ประกันชีวิตตอบโจทย์ทั้งลดหย่อนภาษี สภาพคล่อง และเป้าหมายการทางเงิน
แม้จะช่วยลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท แต่ “ประกันชีวิต” ก็เป็นอีกหนึ่งการลงทุนระยะยาวที่มีต้นทุนสูงเช่นกัน
หากคุณเป็นอีกคนที่ต้องการลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิต แต่ไม่มั่นใจว่าจะเลือกประกันชีวิตแผนไหนให้ตอบโจทย์สภาพคล่องและเป้าหมายทางการเงิน ทั้งยังสามารถรับสิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด ลองมาดูสรุปทุกเรื่องที่ต้องเข้าใจก่อนตัดสินใจซื้อประกันชีวิตกัน
เข้าใจพื้นฐานของ “ประกันชีวิต”
หากคุณเป็นอีกคนที่กำลังมองหาตัวช่วยบริหารความเสี่ยงจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันในอนาคต ซึ่งไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อชีวิตและสุขภาพเท่านั้น แต่ยังอาจส่งผลต่อการเงินของคุณและคนที่คุณรักด้วยเช่นกัน ประกันชีวิตอาจเป็นคำตอบที่คุณกำลังมองหาอยู่
ประกันชีวิตคืออะไร?
ประกันชีวิต คือ ผลิตภัณฑ์ที่จะเข้ามาช่วยบริหารความเสี่ยงจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันดังกล่าวได้ ทั้งในกรณีการเสียชีวิต ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ ไปจนถึงการสูญเสียรายได้ อันเนื่องมาจากอายุที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงการเกษียณอายุจากการทำงาน
ประกันชีวิตให้ความคุ้มครองอย่างไร?
เมื่อซื้อประกันชีวิตแล้ว บริษัทประกันชีวิตจะเป็นผู้รับความเสี่ยงแทนผู้เอาประกัน ตามความคุ้มครองและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ หากวันใดเกิดเหตุไม่คาดฝัน หรือ ผู้เอาประกันทำตามเงื่อนไขของประกันชีวิตจนครบสัญญา บริษัทประกันชีวิตจะเป็นผู้จ่ายเงินเอาประกันภัยตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ให้กับผู้รับผลประโยชน์
ใครเป็นผู้รับผลประโยชน์ประกันชีวิตได้บ้าง?
ผู้รับผลประโยชน์ของประกันชีวิตสามารถเป็นได้ทั้งตนเอง คู่รัก สมาชิกในครอบครัว ผู้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจ องค์กรการกุศล หรือ เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
ประกันชีวิตไม่จ่ายเงินให้ผู้รับผลประโยชน์ในกรณีไหนบ้าง?
ผู้รับผลประโยชน์อาจไม่ได้รับเงินเอาประกันภัย เมื่อมีการพิสูจน์ทราบแล้วพบว่ามี 4 เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น
- ผู้เอาประกันส่งเบี้ยประกันไม่ครบ จนทำให้ประกันชีวิตหมดอายุสัญญา
- ผู้เอาประกันถูกผู้รับผลประโยชน์ฆ่า
- มีการฆ่าตัวตายภายใน 1 ปีหลังจากส่งประกันชีวิต
- มีการปกปิด หรือ ให้ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับประวัติสุขภาพ
อย่างไรก็ดี เงื่อนไขในการไม่จ่ายเงินให้กับผู้รับผลประโยชน์ยังเป็นไปตามการพิจารณาของบริษัทประกันชีวิตแต่ละแห่งด้วย ดังนั้น อย่าลืมสอบถามเงื่อนไขการรับผลประโยชน์ รวมถึงความเสี่ยงอื่นๆ ก่อนตัดสินใจทำประกันชีวิตทุกครั้ง
ประกันชีวิตมีกี่ประเภท?
ในปัจจุบันนี้ ประกันชีวิตสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลัก ซึ่งจะมีรายละเอียดและเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ดังนี้
เป็นประกันชีวิตที่เน้นความคุ้มครองระยะยาว สามารถส่งต่อเป็นมรดกได้ ซึ่งหากมีชีวิตอยู่จนถึงอายุที่กำหนดก็จะได้รับเงินประกันภัยคืน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นอายุ 80 – 90 ปี หรือ เป็นไปตามเงื่อนไขที่บริษัทประกันชีวิตกำหนด
เป็นประกันชีวิตที่ผู้เอาประกันจะได้รับเงินเป็นรายเดือน รายปี หรือ ตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ เมื่อชำระเบี้ยประกันครบตามระยะเวลา อายุ หรือ ช่วงเวลาที่กำหนด ถือเป็นประกันชีวิตยอดนิยมในกลุ่มผู้ที่ต้องการวางแผนเกษียณตั้งแต่เนิ่นๆ
เป็นประกันชีวิตให้ความคุ้มครองชีวิต รวมถึงความเสี่ยงอื่นๆ ที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ ทั้งยังเป็นการสะสมทรัพย์ไปเรื่อยๆ เพื่อรับเงินก้อนใหญ่ไว้ใช้ในอนาคต ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการออมเงินที่ได้รับความคุ้มครองชีวิตไปในตัว
- ประกันชีวิตแบบกำหนดเวลา
เป็นประกันชีวิตที่จะได้รับผลประโยชน์ในกรณีที่เสียชีวิตเท่านั้น หากยังมีชีวิตอยู่หลังพ้นกำหนดประกันชีวิตไปแล้ว ผู้เอาประกันก็จะไม่ได้รับผลประโยชน์อะไร
- ประกันชีวิตแบบควบการลงทุน
เป็นประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะแบ่งเบี้ยประกันตามสัดส่วนที่กำหนดไปลงทุนในสินทรัพย์ ซึ่งผู้เอาประกันจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนดังกล่าว ทั้งยังได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิตอีกด้วย
ประกันชีวิตลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่?
เบี้ยประกันชีวิตสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 300,000 บาท ซึ่งจะมีเงื่อนไขการลดหย่อนภาษี ดังนี้
ประเภทประกันชีวิต | เงื่อนไขการลดหย่อนภาษี | ||
---|---|---|---|
ประกันชีวิตแบบทั่วไป | ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ | ลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุด 100,000 บาท | |
ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ | |||
ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา | |||
ประกันชีวิตแบบควบการลงทุน (เมื่อนำมารวมกับประกันชีวิตแบบทั่วไป เฉพาะค่าเบี้ยประกันในส่วนค่าการประกันภัย และ ค่าใช้จ่ายหลักอื่น ๆ ของกรมธรรม์ ส่วนที่นำไปลงทุนไม่สามารถนำมารวมเพื่อลดหย่อนภาษีได้) | ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท | ||
ประกันชีวิตแบบบำนาญ | ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท |
เงื่อนไขการคำนวณที่ควรรู้
- เบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไป เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อนำมารวมกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- หากไม่มีประกันชีวิตทั่วไป นำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปลดหย่อนในโควต้าของประกันชีวิตทั่วไปได้ ซึ่งรวมกันแล้วจะลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท คิดเป็น 100,000 บาทจากโควต้าประกันชีวิตทั่วไป รวมกับ 200,000 บาทจากโควต้าประกันชีวิตแบบบำนาญ
- หากมีประกันชีวิตแบบทั่วไป แต่เบี้ยที่นำมาลดหย่อนภาษียังไม่ครบ 100,000 บาท สามารถแบ่งเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปลดหย่อนให้ครบ 100,000 บาทได้
4 ประกันชีวิตแผนไหนดีที่เลือกให้เหมาะกับตัวเรามากที่สุด
หากคุณกำลังมองหาประกันชีวิตดีๆ ที่ตอบโจทย์ความคุ้มครอง ผลประโยชน์ รวมถึงสภาพคล่องการเงินในปัจจุบันที่สามารถลงทุนกับประกันชีวิตได้ ลองมาพิจารณาแผนประกันชีวิตดีๆ ที่ซันเดย์นำมาฝากกัน
1. ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ D-Supreme Saving 10/1
จุดเด่นของแผนนี้
- ส่งปีเดียวจบ คุ้มครองนาน 10 ปี
- ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
- เลือกแผนที่มีเงินเอาประกันได้สูงสุด 1,000,000 บาท รับผลตอบแทนปีละ 2.3% ของเงินเอาประกันภัย จบสัญญารับรวม 123% ของเงินเอาประกันภัย
- เบี้ยเริ่ม 50,000 บาท/ปี
ปีกรมธรรม์ | เบี้ยประกันภัย ณ ต้นปีกรมธรรม์ | เงินคืนระหว่างสัญญา / เงินครบกำหนดสัญญา | ความคุ้มครอง กรณีเสียชีวิต | มูลค่าเวนคืน ณ สิ้นกรมธรรม์ เพศชาย อายุ 61 ปี |
||
---|---|---|---|---|---|---|
% รับเงินจ่ายคืน ณ สิ้นปีกรมธรรม์ | จำนวนเงิน (บาท) | % ของจำนวนเงิน เอาประกันภัย | จำนวนเงิน (บาท) | |||
1 | 1,000,000 | 2.3 % | 23,000 | 110% | 1,100,000 | 903,000 |
2 | – | 2.3 % | 23,000 | 110% | 1,100,000 | 912,000 |
3 | – | 2.3 % | 23,000 | 110% | 1,100,000 | 922,000 |
4 | – | 2.3 % | 23,000 | 110% | 1,100,000 | 932,000 |
5 | – | 2.3 % | 23,000 | 110% | 1,100,000 | 942,000 |
6 | – | 2.3 % | 23,000 | 110% | 1,100,000 | 953,000 |
7 | – | 2.3 % | 23,000 | 110% | 1,100,000 | 964,000 |
8 | – | 2.3 % | 23,000 | 110% | 1,100,000 | 976,000 |
9 | – | 2.3 % | 23,000 | 110% | 1,100,000 | 988,000 |
10 | – | 102.3 % | 1,023,000 | 110% | 1,100,000 | 1,000,000 |
รวม | 1,000,000 | 123 % | 1,230,000 | – | – | – |
2. ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ระยะสั้น Easy E-Save 10/5
จุดเด่นของแผนนี้
- ส่ง 5 ปี คุ้มครองนาน 10 ปี
- ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
- เลือกแผนที่มีเงินเอาประกันได้สูงสุด 2,000,000 บาท สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 10 รับเงินคืน 350% ของเงินเอาประกันภัย
- เบี้ยเริ่ม 20,000 บาท/ปี
ปีกรรมธรรม์ | เบี้ยสะสม | รับเงินคืน | มูลค่าเวนคืนฯ |
---|---|---|---|
1 | 400,000 บาท | 23,616 บาท | 91,513 บาท |
2 | 800,000 บาท | 23,616 บาท | 328,856 บาท |
3 | 1,200,000 บาท | 23,616 บาท | 819,484 บาท |
4 | 1,600,000 บาท | 23,616 บาท | 1,265,240 บาท |
5 | 2,000,000 บาท | 23,616 บาท | 1,802,510 บาท |
6 | 2,000,000 บาท | 29,520 บาท | 1,845,609 บาท |
7 | 2,000,000 บาท | 29,520 บาท | 1,890,480 บาท |
8 | 2,000,000 บาท | 29,520 บาท | 1,937,122 บาท |
9 | 2,000,000 บาท | 29,520 บาท | 1,986,126 บาท |
10 | 2,000,000 บาท | 2,066,421 บาท | 2,066,421 บาท |
*ขึ้นอยู่กับอายุและเพศ |
3. ประกันเพื่อการเกษียณ Easy E-Retire 90/5
จุดเด่นของแผนนี้
- ส่ง 5 ปี รับความคุ้มครองถึงอายุ 90 ปี
- ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท หากไม่ได้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนสำหรับประกันชีวิตทั่วไป
- เลือกแผนที่มีเงินเอาประกันได้สูงสุด 2,000,000 บาท รับเงินบำนาญ 28%
- เบี้ยเริ่ม 20,000 บาท/ปี
ขอบคุณข้อมูล: เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต
4. ประกันชีวิต Easy E-Life
จุดเด่นของแผนนี้
- เบี้ยเริ่ม 1,100 บาท/เดือน จ่ายเบี้ยคงที่ 10 ปี
- ชดเชยสูงสุด 1,500,000 บาท จากการเสียชีวิตทุกกรณี
- รับเงินคืน 10% ของเบี้ยประกันที่ชำระมาแล้วทั้งหมด ณ สิ้นปีที่ 10 เมื่อมีชีวิตอยู่ครบสัญญา
เปรียบเทียบแผนความคุ้มครอง | |||
---|---|---|---|
แผน | Basic | Standard | Advance |
ทุนประกัน | 500,000 บาท | 1,000,000 บาท | 1,500,000 บาท |
ความคุ้มครองชีวิต เมื่อเสียชีวิตทุกกรณี | 500,000 บาท | 1,000,000 บาท | 1,500,000 บาท |
ระยะเวลาคุ้มครอง | 10 ปี | 10 ปี | 10 ปี |
เบี้ยประกันคงที่ 10 ปี | 10 ปี | 10 ปี | 10 ปี |
รับเงินจ่ายคืน ณ สิ้นปีที่ 10 เมื่อมีชีวิตอยู่ครบสัญญา | 10% ของเบี้ยประกันที่ชำระมาแล้วทั้งหมด | 10% ของเบี้ยประกันที่ชำระมาแล้วทั้งหมด | 10% ของเบี้ยประกันที่ชำระมาแล้วทั้งหมด |
ราคาเบี้ยเริ่มต้นต่อปี | 1,100 บาท | 2,200 บาท | 3,300 บาท |
ลดหย่อนภาษีเพิ่มได้สูงสุด 70,000 บาท เมื่อซื้อประกันสุขภาพด้วย!
รู้หรือไม่? คุณยังสามารถลดหย่อนภาษีเพิ่มสูงสุด 70,000 บาท ซึ่งเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท โดยเงื่อนไขการลดหย่อนภาษีด้วยประกันสุขภาพสามารถทำได้ง่ายๆ ตามนี้
- ซื้อประกันสุขภาพให้ตัวเอง ลดหย่อนสูงสุด 25,000 บาท
- ซื้อประกันสุขภาพให้พ่อแม่ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้สุทธิน้อยกว่า 30,000 บาทต่อปี ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดคนละ 15,000 บาท
- ซื้อประกันสุขภาพให้คู่สมรส ที่ไม่มีรายได้ ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท
ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีแผนไหนดี เช็กเองเลยที่ “ซันเดย์”
ซันเดย์ มาพร้อมกับประกันสุขภาพหลากหลายแผนที่สามารถนำเบี้ยไปลดหย่อนภาษีได้ตามจริง โดยคุณสามารถเช็กเบี้ยและความคุ้มครองที่เหมาะสมได้ง่ายๆ เพียงกรอก “วันเดือนปีเกิด” เท่านั้น ไม่ต้องกรอกข้อมูลติดต่อให้ลำบากใจ เจอกรมธรรม์ไหนที่ตอบโจทย์ สามารถกดซื้อเองผ่านเว็บไซต์ easysunday.com ได้ทันที