หน้าหลัก สาระสุขภาพ สูบบุหรี่ส่งผลเสียอย่างไรบ้าง? แถมทิปส์เลิกบุหรี่ยังไงให้สำเร็จ?

สูบบุหรี่ส่งผลเสียอย่างไรบ้าง? แถมทิปส์เลิกบุหรี่ยังไงให้สำเร็จ?

how to quit smoking

เชื่อว่าหลายคนน่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า การสูบบุหรี่สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้มากมาย หรือบางคนเองก็รู้สึกอยากเลิกบุหรี่เพื่อรักษาสุขภาพ แต่ไม่รู้จะต้องเริ่มต้นอย่างไร ลองมาดู วิธีการเลิกบุหรี่ให้ได้ผล ที่ใคร ๆ ก็ทำได้ พร้อมเข้าใจอันตรายของการสูบบุหรี่ที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้มาก่อน เพื่อให้รู้ทันโรคร้ายและเตรียมตัวรับมือก่อนสายไป

สารพิษในบุหรี่มีอะไรบ้าง

รู้จักส่วนผสมของบุหรี่

ก่อนที่เราจะไปดูว่าการสูบบุหรี่มีข้อเสียอย่างไรบ้าง ในส่วนนี้ลองมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า บุหรี่นั้นมีส่วนผสมอะไรบ้าง และส่วนผสมดังกล่าวสามารถส่งผลต่อร่างกายได้อย่างไร

โดยปกติแล้ว บุหรี่ทั่วไปจะประกอบไปด้วยสารเคมีมากมาย โดยส่วนผสมที่ส่งผลต่อสุขภาพได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจะประกอบไปด้วย

นิโคติน

นิโคตินจะทำหน้าที่เป็นสารกล่อมประสาทส่วนกลาง และส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดทำให้หัวใจเต้นเร็วและความดันโลหิตสูงขึ้น จึงทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายชั่วคราว โดยส่วนมากแล้ว บุหรี่จะมีนิโคตินอยู่ที่ 15-20 มิลลิกรัม ซึ่งหากได้รับสารนิโคตินเป็นเวลานานก็อาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายได้เช่นกัน

อะซีโตน

อะซีโตนจะทำให้ระบบบหายใจระคายเคืองในเยื่อบุทางเดินหายใจ และรู้สึกเวียนศีรษะ และทำให้ปอดเกิดพังผืดได้

สาร Tar

หากใครสูบบุหรี่แล้วไอ สาเหตุนั้นก็เพราะว่าในบุหรี่มีสาร Tar หรือน้ำมันดินที่ประกอบไปด้วยสารเคมีรุนแรงอีกหลายอย่าง โดยหากได้รับสาร Tar อย่างต่อเนื่องก็จะทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังและมีเสมหะได้

แอมโมเนียม

มีผลต่อการหลั่งของสารสื่อประสาท และทำให้ระบบทางเดินหายใจเกิดการระคายเคือง หายใจไม่สะดวก หากสูบบุหรี่มาก ๆ ก็อาจทำให้ไอ เจ็บคอ หรือหรือรู้สึกวิงเวียนได้ด้วยเช่นกัน

สารหนู

สารหนูเป็นสารเคมีประเภทสารโลหะหนัก ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่สำคัญ อีกทั้งยังทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดได้อีกด้วย

บิวเทน

หากร่างกายได้รับบิวเทนเข้าไป จะทำให้รู้สึกสายตาพร่ามัว และเกิดอาการระคายเคือง อีกทั้งยังทำให้ร่างกายรู้สึกเมื่อยล้า วิงเวียนศีรษะ และเป็นอีกหนึ่งสารสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งและโรคหัวใจ

แคดเมียม

แคดเมียมเป็นอีกหนึ่งประเภทของโลหะหนัก ซึ่งส่งผลต่อสมอง หากได้รับมากเกินไป อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดและมะเร็งต่อมลูกหมากได้

คาร์บอนมอนนอกไซด์

เมื่อปอดของเราได้รับคาร์บอนมอนนอกไซด์จากการสูบบุหรี่เข้าไป จะส่งผลให้เม็ดเลือดแดงไม่จับออกซิเจน และทำให้เซลล์ในร่างกายขาดออกซิเจนในที่สุด

ไซยาไนด์

ไซยาไนด์ก็เป็นอีกหนึ่งสารเคมีที่อันตรายที่สามารถเข้าไปทำลายเยื่อบุผิวหลอดลมตอนต้นและถุงลมปอดได้ สารไซยาไนด์ที่เกิดขึ้นระหว่างการสูบบุหรี่อาจทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะ รวมไปถึงอาจทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพองได้เช่นกัน

โครไลโนไทรล์

โครไลโนไทรล์เป็นสารสำคัญที่ทำให้เกิดโรคโลหิตจางอย่างอ่อน และอาจทำให้ปลายมือเท้าซีด จนไปถึงเม็ดเลือดขาวลดลง อันจะส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของเราทำให้อ่อนแอลง

ไนโตรเจนไดออกไซด์

สำหรับไนโตรเจนไดออกไซด์นั้นเป็นก๊าซที่มีฤทธิ์ระคายเคืองสูง และสามารถเข้าไปทำลายเยื่อบุหลอดลมตอนปลายได้ ซึ่งจะทำให้เกิดโรคถุงลอมโป่งพองเช่นกันเดียวกับไซยาไนด์

ฟอร์มาลดีไฮด์

สารเคมีประเภทนี้หลายคนอาจจะเคยได้ยินกันมาก่อน เพราะเป็นสารเคมีที่ใช้ในการดองศพ ซึ่งสำหรับระบบทางเดินหายใจแล้ว ฟอร์มาลดีไฮด์จะส่งผลให้ทางเดินหายใจและเยื่อบุตาเกิดการระคายเคือง และอาจทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ 

ตะกั่ว

ตะกั่วนั้นมีผลทั้งต่อระบบประสาท เลือด ไต และระบบสืบพันธุ์ ซึ่งหากใครไม่อยากสมรรถภาพทางเพศเสื่อมไวละก็ แนะนำว่าให้หลีกเลี่ยง แถมยังอาจส่งผลให้เป็นโรคความดันโลหิตสูงได้อีกด้วยนะ

เมทิล เอทิล คีโทน

เมทิล เอทิล คีโทนเป็นอีกหนึ่งสารเคมีที่ทำให้จมูกและตาเกิดการระคายเคือง อีกทั้งยังจะเข้าไปกดระบบประสาทของเราอีกด้วย

ปรอท

หากได้รับสารปรอทมาก ๆ ก็จะส่งผลต่อระบบประสาทของเรา ทำให้ความจำเสื่อม และเกิดอาการใจสั่น

พอโลเนียม

สารเคมีประเภทนี้เป็นสารกัมมันตรังสี ซึ่งแน่นอนว่าเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปอด นอกจากนี้สารตัวนี้ก็ยังเป็นตัวการสำคัญที่เป็นพาหะร้ายแรงต่อคนรอบข้าง ทำให้คนที่อยู่ใกล้เราที่ไม่สูบบุหรี่ได้รับสารพิษเข้าไปด้วย

Sunday Tips

รู้หรือไม่? สูดดมควันบุหรี่มือสอง อันตรายกว่าคนสูบ!
การรับควันบุหรี่มือสองที่พ่นออกมาจากทางลมหายใจของผู้สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ผสมกับควันจากปลายมวนที่กำลังเผาไหม้โดยไม่ผ่านตัวกรอง ทำให้ควันที่ออกมามีสารพิษนับร้อยชนิด และในจำนวนนี้ กว่า 70 ชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งสามารถอยู่ในอากาศได้นานถึง 5 ชั่วโมง
โดยสารพิษเหล่านี้จะทำให้ผู้สูดดมควันบุหรี่มือสองเสี่ยงเป็นโรคหัวใจถึง 20%-30% และเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอดมากถึง 25%-30% อีกทั้งหากผู้ตั้งครรภ์สูดดมเข้าไป จะส่งผลให้ทารกในครรภ์เสี่ยงพัฒนาการช้าและอ่อนแอกว่าเด็กทั่วไป เพราะฉะนั้นหากเลิกไม่ได้ ก็หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะกันเถอะ

ผลเสียของการสูบบุหรี่

  • ก่อให้เกิดโรคร้าย

จะเห็นได้ว่าส่วนผสมของบุหรี่นั้นมีสารเคมีมากมาย ซึ่งไม่ใช่สารเคมีธรรมดาเท่านั้น แต่เป็นสารพิษที่ก่อให้เกิดโรคร้ายตามมา โดย 5 โรคหลักที่แถมมาด้วยกับการสูบบุหรี่นั้นก็คือโรคมะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง ปอดบวม โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน

  • คุณภาพการใช้ชีวิตลดลง

หากใครที่สูบบุหรี่แล้วเวียนหัวหรือสูบบุหรี่แล้วปวดหัว นั่นก็เพราะว่าในบุหรี่นั้นมีนิโคติน ซึ่งทำให้หลอดเลือดตีบตัว นั่นหมายความว่าขนาดของหลอดเลือดเราก็จะเล็กลงด้วย และทำให้เราเกิดอาการเวียนหัวปวดหัว อันจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเราได้

  • ส่งผลต่อคนรอบข้าง

อย่างที่ได้กล่าวไปว่า การได้รับควันบุหรี่มือสองนั้นน่ากลัวกว่าการสูบเองเสียอีก เพราะควันที่ออกมาจากผู้สูบนั้นมีสารพิษที่ไม่ได้ผ่านการกรองมากมาย ทำให้ผู้ที่ได้รับควันเข้าไป เสี่ยงเป็นโรคหัวใจและโรคมะเร็งปอดได้มากกว่าผู้สูบ

  • เสียเงินและเสียเวลา

ลองคิดดูว่าหากคุณสูบบุหรี่จนกลายเป็นโรคร้ายขึ้นมา ก็ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลมากมาย ยิ่งหากเป็นเรื้อรังและไม่มีประกันสุขภาพดูแล ยิ่งไม่ต้องพูดถึง แถมยังเสียเวลาที่จะต้องไปรักษาตัว นอกจากนี้ค่าบุหรี่ในประเทศไทยก็ไม่ได้ถูกเลย เรียกได้ว่ามีแต่เสียกับเสีย

  • ผิวหนังเหี่ยวย่น

ใครไม่อยากแก่ไวต้องเลิกบุหรี่ด่วน เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดตีบ ส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้ช้าลง ทำให้ผิวได้รับออกซิเจนและสารอาหารน้อยลง จนทำให้ผิวแห้งกร้าน เหี่ยวง่าย และหมองคล้ำได้

สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ คนรับควันมือสองอันตรายยิ่งกว่า

วิธีเลิกบุหรี่ให้ได้ผล ไม่กลับไปสูบอีก

  • บอกคนรอบตัว

สาเหตุที่ใครหลายคนไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้นั้น ส่วนเป็นเพราะว่าเพื่อน หรือ  คนรอบตัวชอบชวนไปสังสรรค์และมีการสูบบุหรี่ขึ้น หรือหลาย ๆ คนเองก็เป็น Social Smoker หรือเป็นคนที่สูบบุหรี่เพื่อการเข้าสังคมตามโอกาสต่าง ๆ อย่างไรก็ดี หากตัดสินใจจะเลิกสูบบุหรี่แล้ว ขอแนะนำให้บอกคนรอบข้างเอาไว้ก่อน ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เพื่อน ๆ ชวนสูบบุหรี่ แถมตัวเราเองก็จะได้ไม่เผลอใจไปสูบบุหรี่เวลามีคนชวนอีกด้วย

  • กำจัดบุหรี่และนิโคตินออกจากชีวิต

บอกคนรอบข้างเสร็จแล้ว อย่าลืมมากำจัดบุหรี่และผลิตภัณฑ์ที่มีนิโคตินออกไปจากชีวิตด้วย เพราะหากยังฝืนเก็บไว้ใกล้ตัว และเกิดอาการเครียดหรืออยากสูบขึ้นมา ก็อาจทำเรามีโอกาสหยิบมาสูบแบบง่าย ๆ ได้ รวมไปถึงหมากฝรั่งนิโคตินด้วยเช่นกัน ซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่มีควันและมีอันตรายน้อยกว่า แต่ก็ยังมีนิโคตินอันจะส่งผลต่อสุขภาพได้อยู่

  • ลดจำนวน

ถึงแม้ว่าการเลิกบุหรี่หักดิบจะไม่อันตราย แต่ก็อาจทำให้เกิดอาการเสี้ยนหรืออยากสูบได้ เพราะฉะนั้นทางที่ดี ค่อย ๆ ลดจำนวน และเมื่อลดจนถึงวันละ 1-2 มวนแล้วจึงค่อยกำจัดบุหรี่ให้ไกลตัวที่สุด 

  • ออกกำลังกาย

เช่นเดียวกับการสูบบุหรี่ที่กระตุ้นให้สมองมีการหลั่งสารความสุขที่เรียกว่าโดปามีน การออกกำลังกายก็ทำให้เรามีความสุขได้ด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อออกกำลังกาย ร่างกายก็จะหลั่งสารโดปามีนออกมาด้วย เหมาะอย่างยิ่งกับผู้ที่ชอบสูบบุหรี่คลายเครียด

  • ปรึกษาแพทย์

หากใครที่มีอาการติดบุหรี่ขั้นร้ายแรง หรือ ลองเลิกบุหรี่ด้วยตัวเองแล้วก็ไม่มีผลข้างเคียงหรือความผิดปกติเกิดขึ้น แนะนำว่าให้ทำการปรึกษาและขอความช่วยเหลือจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดู เพราะสำหรับผู้เสพติดบางราย ก็อาจต้องได้รับการดูแลจากแพทย์หรือมีการพูดคุยกับจิตแพทย์และหาหนทางที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพกับเรามากที่สุด

การสูบบุหรี่ไม่ใช่เรื่องเท่แต่อย่างใด แถมยังส่งผลร้ายต่อคนรอบข้างอีกด้วย ในทางกลับกัน ข้อดีของการไม่สูบบุหรี่นั้นมีมากมาย ทั้งไม่ต้องเสี่ยงเป็นโรคร้าย ประหยัดเงิน และประหยัดเวลา เพราะฉะนั้นหากใครที่สูบอยู่ ก็หันมาเลิกสูบบุหรี่กันเถอะ หรืออย่างน้อย ๆ ก็สูบให้น้อยลงเพื่อเป็นการรักษาสุขภาพ


แต่ลำพังแค่การรักษาสุขภาพและการเลิกบุหรี่ บางครั้งอาจยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันอาการเจ็บป่วยได้ ดังนั้น อย่าลืมทำประกันสุขภาพออนไลน์กับ Sunday เอาไว้ เพื่อเป็นตัวช่วยบริหารความเสี่ยงด้านการรักษาพยาบาลที่มาจากการเจ็บป่วย ทั้งยังช่วยให้ได้เข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องกังวลว่าค่ารักษาพยาบาลจะมากระทบกับสภาพคล่องการเงินในด้านอื่น เช็กเบี้ยประกันสุขภาพออนไลน์ง่าย ๆ ใช้แค่ ‘วันเดือนปีเกิด’ เท่านั้น


Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

นอนเยอะแต่เหมือนนอนไม่พอ คุณอาจจะเป็นโรคนอนเกิน!

นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ อาจเป็นโรคนอนเกินได้นะ! มีใครเคยเป็นบ้าง นอนเต็ม 8 ชั่วโมงก็แล้ว 12 ชั่วโมงก็แล้ว…
oversleeping-symptoms-feeling-tired-despite-sleeping-a-lot

หนาวนี้ ดูแลตัวเองยังไงให้ห่างไกลจากโรคที่มากับหน้าหนาว

ระวังโรคช่วงหน้าหนาว พร้อมวิธีดูแลสุขภาพช่วงอากาศเปลี่ยน เผลอแปปเดียวก็จะสิ้นปีอีกแล้ว ช่วงใกล้หน้าหนาวแบบนี้…
winter-health-tips-prevent-cold-season-illnesses
0
Share