หน้าหลัก สาระสุขภาพ รู้ทัน “Office Syndrome” ก่อนปวดกายและใจไปมากกว่านี้!

รู้ทัน “Office Syndrome” ก่อนปวดกายและใจไปมากกว่านี้!

office syndrome

Office Syndrome อาการป่วยที่เป็นได้มากกว่าแค่ปวดหลัง

นั่งทำงานอยู่ทุกวัน ใครจะไปรู้ว่าอยู่ดีๆ ก็เป็น Office Syndrome ได้ ซึ่งไม่เพียงแต่จะมาในรูปแบบของการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเท่านั้น Office Syndrome ยังส่งสัญญาณเตือนในรูปแบบของอาการและความผิดปกติในร่างกายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการปวดหัว ปัญหาที่ระบบทางเดินอาหาร รวมถึงสมองและระบบประสาท ทั้งยังมีส่วนก่อให้เกิดโรคเรื้อรังอีกมากมายด้วย

แล้ว Office Syndrome ที่ว่านี้คืออะไร ทำไมนั่งทำงานเฉยๆ แล้วยังเสี่ยงเป็นได้ เรื่องนี้มีที่มาจากอะไร มาทำความรู้จัก Office Syndrome ให้มากขึ้นในบทความนี้กัน


เลือกอ่านประเด็นที่สนใจ


Office Syndrome เรื่องที่คนทำงานต้องรู้

ด้วยการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน แม้จะเข้ามามีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกให้ชีวิตหลายด้าน แต่ก็ยากจะปฏิเสธเช่นกันว่า เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงทั้งไลฟ์สไตล์และการทำงานของมนุษย์เรา

ในปัจจุบันนี้ วัยทำงานในหลากหลายอาชีพประสบปัญหาที่ต้องนั่งทำงานท่าเดิมเป็นเวลานาน ซึ่งนอกจากจะทำให้เคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง จนทำให้ร่างกายเริ่มอ่อนแอแล้ว การนั่งทำงานกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ การนั่งทำงานในรูปแบบเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานานและต่อเนื่อง ยังทำให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ เนื้อเยื่อ รวมถึงอวัยวะโดยรอบ และนำมาซึ่งอาการเจ็บปวดที่แสนรำคาญใจ

หากไม่รีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือ หาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม ไม่ช้าไม่นาน อาการอย่าง Office Syndrome ก็จะเริ่มถามหาและทวีความรุนแรงขึ้นจนส่งผลกระทบต่ออวัยวะและสุขภาพในด้านอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูก กล้ามเนื้อ ข้อต่อ การอักเสบเรื้อรัง โรคระบบทางเดินอาหาร ความผิดปกติที่ระบบประสาทและสมอง ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับดวงตา การมองเห็น และอื่นๆ อีกมากมาย

ผู้หญิงมีอาการปวดหัว เวียนหัว Office Syndrome

Office Syndrome มีอาการอย่างไร ปวดแบบไหนถึงควรเอะใจ?

แม้ไม่ได้นั่งทำงานออฟฟิศ หรือ ใช้คอมพิวเตอร์ทำงานเป็นเวลานาน แต่หากมีการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานานและต่อเนื่อง ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็น Office Syndrome ได้เหมือนกัน โดยทุกคนสามารถประเมินอาการและความเสี่ยงในการเป็น Office Syndrome ได้ง่ายๆ ตามลิสต์ ดังนี้

  • ปวดกล้ามเนื้อบางส่วนเรื้อรัง เช่น คอ บ่า ไหล่ หลัง
  • ปวดหัวเรื้อรัง
  • ปวดไมเกรน
  • ปวดตึงที่ขา
  • เหน็บชา
  • มือชา
  • ปวดตา
  • ตาพร่า
  • นิ้วล็อก
  • ปวดมือ หรือ ปวดข้อมือ

หากใครมีอาการเจ็บปวดมากกว่า 2 ข้อตามลิสต์นี้ ไม่แน่ว่าอาจเสี่ยงเป็น Office Syndrome ได้เหมือนกัน 

ประกัน opd ราคา

เป็น Office Syndrome แล้ว รักษาได้อย่างไร?

การรักษา Office Syndrome ที่ดีที่สุด คือ การปรับพฤติกรรมที่มีการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมๆ เป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ โดยไม่ลุกขึ้นมายืดเหยียดกล้ามเนื้อ รวมถึงการนั่งทำงานด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้องตามหลักสรีรศาสตร์ด้วย

อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นวิธีรักษา Office Syndrome ที่เห็นผลลัพธ์และดีที่สุด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เหมือนกันว่า การปรับพฤติกรรมนั้นใช้ความพยายามในการปรับตัว ทั้งยังอาศัยเวลานานกว่าจะเห็นผลลัพธ์ด้วยเช่นกัน

สำหรับใครที่เริ่มมีสัญญาณเตือนของ Office Syndrome แล้ว หรือเริ่มมีอาการปวดตามจุดต่างๆ ของร่างกายขึ้นมาให้กวนใจ ขอแนะนำให้ลองพิจารณาระดับความปวดและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม ดังนี้

เทคนิคลดปวด Office Syndrome ที่หลายคนคิดไม่ถึง!

ด้วยภาระการงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้วัยทำงานหลายๆ คนต้องนั่งทำงานไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน หรือมากกว่า 1 ใน 3 ของเวลาต่อวัน หรือหากเทียบเป็นรายเดือนแล้วก็จะคิดเป็น 160 – 200 กว่าชั่วโมงต่อเดือน 

ด้วยการนั่งทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานานเช่นนี้ แน่นอนว่ากล้ามเนื้อ ข้อต่อ รวมถึงอวัยวะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเองก็ต้องรับภาระหนักมากขึ้น จนเพิ่มความเสี่ยงในการเป็น Office Syndrome ตามมาได้

สำหรับใครเริ่มมีอาการปวด Office Syndrome แล้ว แต่กำลังมองหาแนวทางดีๆ ที่จะช่วยลดอาการปวด หรือ ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อรับมือกับ Office Syndrome ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลองมาดู 5 เทคนิคลดปวดง่ายๆ แต่เห็นผลลัพธ์จริงกัน

1. ปรับท่านั่งก่อน

ท่านั่งที่เหมาะสมสามารถช่วยลดอาการปวด Office Syndrome ได้อย่างตรงจุด โดยการปรับท่านั่งเพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อ จำเป็นต้องโฟกัส 3 จุดสำคัญ ดังนี้

  1. ปรับคอและลำตัวให้อยู่ในแนวตรง 

ไม่ยื่นคอหรือลำตัวไปด้านหน้า เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อและข้อต่อที่บริเวณคอและบ่าเป็นตัวรับแรง ซึ่งนอกจากจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะปวดคอและบ่าแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงที่กระดูกคอจะเสื่อมได้อีกด้วย

  1. นั่งลำตัวตรง หลังพิงพนักพิง 

เพื่อลดแรงกดที่คอและบ่า ทั้งยังช่วยปรับสรีระให้นั่งตัวตรงได้มากขึ้น

  1. วางเท้าแนบกับพื้น 

เพื่อส่งน้ำหนักและแรงกดทับที่บริเวณหลังและสะโพกไปยังพื้น มีส่วนช่วยลดอาการปวดหลังและสะโพกได้เป็นอย่างดี

2. ปรับสภาพแวดล้อมการทำงาน

ลำพังแค่ปรับท่านั่งอย่างเดียวยังไม่พอ แต่เรายังควรปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสมกับสรีระของตัวเอง เพื่อลดการปวด Office Syndrome ที่แสนรำคาญใจด้วยเช่นกัน โดยการปรับสภาพแวดล้อมการทำงานนั้น ควรเริ่มจากการโฟกัสที่ 3 จุดนี้

  1. ความสูงของเก้าอี้ 

ควรอยู่ในระดับที่เบาะนั่งทำมุม 90 องศากับโต๊ะทำงาน และ เข่าของเราตั้งฉากกับโต๊ะพอดี แต่หากปรับแล้วขายังลอยอยู่ อย่าลืมหาที่วางเท้ามาเสริมเพื่อช่วยถ่ายน้ำหนักและแรงกดทับจากสะโพกและหลัง

  1. ตำแหน่งคีย์บอร์ดและเมาส์

ควรวางในระดับที่ไม่ทำให้ไหล่ยก งอไหล่ หรือ ห่อไหล่เพื่อใช้งาน โดยควรวางคีย์บอร์ดและเมาส์ให้ทำมุมกับศอก 90 – 120 องศากับโต๊ะทำงานพอดี รับรองว่าช่วยลดแรงกดทับและอาการปวดไหล่ได้แน่นอน

  1. ปรับจอคอมพิวเตอร์

ควรวางจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ห่างจากระดับสายตา 1 ช่วงแขน หรือ ราว 70 เซนติเมตร ซึ่งนอกจากจะส่งผลดีกับดวงตาแล้ว ยังช่วยลดแรงกดทับที่คอและบ่าจากการก้มหรือเงยทำงานได้อีกด้วย

3. หาเวลาออกกำลังกายสักหน่อย

เมื่อเป็น Office Syndrome หลายคนมักเข้าใจว่า การออกกำลังกายจะยิ่งช่วยเพิ่มความเจ็บปวดให้กับกล้ามเนื้อ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การออกกำลังกายสามารถช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายให้แข็งแรง ทำให้ลดอาการปวด Office Syndrome ได้

การออกกำลังกายที่ช่วยยืดเส้น หรือ สร้างความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ อย่างการว่ายน้ำ โยคะ หรือ ปั่นจักรยานถือเป็นทางเลือกที่สามารถช่วยลดอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเนื้อเยื่อและข้อต่อ ทั้งยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้อีกด้วย

แต่สำหรับใครที่เริ่มมีอาการปวดได้ไม่นาน หรือ รู้สึกเริ่มเมื่อยตามจุดต่างๆ ของร่างกาย การออกกำลังกายที่ช่วยยืดเส้นควบคู่ไปกับการสร้างกล้ามเนื้อ จะสามารถช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพของร่างกายและลดอาการปวดในระยะยาวได้ 

อย่างไรก็ดี เพื่อความปลอดภัยสูงสุด หากใครเริ่มมีอาการปวดที่รบกวนชีวิตประจำวัน หรือ มีอาการบาดเจ็บอื่นๆ ร่วมด้วย อย่าลืมปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเลือกวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับร่างกายมากที่สุดด้วย

4. นอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่

ด้วยความเครียดสะสม ประกอบกับอาการปวดจากการทำงาน เป็นธรรมดาที่ใครหลายคนจะรู้สึกนอนไม่หลับในเวลากลางคืน ซึ่งนอกจากจะส่งผลเสียกับสุขภาพโดยรวมแล้ว การนอนหลับพักผ่อนน้อยยังส่งผลให้ Office Syndrome มีอาการแย่ลงด้วย

การนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอสามารถช่วยให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูได้อย่างเต็มที่ และหากยิ่งได้นอนหลับบนที่นอนที่เหมาะสมกับสรีระก็จะยิ่งช่วยลดการตึงตัวของกระดูกและกล้ามเนื้อ ส่งผลให้ลดอาการปวด Office Syndrome ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

นอกจากนี้ การเลือกที่นอนที่เหมาะสมอย่างที่นอนจากยางพารา ยังสามารถช่วยกระจายน้ำหนักและลดแรงกดทับทั่วร่างกายในเวลานอน ทำให้สามารถตื่นนอนมาโดยไม่รู้สึกปวดหลังหรือส่วนอื่นๆ เพิ่มอีกด้วย

5. อย่าลืมปรับสมดุลสุขภาพใจ

รู้หรือไม่? “ภาวะซึมเศร้า” นั้นมีส่วนทำให้เกิดการปวด Office Syndrome ได้ เพราะเมื่อใดที่ร่างกายเข้าสู่ภาวะซึมเศร้า สมองของเราก็จะผลิตสารเซโรโทนิน (Serotonin) และ นอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) น้อยลง

โดยสารเซโรโทนิน (Serotonin) และ นอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) ถือเป็นสารสำคัญในกระบวนการลดความเจ็บปวดของร่างกายมนุษย์ หากยิ่งสารทั้ง 2 ตัวนี้มีน้อยเท่าไหร่ กระบวนการดังกล่าวก็จะยิ่งทำงานไม่สมบูรณ์ นานวันเข้าร่างกายก็จะยิ่งรู้สึกถึงความเจ็บปวดเรื้อรังได้ 

ด้วยเหตุนี้ นอกจากจะรักษาสุขภาพกาย พร้อมปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและทำงานให้เหมาะสมแล้ว อย่าลืมหันกลับมาดูแลสุขภาพใจให้แข็งแรง บริหารจัดการความเครียดให้เหมาะสม หรือ หากรู้สึกว่าชีวิตหนักเกินไปที่จะรับไหว การปรึกษากับนักจิตวิทยา หรือ จิตแพทย์ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกดีๆ ที่ช่วยรักษาสุขภาพใจได้เช่นกัน

เพียงเท่านี้ เชื่อว่าทุกคนก็เข้าใจและสามารถรับมือกับ Office Syndrome ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว อย่าลืมนำเทคนิคการลดปวด Office Syndrome ที่นำมาฝากนี้ไปปรับใช้ เพื่อลดอาการปวดที่แสนรำคาญใจกันด้วย

แต่สำหรับลูกค้าซันเดย์ที่มีอาการเข้าข่าย Office Syndrome แต่ยังไม่ชัวร์และต้องการหาผู้ช่วยประเมินความเสี่ยงได้อย่างแม่นยำและเห็นผลลัพธ์เฉพาะบุคคลมากขึ้น สามารถเข้ารับการประเมินความเสี่ยง Office Syndrome ได้ที่ฟีเจอร์ Digital Twin บนซูเปอร์แอปฯ Jolly by Sunday ได้ฟรี โดยจะมี AI และ Machine Learning ที่ได้รับการเทรนจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญคอยช่วยประเมินความเสี่ยงอย่างแม่นยำ

อยากใช้ซูเปอร์แอปฯ Jolly by Sunday ต้องทำอย่างไร?

แอปประกันซูเปอร์แอปฯ Jolly by Sunday ทำอะไรได้บ้าง?

หากคุณเป็นอีกคนที่อยากใช้ซูเปอร์แอปฯ Jolly by Sunday แอปประกันที่ตอบโจทย์ความต้องการทุกอย่างได้ครอบคลุมแบบนี้ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันมาใช้งานได้ในทันที ผ่าน App Store หรือ Google Play Store แล้วอย่าลืมติดตามข่าวสารและโปรโมชันดีๆ จากซันเดย์ในทุกๆ วันของคุณ

Loading

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

ข้าวเหนียวมะม่วง กี่แคล? กินยังไงให้พอดี หุ่นไม่พัง!

ข้าวเหนียวมะม่วง กินยังไงให้ไม่เสียสุขภาพ ข้าวเหนียวมะม่วงเป็นหนึ่งในของหวานที่ใครหลาย ๆ…
how-to-enjoy-mango-sticky-rice-without-ruining-your-diet

5 วิธี ปรับชีวิตออนไลน์ให้เกิดเวิร์คไลฟ์บาลานซ์?

Work Life Balance คืออะไร? แล้วเราจะสร้างมันได้อย่างไร? คนวัยทำงานคงคุ้นหูกันดีกับคำว่า Work Life Balance…
5-tips-for-work-life-balance-in-digital-age

ทำไมเป็นร้อนในบ่อย? หาสาเหตุและวิธีป้องกันการเป็นร้อนในในปาก

ร้อนใน ทำไมบางคนถึงเป็นบ่อย?  ตื่นเช้ามาพบกับอาการเจ็บที่เหงือกหรือกระพุ้งแก้มทีไร…
why-frequent-canker-sores-causes-prevention

โรคไตห้ามกินผลไม้อะไร? รวมผลไม้เสี่ยงไตวายที่ห้ามซื้อ!

โรคไตห้ามกินผักอะไรบ้าง ห้ามกินผลไม้อะไรบ้าง?  รู้หรือไม่ว่าประเทศไทยของเรานั้นมีผู้ป่วยโรคไตมากขึ้นทุกปี…
fruits-to-avoid-for-kidney-disease-risky-fruits
0
Share