หน้าหลัก รู้ทันประกันสุขภาพ อัปเดต! ค่าห้องโรงพยาบาลเอกชนปี 2567 งบไม่เกิน 10,000 บาท!

อัปเดต! ค่าห้องโรงพยาบาลเอกชนปี 2567 งบไม่เกิน 10,000 บาท!

hospital-room-costs-2024

ค่าห้องโรงพยาบาลเอกชน ไม่เกิน 10,000 บาท อัปเดตล่าสุด

เจ็บป่วยต้องนอนโรงพยาบาล เชื่อว่าหลายๆ คนต้องเป็นกังวลถึงค่ารักษาพยาบาลเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะค่าห้องโรงพยาบาลเอกชนที่แม้จะได้รับความสะดวกในการรักษาตัว แต่ก็ต้องแลกมากับค่าใช้จ่ายที่สูงด้วยเช่นกัน

หากคุณเป็นอีกคนที่ต้องการวางแผนเงินให้ครอบคลุมความเสี่ยงเรื่องการรักษาพยาบาล หรือ กำลังวางแผนเลือกประกันสุขภาพที่ครอบคลุมถึงค่าห้องโรงพยาบาลด้วย มาอัปเดตอัตราค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนปี 2567 แต่ไม่เกิน 10,000 บาท รอบกรุงเทพฯ​ และปริมณฑลในบทความนี้กัน


ค่าห้องคืออะไร?

ค่าห้อง หรือ ค่าห้องโรงพยาบาล คือ ค่าใช้จ่ายสำหรับห้องพักของโรงพยาบาล โดยพื้นฐานแล้ว ค่าห้องจะครอบคลุมถึงบริการพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล เช่น การดูแลจากพยาบาล ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ในห้องพัก สิ่งอำนวยความสะดวก หรือ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เป็นไปตามเงื่อนไขของโรงพยาบาล

ห้องพักในโรงพยาบาลมีกี่แบบ?

ค่าห้องโรงพยาบาลสามารถขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย หนึ่งในนั้น คือ ประเภทห้องพักที่เข้ารับการรักษา ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ รวมถึงความจำเป็นทางการแพทย์ โดยพื้นฐานแล้ว ประเภทของห้องพักในโรงพยาบาลจะมีด้วยกัน 4 แบบ ดังนี้

  1. ห้องเดี่ยว (Single Room) คือ ห้องพักส่วนตัวมักมีความสะดวกสบายสูงสุด พร้อมบริการส่วนตัวจากเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ แต่จะมีค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าห้องประเภทอื่นๆ
  2. ห้องคู่ (Double Room) คือ ห้องพักที่มีเตียงสองเตียง เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ร่วมกับคนไข้คนอื่นได้ ซึ่งส่วนใหญ่มักมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าห้องเดี่ยว
  3. ห้องพิเศษ (VIP Room) คือ ห้องพักระดับสูงสุด มักมีบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย เช่น โทรทัศน์ส่วนตัว อินเทอร์เน็ต และบริการอาหารแบบพิเศษ โดยส่วนใหญ่มักจะมีค่าใช้จ่ายสูงสุดด้วยเช่นกัน
  4. ห้องสำหรับการรักษาเฉพาะ เช่น ห้องผู้ป่วยวิกฤต (ICU) และ ห้องรักษาผู้ป่วยที่มีอาการเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด (CCU) เป็นต้น

ค่าห้องรวมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง หรือ เป็นแค่ค่าห้องพักเพียงอย่างเดียว?

โดยทั่วไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นค่าห้องโรงพยาบาลเอกชน หรือ โรงพยาบาลรัฐ ค่าใช้จ่ายสำหรับห้องพักจะครอบคลุมถึงค่าบริการทางการแพทย์ ค่าดูแลจากแพทย์และพยาบาล ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงค่าหัตถการบางประเภท

อย่างไรก็ดี ค่าห้องอาจไม่ครอบคลุมถึงค่าอาหาร ค่าใช้สิ่งอำนวยความสะดวกบางประการ ค่าตรวจวินิจฉัย เช่น การตรวจเลือด เอกซเรย์ หรือ MRI รวมถึงค่าทำหัตถการบางประเภท เช่น การผ่าตัด

ด้วยเหตุนี้ ก่อนเข้ารับการรักษาตัวทุกครั้ง อย่าลืมสอบถามถึงค่าใช้จ่ายที่ครอบคลุมอยู่ในค่าห้องโรงพยาบาลให้ครบถ้วน ทั้งนี้เพื่อเป็นการวางแผนการเงินให้พร้อมมากที่สุด

อัตราค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนปี 2567 ไม่เกิน 10,000 บาท กรุงเทพฯ และปริมณฑล 

โรงพยาบาลประเภทห้องค่าห้องครอบคลุมอะไรบ้าง
โรงพยาบาลกรุงเทพห้อง Standard11,300รวมค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการ
โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียนห้องซูพีเรีย5,900รวมค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการ
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่นห้องเดี่ยวพิเศษ6,500รวมค่าห้อง ค่าบริการพยาบาล ค่าอาหาร
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแคห้อง Gold7,500 รวมค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการ
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์ห้องพิเศษเดี่ยว Standard7,180รวมค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการ
โรงพยาบาลคามิลเลียนห้อง Superior4,400รวมค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการ
โรงพยาบาลธนบุรีห้อง Standard5,620 รวมค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการ
โรงพยาบาลนวมินทร์ 9ห้องเดี่ยว4,210 – 4,410รวมค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการ
โรงพยาบาลนวเวชห้องดีลักซ์7,100รวมค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการ
โรงพยาบาลนนทเวชห้อง Superior A7,560รวมค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการ
โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนลห้อง Standard5,900รวมค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการ
โรงพยาบาลพญาไท 1ห้อง Gold6,345รวมค่าห้อง และค่าบริการ
โรงพยาบาลพญาไท 2ห้อง Standard Room Ward 9A7,893รวมค่าห้อง และค่าบริการ
โรงพยาบาลพญาไท 3ห้อง Platinum6,400รวมค่าห้อง และค่าบริการ
โรงพยาบาลเวชธานีห้อง PREMIUM WARD-SINGLE7,600 – 7,800รวมค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการ
โรงพยาบาลเมดพาร์คห้อง Executive11,000รวมค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการ
โรงพยาบาลพระราม 9ห้อง Private10,000รวมค่าห้อง และค่าบริการ
โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิทห้อง Superior Intelligent9,200รวมค่าห้อง และค่าบริการ
โรงพยาบาลหัวเฉียวห้องพิเศษเดี่ยว4,200รวมค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการ

หมายเหตุ: ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขของโรงพยาบาล 

ประกันสุขภาพแบบไหนคุ้มครองค่าห้องบ้าง?

ค่าห้องจัดเป็นค่าใช้จ่ายที่รวมอยู่ในส่วน “ผลประโยชน์กรณีผู้ป่วยใน” ซึ่งจะแบ่งเป็นค่าห้อง 2 ประเภท คือ ค่าห้องผู้ป่วย และ ค่าห้องผู้ป่วยวิกฤต (ICU) ซึ่งบางกรมธรรม์อาจให้ความคุ้มครองแบบเหมาจ่ายตามจริง ในขณะที่บางกรมธรรม์อาจมีการกำหนดวงเงินสำหรับค่าห้องและมีการกำหนดจำนวนวันที่คุ้มครองในกรณีที่ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล

โดยทั่วไปแล้ว ประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองเรื่องค่าห้องด้วย จะต้องเป็นประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองการรักษาแบบผู้ป่วยใน (IPD) ด้วย เช่น ประกันสุขภาพกลุ่มที่คุ้มครองผู้ป่วยใน ประกันสุขภาพผู้ป่วยในโดยเฉพาะ ประกันสุขภาพผู้ป่วยในแบบเหมาจ่าย และ ประกันสุขภาพทั่วไป เป็นต้น

ซันเดย์ หนึ่งเดียวที่เลือกแผนคุ้มครองค่าห้องได้สูงสุด 10,000 บาท!

ประกันสุขภาพซันเดย์ พร้อมมอบความคุ้มครองค่าห้องโรงพยาบาลเอกชนในเครือทั่วไทย ด้วยแผนประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่ายที่คุณเลือกรับความคุ้มครองค่าห้องได้สูงสุด 10,000 บาทต่อคืน พร้อมเหมาจ่ายค่าห้อง ICU และการรักษาพยาบาลแบบ IPD ให้ตามจริง

นอกจากนี้ คุณยังเลือกรับความคุ้มครองจากแผนที่มีวงเงิน OPD อย่างประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย + OPD ได้ ให้คุณได้หาหมอเพื่อรับยากลับมารักษาตัวต่อ เลือกรับยากับร้านขายยาชั้นนำในเครือ (Walk-in Pharmacy) และ ปรึกษาแพทย์และเภสัชกรออนไลน์ผ่านระบบที่ได้รับการรับรองโดยสภาเภสัชกรรมได้ (Telemedicine) ด้วยวงเงิน OPD ตามจำนวนครั้งที่ใช้ได้

ประกัน opd ราคา

เปิดแผนประกันออนไลน์ เลือกประกันสุขภาพซันเดย์ แผนไหนดี?

เช็กแผนประกันสุขภาพที่เหมาะกับคุณได้ง่ายๆ ใช้แค่ “วันเดือนปีเกิด” พร้อมเลือกรับความคุ้มครองที่ครอบคลุมถึงค่าห้องผู้ป่วย รวมถึงค่าห้องพิเศษโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำวันนี้ที่เว็บไซต์ของซันเดย์

เช็กโรงพยาบาลในเครือข่ายซันเดย์ได้ที่นี่

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด

**ราคาค่าห้องอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขของโรงพยาบาล

อ้างอิงข้อมูลจาก


ประกัน ipdopd 2000
Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

คนไทยป่วย OPD โรคอะไรมากที่สุด รักษาอะไรบ้างที่ผ่านมา?

การรักษาแบบ OPD คืออะไร คนไทยป่วยด้วย OPD ด้วยโรคอะไรมากที่สุด? การรักษาแบบ OPD หรือ Out-Patient Department คือ…
5 โรคแบบ OPD

ครบที่เดียว! สรุปสาเหตุ + อาการของวัยทองในผู้หญิงและผู้ชาย

สูงวัยเช็กด่วน! รวมสาเหตุและอาการของวัยทองในผู้หญิงและผู้ชาย เมื่อเวลาเปลี่ยนไป…
menopause-in-men-and-women

เข้าใจก่อนซื้อ! 6 ปัจจัยที่ส่งผลต่อเบี้ยประกันสุขภาพ

สรุปครบ! ทำไมจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพไม่เท่ากัน ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางประชากร รวมถึงความเสี่ยงจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ…
factors-affect-health-insurance-premium

ประกันอุบัติเหตุจำเป็นแค่ไหน ผู้หญิงเสี่ยงกว่าจริงไหม?

ผู้หญิงเสี่ยงอุบัติเหตุมากกว่าจริงหรือไม่ ทำไมต้องทำประกันอุบัติเหตุผู้หญิงโดยเฉพาะ? “อุบัติเหตุ”…
does-woman-face-more-accidents-than-men
0
Share