หน้าหลัก เรื่องราวการงาน รู้จักกับภาษีเงินได้ พร้อมวิธีลดหย่อนอย่างมีประสิทธิภาพ

รู้จักกับภาษีเงินได้ พร้อมวิธีลดหย่อนอย่างมีประสิทธิภาพ

ภาษีเงินได้-วางแผนลดหย่อนภาษี

ภาษีเงินได้ คือ ภาษีที่ผู้มีรายได้ทุกคนจะต้องจ่ายให้กับรัฐบาลตามกฎหมายภาษีเงินได้ พ.ศ. 2469 ซึ่งจะแบ่งออกเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล 

แล้วภาษีทั้ง 2 ประเภทแตกต่างกันอย่างไร ควรวางแผนลดหย่อนภาษีอย่างไร ให้มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์เป้าหมายทางการเงินของตัวเอง มาทำความรู้จักเรื่องของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีนิติบุคคล พร้อมมาดูวิธีลดหย่อนภาษีกัน

ภาษีเงินได้

รู้จักกับภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีนิติบุคคล คือ ภาษีเงินได้ที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ โดยรวมทั้งนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ แต่ประกอบกิจการในประเทศไทย หรือมีแหล่งเงินได้จากประเทศไทย แบ่งออกเป็น 5 ประเภทด้วยกัน คือ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน สมาคม และมูลนิธิ 

การยื่นภาษีนิติบุคคลจะใช้เอกสารหรือแบบฟอร์มที่เรียกว่า ภ.ง.ด. 50 สามารถยื่นได้ทั้งช่องทางออนไลน์และยื่นแบบกระดาษกับกรมสรรพากรพื้นที่

ใครบ้างที่ได้รับการยกเว้นภาษีนิติบุคคล?

สำหรับนิติบุคคลบางประเภท ตามกฎหมายแล้วจะมีการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีที่มากกว่านิติบุคคลทั่วไป ได้แก่

  • นิติบุคคลขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
  • นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจส่งเสริมการลงทุน
  • นิติบุคคลที่บริจาคเงินเพื่อการกุศล
ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีกี่ประเภท

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่เสียโดยบุคคลธรรมดา ซึ่งเงินได้ที่นำมาคิดภาษีประเภทนี้จะประกอบไปด้วย

  • เงินได้ตามมาตรา 40(1)  เงินที่ได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เงินโบนัส เบี้ยเลี้ยง และอื่น ๆ
  • เงินได้ตามมาตรา 40(2) คือ เงินที่ได้การทำงานโดยไม่ได้เป็นลูกจ้าง เช่น เงินที่ได้จากการเป็นวิทยากร ค่าคอมมิชชั่น ค่าจ้างงานอิสระ
  • เงินได้ตามมาตรา 40(3) คือเงินที่ได้จากค่าลิขสิทธิ์หรือค่าสิทธิ์อย่างอื่น เช่น เงินจากพินัยกรรมหรือนิติกรรม เงินค่าตอบแทนทรัพย์สินทางปัญญา (Goodwill) 
  • เงินได้ตามมาตรา 40(4) คือเงินที่ได้จากการลงทุน เช่น ดอกเบี้ยเงินฝาก เงินปันผล รวมถึงคริปโทเคอร์เรนซีต่าง ๆ ด้วย
  • เงินได้ตามมาตรา 40(5) คือเงินที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สินในรูปแบบต่าง ๆ
  • เงินได้ตามมาตรา 40(6) รายได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ ซึ่งตามกฎหมายจะประกอบไปด้วย 5 อาชีพหลักคือ แพทย์และพยาบาลประกอบโรคศิลปะ ประณีตศิลป์ สถาปนิก ทนายความและวิศวกร 
  • เงินได้ตามมาตรา 40(7) คือเงินที่ได้จากการรับเหงา ทั้งค่าแรงและค่าของที่ใช้ เช่น รับเหมาก่อสร้าง รับผลิตสินค้าตามสั่ง
  • เงินได้ตามมาตรา 40(8) เป็นเงินได้ที่ไม่ใช่ 40(1) – 40(7) เช่น เงินจากการธุรกิจพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรมและการขนส่ง 

ตอนที่ได้รับเงินได้ตามมาตราเหล่านี้ ผู้จ่ายเงินได้มักจะมีการหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และหักออกมาแล้วเท่าที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ เมื่อถึงเวลายื่นภาษี จะต้องใช้เอกสารส่วนตัวและเอกสารรองรับการรับเงินมาแสดงให้กับกรมสรรพากรเพื่อประเมินการเสียภาษีต่อไปนั่นเอง


แบบยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

แบบฟอร์มยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะแบ่งออกได้ตามประเภทของเงินได้ข้างต้น ได้แก่

  • เงินจากการทำงานหรือเงินเดือน (ภ.ง.ด. 90)
  • เงินที่ได้จากการประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น เงินได้จากการค้าขาย การบริการ การผลิต (ภ.ง.ด. 91)
  • เงินที่ได้จากการลงทุนในหุ้นหรือแหล่งอื่น ๆ (ภ.ง.ด. 94)
  • เงินที่ได้จากการทำงานฟรีแลนซ์หรือรับจ้างทั่วไป (ภ.ง.ด. 90)
  • เงินที่ได้จากการขายสินค้าหรือบริการ (ภ.ง.ด. 91)

ตารางเปรียบเทียบประเภทเงินได้และแบบยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ประเภทเงินได้ภ.ง.ด.ลักษณะตัวอย่าง
เงินจากการทำงานหรือเงินเดือน90เงินได้จากการจ้างแรงงานเงินเดือน, ค่าจ้าง, รางวัล, โบนัส
เงินที่ได้จากการประกอบธุรกิจส่วนตัว91เงินได้จากวิสาหกิจเงินได้จากการค้าขาย, การบริการ, การผลิต
เงินที่ได้จากการลงทุนในหุ้นหรือแหล่งอื่น ๆ94เงินได้ประเภทอื่นเงินปันผล, ดอกเบี้ย, เงินได้จากการลงทุน
เงินที่ได้จากการทำงานฟรีแลนซ์หรือรับจ้างทั่วไป90เงินได้จากการจ้างแรงงานค่าจ้างจากงานฟรีแลนซ์, ค่าจ้างทั่วไป
เงินที่ได้จากการขายสินค้าหรือบริการ91เงินได้จากวิสาหกิจเงินได้จากการขายสินค้า, เงินได้จากการให้บริการ

ระดับรายได้และการจ่ายภาษี

เมื่อมีรายได้ที่สูงขึ้น การคิดภาษีบุคคลธรรมดาก็จะสูงขึ้นตามลำดับขั้นที่กำหนดเอาไว้ด้วย ซึ่งอัตราภาษีจะแตกต่างกันไปตามยอดรายได้รวม ดังนี้

ยอดรายได้รวม (บาท/ปี)อัตราภาษีภาษีที่ต้องจ่าย (บาท)
ต่ำกว่า 150,0000%0
150,001 – 300,0005%(รายได้ – 150,000) x 0.05
300,001 – 500,00010%(รายได้ – 300,000) x 0.1 + 7,500
500,001 – 750,00015%(รายได้ – 500,000) x 0.15 + 22,500
750,001 – 1,000,00020%(รายได้ – 750,000) x 0.2 + 45,000
1,000,001 – 2,000,00025%(รายได้ – 1,000,000) x 0.25 + 90,000
2,000,001 – 5,000,00030%(รายได้ – 2,000,000) x 0.3 + 440,000
5,000,001 ขึ้นไป35%(รายได้ – 5,000,000) x 0.35 + 1,440,000
ระดับรายได้และการจ่ายภาษี

วิธีลดหย่อนภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา

สำหรับคนที่มีฐานเงินได้ค่อนข้างสูง ก็จะต้องเสียภาษีเงินได้สูงขึ้นตามระดับที่กำหนดเอาไว้ ทำให้ต้องวางแผนด้านภาษี เพื่อหาวิธีลดหย่อนภาษีที่ช่วยทำให้จ่ายภาษีน้อยลง และสามารถนำเงินที่ต้องใช้จ่ายภาษีไปลงทุนหรือใช้จ่ายตามเป้าหมายทางการเงินได้ 

โดยสิ่งที่สามารถนำมาลดภาษีเงินได้นิติบุคคลได้จะมีดังนี้

ค่าใช้จ่ายส่วนตัวและค่าใช้จ่ายด้านครอบครัว

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว ตามภาระที่มี ไม่เกิน 60,000 บาท 
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส จะได้เฉพาะคนที่คู่สมรสไม่มีรายได้ สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาท
  •  ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร สามารถใช้ลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกินท้องละ 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนภาษีบุตร ซึ่งต้องเป็นลูกตามกฎหมาย และอายุไม่เกิน 20 ปี หากอายุไม่ถึง 25 ปีแต่ยังศึกษาอยู่ ก็สามารถยื่นลดหย่อนได้เช่นกัน รวมถึงลูกที่มีสถานะเป็นบุคคลไร้ความสามารถ โดยลดหย่อนได้ไม่เกินคนละ 30,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดา มารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และต้องมีรายได้สำหรับประเมินภาษีไม่เกินปีละ 30,000 บาท รวมถึงบิดาและมารดาของคู่สมรสด้วยเช่นกัน ส่วนนี้ลดหย่อนได้สูงสุดคนละ 30,000 บาท และได้ไม่เกิน 4 คน
  • ค่าลดหย่อนผู้พิการ หรือทุพพลภาพ สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้แบบเหมา คนละไม่เกิน 60,000 บาทต่อปี

กองทุน ประกันและการลงทุนก็ลดหย่อนได้

นอกจากรายการลดหย่อนส่วนตัวแล้ว ก็ยังมีช่องทางลดหย่อนภาษีอื่น ๆ อีกที่ช่วยทำให้เราสามารถจ่ายภาษีได้น้อยลง ได้แก่

  • จ่ายประกันสังคม ใช้ลดหย่อนได้ไม่เกินปีละ 6,300 บาท
  • ประกันชีวิต รวมทั้งประกันแบบสะสมทรัพย์ มีข้อแม้คือต้องมีระยะคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปีภาษี
  • ประกันสุขภาพสำหรับบิดาและมารดาก็ใช้ลดหย่อนภาษีได้ โดยไม่เกินปีละ 15,000 บาทต่อคน
  • ประกันชีวิตแบบบำนาญ ระยะเวลาคุ้มครองต้องมากกว่า 10 ปีขึ้นไป สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของค่าเบี้ยที่จ่ายไป และต้องไม่เกินปีละ 200,000 บาท
  • กองทุนและการออม สามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและกองทุนรวมเพื่อการออมได้ สามารถลดหย่อนภาษีได้ 30% ไม่เกิน 500,000 และ 200,000 บาทต่อปี
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องนำมาคำนวณภาษี ลดได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
  • กองทุนการออมแห่งชาติลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องนำมาคำนวณภาษี ลดได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • เงินลงทุนธุรกิจ สามารถลดหย่อนได้ไม่เกินปีละ 100,000 บาท

นอกจากนี้ก็จะมีเงินบริจาคที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ เช่น เงินบริจาคทั่วไป เช่น บริจาคเงินให้วัด มูลนิธิต่าง ๆ สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนภาษีอื่น ๆ แล้ว 

สำหรับเงินบริจาคเพื่อการศึกษา การพัฒนาสังคมและสถานพยาบาลของรัฐบาล จะลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินบริจาค แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักลดหย่อนภาษีแล้ว ในขณะที่ เงินบริจาคให้กับพรรคการเมืองนำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกินปีละ 10,000 บาท นอกจากนี้ ใครที่ซื้อบ้านไว้ ก็สามารถใช้มาร่วมลดหย่อนภาษีได้เป็นประจำทุกปีด้วยเช่นกัน


วางแผนภาษีให้ดี เริ่มปีนี้เลย!

การเสียภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดามีช่องทางการลดหย่อนภาษีอยู่หลายทาง ใครที่ต้องการลดหย่อนภาษีเพิ่มขึ้น การซื้อประกันสุขภาพก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน ทั้งยังช่วยเพิ่มความอุ่นใจด้านค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้อีกด้วย
หากยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นหาประกันสุขภาพที่เหมาะกับตัวเองได้อย่างไร ลองมาเช็กประกันสุขภาพออนไลน์กับ Sunday ก่อนได้ กรอกแค่ ‘วันเดือนปีเกิด’ ก็สามารถเปรียบเทียบและหาแผนประกันที่เหมาะสมได้ง่าย ๆ พร้อมเลือกรับความคุ้มครองที่เมคเซนส์ในเบี้ยประกันที่เหมาะสมได้ตามต้องการทันที


Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

รู้จักกับ Vacation Guilt ลางานแล้วรู้สึกผิด พร้อมวิธีปรับตัวแบบมือโปร

ลางานแล้วรู้สึกผิดเกิดจากอะไร ต้องปรับตัวอย่างไรดี? มีใครเป็นแบบนี้บ้าง? ทำงานหนักมาตลอดทั้งปี…

7 ทักษะของผู้จัดการ ตำแหน่งงานเงินดีที่น่าสนใจ

ทักษะของผู้จัดการที่ควรมีติดตัว เพื่อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หนึ่งในความตั้งใจของหลาย ๆ…
maneger

รวมไอเดียของขวัญคริสต์มาสเพื่อสุขภาพโดนใจคนให้ ถูกใจคนรับ

รวมของขวัญคริสต์มาสเพื่อสุขภาพ จะให้เพื่อนหรือแฟนก็เลิศ! เริ่มมีอากาศเย็น ๆ มาให้สัมผัสกันในช่วงปลายปี…
health-focused-christmas-gift-ideas-for-everyone

อาการแพ้แอลกอฮอล์เป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน พร้อมวิธีแก้

คนแพ้แอลกอฮอล์มีอาการเป็นอย่างไรบ้าง?  อาการแพ้แอลกอฮอล์หรือแพ้เหล้าเป็นอาการที่พบได้ไม่มาก…
alcohol-allergy-symptoms-risks-and-solutions
0
Share