หน้าหลัก เรื่องราวรอบตัว รู้จักกับ Burnout Syndrome ภาวะหมดไฟ ที่ทำยังไงใจก็ไม่สู้

รู้จักกับ Burnout Syndrome ภาวะหมดไฟ ที่ทำยังไงใจก็ไม่สู้

Burnout Syndrome ภาวะหมดไฟ หมดใจกับการทำงาน

Burnout Syndrome หรือภาวะหมดไฟ ใครไม่เคยเป็นคงไม่เข้าใจแน่ ๆ ว่าอาการมันเป็นอย่างไรกันแน่ สำหรับใครที่เคยเป็น หรือกำลังหมดไฟอยู่ ซันเดย์ขอให้วางใจ เพราะวันนี้เราจะไปดำดิ่งสู่ต้นเหตุของการเกิดภาวะนี้กัน จะได้ลองสำรวจตัวเองว่าปัญหาเกิดจากอะไร ก่อนที่จะหาวิธีแก้เพื่อสุขภาพที่ดีของเราต่อไป 

Burnout Syndrome คืออะไร?

Burnout Syndrome หรือภาวะหมดไฟ คือภาวะที่ทำให้เรารู้สึกไม่อยากทำงาน ไม่อยากทำสิ่งที่ทำอยู่ ไม่มีแรงจูงใจที่จะสร้างสรรค์ผลงานดี ๆ เหมือนตื่นขึ้นมาแล้วก็ทำหน้าที่ไปวัน ๆ บางคนอาจจะถึงขั้นรู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสามารถ ไม่ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ทำอยู่ จนทำให้รู้สึกถอดใจและตั้งคำถามกับตัวเองบ่อย ๆ ว่านี่เรากำลังทำอะไรอยู่ เราควรหยุดทำงานนี้ดีไหมนั่นเอง

ส่วนมากซันเดย์มักจะเห็นคนพูดถึงภาวะหมดไฟกับการทำงานเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกอย่างเลย ไม่ว่าจะเป็น การเรียน การอ่านหนังสือสอบ การทำงานอดิเรกหรือแม้กระทั่งการใช้ชีวิตในแต่ละวัน ซึ่งถ้าปล่อยให้เกิดภาวะนี้นาน ๆ เข้า อาจจะส่งผลทำให้เกิดปัญหาทางด้านจิตใจตามมาได้ แถมยังทำให้เราทำงาน เรียนและทำสิ่งต่าง ๆ ได้แย่ลงอีกด้วย

Burnout Syndrome เกิดจากอะไรได้บ้าง?

ถ้าเราคิดดี ๆ คำว่า Burnout คือคำที่ใช้บ่งบอกถึงอาการที่ไม่มีแรงจูงใจ หมดไฟในการทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น

  • ความกดดันที่มากเกินไป เช่น ต้องติวหนังสืออย่างหนักเพื่อทำข้อสอบให้ได้คะแนนตามข้อกำหนด หรือการรับผิดชอบงานใหญ่ ๆ โดยที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากทีม ทำให้เรารู้สึกกดดันอย่างต่อเนื่อง จนทำให้รู้สึกกดดัน และรู้สึกหมดสนุกกับการทำสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
  • ความเครียดสะสม อาจจะเกิดจากสังคมในที่ทำงาน ที่ไม่มีระบบการทำงานเป็นทีม รู้สึกเครียดจากความคาดหวังของพ่อแม่ หัวหน้าหรือคนรักเองก็ทำให้เกิดอาการหมดไฟได้เช่นกัน
  • ทำงานหนักเกินไป แรก ๆ การทำงานหนักดูเหมือนจะเป็นความท้าทายที่น่าก้าวข้าม แต่ถ้าทำงานหนักติดต่อกันจนไม่ได้พักผ่อนเลย ก็สามารถทำให้เกิดความเหนื่อยล้าจนทำให้จิตใจถดถอยได้
  • สิ่งที่ทำอยู่ไม่มีความท้าทายเองก็ทำให้หลาย ๆ คนเกิดภาวะหมดไฟได้ โดยเฉพาะกับคนที่ชอบสร้างสรรค์ ชอบค้นหาสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ การที่ต้องทำงานเดิมซ้ำ ๆ สามารถทำให้รู้สึกเบื่อ รู้สึกเหมือนไม่มีอะไรก้าวหน้า และเกิดคำถามกับตัวเองได้ว่านี่เรากำลังทำอะไรกันอยู่แน่
  • ความคาดหวังที่เกินจริง ทำให้หลาย ๆ คนเผชิญกับภาวะหมดไฟกันมานักต่อนักแล้ว เมื่อตั้งความหวังที่สูงจนเกินไป ทำให้เกิดความกดดันสูง และเมื่อทำไม่สำเร็จก็จะกลับมาโทษตัวเองและมองว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั้นไม่มีคุณค่า
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ ก็ทำให้เกิดภาวะหมดไฟได้นะ เพราะสมองของเราต้องการการพักผ่อนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ไม่มีเวลาสำหรับชีวิตส่วนตัว ทำให้เกิดความเครียดสะสม นาน ๆ เข้าก็มักจะทำให้เรารู้สึกว่าเรากำลังอยู่ผิดที่ผิดทาง ทำไมจึงไม่ได้มีเวลาออกไปเจอเพื่อน ๆ บ้างเลย ขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ทำให้จิตใจเรารู้สึกห่อเหี่ยวได้ไม่แพ้กัน

จะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีอาการ Burnout Syndrome

เชื่อไหมว่าคนที่มีภาวะหมดไฟส่วนมาก แทบจะไม่รู้ตัวเลยว่าตัวเองมีอาการนี้ จนกระทั่งอาการชัดเจนขึ้นมาก ๆ แล้ว ซันเดย์เลยเอาข้อสังเกตมาให้ทุกคนได้ลองตรวจสอบกันว่าเรามีอาการเหล่านี้บ้างไหม

  • รู้สึกไม่อยากไปทำงาน ไม่อยากไปเรียน ไม่อยากลุกออกจากที่นอน
  • รู้สึกอ่อนเพลีย ถึงแม้ว่าจะนอนหลับได้เต็มที่
  • รู้สึกเบื่อหน่ายกับสิ่งที่ทำ สิ่งที่เคยชอบทำก็กลับรู้สึกว่าไม่ชอบแล้ว
  • มีอาการปวดหัว มึนหัว ปวดกล้ามเนื้อ
  • ภูมิตก ป่วยง่ายกว่าปกติ
  • โฟกัสกับสิ่งที่ทำได้ไม่นาน สักพักก็รู้สึกเบื่อจนต้องหาอย่างอื่นทำ
  • นอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่สนิท
  • รู้สึกหงุดหงิดกับสิ่งเล็กน้อยบ่อยขึ้น
  • ไม่ค่อยอยากพูดคุยกับคนอื่น ๆ อยากอยู่คนเดียวเงียบ ๆ 

ผลกระทบด้านสุขภาพที่มาพร้อมกับ Burnout Syndrome

นอกจากอาการข้างต้นที่ว่ามาแล้ว หากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ Burnout Syndrome ก็สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยที่หนักมากขึ้นได้ เช่น

  • เกิดภาวะซึมเศร้า เกิดจากความเหนื่อยล้าทางจิตใจ ทำให้ความมั่นใจลดลง รู้สึกไร้ค่า ไม่มีความสุขกับสิ่งที่ทำ ไม่อยากเข้าหาผู้คนเหมือนเคย
  • เกิดโรคนอนไม่หลับได้ง่ายขึ้น เพราะมีความเครียดสะสม ทำให้นอนหลับได้ไม่เพียงพอ นอนหลับได้ช้า นอนหลับไม่สนิท 
  • เสี่ยงต่อโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง เกิดจากการที่ระบบหัวใจและหลอดเลือดทำงานได้ไม่เต็มที่

นอกจากนี้ อาการของ Burnout Syndrome ก็ยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตในด้านอื่น ๆ อีกด้วย เช่น การสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบ ๆ ตัว ไปจนถึงการดูแลตัวเองโดยรวม 

Burnout Syndrome สามารถแก้ไขได้ไหม?

ต้องบอกว่าอาการที่มากับ Burnout Syndrome นั้นสามารถแก้ไขได้ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด ควรจะต้องกลับไปแก้ไขที่จุดเริ่มต้นที่ทำให้เราเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายกับสิ่งที่ทำ ไม่ว่าจะเป็น ลักษณะงานที่ทำ บรรยากาศในการทำงาน สถานที่ทำงาน ปัญหากับเพื่อนร่วมงาน ความกดดันที่มีต่อตัวเอง ความคาดหวังจากคนรอบข้าง ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสามารถรู้เท่าทันตัวเองได้ แต่ Burnout Syndrome ก็มีวิธีแก้ที่เราสามารถเริ่มทำได้เลยเช่นกัน จะได้เอาตัวรอดจากสถานการณ์นี้ได้ในเบื้องต้นก่อน

อยากใช้ซูเปอร์แอปฯ Jolly by Sunday ต้องทำอย่างไร?

แอปประกันซูเปอร์แอปฯ Jolly by Sunday ทำอะไรได้บ้าง?

หากคุณเป็นอีกคนที่อยากใช้ซูเปอร์แอปฯ Jolly by Sunday แอปประกันที่ตอบโจทย์ความต้องการทุกอย่างได้ครอบคลุมแบบนี้ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันมาใช้งานได้ในทันที ผ่าน App Store หรือ Google Play Store แล้วอย่าลืมติดตามข่าวสารและโปรโมชันดีๆ จากซันเดย์ในทุกๆ วันของคุณ

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว 1 ดาวโดนฟ้องได้ไหม รีวิวยังไงให้ไม่โดนฟ้อง?

สรุป! กฎหมายการรีวิวในไทย พร้อมเข้าใจวิธีรีวิวยังไงไม่ให้โดนฟ้อง ก่อนจะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการใดๆ…
review-and-lawsuit-for-defamation

เปิด 5 ประเทศปลูกชามากที่สุดในโลก ใช่ประเทศที่คิดไหม?

เจาะลึกประเภทชาจากประเทศที่ปลูกชาได้มากที่สุดในโลก ชาร้อน ๆ สักแก้ว หรือจะเป็นชาเขียวเย็น ๆ สักขวดระหว่างวัน…
top-5-tea-producing-countries-in-the-world

ชอบชาเขียวต้องอ่าน! ประโยชน์ของชาเขียว และการดื่มที่ถูกต้อง

รู้จักกับประวัติชาเขียว เครื่องดื่มสุดฮิตที่หลายคนหลงรัก ชาเขียวหรือ Ryokucha ( 緑茶 )…
green-tea-benefits-and-how-to-drink-correctly
0
Share