หน้าหลัก สาระสุขภาพ โรคไตห้ามกินผลไม้อะไร? รวมผลไม้เสี่ยงไตวายที่ห้ามซื้อ!

โรคไตห้ามกินผลไม้อะไร? รวมผลไม้เสี่ยงไตวายที่ห้ามซื้อ!

fruits-to-avoid-for-kidney-disease-risky-fruits

โรคไตห้ามกินผักอะไรบ้าง ห้ามกินผลไม้อะไรบ้าง? 

รู้หรือไม่ว่าประเทศไทยของเรานั้นมีผู้ป่วยโรคไตมากขึ้นทุกปี ข้อมูล่าสุดในปี 2566 กรมควบคุมโรคได้ออกมาชี้แจงว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังสูงถึง 1,062,756 คน โดยมีทั้งระยะที่ 3 และ 4 จนไปถึงระยะที่ 5 ที่ต้องทำการล้างไตเป็นประจำอีกด้วย วันนี้ซันเดย์จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรคไตกันว่ามันคืออะไร มีอาการอย่างไร และมีอาหารอะไรบ้างที่ควรระวัง

โรคไต ประกัน

โรคไตคืออะไร? 

จริง ๆ แล้วโรคไตไม่ได้เกิดจากการกินเค็มอย่างเดียวเท่านั้น เพราะมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สามารถส่งผลทำให้เกิดโรคไตได้มากกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคภูมิแพ้ตัวเอง และอาจยังเกิดจากการติดเชื้อ พันธุกรรม การใช้ยาบางชนิดและอีกมากมาย 

โดยอาการโรคไตนั้นสังเกตได้ไม่ง่ายนักในช่วงแรกที่เกิดโรค แต่สามารถสังเกตได้จากสิ่งเหล่านี้ได้

  • ปัสสาวะเปลี่ยนสีไปจากเดิม
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้นหรือปัสสาวะน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด
  • มีอาการมือบวม เท้าบวม 
  • รู้สึกเหนื่อยล้าผิดปกติ
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนอยู่บ่อย ๆ
  • มีอาการเบื่ออาหาร

หากมีอาการเหล่านี้ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอย่างละเอียดต่อไป หากตรวจพบเร็ว ก็มีโอกาสรักษาให้อาการดีขึ้นได้เร็ว อย่ารอช้าจนกลายเป็นโรคไตเรื้อรัง

อาหารการกินกับผู้ป่วยโรคไต

สำหรับใครที่มีคนใกล้ตัวป่วยเป็นโรคไต ต้องดูแลเรื่องอาหารอย่างเคร่งครัด เพราะจะต้องเลือกอาหารที่มีผลกระทบต่อไตและการทำงานต่อร่างกายให้น้อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้หรืออาหารเสริมต่าง ๆ ที่ควรจะมีโพแทสเซียมต่ำ และต้องระวังเป็นอย่างมากในการรับประทาน ซันเดย์ได้รวบรวมเอาผักและผลไม้เสี่ยงไตวายมาไว้ให้ด้านล่างนี้แล้ว จะได้เป็นประโยชน์กับผู้ป่วยและผู้ดูแล

โรคไตห้ามกินผลไม้อะไรบ้าง?

ผลไม้ที่อันตรายต่อผู้ป่วยโรคไตคือผลไม้ที่มีโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสสูง เช่น กล้วย ทุเรียน มะม่วงสุก ลำไย มะเขือเทศ แต่ยังสามารถกินผลไม้เหล่านี้ได้อยู่ เพียงแต่ต้องระวังปริมาณให้ไม่มากจนเกินไป โดยสามารถปรึกษากับแพทย์ประจำตัวหรือนักโภชนาการได้ เพื่อความปลอดภัยที่มากขึ้น นอกจากนี้ ผลไม้สุกทั่ว ๆ ไปก็มักจะมีโพแทสเซียมสูงกว่าผลไม้ที่ยังไม่สุกอีกด้วยนะ

โรคไตห้ามกินผักอะไรบ้าง?

สำหรับผักก็ควรระวังผักที่มีฟอสฟอรัส โพแทสเซียมและออกซาเลตสูง เพราะส่งผลกระทบโดยตรงต่ออาการป่วยหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป ไม่ว่าจะเป็น ผักใบเขียวเข้มอย่างผักโขม บรอกโคลี คะน้า หรือจะเป็นถั่วต่าง ๆ หัวปลีและใบชะพลูก็เป็นอันตรายได้

ผักที่ผู้ป่วยโรคไตสามารถรับประทานได้คือ ผักกาดขาว กะหล่ำปลี แตงกวา เห็ด หน่อไม้ฝรั่ง รวมถึงผักสีส้มอย่างแครอทและฟักทอง โดยมีเคล็ดลับที่ช่วยทำให้ผักเหล่านี้ปลอดภัยกับผู้ป่วยโรคไตมากขึ้นได้แก่

  • เลือกกินผักสด ไม่ใช้ผักที่แช่แข็งมา
  • ล้างผักให้สะอาดเพื่อกำจัดสารปนเปื้อนออก
  • ปรุงอาหารด้วยการต้มหรือลวก เพื่อช่วยลดปริมาณโพแทสเซียมในผัก

ทำไมผู้ป่วยโรคไตต้องระวังโพแทสเซียม?

โพแทสเซียมในบุคคลที่ไม่มีอาการป่วย ถือว่าเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะช่วยส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อและความดันโลหิต แต่สำหรับผู้ป่วยโรคไต การได้รับโพแทสเซียมมากเกินไป จะทำให้ร่างกายไม่สามารถกรองโพแทสเซียมออกจาากร่างกายได้เท่าที่ควร ซึ่งทำให้เกิดสิ่งต่อไปนี้

  • ภาวะโพแทสเซียมสูง ที่ส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของหัวใจและกล้ามเนื้อ อาจรุนแรงถึงชีวิตได้
  • ทำให้ไตทำงานหนักมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้อาการของโรคไตแย่ลง

ดูแลตัวเองให้ห่างจากโรคไต พร้อมวางแผนด้านการเงิน

หนึ่งในสาเหตุของโรคไตคือพันธุกรรม หากเรามีคนในครอบครัวที่มีประวัติป่วยเป็นโรคไต ก็ถือได้ว่ามีความเสี่ยงอยู่แล้วในระดับหนึ่ง การดูแลตัวเองให้สุขภาพดีอยู่เสมอถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่จะดีกว่าไหมว่ามีประกันสุขภาพคู่ใจไว้ด้วย เพื่อช่วยลดความกังวล พร้อมกับวางแผนด้านการเงินได้อย่างยั่งยืน

เลือกซื้อประกันสุขภาพออนไลน์กับซันเดย์ได้เลยวันนี้ คุ้มครองทันทีในยามเจ็บป่วย อย่าลืมมาเช็กเบี้ยประกันสุขภาพที่เหมาะกับคุณง่ายๆ ใช้เพียงแค่ “วันเดือนปีเกิดของคุณ” เท่านั้น

ประกันโรค เจอ จ่าย จริง

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

รู้จักไวรัส RSV โรคทางเดินหายใจในเด็ก อันตรายถึงชีวิต

โรค RSV คืออะไร สังเกตอาการได้อย่างไรบ้าง? ในช่วงที่อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ อย่างช่วงปลายฝนต้นหนาว…

นอนเยอะแต่เหมือนนอนไม่พอ คุณอาจจะเป็นโรคนอนเกิน!

นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ อาจเป็นโรคนอนเกินได้นะ! มีใครเคยเป็นบ้าง นอนเต็ม 8 ชั่วโมงก็แล้ว 12 ชั่วโมงก็แล้ว…
oversleeping-symptoms-feeling-tired-despite-sleeping-a-lot
0
Share