หน้าหลัก รู้ทันประกันสุขภาพ โรคที่รักษาแบบผู้ป่วยนอก คุ้มครองด้วยประกันสุขภาพ OPD

โรคที่รักษาแบบผู้ป่วยนอก คุ้มครองด้วยประกันสุขภาพ OPD

opd-diseases-and-opd-health-insurance

การรักษาแบบ OPD คืออะไร ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกคุ้มครองโรคไหนบ้าง?

จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD) ในโรงพยาบาลของรัฐมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 62.1% ในปีค.ศ. 2013 – 2020 ที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่จะมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตัวเลขดังกล่าวนี้ยังสะท้อนให้เห็นว่า คนไทยมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยมากขึ้นด้วยเช่นกัน

การทำประกันสุขภาพที่ครอบคลุมการรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD) จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยบริหารความเสี่ยงดังกล่าวได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของค่ารักษาพยาบาลที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

แล้วการรักษาแบบ OPD คืออะไร ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกให้ความคุ้มครองการรักษาโรคอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ

การรักษาแบบ OPD คืออะไร?

การรักษาแบบ OPD คือ การรักษาพยาบาลโดยที่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล หรือ นอนเฝ้าดูอาการน้อยกว่า 6 ชั่วโมง 

โดยส่วนใหญ่แล้ว โรคที่เข้าข่ายการรักษาแบบ OPD จะเป็นอาการเจ็บป่วยที่ไม่ได้รุนแรงจนถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่โรคที่เป็นการรักษา OPD ยังจำเป็นต้องได้รับการดูแลและรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสถานพยาบาล

ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD) คืออะไร ให้ความคุ้มครองอย่างไรบ้าง?

ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD) เป็นประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาลโรคที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่า เป็นโรคที่เข้าข่ายการรักษาแบบ OPD 

โดยทั่วไปแล้ว ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกจะให้ความคุ้มครองครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าบุคลากรทางการแพทย์ ค่าบริการทางการแพทย์ ค่ายารักษาโรค และ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลอื่นๆ ที่เป็นไปตามเงื่อนไขของกรมธรรม์

แต่นอกจากจะช่วยคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแล้ว การมีประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกยังช่วยให้ผู้เอาประกันเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพกับสถานพยาบาลชั้นนำในเครือข่าย ทำให้มั่นใจว่าทุกการเจ็บป่วยจะได้รับการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล

ในปัจจุบันนี้ ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกยังมีความคุ้มครองให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่ประกันค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกแบบเหมาจ่าย หรือ ประกันสุขภาพ OPD เหมาจ่าย ไปจนถึงประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกที่สามารถเลือกวงเงินและจำนวนครั้งที่คุ้มครองการรักษาแบบ OPD ด้วย

ข้อยกเว้นความคุ้มครองประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกที่ควรรู้

จริงอยู่ที่ประกันสุขภาพสามารถให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ทำให้ช่วยบริหารความเสี่ยงที่จะต้องนำเงินเก็บ หรือ เงินสำหรับความจำเป็นอื่นๆ มาใช้เพื่อรักษาพยาบาล แต่ประกันสุขภาพเองก็มีข้อยกเว้นความคุ้มครองด้วยเช่นกัน

1. การเจ็บป่วยในระยะรอคอย

หลังจากที่ทำประกันสุขภาพแล้ว ผู้เอาประกันจะได้รับความคุ้มครองก็ต่อเมื่อสิ้นสุด “ระยะเวลารอคอย” หรือ Waiting Period ซึ่งเป็นระยะเวลาเพื่อตรวจสอบว่า ผู้เอาประกันมีการเจ็บป่วยก่อนที่จะทำประกันหรือไม่ โดยส่วนใหญ่แล้ว ระยะรอคอยจะมีช่วงเวลาตั้งแต่ 30 – 120 วัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกรมธรรม์

เบื้องต้นแล้ว ประกันสุขภาพจะไม่ให้ความคุ้มครองโรคและอาการเจ็บป่วยตามระยะรอคอยที่แตกต่างกัน ดังนี้

ระยะรอคอยโรคที่ไม่คุ้มครอง
30 วันไม่คุ้มครองการเจ็บป่วยใดๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะรอคอย 30 วัน
120 วันไม่คุ้มครองภาวะผิดปกติ โรค รวมถึงภาวะแทรกซ้อน ดังนี้
– เนื้องอก ถุงน้ำ หรือ มะเร็งทุกชนิด- ริดสีดวงทวาร- ไส้เลื่อนทุกชนิด- ต้อเนื้อ หรือต้อกระจก- การตัดทอนซิล หรือ อดีนอยด์- นิ่วทุกชนิด- เส้นเลือดขอดที่ขา- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
180 วันไม่คุ้มครองภาวะผิดปกติ โรค รวมถึงภาวะแทรกซ้อน ดังนี้
– โรคต่อมไทรอยด์- โรคลมบ้าหมู- โรคเบาหวาน- โรคภูมิแพ้- โรคความดันโลหิตสูง- โรคหัวใจ- โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร
หลังจากที่ครบ 180 วันแล้ว ผู้เอาประกันจะได้รับความคุ้มครองทุกการเจ็บป่วย รวมถึงโรคร้ายแรง แต่จะยกเว้นโรคที่เป็นมาก่อนการเอาประกัน

*เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อบริษัทประกันสุขภาพที่สนใจ

2. โรคที่เป็นมาก่อนการเอาประกัน

โรคที่เป็นมาก่อนการเอาประกัน หรือ Pre-existing Conditions คือ โรค หรือ ความผิดปกติที่ผู้เอาประกันเป็นมาก่อนทำประกันสุขภาพ โรคที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด ความผิดปกติโดยกำเนิดที่ส่งผลต่อการเจ็บป่วยในปัจจุบัน รวมถึงความผิดปกติที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคที่เป็นมาก่อนการทำประกันสุขภาพ ซึ่งบริษัทประกันจะไม่ให้ความคุ้มครองในกรณีดังกล่าว 

โดยบริษัทประกันจะตรวจสอบโรคที่เป็นมาก่อนการเอาประกันผ่านการแถลงประวัติสุขภาพ หรือ การตรวจสุขภาพ นอกจากนี้ บริษัทประกันยังมีสิทธิ์ “สืบประวัติสุขภาพ” ก่อนอนุมัติการเคลม เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่า ผู้เอาประกันไม่ได้เป็นโรคมาก่อนการทำประกันสุขภาพ

อย่างไรก็ดี หากมีประวัติการเป็นโรคมาก่อน หรือ อยู่ในช่วงที่กำลังรักษา บริษัทประกันอาจมีการออก “Counter Offer” ที่ระบุถึงกรณี หรือ โรคที่จะไม่ได้รับความคุ้มครอง เพื่อให้ผู้เอาประกันพิจารณาการทำประกันสุขภาพ

ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าจะเป็นการทำประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก หรือ ประกันสุขภาพประเภทอื่นๆ ขอแนะนำให้แถลงประวัติสุขภาพตามจริงให้ครบถ้วน ไม่ปกปิดประวัติการเจ็บป่วย พร้อมสอบถามรายละเอียดการทำประกันสุขภาพให้ละเอียด เพื่อรักษาสิทธิ์และรับความคุ้มครองที่เหมาะสม 

อย่างไรก็ดี หากมั่นใจว่าแถลงประวัติสุขภาพครบถ้วน เป็นจริงทุกประการ และพร้อมให้บริษัทประกันตรวจสอบทุกกรณี เมื่อพ้นระยะรอคอยครบ 180 วันแล้ว ผู้เอาประกันก็จะได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

ประกัน OPD คืออะไร เลือกทำประกันสุขภาพเน้น OPD ดีไหม?

มองหาประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก เลือกประกันสุขภาพซันเดย์ดีกว่า!

ซันเดย์ ตอบโจทย์ด้วยประกันสุขภาพ OPD พร้อมเหมาจ่ายการรักษาพยาบาลแบบ IPD ให้ คุ้มครองครบทั้งการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยใน ป่วยหนักจนต้องนอนโรงพยาบาลก็หายห่วง หรือ เจ็บป่วยไม่หนักก็ยังอุ่นใจด้วยความคุ้มครองตามวงเงิน OPD ตามจำนวนครั้งที่ใช้ได้

แผนใหม่! ให้คุณได้มีประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกในเบี้ยที่เข้าถึงได้ กับ แผนประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย + วงเงิน OPD 1,000 บาท และ แผนประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย + วงเงิน OPD 2,000 บาท

วงเงิน OPD คุ้มครองทั้งการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาล บริการรับยาจากร้านขายยาในเครือ (Walk-in Pharmacy) และ บริการปรึกษาแพทย์และเภสัชกรออนไลน์ ผ่านระบบที่ได้รับการรับรองโดยสภาเภสัชกรรม (Telemedicine) พร้อมจัดส่งยาถึงที่

เช็กเบี้ยประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่ายที่มีวงเงิน OPD ได้ง่ายๆ ที่เว็บไซต์ ใช้แค่ “วันเดือนปีเกิด” เท่านั้น

ประกันสุขภาพ ipdopd1500


Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

คนไทยป่วย OPD โรคอะไรมากที่สุด รักษาอะไรบ้างที่ผ่านมา?

การรักษาแบบ OPD คืออะไร คนไทยป่วยด้วย OPD ด้วยโรคอะไรมากที่สุด? การรักษาแบบ OPD หรือ Out-Patient Department คือ…
5 โรคแบบ OPD

ครบที่เดียว! สรุปสาเหตุ + อาการของวัยทองในผู้หญิงและผู้ชาย

สูงวัยเช็กด่วน! รวมสาเหตุและอาการของวัยทองในผู้หญิงและผู้ชาย เมื่อเวลาเปลี่ยนไป…
menopause-in-men-and-women

เข้าใจก่อนซื้อ! 6 ปัจจัยที่ส่งผลต่อเบี้ยประกันสุขภาพ

สรุปครบ! ทำไมจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพไม่เท่ากัน ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางประชากร รวมถึงความเสี่ยงจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ…
factors-affect-health-insurance-premium

ประกันอุบัติเหตุจำเป็นแค่ไหน ผู้หญิงเสี่ยงกว่าจริงไหม?

ผู้หญิงเสี่ยงอุบัติเหตุมากกว่าจริงหรือไม่ ทำไมต้องทำประกันอุบัติเหตุผู้หญิงโดยเฉพาะ? “อุบัติเหตุ”…
does-woman-face-more-accidents-than-men
0
Share