หน้าหลัก เรื่องการลงทุน แนะนำวิธีลงทุนเพื่อเตรียมลดหย่อนภาษี 2565 ยังไง? ให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์คนทำงาน

แนะนำวิธีลงทุนเพื่อเตรียมลดหย่อนภาษี 2565 ยังไง? ให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์คนทำงาน

สำหรับคนทำงานออฟฟิศอย่างเรา นอกจากการออมเงินและบริหารจัดการเงินเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวันแล้ว “การเตรียมตัวเพื่อลดหย่อนภาษี” ก็ถือเป็นอีกหนึ่งหน้าที่สำคัญ ที่หากคนทำงานเตรียมตัวเอาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง

แม้ว่าจะเข้าสู่ช่วงปลายปี 2564 แบบนี้ แต่ก็ยังไม่มีคำว่าสายเกินไปในการเลือกลงทุนในสินทรัพย์ หรือเลือกซื้อประกันที่ช่วยลดหย่อนภาษีที่เราจะต้องชำระในปีหน้า 2565 ได้ เพื่อการนี้ ซันเดย์จึงขอแนะนำวิธีการลงทุนที่เหมาะสม เพื่อให้คุณเลือกได้ว่าวิธีไหนที่จะเข้ากับไลฟ์สไตล์การลงทุนของคุณได้มากที่สุด


ก่อนเริ่มต้นลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี เราต้องรู้จักสิทธิลดหย่อนที่มี และการคำนวนรายได้ก่อน

ปกติแล้วภาครัฐจะให้สิทธิในการลดหย่อนภาษีเบื้องต้นอยู่แล้ว ดังนั้นก่อนที่คุณจะตัดสินใจลงทุนเพื่อเป้าหมายในการลดหย่อนภาษีให้คุ้มค่าที่สุด คุณควรจะคำนวนรายได้ประจำปีให้ชัดเจน และกรอกรายละเอียดการใช้สิทธิลดหย่อนที่เรามีให้ครบทั้งหมด ก่อนที่จะลงทุนเพิ่มเติม

ซึ่งคุณสามารถวางแผนภาษีได้ง่ายๆ ที่นี่

โดยประเภทของค่าลดหย่อนต่างๆ ที่คนทำงานจะสามารถใช้สิทธิได้ มีดังนี้

1. ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว

สำหรับผู้ที่มีคู่สมรส (ที่ไม่มีรายได้) มีบุตร มีการฝากครรภ์ คลอดบุตร หรือต้องจ่ายค่าเลี้ยงดู บิดา-มารดา อุปการะเลี้ยงดูคนพิการ หรือมีคนทุพลลภาพผู้พิการที่ต้องดูแล คุณสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ตามเงื่อนไขที่รัฐบาลกำหนด ซึ่งคุณสามารถตรวจสอบรายการลดหย่อนภาษีสำหรับครอบครัวได้ ที่นี่

2. ค่าลดหย่อนเมื่อบริจาคเงิน

หากคุณตัดสินใจที่จะบริจาคเงินให้กับพรรคการเมือง บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการศึกษา บริจาคเพื่อการกีฬา บริจาคเพื่อการพัฒนาสังคม หรือบริจาคให้ รพ. รัฐบาล คุณสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง ตามเงื่อนไขที่รัฐบาลกำหนด

3. ค่าลดหย่อนที่อยู่อาศัย

ถ้าคุณมีการผ่อนชำระบ้านอยู่ สามารถนำดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยมาลดหย่อนภาษีได้ตามเงื่อนไขได้เช่นกัน

4. ค่าลดหย่อนที่มาจากเงินออมต่างๆ

สำหรับผู้ที่ทำงานประจำ และมีการออมเงินในสถาบันต่างๆ ที่ภาครัฐกำหนด ไม่ว่าจะเป็นประกันบำนาญ ประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนครู (รร. เอกชน) และกองทุนการออมแห่งชาติ(กอช) ถ้าคุณมีกองทุนเหล่านี้ สามารถตรวจสอบสิทธิ์การลดหย่อนภาษีได้ตามเงื่อนไขที่รัฐบาลกำหนด

5. ค่าลดหย่อนที่มาจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

ส่วนใหญ่แล้วค่าลดหย่อนประเภทนี้ จะเป็นการลดหย่อนที่ถูกกำหนดมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางภาครัฐฯ ในช่วงระยะเวลาที่จำกัด ไม่ว่าจะเป็นการลดหย่อนจากการท่องเที่ยวในประเทศ หรือการลดหย่อนจากโครงการช้อปช่วยชาติ ที่ได้จากการซื้อของกินของใช้ในร้านค้าที่กำหนด ฯลฯ ซึ่งเป็นประเภทของค่าลดหย่อนที่เราจะต้องรอประกาศอย่างเป็นทางการก่อนใช้งาน และอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ

6. ค่าลดหย่อนเพื่อส่งเสริมการลงทุน

ในส่วนนี้คือหัวข้อหลักที่คนทำงานสามารถเลือกลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม หลังจากที่คำนวนแล้วว่ารายได้ประจำปี หักลบสิทธิ์ลดหย่อนข้างต้นไปแล้ว หากคุณยังจำเป็นต้องเสียภาษีเพิ่มเติมอยู่ สามารถใช้สิทธิ์นี้ เพื่อนำเอาจำนวนเงินที่ลงทุนไป มาใช้อ้างอิงเพื่อลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมได้ ตามเงื่อนไขที่รัฐบาลกำหนด อาทิ สิทธิ์ลดหย่อนจากประกันสังคม เบี้ยประกันชีวิตทั่วไปหรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพ เบี้ยประกันชีวิตคู่สมรส (ที่ไม่มีเงินได้) กองทุนรวมหุ้นระยะยาว SSF, RMF เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กบข. และกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน เป็นต้น


ประเภทของการลงทุนที่คุณสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมได้

จากหัวข้อค่าลดหย่อนเพื่อส่งเสริมการลงทุนข้างต้น ซันเดย์ขอแนะนำรูปแบบการลงทุน พร้อมเงื่อนไขและจุดเด่น ให้คุณสามารถเลือกลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีได้เหมาะกับตัวคุณที่สุด ดังนี้

🔺 การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)

ความง่ายในการลงทุน : ⭐️⭐️⭐️

เงื่อนไข* :

  • ใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี (แต่ไม่เกิน 200,000 บาท)
  • ถือหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ
  • ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ และไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี

*เงื่อนไขของการลงทุนจะแตกต่างกันไปตามแต่บริษัทกองทุนเป็นผู้กำหนด

จุดเด่น :

  • เป็นการลงทุนเพื่อการออมระยะยาว
  • เป็นตัวช่วยในการลดหย่อนภาษีที่มาแทนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่หมดอายุไปเมื่อปี 2562
  • เป็นกองทุนที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเลือกสินทรัพย์ได้หลากหลาย อาทิ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ กองทุน

ลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (RMF)

ความง่ายในการลงทุน : ⭐️⭐️⭐️⭐️

เงื่อนไข* :

  • ใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี (แต่ไม่เกิน 500,000 บาท)
  • ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี และขายได้ตอนอายุครบ 55 ปี
  • ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ แต่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี (หรืออย่างน้อยซื้อปีเว้นปี)

*เงื่อนไขของการลงทุนจะแตกต่างกันไปตามแต่บริษัทกองทุนเป็นผู้กำหนด

จุดเด่น :

  • เป็นการลงทุนเพื่อการออมเงินไว้ใช้จ่ายตอนเกษียณอายุ
  • ไม่สามารถขายเพื่อนำเงินออกมาใช้จ่ายได้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน จึงควรแบ่งสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์
  • เป็นกองทุนที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย แต่แนะนำให้เลือกสินทรัพย์ที่มีความมั่นคง ไม่ผันผวนมากเกินไป

เลือกซื้อประกันชีวิตให้เหมาะกับตนเอง

ความง่ายในการลงทุน : ⭐️⭐️⭐️⭐️

เงื่อนไข* :

  • ประกันชีวิตแบบปกติ: ค่าเบี้ยประกันจะลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท และเงินคืนระหว่างสัญญาต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันรายปี
  • ประกันชีวิตแบบบำนาญ: ค่าเบี้ยประกันจะลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และต้องมีการจ่ายผลประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ กำหนดช่วงอายุการจ่ายเงินเป็น 55-85 ปี หรือมากกว่านั้น และเราต้องจ่ายเบี้ยครบก่อนได้รับผลประโยชน์
  • กรมธรรม์ต้องมีอายุ 10 ปีขึ้นไป
  • ต้องทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยเท่านั้น

*เงื่อนไขจะแตกต่างกันไปตามที่บริษัทประกันเป็นผู้กำหนด

จุดเด่น :

  • ให้ความคุ้มครองชีวิต หากผู้ทำประกันเสียชีวิตจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน บริษัทประกันก็จะจ่ายเงินให้กับชื่อของผู้ที่ระบุไว้ในประกัน
  • ถ้าเป็นประกันชีวิตแบบปกติ จะแบ่งออกได้อีกหลายประเภท เช่น ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ แบบชั่วระยะเวลา แบบสะสมทรัพย์ หรือแบบประกันชีวิตควบการลงทุน
  • ควรศึกษาเงื่อนไขความคุ้มครองที่ได้รับ และความคุ้มค่า ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อประกันทุกครั้ง

เลือกซื้อประกันสุขภาพให้เหมาะกับตนเอง

ความง่ายในการลงทุน : ⭐️⭐️⭐️⭐️⭐️

เงื่อนไข :

  • ประกันสุขภาพที่นำมาลดหย่อนภาษีได้ ต้องเป็นประกันการรักษาพยาบาล, ประกันอุบัติเหตุเฉพาะการรักษาพยาบาล, ประกันภัยโรคร้ายแรง และประกันภัยการดูแลระยะยาว
  • ลดหย่อนได้ไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี
  • ต้องทำกับบริษัทประกันในประเทศไทยเท่านั้น

จุดเด่น :

  • เป็นการลงทุนเพื่อเน้นป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพเป็นหลัก
  • ทำประกันสุขภาพให้ตัวเอง สามารถลดหย่อนภาษีสูงสุด 25,000 บาท
  • ทำประกันสุขภาพให้พ่อหรือแม่ สามารถลดหย่อนภาษีสูงสุด 15,000 บาท (พ่อแม่ต้องมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท)
  • ควรศึกษาเงื่อนไขความคุ้มครองที่ได้รับ และความคุ้มค่า ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อประกันทุกครั้ง

พิเศษ ถ้าคุณกำลังมองหาประกันสุขภาพอยู่ล่ะก็ ซันเดย์ขอแนะนำ “ประกันโรคร้ายแรงซันเดย์” ครอบคลุม 22 โรคร้ายแรง ได้ทั้งความสบายใจ และได้ลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม คลิกที่นี่เลย https://health.easysunday.com/th/retail


และทั้งหมดนี้ ก็คือแนวทางการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีสำหรับคนทำงาน ที่ซันเดย์อยากให้เริ่มวางแผนลงทุนตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้คุณสามารถเลือกลงทุนได้อย่างคุ้มค่า รวมถึงใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีของตนเองได้อย่างเต็มที่ในปีถัดๆ ไป

ที่มาของข้อมูล [1], [2], [3], [4], [5]

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

เลือกให้แล้ว! ประกันชีวิตสุดคุ้ม ใช้ลดหย่อนภาษีปี 2567

ประกันชีวิตตอบโจทย์ทั้งลดหย่อนภาษี สภาพคล่อง และเป้าหมายการทางเงิน แม้จะช่วยลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท แต่…
life-insurance-and-tax-deduction

สรุปครบ! ทำ Affiliate Program รายได้คำนวณยื่นภาษีอย่างไร?

รู้ก่อนทำ! เข้า Affiliate Program คำนวณรายได้เพื่อยื่นภาษีอย่างไร? นาทีนี้เชื่อว่าใครๆ ก็ต้องรู้จักแล้วว่า…
affiliate-program-and-tax-management
0
Share