หน้าหลัก สาระสุขภาพ การอักเสบในร่างกายเกิดจากอะไร? พร้อมแนวทางรักษา

การอักเสบในร่างกายเกิดจากอะไร? พร้อมแนวทางรักษา

เช็กสัญญาณอาการอักเสบ

การอักเสบในร่างกายอาจฟังดูน่ากลัวสำหรับใครหลายคน แต่จริงๆ แล้ว อาการอักเสบนั้นไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด โดยหากยิ่งเราดูแลรักษาสุขภาพให้ดี และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพด้วยแล้ว ร่างกายก็สามารถฟื้นฟูจากการอักเสบได้เอง 

อย่างไรก็ดี หากเราปล่อยให้ร่างกายเกิดการอักเสบซ้ำๆ อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคร้ายต่างๆ ได้ 

มารู้เท่าทันความเสี่ยงของการอักเสบของร่างกายก่อนสายไปในบทความนี้ พร้อมเข้าใจว่าการอักเสบคืออะไร การอักเสบเกิดจากสาเหตุใด และมีวิธีการรักษาอย่างไร รวมไปถึงถ้ามีอาการอักเสบจะห้ามกินอะไรบ้าง

ซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่าย
อาการอักเสบเกิดจากสาเหตุใดบ้าง

อาการอักเสบในร่างกายคืออะไร?

อาการอักเสบ (Inflammation) คือ ปฏิกิริยาที่ร่างกายเกิดการตอบสนองอันเนื่องมาจากการที่ร่างกายต้องทำงานเพื่อต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมที่จะทำให้ร่างกายเสื่อมสภาพหรือเป็นอันตราย เช่น การได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย การได้รับสารพิษ การที่ร่างกายบาดเจ็บ ฯลฯ 

การอักเสบถือเป็นกลไกตามธรรมชาติและจะหายไปเอง อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ที่มีอาการอักเสบเรื้อรัง (Chronic Inflammation) นั้นอาจไม่ใช่เรื่องปกติ และจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 

การอักเสบเรื้อรัง (Chronic Inflammation) คือ การที่ร่างกายเกิดการอักเสบเป็นระยะเวลานานกว่าปกติ โดยอาจมีการอักเสบเป็นหลักเดือนไปจนถึงหลักปี  ซึ่งเมื่อเกิดการอักเสบเป็นระยะเวลานาน ระบบภูมิคุ้มกันก็จะถูกสั่งงานบ่อยๆ ทำให้เนื้อเยื่อและอวัยวะเกิดการถูกทำลาย จนกลายเป็นโรคร้ายได้ 

ตัวอย่างเช่น หากยกของหนักบ่อย หรือ มีน้ำหนักตัวมาก อาจทำให้ข้อเข่าเกิดการอักเสบ ซึ่งหากเราไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และข้อเข่าเราอักเสบซ้ำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้เกิดการอักเสบแบบเรื้อรัง และอาจเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ในที่สุด


6 สัญญาณเตือนว่าร่างกายกำลังอักเสบ

สัญญาณไหนที่บอกว่าร่างกายเกิดอาการอักเสบ

1. เหนื่อยง่า

อาการเหนื่อยง่ายเป็นสัญญาณที่กำลังบอกว่าร่างกายกำลังอักเสบ ซึ่งอาการเหนื่อยง่ายนั้นมีสาเหตุมาจากการที่หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ หรือร่างกายมีพลังงานไม่เพียงพอ สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งนอนน้อย พักผ่อนไม่พอ หรือร่างกายได้รับสารอาหารไม่เต็มที่

2. เครียดสะสม คิดอะไรไม่ออก หัวตื้อ

หากรู้สึกคิดอะไรไม่ออก หัวตื้อ หรือ สมองล้าบ่อยๆ ไม่แน่ว่าอาจเกิดจากความเครียดสะสมก็เป็นได้ ซึ่งเจ้าความเครียดนี่แหละที่เป็นอีกหนึ่งตัวการที่ทำให้ร่างกายของเราอักเสบได้ เนื่องจากเมื่อเกิดความเครียด ร่างกายก็จะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันตก นอกจากนี้ความเครียดก็ยังส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร เพราะระบบทางเดินอาหารมีความสัมพันธ์กับความเครียดและอารมณ์โดยตรง จึงอาจทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบขึ้นได้

3. ปวดตัว

อาการปวดตัวในที่นี้ คือ อาการปวดข้อ ข้ออักเสบ หรือปวดกล้ามเนื้อต่างๆ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากที่ระบบภูมิต้านทานมีการกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อและกระดูกรอบข้อ จนเกิดเป็นอาการปวดต่างๆ ขึ้นมา

4. ผิวหนังอักเสบ

อาการผิวหนังอักเสบถือเป็นหนึ่งในอาการอักเสบยอดฮิตเลยทีเดียว ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งจากพันธุกรรม ความเครียด และพฤติกรรม จนทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบ หรือที่เรียกว่าโรค Eczema (โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง) ซึ่งจะมีอาการคัน และอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตได้ เพราะบางคนอาจคันจนนอนไม่หลับเลยทีเดียว ส่วนความรุนแรงของอาการก็จะขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของแต่ละบุคคลด้วยเช่นกัน

5. มีภาวะซึมเศร้า

ใครที่รู้สึกว่าตัวเองมีภาวะซึมเศร้าโดยที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากสภาวะทางจิตใจ อาจเป็นไปได้ว่าร่างกายเรากำลังได้รับเชื้อไวรัสที่ทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบอยู่ เช่น โรคสมองอักเสบที่สามารถก่อให้เกิดอาการซึมเศร้าขึ้นมาได้

6. มีไขมันสะสมเยอะ

เมื่อร่างกายมีไขมันสะสมเป็นจำนวนมาก เซลล์ไขมันในร่างกายก็จะโตขึ้นตาม เนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดจะเข้าไปแทรกตัวอยู่ที่บริเวณเนื้อเยื่อไขมัน และก่อให้เกิดการอักเสบได้ในที่สุด โดยให้สังเกตว่าจะมีอาการอ้วนลงพุง และหากทำการตรวจแบบละเอียดก็จะพบว่ามีไขมันสะสมในอวัยวะสูงด้วย

ซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่าย

วิธีรักษาการอักเสบของร่างกาย

วิธีรักษาการอักเสบของร่างกาย

การรักษาอาการอักเสบนั้นจะแบ่งได้ตามประเภทของการอักเสบ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 วิธีหลัก ดังนี้

1. วิธีการรักษาการอักเสบแบบเฉียบพลัน (Acute Inflammation)

อาการอักเสบแบบเฉียบพลัน หรือ การอักเสบแบบระยะสั้น ซึ่งเป็นภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถรักษาได้ด้วยตัวเอง โดยการรักษาอาการอักเสบแบบนี้นั้นไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์หรือรับประทานยาใดๆ เพียงแต่ต้องคอยระมัดระวังไม่ให้ร่างกายเกิดการอักเสบซ้ำ หรือ กลายเป็นการอักเสบแบบเรื้อรังได้ อย่างไรก็ดี หากต้องการบรรเทาอาการอักเสบให้หายไวขึ้น ผู้ป่วยสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อรับประทานยาตามความเหมาะสมได้

2. วิธีการรักษาการอักเสบแบบเรื้อรัง (Chronic Inflammation)

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบแบบเรื้อรังนั้นจะมีวิธีลดอาการอักเสบในร่างกายได้ ดังนี้

  • การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ หรือ ยากลุ่มต้านอักเสบ (NSAIDs) ยาในกลุ่มนี้จะช่วยระงับและบรรเทาการอักเสบได้ แต่ก็อาจส่งผลต่ออวัยวะร่างกายในระยะยาวได้เช่นกัน โดยเฉพาะ ตับ ไต กระเพาะอาหาร ดังนั้น การใช้ยาในกลุ่มนี้ต้องได้รับการดูแลและควบคุมโดยแพทย์อย่างใกล้ชิด ไม่ควรซื้อมารับประทานเองเด็ดขาด
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน การทำพฤติกรรมแบบเดิมๆ ที่ทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบเป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมที่ทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบแบบเรื้อรัง ดังนั้น ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการอักเสบ เช่น หากมีอาการข้อเข่าเสื่อมก็ควรควบคุมน้ำหนักหรือออกกำลังกายเบาๆ ร่วมด้วย
  • รับประทานอาหารที่ช่วยลดการอักเสบ อาหารบางชนิดสามารถช่วยลดการอักเสบในร่างกายได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอาหารที่มีโพรไบโอติก และน้ำมันปลา เพราะโพรไบโอติกนั้นจะเข้าไปปรับสมดุลลำไส้ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น ส่วนในน้ำมันปลาก็จะมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ช่วยลดการอักเสบของร่างกายได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงขมิ้นชันที่มีสรรพคุณในการช่วยลดการอักเสบของผิวหนังได้เป็นอย่างดี
Sunday Tips
รู้หรือไม่? 4 อาหารที่ทำให้ร่างกายเสี่ยงเกิดการอักเสบสูงได้แก่ น้ำตาล ของทอด นม และเนื้อสัตว์ติดไขมัน เพราะน้ำตาลจะทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง ส่วนของทอด นม และเนื่อสัตว์จะมีไขมันที่จะไปกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการอักเสบขึ้นไปอีก

ภาวะที่ร่างกายอักเสบนั้นไม่ใช่ปัญหาที่น่ากังวล เพราะโดยปกติแล้วร่างกายจะสามารถตอบสนองและต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมได้เอง แต่หากร่างกายไม่แข็งแรง ก็อาจทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังหรือมีโรคต่างๆ ตามมาได้ 

ดังนั้น สิ่งสำคัญก็คือการดูแลรักษาสุขภาพให้ดี และออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ไปจนถึงการเลือกทำประกันสุขภาพออนไลน์ที่ให้ความคุ้มครองเมคเซนส์ อย่างการทำประกันสุขภาพกับ Sunday เพื่อเป็นตัวช่วยรับมือความเสี่ยงที่เกิดจากโรคภัย ให้คุณอุ่นใจและใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่

ซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่าย

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

รู้จักไวรัส RSV โรคทางเดินหายใจในเด็ก อันตรายถึงชีวิต

โรค RSV คืออะไร สังเกตอาการได้อย่างไรบ้าง? ในช่วงที่อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ อย่างช่วงปลายฝนต้นหนาว…

นอนเยอะแต่เหมือนนอนไม่พอ คุณอาจจะเป็นโรคนอนเกิน!

นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ อาจเป็นโรคนอนเกินได้นะ! มีใครเคยเป็นบ้าง นอนเต็ม 8 ชั่วโมงก็แล้ว 12 ชั่วโมงก็แล้ว…
oversleeping-symptoms-feeling-tired-despite-sleeping-a-lot
0
Share