หน้าหลัก รู้ทันประกันสุขภาพ รู้จัก Simple Disease ที่อาจทำให้เข้าเงื่อนไข Co-Payment

รู้จัก Simple Disease ที่อาจทำให้เข้าเงื่อนไข Co-Payment

copayment

Simple Disease คือ หนึ่งในเงื่อนไขการพิจารณาประกันสุขภาพ Co-payment ในปีต่ออายุที่สำนักงานคปภ. ประกาศบังคับใช้กับบริษัทประกันชีวิตในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2568 ที่ผ่านมา 

อย่างไรก็ดี เมื่อประกาศบังคับใช้เงื่อนไข Co-payment ออกมา เชื่อว่ายังมีหลายๆ คนที่ยังสงสัยอยู่ไม่น้อยว่า ทำไมอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ อย่าง Simple Disease ถึงถูกนำมาพิจารณาในเงื่อนไขประกันสุขภาพ Co-payment ได้ และจะมีเงื่อนไขการพิจารณาความหนักเบาของอาการเจ็บป่วยที่เข้าข่าย Simple Disease อย่างไร

หากคุณเป็นอีกคนที่สงสัยเรื่องนี้เหมือนกันอยู่ ลองมาไขข้อสงสัยทุกเรื่องเกี่ยวกับเงื่อนไข Simple Disease ในประกาศบังคับใช้ประกันสุขภาพ Co-payment ในปีต่ออายุของบริษัทประกันชีวิตในบทความนี้กัน

Simple Disease คืออะไร ทำไมมีในประกันสุขภาพ Co-Payment

Simple Disease คืออะไร?

Simple Disease คือ โรค หรือ อาการเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรง ซึ่งสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องใช้เทคนิคทางการแพทย์ที่ซับซ้อน และมีแนวโน้มที่ผู้ป่วยจะหายเองได้ หรือ สามารถรักษาได้ด้วยยาพื้นฐาน

โดยอาการเจ็บป่วยและโรคที่เข้าข่าย Simple Disease ตามเงื่อนไขประกันสุขภาพ Co-payment ในครั้งนี้จะประกอบไปด้วย

  1. ไข้หวัดใหญ่
  2. โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน 
  3. ท้องเสีย
  4. เวียนศีรษะ
  5. เป็นไข้ไม่ระบุสาเหตุ
  6. ปวดหัว 
  7. กล้ามเนื้ออักเสบ
  8. ภูมิแพ้
  9. กระเพาะอาหารอักเสบ
  10. กรดไหลย้อน
  11. โควิดกลุ่มอาการสีเขียว
  12. โรคอื่นๆ ที่เป็นไปตามเงื่อนไขการพิจารณาของบริษัทประกันภัย

ป่วยด้วย Simple Disease แบบไหน ถึงเข้าข่ายเงื่อนไขประกันสุขภาพ Co-payment?

ด้วยอัตราเงินเฟ้อทางการแพทย์ (Medical Inflation) ที่พุ่งเฉลี่ย 8% – 15% ต่อปี ประกอบกับการเคลมประกันสุขภาพที่เกินความจำเป็นทางการแพทย์ จนส่งผลให้เบี้ยประกันในภาพรวมปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้สำนักงานคปภ. ต้องนำเงื่อนไขประกันสุขภาพ Co-payment ออกมาใช้ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว

จริงอยู่ว่า Simple Disease คือ อาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ที่สามารถหายเองได้ หรือ รับการรักษาพื้นฐานก็สามารถหายจากการเจ็บป่วยได้แล้ว แต่ในบางครั้ง การเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ก็สามารถเพิ่มระดับความรุนแรงจนต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล หรือ เข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน (IPD)

อย่างไรก็ดี หากผู้เอาประกันเข้ารับการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยใน (IPD) ด้วย Simple Disease มากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้ง และมีอัตราการเคลมสูงกว่า 200% ของเบี้ยประกันสุขภาพ บริษัทประกันอาจกำหนดให้ในปีต่ออายุกรมธรรม์ ผู้เอาประกันจะต้องร่วมจ่าย Co-payment คิดเป็น 30% ของทุกค่ารักษาพยาบาลในปีถัดไป

สรุป:

  • ป่วยด้วย Simple Disease
  • เข้ารับการรักษาตัวแบบ IPD หรือ นอนโรงพยาบาลมากกว่า 6 ชั่วโมง
  • จำนวนมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้ง หรือ มีอัตราการเคลมสูงกว่า 200% ของเบี้ยประกันสุขภาพ
  • ในปีต่ออายุ บริษัทประกันอาจกำหนดให้ผู้เอาประกันต้องมีการร่วมจ่าย หรือ Co-Payment จำนวน 30% ของทุกค่ารักษาในปีถัดไป

ยังสับสนว่า Co-payment คืออะไร และการเข้าเงื่อนไขประกัน Co-payment มีทั้งหมดกี่แบบ?

ถ้าอยากเข้าใจให้ชัดว่า Co-payment คืออะไร ส่งผลต่อการจ่ายค่ารักษาอย่างไร และแบบไหนถึงจะคุ้มสำหรับคุณ แนะนำให้ลองอ่านบทความนี้เลย → คลิกอ่านต่อที่นี่

ประกันสุขภาพ หรือ ประกันชีวิต ที่มีเงื่อนไข Co-payment?

จริงๆ แล้ว Co-payment เป็นเงื่อนไขที่มาพร้อมกับมาตรฐานประกันสุขภาพใหม่ หรือ New Health Standard ที่นำมาใช้เพื่อรับมือกับค่ารักษาพยาบาลและเบี้ยประกันสุขภาพที่สูงขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2564 แล้ว

โดยประกันวินาศภัย หรือ ประกันสุขภาพ ได้มีบังคับใช้เงื่อนไข Co-payment อยู่แล้ว โดยการปรับใช้จะเป็นไปตามเงื่อนไขที่บริษัทประกันสุขภาพแต่ละแห่งกำหนด ซึ่งผู้เอาประกันสามารถศึกษาเงื่อนไขนี้ได้ที่สลักหลังของกรมธรรม์ประกันสุขภาพที่ถืออยู่

ในส่วนเงื่อนไข Co-payment ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2568 นี้ จะเป็นประกาศบังคับใช้กับประกันชีวิตในปีต่ออายุ ซึ่งการพิจารณาบังคับใช้จะเป็นไปตามเงื่อนไขที่บริษัทประกันชีวิตแต่ละแห่งกำหนดเช่นกัน

Co-payment ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต

ไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพ หรือ ประกันชีวิต แต่ละบริษัทก็จะมีการพิจารณาบังคับใช้เงื่อนไข Co-payment ที่แตกต่างกันไป โดยสามารถเป็นได้ทั้งแบบการพิจารณาปีต่อปี แบบถาวร หรือ เป็นไปตามเงื่อนไขที่บริษัทแต่ละแห่งกำหนด

ดังนั้น ก่อนทำประกันสุขภาพ หรือ ประกันสุขภาพที่พ่วงประกันชีวิต อย่าลืมสอบถามการบังคับใช้เงื่อนไข Co-payment เพื่อรับทราบเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ก่อนตัดสินใจทำประกันด้วย

ยังสับสนว่า Co-payment คืออะไร?

ถ้าอยากเข้าใจให้ชัดว่า Co-payment คืออะไร ส่งผลต่อการจ่ายค่ารักษาอย่างไร และแบบไหนถึงจะคุ้มสำหรับคุณ แนะนำให้ลองอ่านบทความนี้เลย → คลิกอ่านต่อที่นี่
บทความนี้จะช่วยให้คุณตัดสินใจเรื่องประกันสุขภาพได้อย่างมั่นใจมากขึ้นแน่นอน!

*เงื่อนไขเป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักงานคปภ. และตามที่บริษัทประกันกำหนด

**ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียด ความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

ถ้ายังไม่แน่ใจว่าแผนประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายไหนคุ้มครองอะไรบ้าง หรือเบี้ยประกันจะเท่าไหร่ ลองเช็กเบี้ยประกันสุขภาพซันเดย์ได้เลย แค่กรอก ‘วันเดือนปีเกิด’ ก็รู้ได้ทันทีว่าแผนไหนเหมาะกับคุณที่สุด!

ประกันสุขภาพซันเดย์
Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

ประกันสุขภาพ IPD คืออะไร เลือกคุ้มครอง IPD อย่างเดียวได้หรือไม่?

ด้วยความคุ้มค่าของเบี้ยประกัน ทั้งยังมาพร้อมกับความคุ้มครองที่ตอบโจทย์ในเรื่องของการรักษาตัวในโรงพยาบาล…
ประกัน IPD

ทำประกันสุขภาพเหมาจ่ายผู้ป่วยใน (IPD) อย่างเดียวพอไหม?

ทำประกันสุขภาพเหมาจ่าย IPD อย่างเดียว ต้องเข้าใจอะไรบ้าง? ไม่เพียงแต่จะยากต่อการคาดเดาเท่านั้น แต่ “การเจ็บป่วย”…

ระยะผ่อนผันของประกันสุขภาพ ลืมจ่ายเบี้ยประกันต้องรู้!

ลืมจ่ายเบี้ยประกัน ประกันสุขภาพหมดอายุ ยังเคลมได้ไหม? เมื่อถึงรอบต่อประกันสุขภาพ…

สรุปครบ! ประกัน Co-payment คืออะไร เริ่มเมื่อไหร่?

ประกัน Co-payment คืออะไร เริ่มเมื่อไหร่กันแน่?  เงื่อนไข Co-payment กลับมาเป็นที่พูดถึงในประเทศไทยอีกครั้ง…
Co-payment
0
Share