สูงวัยเช็กด่วน! รวมสาเหตุและอาการของวัยทองในผู้หญิงและผู้ชาย
เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเพศไหนก็ต้องเผชิญเข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและอารมณ์ที่ส่งผลต่อคุณภาพการใช้ชีวิตในทุกๆ วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “อาการคนวัยทอง” ที่นอกจากจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนแล้ว ผู้ชายเข้าวัย 40 เองก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นวัยทองได้เช่นกัน
แล้วอาการของวัยทองจะเป็นอย่างไร วัยทองในผู้หญิงและผู้ชายมีความแตกต่างกันอย่างไร และอาการคนวัยทองจะส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรหากไม่ได้รับการรักษา มาไขทุกข้อสงสัยเรื่องวัยทองได้ในบทความนี้
วัยทองคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด?
วัยทอง (Menopause) คือ ภาวะที่ฮอร์โมนทางเพศในร่างกายเริ่มมีการเสื่อมถอย ซึ่งเกิดขึ้นจากสุขภาพร่างกายที่เสื่อมลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยอาการคนวัยทองนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน และผู้ชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
วัยทองถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพของผู้เริ่มสูงวัย ซึ่งไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อสุขภาพใจเท่านั้น แต่ฮอร์โมนเพศที่เปลี่ยนแปลงไปยังส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะและระบบต่างๆ ในร่างกาย ทั้งยังส่งผลต่อคุณภาพการใช้ชีวิตประจำวันในหลากหลายแง่มุมอีกด้วย
อาการวัยทองในผู้หญิงเป็นอย่างไร เกิดจากอะไร?
วัยทองในผู้หญิงเกิดขึ้นจากการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในร่างกาย จากประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่ลดลงจากอายุที่เพิ่มขึ้น จากการศึกษาจาก National Institute on Aging พบว่าผู้หญิงประมาณ 75% จะเริ่มมีอาการของวัยทองตั้งแต่อายุ 45 – 55 ปี หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ยอยู่ที่อายุ 51 ปี
สำหรับอาการวัยทองในผู้หญิง จากการศึกษาของ Mayo Clinic พบว่า ผู้หญิงประมาณ 75% ประสบกับอาการร้อนวูบวาบ และประมาณ 50% มีปัญหาในการนอนหลับ ที่สำคัญ ผู้หญิงบางคนยังพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น การถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้นหรือมีอาการปวดขณะถ่ายปัสสาวะ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สามารถทำให้เกิดความเครียดและวิตกกังวลเพิ่มขึ้นได้
แต่นอกจากอาการวัยทองในผู้หญิงข้างต้นแล้ว ยังมีอีกหลายอาการที่ผู้หญิงวัย 40+ ต้องเฝ้าสังเกตให้ดี โดยเฉพาะอาการที่พบได้บ่อย ดังนี้
อาการวัยทองในผู้หญิงที่พบได้บ่อย:
- อารมณ์แปรปรวน ควบคุมตัวเองไม่ได้
- รู้สึกวิตกกังวล กระวนกระวาย ขาดสมาธิ
- หงุดหงิดง่าย
- มีภาวะซึมเศร้า
- เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว เหงื่อออกมาก หรือ อาจมีอาการใจสั่นร่วมด้วย ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในเวลากลางคืน ส่งผลให้นอนหลับได้ไม่สนิท
- ประจำเดือนมาไม่ปกติ ลดความถี่ของรอบเดือนและประจำเดือนเริ่มค่อยๆ หมดไปอย่างถาวร
- ช่องคลอดแห้ง เนื่องจากระดับฮอร์โมนทางเพศลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย กระดูก และข้อต่อต่างๆ เนื่องจากร่างกายเริ่มมีการสูญเสียมูลกระดูกจากภาวะหมดประจำเดือน หากไม่รีบดูแลรักษาอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุนและมีภาวะกระดูกเปราะได้
- หลงลืมง่าย ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นหลังจากที่ประเดือนหมดแล้ว หากเกิดอาการดังกล่าวขึ้น แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนฝึกและพัฒนาสมอง เพื่อป้องกันความเสี่ยงการเกิดภาวะโรคสมองเสื่อม
อาการวัยทองในผู้ชายเป็นอย่างไร เกิดจากอะไร?
วัยทองในผู้ชาย (Andropause) เกิดขึ้นจากการลดลงของระดับฮอร์โมนเพศอย่างเทสโทสเตอโรน ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์อย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นความหงุดหงิด ซึมเศร้า รวมถึงอารมณ์ที่แปรปรวนขึ้นแล้ว วัยทองในผู้ชายส่งผลต่อสุขภาพได้ในหลายแง่มุม เช่น เกิดความรู้สึกเหนื่อยล้า ลดแรงขับทางเพศ และความผิดปกติในการนอนหลับ
จากรายงานของ American Urological Association พบว่า ผู้ชายประมาณ 30% จะประสบกับระดับเทสโทสเตอโรนที่ลดต่ำลงเมื่อเข้าสู่วัยกลางคน หรือผู้ชายที่เริ่มเข้าวัย 40 โดยอาการวัยทองผู้ชายที่พบบ่อยจะมีตั้งแต่น้ำหนักกล้ามเนื้อที่ลดลง ความเหนื่อยล้าที่เพิ่มขึ้น และความยากลำบากในการจดจำข้อมูล
แต่นอกจากอาการข้างต้นแล้ว อาการคนวัยทองในผู้ชายยังสามารถสังเกตได้จากอาการต่างๆ ดังนี้
อาการวัยทองในผู้ชายที่พบได้บ่อย:
- กล้ามเนื้อต่างๆ ลดขนาดลง รู้สึกอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัวโดยไม่มีสาเหตุ
- เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว ทำให้นอนไม่ค่อยหลับในช่วงเวลากลางคืน
- รู้สึกเบื่อหน่าย ขาดความกระฉับกระเฉง ไม่อยากออกไปไหน
- เครียดและหงุดหงิดง่าย ในบางรายยังมีอาการขี้น้อยใจเพิ่มขึ้น
- ความจำลดลง ลืมง่าย ขาดสมาธิในการทำกิจวัตรประจำวัน
- สมรรถภาพทางเพศและความต้องการทางเพศลดลง อวัยวะเพศไม่แข็งตัว
- ปวดเมื่อยตัว กระดูก และข้อต่อโดยไม่ทราบสาเหตุ เนื่องจากฮอร์โมนเพศชายที่น้อยลงทำให้กระดูกบางลง หากไม่รีบดูแลรักษาอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนและมีภาวะกระดูกเปราะได้
วัยทองอันตรายจริงไหม ไม่รักษาได้หรือเปล่า?
จากอาการวัยทองในผู้หญิงและผู้ชายข้างต้น เชื่อว่าหลายๆ คนอาจมองว่า อาการคนวัยทองส่วนใหญ่นั้นเกิดขึ้นจากสภาวะทางจิตใจที่ส่งผลต่อร่างกาย ดังนั้น หากดูแลสุขภาพใจให้ดี อาการของวัยทองก็อาจไม่ได้เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายมาก
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ฮอร์โมนทางเพศในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปไม่ได้ส่งผลต่อสุขภาพใจเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระดูกที่บางลงจากระดับฮอร์โมนที่ต่ำลง จนเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุนและภาวะกระดูกเปราะ
โดยภาวะกระดูกพรุนที่เกิดขึ้นจากวัยทองนี้ มีความเสี่ยงที่จะสร้างความทุพพลภาพได้ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่กระดูกจะหักได้ง่าย จนไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระดูกสะโพกที่หักแล้วจะไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติได้ และจากสถิติยังพบว่า เมื่อกระดูกสะโพกหักแล้ว ยังมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตสูงถึง 20% ภายใน 1 ปีอีกด้วย
นอกจากความเสี่ยงกระดูกพรุนแล้ว อาการของวัยทองยังก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในภาพรวม ที่สำคัญ ภาวะวัยทองยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคร้ายแรงและโรคเรื้อรังอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง ไปจนถึงโรคสมองเสื่อมได้อีกด้วย
การรักษาวัยทองในปัจจุบัน
จากอาการและอันตรายของวัยทองข้างต้น เชื่อว่าหลายๆ คนคงสงสัยถึงวิธีรักษาอาการของวัยทองในปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อช่วยให้ทุกคนเข้าใจและเตรียมตัววางแผนรักษาวัยทองได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในส่วนนี้ลองมาทำความเข้าใจวิธีการรักษาวัยทองในปัจจุบันกัน
โดยการรักษาวัยทองนั้นสามารถทำได้หลายวิธี ตั้งแต่การใช้ฮอร์โมนทดแทน (Hormone Replacement Therapy – HRT) ที่ผู้ป่วยต้องเข้ารับการปรึกษาและวางแผนการรักษากับแพทย์อย่างใกล้ชิด ไปจนถึงการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อช่วยปรับสมดุลร่างกายไปพร้อมกับจิตใจ เช่น การออกกำลังกาย นั่งสมาธิ การรับประทานอาหารที่เหมาะสม และการจัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม
ดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลจากวัยทอง?
จริงอยู่ที่อาการคนวัยทองมักมาพร้อมกับอายุที่เพิ่มขึ้น แต่หลายๆ ครั้ง พฤติกรรมการใช้ชีวิตก็สามารถส่งผลต่อการเกิดวัยทองได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ การอดหลับอดนอน ไปจนถึงการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ ล้วนเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดวัยทองได้เร็วขึ้น
ด้วยเหตุนี้ แม้วัยทองจะเป็นเรื่องที่ยากจะหลีกเลี่ยง แต่การดูแลสุขภาพกายและใจให้สมดุลอยู่เสมอ ก็สามารถช่วยลดความรุนแรง รวมถึงชะลอเวลาในการเกิดวัยทองได้เช่นกัน
เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูงและไขมันทรานส์ รวมถึงควรจัดการกับความเครียดด้วยกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น โยคะหรือสมาธิ นอกจากนี้ การตรวจสุขภาพเป็นระยะ ๆ จะช่วยให้สามารถติดตามสุขภาพและเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อายุเปลี่ยน ความเสี่ยงเพิ่ม ถึงเวลาหาตัวช่วย!
อายุที่เพิ่มขึ้นในทุกๆ วัน ไม่เพียงแต่จะย่นระยะเวลาเข้าสู่วัยทองให้ใกล้ขึ้นเท่านั้น แต่ยังมาพร้อมกับความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งไม่เพียงแต่จะต้องดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเท่านั้น การมองหาตัวช่วยอย่าง “ประกันสุขภาพ” ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกดีๆ ที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน
โดย “ประกันสุขภาพ” ไม่เพียงแต่จะช่วยให้เข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพในโรงพยาบาลชั้นนำเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยลดความกังวลด้านค่ารักษาพยาบาลที่นับวันยิ่งปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากโรคร้ายที่พัฒนาตัวอย่างรวดเร็ว ไปจนถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ต้องปรับตัวให้เท่าทันกับโรคต่างๆ
ซันเดย์ มาพร้อมกับประกันสุขภาพหลากหลายแผน เพื่อวัย 40+ ที่เสี่ยงเจออาการคนวัยทอง ตลอดจนปัญหาสุขภาพอย่างรอบด้าน
เปิดแผนประกันออนไลน์ เลือกประกันสุขภาพซันเดย์ แผนไหนดี?
แผนแนะนำ! ประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย + วงเงิน OPD
- เหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน (IPD) และห้อง ICU
- วงเงิน OPD สำหรับพบแพทย์ที่โรงพยาบาล รับยาจากเภสัชกรในร้านขายยาในเครือ และบริการปรึกษาแพทย์ทางไกลกับผู้ให้บริการในเครือ โดยไม่ต้องสำรองจ่าย*
- คุ้มครองค่ารักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัด (OPD) สูงถึง 200,000 บาท
- ต่ออายุได้จนถึง 80 ปี
แผนแนะนำ! ประกันอุบัติเหตุผู้สูงอายุ PA Happy 45 Plus
หากมีประกันสุขภาพอยู่แล้ว การทำประกันอุบัติเหตุเสริมด้วยจะสามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงได้อย่างรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เริ่มสูงวัยที่มีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้มากขึ้น
- เลือกแผนความคุ้มครองอุบัติเหตุต่อปีกรมธรรม์สูงสุด 300,000 บาท
- มีแผนคุ้มครองอุบัติเหตุสูงถึง 150,000 บาทต่อครั้ง
- รักษา OPD กรณีอุบัติเหตุสูงสุด 7,500 บาทต่อครั้ง สูงสุด 30 ครั้งต่อปี
แผนประกัน | ค่ารักษาพยาบาล IPD | ค่ารักษาพยาบาล OPD | ค่าเบี้ยเริ่มต้นต่อปี |
---|---|---|---|
ประกันอุบัติเหตุผู้สูงอายุ BKI PA HAPPY 45 PLUS (อายุ 45 – 75 ปี) | 300,000 บาทต่อปี | 7,500 บาทต่อครั้ง สูงสุด 30 ครั้งต่อปี จำกัด 1 ครั้งต่อวัน | 4,400 บาท |
หรือ หากทั้ง 2 แผนข้างต้นยังไม่ใช่สิ่งที่คุณตามหา ซันเดย์ยังมีประกันสุขภาพอีกหลากหลายแผนให้คุณได้เลือกพิจารณา โดยสามารถเช็กเบี้ยและความคุ้มครองได้ง่ายๆ เพียงกรอกวันเดือนปีเกิดเท่านั้น หากกรมธรรม์ไหนตอบโจทย์ สามารถกดซื้อและรับความคุ้มครองได้บนเว็บไซต์
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด