หน้าหลัก สาระสุขภาพ ไขมันพอกตับ โรคร้ายที่ทุกคนต้องระวัง ถึงไม่อ้วนก็เป็นได้!

ไขมันพอกตับ โรคร้ายที่ทุกคนต้องระวัง ถึงไม่อ้วนก็เป็นได้!

โรคไขมันพอกตับ

ไขมันพอกตับ ไม่อ้วนก็เป็นได้ โรคร้ายที่หลายคนมองข้าม

หลายคนเข้าใจผิดว่าโรคไขมันพอกตับเป็นโรคของคนอ้วนเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะมีรูปร่างผอมบางหรือน้ำหนักปกติก็ตาม สาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่เราอาจมองข้ามไป ดังนั้นซันเดย์จะพาทุกคนไปรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้น รวมถึงการดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงไขมันพอกตับด้วย

เลือกอ่านประเด็นที่สนใจ

ไขมันพอกตับ คืออะไร? 

ไขมันพอกตับเป็นภาวะที่มีไขมันส่วนเกินสะสมอยู่ในเซลล์ของตับเป็นจำนวนมากเกินไป จนทำให้ตับทำงานผิดปกติ ไม่สามารถทำงานได้ตามเดิม ความน่ากลัวของโรคนี้คือมันจะไม่แสดงอาการออกมาในช่วงแรกที่มีโรค ทำให้หลาย ๆ คนไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคนี้ จนกระทั่งมีความรุนแรงมากขึ้น 

ไขมันพอกตับ

สาเหตุที่ทำให้เกิดความเสี่ยงไขมันพอกตับ

สไตล์การใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบันทำให้มีความเสี่ยงไขมันพอกตับสูงขึ้นมาก เพราะมีทั้งอาหารมื้อด่วน อาหารแปรรูป และการใช้ชีวิตที่เร่งรีบจนไม่ได้ดูแลสุขภาพ ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคนี้มากขึ้นก็คือ

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ภาวะดื้ออินซูลิน
  • โรคอ้วน
  • ภาวะไขมันในเลือดสูง
  • การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาสเตียรอยด์ต่าง ๆ

นอกจากนี้ ผู้ที่มีโรคประจำตัวอย่างเช่นเบาหวานและไทรอยด์เองก็ส่งผลทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นภาวะไขมันพอกตับเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้แล้ว ผู้ป่วยไขมันพอกตับก็มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอีกมากมาย เช่น

  • ตับอักเสบ
  • ตับแข็ง
  • มะเร็งตับ

ไขมันพอกตับ อาการเป็นอย่างไรบ้าง?

โดยปกติแล้ว ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคนี้ มักจะพบกับอาการเหล่านี้

  • อ่อนเพลีย เมื่อยล้าผิดปกติ
  • คลื่นไส้อาเจียนอยู่บ่อย ๆ
  • ปวดท้องบริเวณใต้ชายโครงขวา
  • น้ำหนักลดลงอย่างไม่มีสาเหตุ
  • หากมีอาการรุนแรงมาก จะมีอาการตัวเหลืองและตาเหลืองร่วมด้วย

หากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการเหล่านี้ ซันเดย์แนะนำให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดอีกครั้งเพื่อหาสาเหตุที่ชัดเจน จะได้ทำการรักษาต่อได้อย่างทันท่วงที

วิธีตรวจไขมันพอกตับ

ส่วนมากแล้วการตรวจหาข้อบ่งชี้ของไขมันพอกตับคือการตรวจเลือดเพื่อตรวจระดับเอนไซม์จากตับ ตรวจระดับไขมันในเลือดและระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ก็อาจจะมีการทำอัลตราซาวด์เพื่อดูการสะสมของไขมันเพิ่มเติม

วิธีการรักษาโรคไขมันพอกตับ

การรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และแตกต่างกันออกไปตามแต่ละบุคคลด้วย เพราะมีหลายปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ปัจจัยด้านสุขภาพ หากมีโรคประจำตัวที่ต้องรับประทานยาเป็นประจำ ก็จะต้องปรึกษากับแพทย์ผู้ดูแลก่อนทำการรักษาร่วมกัน แต่ส่วนมากแล้ว ผู้ป่วยไขมันพอกตับมักจะต้องเปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหารและการดูแลตัวเอง เช่น

  • ควบคุมอาหาร โดยเลือกกินอาหารที่มีไขมันต่ำ และมีไขมันดี
  • งดการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้โรคมีความร้ายแรงมากขึ้น
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเพิ่มขึ้น

ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอย่างเบาหวานอยู่แล้ว และไม่เคยได้รับการรักษา แพทย์ก็มักจะมุ่งเน้นไปที่การรักษาโรคที่เป็นต้นตอให้มีอาการคงที่ พร้อม ๆ ไปกับการปรับพฤติกรรม เพื่อช่วยทำให้อาการดีขึ้นนั่นเอง

ดูแลสุขภาพให้ดี ก่อนสายเกินแก้

หากคุณอยากมีสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากโรคนี้ ซันเดย์แนะนำให้เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันดี และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้แล้ว 

และแน่นอนว่านอกจากการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ การวางแผนลดความเสี่ยงให้รอบด้านก็สำคัญ ลองมองหาประกันสุขภาพดี ๆ ติดตัวไว้สักหน่อย ให้เบาใจเมื่อมีอาการป่วย เพราะไม่ต้องหนักใจกับค่ารักษาที่อาจจะสูงกว่าที่คิด เข้ามาเลือกดูประกันสุขภาพดี ๆ ได้ที่ซันเดย์

อยากใช้ซูเปอร์แอปฯ Jolly by Sunday ต้องทำอย่างไร?

แอปประกันซูเปอร์แอปฯ Jolly by Sunday ทำอะไรได้บ้าง?

หากคุณเป็นอีกคนที่อยากใช้ซูเปอร์แอปฯ Jolly by Sunday แอปประกันที่ตอบโจทย์ความต้องการทุกอย่างได้ครอบคลุมแบบนี้ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันมาใช้งานได้ในทันที ผ่าน App Store หรือ Google Play Store แล้วอย่าลืมติดตามข่าวสารและโปรโมชันดีๆ จากซันเดย์ในทุกๆ วันของคุณ

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

รู้จักไวรัส RSV โรคทางเดินหายใจในเด็ก อันตรายถึงชีวิต

โรค RSV คืออะไร สังเกตอาการได้อย่างไรบ้าง? ในช่วงที่อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ อย่างช่วงปลายฝนต้นหนาว…

นอนเยอะแต่เหมือนนอนไม่พอ คุณอาจจะเป็นโรคนอนเกิน!

นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ อาจเป็นโรคนอนเกินได้นะ! มีใครเคยเป็นบ้าง นอนเต็ม 8 ชั่วโมงก็แล้ว 12 ชั่วโมงก็แล้ว…
oversleeping-symptoms-feeling-tired-despite-sleeping-a-lot
0
Share