การซื้อรถยนต์ที่ตอบโจทย์สักคัน นอกจากจะเลือกสเปครถยนต์ที่ถูกใจแล้ว การวางแผนการเงินเพื่อซื้อรถยนต์ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยลดความเสี่ยงทางการเงินในอนาคตเท่านั้น แต่การวางแผนหนี้รถยนต์ตั้งแต่ก่อนซื้อยังช่วยให้สามารถจัดการค่าใช้จ่ายได้อย่างรอบคอบ ไม่เสี่ยงที่จะต้องนำเงินสำหรับเป้าหมายอื่นๆ มาใช้เพื่อจ่ายหนี้รถยนต์ในภายหลัง
หากคุณเป็นอีกคนที่กำลังวางแผนซื้อรถยนต์คันแรก แต่ยังไม่มั่นใจว่าจะวางแผนการเงินอย่างไรให้มีประสิทธิภาพและไม่ก่อให้เกิดหนี้เสียในภายหลัง ลองมาดูเรื่องการเงินที่ต้องทำความเข้าใจให้ดี ก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์คันแรกกัน
ถ้าคุณเพิ่งเริ่มวางแผนซื้อรถยนต์ ลองอ่าน 4 เรื่องต้องรู้ ก่อนตัดสินใจผ่อนรถใหม่ เพื่อทำความเข้าใจขั้นตอนพื้นฐานก่อนวางแผนการเงินอย่างละเอียดในบทความนี้

หนี้รถยนต์คืออะไร คิดดอกเบี้ยอย่างไร?
หนี้รถยนต์ (Car Loan) คือ สินเชื่อระยะยาวแบบมีหลักประกัน โดยรถยนต์ที่ซื้อจะถูกใช้เป็นทรัพย์สินค้ำประกันกับไฟแนนซ์ ธนาคาร หรือ สถาบันทางการเงินเพื่อการกู้ซื้อรถยนต์ หากผู้กู้ผิดนัดชำระหลายงวด เจ้าหนี้มีสิทธิ์ยึดรถและขายทอดตลาดได้ตามกฎหมาย
โดยส่วนใหญ่แล้ว หนี้รถยนต์จะเป็น “สินเชื่อเช่าซื้อ (Hire Purchase)” ที่ผู้ซื้อยังไม่เป็นเจ้าของรถจนกว่าจะผ่อนครบทุกงวดและได้รับหนังสือปลอดภาระ โดยระยะเวลาผ่อนรถยนต์มักอยู่ที่ 48–84 เดือน และอัตราดอกเบี้ยจะเป็นแบบคงที่ (Flat Rate) ทำให้ค่างวดเท่ากันทุกเดือน เช่น ผ่อนเดือนละ 7,000 บาท เป็นระยะเวลา 5 ปี เป็นต้น
ปิดหนี้รถยนต์ก่อนกำหนดได้หรือไม่?
หากมีความพร้อมทางการเงิน ผู้กู้สามารถปิดหนี้ก่อนกำหนดได้ เนื่องจากสามารถช่วยลดดอกเบี้ยรวมที่ต้องจ่ายในระยะยาว
แต่เพื่อลดความเสี่ยงในการเสียค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติม ก่อนจะเปิดหนี้รถยนต์ อย่าลืมตรวจสอบสัญญาว่ามีค่าปรับการปิดบัญชีก่อนกำหนดหรือไม่ เพราะบางไฟแนนซ์ หรือ บางสถาบันทางการเงินอาจมีการเรียกเก็บค่าปรับของดอกเบี้ยที่เหลือ
อย่างไรก็ดี หากเปรียบเทียบกับภาระหนี้ก้อนอื่นๆ ผู้กู้ควรพิจารณาชำระหนี้ก้อนที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง หรือ หนี้ที่มีการคิดดอกเบี้ยแบบลอยตัวก่อน เนื่องจากหนี้รถยนต์จะมีการคิดดอกเบี้ยในอัตราคงที่ ทำให้ผู้กู้ไม่ต้องรับภาระดอกเบี้ยมากเท่ากับหนี้ก้อนที่คิดดอกเบี้ยแบบลอยตัว หรือ แบบทบต้น เช่น สินเชื่อเงินกู้ หรือ หนี้บ้าน
ผ่อนหนี้รถยนต์ไม่ไหว ทำอย่างไรได้บ้าง?
หากคุณตัดสินใจซื้อรถยนต์เรียบร้อยแล้ว แต่เกิดเหตุที่ทำให้ไม่สามารถผ่อนหนี้รถได้เหมือนเดิม โดยทั่วไปแล้ว ผู้กู้จะสามารถเลือกจัดการได้ 3 วิธี
1. ขอปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์
การปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ คือ กระบวนการเจรจาเงื่อนไขใหม่กับสถาบันการเงิน หรือ ไฟแนนซ์เจ้าของสัญญาเช่าซื้อ เพื่อให้ภาระการชำระหนี้รายเดือนของผู้ผ่อนรถ “เบาลงและเหมาะสมกับสถานะทางการเงินในปัจจุบัน” โดยไม่ต้องขายหรือคืนรถ
โดยทั่วไปแล้ว การขอปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์จะเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้
- รถยนต์ต้องจดทะเบียนถูกต้อง
- มีประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ยังไม่หมดอายุอย่างน้อย 6 เดือน หรือตามเงื่อนไขที่สถาบันทางการเงินกำหนด
- มีประวัติการชำระค่างวดที่ดี หรือ ไม่เคยผิดนัดการชำระมาก่อน หรือ หากมีค่างวดค้างชำระอยู่ ต้องชำระให้หมดก่อนขอปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์
- ต้องมีผู้ค้ำประกัน
- ระยะเวลาการผ่อนรวมไม่เกิน 96 งวด โดยค่าดอกเบี้ยและจำนวนงวดใหม่ต้องไม่ 96 งวดตามสัญญาเดิม
หากเข้าเงื่อนไขครบทุกประการ ผู้กู้จะสามารถขอปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ได้ 2 แบบ ดังนี้
- ผ่อนแบบขั้นบันได สำหรับผู้ต้องการลดค่างวดช่วงแรกให้ต่ำลง และเพิ่มค่างวดช่วงหลัง เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาการเงินในระยะสั้น
- ขอขยายเวลาชำระหนี้ สำหรับผู้ที่ต้องการลดจำนวนค่างวดรายเดือน แต่จะเพิ่มระยะเวลาในการผ่อนให้นานขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดภาระหนี้สินรายเดือน
อย่างไรก็ดี เงื่อนไขการขอปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์จะแตกต่างกันไปตามข้อกำหนดของสถาบันทางการเงินแต่ละแห่ง ดังนั้น ผู้กู้จึงควรปรึกษาสถาบันทางการเงินให้ดีก่อนตัดสินใจปรับโครงสร้างหนี้
2. รีไฟแนนซ์หนี้รถยนต์
ผู้กู้สามารถขอยื่นรีไฟแนนซ์หนี้รถยนต์ได้ โดยการรีไฟแนนซ์จะเป็นการย้ายหนี้ไปสถาบันการเงินใหม่ หรือ รีไฟแนนซ์กับเจ้าเดิม เพื่อขอลดดอกเบี้ยและขยายระยะเวลาการชำระหนี้อีกครั้ง
3. ขอคืนรถยนต์
หากผู้กู้ไม่สามารถผ่อนชำระหนี้รถยนต์ได้จริงๆ หรือ มีปัญหาทางการเงินที่รุนแรงมาก การขอคืนรถยนต์โดยสมัครใจถือเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ดีที่สุด เพราะหากปล่อยให้รถยนต์ถูกยึด อาจมีผลเสียต่อเครดิตทางการเงินตามมา ทำให้ทำธุรกรรมทางการเงินได้ยากขึ้นในอนาคต

ผ่อนหนี้รถให้หมดไว เตรียมตัวอย่างไร?
นอกจากการวางแผนซื้อและจัดการงบประมาณแล้ว การรู้เทคนิคการผ่อนรถให้หมดเร็วขึ้นก็เป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยและระยะเวลาผ่อนชำระให้สั้นลงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ 3 วิธีนี้
1. ชำระค่างวดรถทุก 2 สัปดาห์ แทนการจ่ายรายเดือน
การจ่ายหนี้รถยนต์ทุก 2 สัปดาห์ จะทำให้คุณชำระค่างวดมากขึ้นเป็นปีละ 24 ครั้ง จากเดิมที่ชำระ 12 ครั้ง เพราะจำนวนเงินในแต่ละครั้งยังเท่าเดิม แต่การจ่ายค่างวดบ่อยขึ้น เงินที่จ่ายไปจะถูกตัดไปยังเงินต้นและดอกเบี้ยบ่อยขึ้น ส่งผลให้ยอดเงินต้นลดลงเร็วกว่าเดิม และช่วยลดดอกเบี้ยรวมที่ต้องจ่ายได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ควรตรวจสอบกับบริษัทไฟแนนซ์ หรือ สถาบันทางการเงินก่อน เพราะบางเจ้ามีกลไกคำนวณดอกเบี้ยแบบเฉลี่ยรายเดือน จึงอาจไม่ได้รับส่วนลดดอกเบี้ยจากการจ่ายบ่อยขึ้น
2. จ่ายเงินเกินยอดค่างวดทุกครั้งที่ทำได้
ถ้าสัญญาไฟแนนซ์อนุญาตให้จ่ายเกินค่างวดปกติและสามารถลดดอกเบี้ยได้จริง ผู้กู้ควรใช้โอกาสนี้จ่ายยอดเกินทุกครั้งที่มีเงินเหลือ
เช่น หากปกติจ่ายเดือนละ 10,000 บาท แต่ในเดือนนั้นมีรายรับมากขึ้น ลองจ่ายเพิ่มเป็น 15,000 หรือ 20,000 บาท เพราะเงินที่จ่ายเกินจะตัดตรงไปยังเงินต้น ทำให้ระยะเวลาผ่อนลดลง ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็น้อยลงตามไปด้วย ส่งผลให้ปลดหนี้ได้เร็วกว่าเดิมอย่างชัดเจน
3. เตรียมแผนการเงินสำรองไว้เสมอ
เพื่อป้องกันความเสี่ยงการติดเครดิตบูโร หรือ มีความเสี่ยงด้านการเงินอื่นๆ ในอนาคต อย่าลืมเก็บเงินสำรองเอาไว้ 3–6 เดือนเป็นอย่างน้อย ทั้งนี้เพื่อให้มีเงินสำรองเพียงพอสำหรับการชำระหนี้ รวมถึงมีเงินสำรองไว้สำหรับใช้งานและบำรุงรักษารถยนต์ด้วย
จะเห็นได้ว่า การวางแผนการเงินเพื่อซื้อรถไม่ใช่แค่เรื่องของจำนวนเงินที่ต้องผ่อนต่อเดือนอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นการมองถึงภาพรวมของรายรับ รายจ่าย โครงสร้างหนี้รถยนต์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้
แต่นอกจากค่ารถยนต์ และค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาแล้ว “ประกันรถยนต์” ก็เป็นหนึ่งต้นทุนที่ผู้สนใจซื้อรถยนต์ต้องวางแผนให้ดี ตั้งแต่การเลือกความคุ้มครอง ไปจนถึงการวางแผนค่าเบี้ยประกันรถยนต์ที่เหมาะสม
หากยังไม่แน่ใจว่าควรเลือกซื้อประกันรถยนต์แบบไหนให้เหมาะกับคุณ ลองดู เทคนิคเลือกประกันรถยนต์ให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ เพื่อช่วยวางแผนค่าใช้จ่ายและความคุ้มครองได้ง่ายยิ่งขึ้น

“ซันเดย์” มาพร้อมกับประกันรถยนต์ที่ “คุณ” สามารถเลือกออกแบบความคุ้มครองให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ได้ พร้อมเช็กเบี้ยด้วยตัวเองง่ายๆ เพียงเลือกรุ่นรถยนต์ วันเดือนปีเกิด และรหัสไปรษณีย์ที่อยู่ปัจจุบัน เท่านี้ก็สามารถช่วยวางแผนค่าใช้จ่ายประกันรถยนต์ได้ตั้งแต่ก่อนซื้อรถยนต์แล้ว
