หน้าหลัก สาระสุขภาพ กรดยูริกคืออะไร ปกติเท่าไหร่ กรดยูริกสูงอันตรายไหม?

กรดยูริกคืออะไร ปกติเท่าไหร่ กรดยูริกสูงอันตรายไหม?

กรดยูริกสูงอันตรายแค่ไหน-ดูแลตัวเองอย่างไรให้เหมาะสม

การควบคุมปริมาณกรดยูริกในร่างกายถือเป็นเรื่องสำคัญ จะเห็นได้ว่าการตรวจสุขภาพประจำปีแต่ละครั้งจะมีการตรวจปริมาณกรดยูริกรวมอยู่ด้วยเสมอ เนื่องจากกรดยูริกสามารถเป็นสาเหตุหลักของโรคร้ายและโรคเรื้อรังได้มากมาย

แล้วกรดยูริกคืออะไร เกิดจากอะไร ปกติเท่าไหร่ ภาวะกรดยูริกสูงส่งผลกระทบกับร่างกายแค่ไหน มาทำความรู้จักกรดยูริกให้มากขึ้นในบทความนี้กัน

8-อาหาร-ลดกรดยูริก

เจาะลึก ‘กรดยูริก’ ทุกรายละเอียด

สำหรับใครที่ยังไม่เคยตรวจสุขภาพมาก่อน หรือ ยังไม่แน่ใจว่ากรดยูริกมีความสำคัญต่อสุขภาพอย่างไร ในส่วนนี้ลองมาทำความเข้าใจกันหน่อยว่ากรดยูริกคืออะไรกันแน่

กรดยูริกคืออะไร?

กรดยูริก (Uric Acid) คือ สารที่เกิดขึ้นจากการสลายตัวของ ‘พิวรีน (Purine)’ ซึ่งเป็นสารสำคัญที่พบได้ใน DNA และ RNA ของเซลล์ เมื่อร่างกายมีการสลายเซลล์เกิดขึ้น หรือ มีการย่อยสลายอาหารที่มีสารพิวรีนสูง ก็จะทำให้เกิดกรดยูริกขึ้นมา หากยิ่งระบบการกำจัดกรดยูริกทำงานได้ไม่สมดุลก็จะยิ่งทำให้กรดยูริกสะสมในร่างกาย จนทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้

กรดยูริกคืออะไร เกิดจากอะไร

กรดยูริกเกิดจากอะไร?

จากการศึกษาพบว่า ประมาณ 80% ของกรดยูริกทั้งหมดเกิดขึ้นจากกระบวนการทางเคมีตามธรรมชาติของร่างกาย ส่วนอีก 20% นั้นมาจากการรับประทานอาหารกรดยูริกสูง หรือ อาหารที่มีสารพิวรีนสูง

โดยเบื้องต้น อาการกรดยูริกสูงจะประกอบไปด้วยสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ ยอดผักอย่างชะอมและกระถิน รวมไปถึงอาหารทะเล เนื้อแดง และ น้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลฟรุคโตสูง เมื่อรับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริกในร่างกายได้

นอกจากนี้ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำยังเป็นการกระตุ้นการสะสมกรดยูริกในร่างกาย เนื่องจากแอลกอฮอล์ ไม่เพียงแต่จะเป็นการเพิ่มปริมาณกรดยูริกในร่างกายเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการสร้างกรดยูริก ทั้งยังขัดขวางการขับกรดยูริกออกจากร่างกายอีกด้วย

กรดยูริกปกติเท่าไหร่ แบบไหนเรียกกว่ากรดยูริกสูง?

ตามหลักทางการแพทย์ระบุว่า หากตรวจพบกรดยูริกที่ปริมาณเกินจาก 6.8 มก./ดล. ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสจะถือว่ามีภาวะกรดยูริกสูง (Hyperuricemia) ทันที 

การพิจารณาภาวะกรดยูริกสูงจะดูจากปริมาณกรดยูริกที่สะสมอยู่ในร่างกายเทียบกับความสามารถในการละลายกรดยูริกของร่างกาย โดยหากมีกรดยูริกสะสมสูงเกินกว่าที่ร่างกายสามารถกำจัดได้ก็จะถือว่ามีภาวะกรดยูริกสูงนั่นเอง

แต่สำหรับใครที่ลองไปตรวจสุขภาพประจำปี แต่ยังไม่ชัวร์ว่าจะอ่านผลการตรวจปริมาณกรดยูริกอย่างไร โดยเบื้องต้น ขอแนะนำให้ลองพิจารณาตามหลักพื้นฐาน ดังนี้

  1. เด็ก จะมีกรดยูริกในช่วง 3 – 4 มก./ดล.
  2. ผู้ใหญ่ จะมีกรดยูริกอยู่ที่ 4 – 6 มก./ดล. 

อย่างไรก็ดี ผู้ที่หมดประจำเดือนแล้วจะมีระดับกรดยูริกในร่างกายที่สูงขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่น้อยลงจะทำให้ความสามารถในการขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะลดลงด้วย ดังนั้น หากเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือนแล้ว อย่าลืมรักษาระดับกรดยูริกในร่างกายเอาไว้ให้ดี

ซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่าย

กรดยูริกส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร?

หลายคนมักเข้าใจว่า กรดยูริกเป็นสารสำคัญในร่างกาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว กรดยูริกถือเป็นของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทางเคมีในร่างกายและไม่ได้มีประโยชน์ใด ๆ ต่อสุขภาพ ด้วยเหตุนี้ ร่างกายจึงต้องขับออกเพื่อลดความเสี่ยงที่กรดยูริกจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้

กรดยูริกสูงเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่?

การรับประทานอาหารกรดยูริกสูงเป็นประจำอย่างต่อเนื่องสามารถเพิ่มความเสี่ยงที่กรดยูริกจะสะสมในร่างกายสูง นอกจากนี้ การดื่มน้ำที่น้อยกว่าความต้องการของร่างกายยังทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริกที่สูง เนื่องจากร่างกายไม่สามารถขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หากยิ่งมีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดกรดยูริกในร่างกายอย่างเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือด ผู้มีความผิดปกติที่บริเวณไตและต่อมไร้ท่อ รวมถึงผู้มีความผิดปกติของเอนไซม์ในการสร้างสารพิวรีนด้วยแล้ว นานวันเข้า กรดยูริกที่สะสมอยู่ในร่างกายก็จะมีปริมาณสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนตกผลึกกลายเป็น ‘เกลือยูเรต’ ที่จะเข้าไปสะสมยังบริเวณข้อต่อ เนื้อเยื่อ กระดูกอ่อน รวมถึงอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย จนเกิดเป็นโรคร้ายและโรคเรื้อรังได้ อาทิ

  • โรคเก๊าท์ (Gout) หรือ โรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการที่เกลือยูเรตเข้าไปสะสมที่บริเวณกระดูกอ่อนและเนื้อเยื่อรอบข้อต่อ ทำให้เกิดอาการปวด บวม แดง หรือ เกิดเป็นตุ่มที่บริเวณข้อ
  • นิ่ว เช่น นิ่วในไต และ นิ่วในทางเดินปัสสาวะ
  • ภาวะแทรกซ้อนที่ไต เช่น โรคไตเรื้อรัง และ ไตวายเฉียบพลัน
  • ภาวะก้อนโทฟัส (Tophus) สะสมที่บริเวณใต้ผิวหนังและอวัยวะภายใน ไม่เพียงแต่จะทำให้รู้สึกเจ็บปวดที่บริเวณข้อต่อเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงที่อวัยวะภายในจะทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพและล้มเหลวได้ เนื่องจากก้อนโทฟัสเข้าไปขัดขวางการทำงานของอวัยวะ
Q&A Sunday ตอบให้!

Q : กินไก่แล้วเป็นเก๊าท์ หรือ เป็นเก๊าท์แล้วห้ามกินไก่?
A: การรับประทานสัตว์ปีก ยอดผัก รวมถึงอาการกรดยูริกสูง ไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเก๊าท์โดยตรง แต่การรับประทานอาหารกรดยูริกสูงอย่างต่อเนื่องจนทำให้เกิดการสะสมในร่างกายเป็นเวลานานสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเก๊าท์ได้

ด้วยเหตุนี้ การรับประทานเนื้อสัตว์ปีก รวมถึงอาหารกรดยูริกสูงในปริมาณที่พอเหมาะ ตลอดจนมีการดื่มน้ำเพียงพอและรักษาสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคร้ายจากกรดยูริกได้
กรดยูริกสูงส่งผลกับร่างกายอย่างไร

2 วิธีลดกรดยูริกในร่างกายอย่างถูกต้องและปลอดภัย

หลังจากที่ทราบถึงอันตรายของภาวะกรดยูริกสูงในร่างกายแล้ว หลายคนคงเริ่มสงสัยอยู่ไม่น้อยว่า ผู้มีภาวะกรดยูริกสูงจะต้องกินอะไร หรือ ดูแลรักษาสุขภาพอย่างไรให้เหมาะสม โดยเบื้องต้นแล้ว วิธีลดกรดยูริกในร่างกายสามารถทำได้ 2 วิธีหลัก ดังนี้

1. การรับประทานยาลดกรดยูริก

สำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ หรือ โรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะกรดยูริกสูง แพทย์อาจลงความเห็นให้ใช้ยาลดการสร้างกรดยูริก หรือ ยาเพิ่มการขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ เพื่อลดปริมาณกรดยูริกในร่างกาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค ชนิดของโรค และเป้าหมายในการรักษา

นอกจากยาลดกรดยูริกแล้ว แพทย์อาจพิจารณาจ่ายยารักษาตามอาการของผู้ป่วย เช่น ยาควบคุมการอักเสบเพื่อป้องกันการอักเสบระหว่างการใช้ยาลดกรดยูริก หรือ ยาขับกรดยูริก 

อย่างไรก็ดี วิธีลดกรดยูริกในร่างกายด้วยการใช้ยารักษาจำเป็นจะต้องได้รับการวินิจฉัยและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบของยาที่มีผลต่อร่างกาย

2. การรับประทานอาหารช่วยลดกรดยูริก

การรับประทานอาหารช่วยลดกรดยูริกถือเป็นวิธีลดกรดยูริกแบบธรรมชาติ เหมาะสำหรับผู้ที่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากภาวะกรดยูริกสูง ผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพ ตลอดจนผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วยการใช้ยาแล้ว

หากยังไม่แน่ใจว่าจะรับประทานอาหารช่วยลดกรดยูริกชนิดไหนบ้าง ขอแนะนำให้เริ่มต้นจากการลองรับประทาน 8 อาหารช่วยลดกรดยูริก ดังนี้

  1. กาแฟดำ ลดกรดยูริกได้เนื่องจากกาแฟมีส่วนช่วยในการย่อยสลายสารพิวรีนได้ช้าลง และ มีส่วนช่วยในการเร่งการขับกรดยูริกออกจากร่างกาย
  2. นมไขมันต่ำ เนื่องจากนมมีโปรตีนเคซีนที่ช่วยให้ตับขับกรดยูริกออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. ผลไม้วิตามินซีสูง
  4. ไข่ไก่
  5. แอปเปิล อุดมไปด้วยกรดมาลิกที่มีส่วนช่วยในการลดกรดยูริกได้
  6. เชอรี่ อุดมไปด้วยสารแอนโทไซยานินที่มีส่วนช่วยลดกรดยูริกและการตกผลึกของเกลือยูเรต
  7. ขนมปังโฮลวีต และ ธัญพืช
  8. คะน้า แต่ควรหลีกเลี่ยงผักใบอ่อนทุกชนิด 

ไม่เพียงแต่จะเลือกรับประทานอาหารช่วยลดกรดยูริกเท่านั้น แต่ผู้ที่มีกรดยูริกสูงยังควรดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อย 1.5 – 2 ลิตรเพื่อช่วยให้ร่างกายขับกรดยูริกได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อรักษาสุขภาพและป้องกันความเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ และอย่าลืมตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อเท่าทันความเสี่ยงของภาวะกรดยูริกสูงอีกด้วย

วิธีลดกรดยูริกในร่างกายและการดูแลสุขภาพ

กรดยูริกสูงทำประกันสุขภาพได้ไหม?

จะเห็นได้ว่า ภาวะกรดยูริกสูงสามารถก่อให้เกิดโรคร้ายและโรคเรื้อรังได้มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเก๊าท์และนิ่วที่จัดเป็นโรคเรื้อรังที่ประกันสุขภาพมักไม่ให้ความคุ้มครอง ด้วยเหตุนี้ หลายคนคงสงสัยว่า หากมีภาวะกรดยูริกสูงแล้วจะสามารถทำประกันสุขภาพได้หรือไม่?

คำตอบ คือ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการพิจารณาของบริษัทประกันภัยแต่ละแห่ง สำหรับการทำประกันสุขภาพออนไลน์ กับ Sunday ก่อนที่จะเลือกกรมธรรม์ประกันสุขภาพ ขอแนะนำให้ส่งประวัติสุขภาพของคุณมาให้ทาง Sunday ได้พิจารณาก่อน โดยเงื่อนไขการอนุมัติและรับประกันภัยจะเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่เบอร์ 0 2022 1111

ซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่าย

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

นอนเยอะแต่เหมือนนอนไม่พอ คุณอาจจะเป็นโรคนอนเกิน!

นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ อาจเป็นโรคนอนเกินได้นะ! มีใครเคยเป็นบ้าง นอนเต็ม 8 ชั่วโมงก็แล้ว 12 ชั่วโมงก็แล้ว…
oversleeping-symptoms-feeling-tired-despite-sleeping-a-lot

หนาวนี้ ดูแลตัวเองยังไงให้ห่างไกลจากโรคที่มากับหน้าหนาว

ระวังโรคช่วงหน้าหนาว พร้อมวิธีดูแลสุขภาพช่วงอากาศเปลี่ยน เผลอแปปเดียวก็จะสิ้นปีอีกแล้ว ช่วงใกล้หน้าหนาวแบบนี้…
winter-health-tips-prevent-cold-season-illnesses
0
Share