้ที่กรมธรรม์ในประกันสุขภาพเหมาจ่ายของตัวเอง
เงื่อนไขที่ 3: ความคุ้มครองอุบัติเหตุ
จริงอยู่ที่ประกันสุขภาพเหมาจ่ายนั้นเป็นประกันภัยคนละประเภทกับประกันอุบัติเหตุ แต่อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันนี้ การทำประกันสุขภาพยังคุ้มครองครอบคลุมถึงการรักษาพยาบาลจากกรณีที่เกิดอุบัติเหตุด้วยเช่นกัน
ประกันสุขภาพเหมาจ่ายหลายแผนในปัจจุบันครอบคลุมถึงค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ ทั้งแบบที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาลและแบบ IPD โดยเฉพาะการบาดเจ็บเล็กน้อย เช่น ข้อเท้าพลิก แผลถลอก หรือกระแทกจากการลื่นล้ม โดยหากเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาลและมีใบรับรองแพทย์ชัดเจน ผู้เอาประกันก็สามารถได้รับความคุ้มครองเช่นกัน
นอกจากนี้ หากเป็นอุบัติเหตุร้ายแรง เช่น กระดูกหัก หรือ ศีรษะได้รับการกระทบกระเทือน ก็สามารถรับความคุ้มครองเข้าเงื่อนไข IPD ได้ทันที และใช้วงเงินแบบเหมาจ่ายโดยไม่ต้องแยกยื่นเบิกจากประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA)
อย่างไรก็ดี หากใครมีประกันอุบัติเหตุด้วย ก็สามารถรับความคุ้มครองตามเงื่อนไขของประกันอุบัติเหตุเพิ่มเติมได้ ไม่ว่าจะเป็นการชดเชยรายได้ ความคุ้มครองกรณีบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ หรือ ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุ
จะเห็นได้ว่า ประกันสุขภาพเหมาจ่ายไม่ใช่แค่แผนประกันที่ครอบคลุม OPD และ IPD เท่านั้น แต่ยังให้ความคุ้มครองเฉพาะทางที่มีประโยชน์ต่อผู้เอาประกัน เช่น การรักษาโรคมะเร็ง การผ่าตัดแบบ Day Surgery และอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
จากบทความทั้งหมดนี้ เชื่อว่า “คุณ” ก็คงได้อีกหนึ่งวิธีเลือกประกันสุขภาพที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากความคุ้มครองในกรมธรรม์อย่างละเอียดแล้ว
ถ้าคุณกำลังมองหาประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมยิ่งขึ้น ลองดู เหตุผลที่ควรเลือกประกัน IPD แบบเหมาจ่ายวงเงินสูง เพื่อวางแผนวงเงินให้เพียงพอกับความเสี่ยงในอนาคต

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายซันเดย์ คือ ประกันสุขภาพออนไลน์ที่พร้อมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกดีๆ ที่ช่วยให้คุณเข้าถึงประกันสุขภาพดีๆ ได้ในงบเริ่มต้นเพียงหลักหมื่นต้นๆ
เช็กเบี้ยประกันสุขภาพซันเดย์ได้ง่ายๆ ที่เว็บไซต์ easysunday.com ใช้แค่ “วันเดือนปีเกิด” เท่านั้น
