หน้าหลัก รู้ทันประกันสุขภาพ คนไทยป่วย OPD โรคอะไรมากที่สุด รักษาอะไรบ้างที่ผ่านมา?

คนไทยป่วย OPD โรคอะไรมากที่สุด รักษาอะไรบ้างที่ผ่านมา?

5 โรคแบบ OPD

การรักษาแบบ OPD คืออะไร คนไทยป่วยด้วย OPD ด้วยโรคอะไรมากที่สุด?

การรักษาแบบ OPD หรือ Out-Patient Department คือ การรักษาพยาบาลที่ผู้ป่วยไม่ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล หรือ อยู่สังเกตอาการในสถานพยาบาลน้อยกว่า 6 ชั่วโมง ซึ่งในปัจจุบันนี้ การรักษาแบบ OPD เป็นบริการรักษาพยาบาลที่มีความสำคัญสำหรับประเทศไทยที่มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

แล้วคนไทยส่วนใหญ่ป่วย OPD ด้วยโรคอะไรมากที่สุด รักษาอะไรบ้างที่ผ่านมา มาไขทุกข้อสงสัยพร้อมกันในบทความนี้เลย

1. โรคระบบไหลเวียนโลหิต

จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า โรคระบบไหลเวียนโลหิต (Circulatory System Diseases) เป็นกลุ่มโรค OPD ที่มีจำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตมากที่สุดในประเทศไทย โดยโรคที่พบบ่อยในกลุ่มนี้ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง 

โดย “ความดันโลหิตสูง” จัดเป็นโรคเรื้อรังในกลุ่มโรคระบบไหลเวียนโลหิตที่มีผู้ป่วยสูงถึง 20 ล้านคน ทั้งยังเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคร้ายอื่นๆ อย่างโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการเสียชีวิตของผู้ป่วยในประเทศไทย

อย่างไรก็ดี การสังเกตอาการป่วยโรคความดันโลหิตสูงนั้นเป็นไปได้ยาก เนื่องจากผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการชัดเจน ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะรู้ว่าตนเองมีภาวะความดันโลหิตสูงต่อเมื่อมีอาการปวดหัว เวียนศีรษะ หน้ามืด หรือ มีปัญหาด้านการมองเห็นเนื่องจากความดันสูง

ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง การตรวจสุขภาพประจำปี ควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม 

2. โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม

โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม (Endocrine, Nutritional and Metabolic Diseases) เป็นกลุ่มโรค OPD ที่ผู้ป่วยมีความผิดปกติของต่อมไร้ท่อและฮอร์โมนต่างๆ โดยโรคในกลุ่มนี้ที่พบได้บ่อยจะมีตั้งแต่ไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ภาวะต่อมใต้สมองทำงานบกพร่อง ไปจนถึงโรคเบาหวาน โรคอ้วน ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ

ในปี 2023 ที่ผ่านมา เบาหวานถือเป็นหนึ่งในโรคติดต่อไม่เรื้อรังที่มีผู้ป่วยสูงกว่า 11.31 ล้านคน และในทุกๆ 5 วินาทีจะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานจำนวน 1 คนทั่วโลก จัดได้ว่าเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่อันตรายไม่แพ้กับโรคอื่นๆ เลยทีเดียว

ด้วยเหตุนี้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน นอกจากจะตรวจสุขภาพประจำปีแล้ว การสังเกตอาการที่เด่นชัดของโรคเบาหวานก็สามารถช่วยให้ผู้ป่วยตระหนักถึงความผิดปกติที่กำลังเกิดขึ้นได้ เช่น หากมีอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หรือ รับประทานอาหารเก่งขึ้นผิดปกติ ควรรีบเข้าไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กอย่างละเอียดทันที

3. โรคระบบกล้ามเนื้อ โครงร่าง และเนื้อยึดเสริม

กลุ่มโรคระบบกล้ามเนื้อ โครงร่าง และเนื้อยึดเสริม (Musculoskeletal System and Connective Tissue Diseases) เป็นกลุ่มโรคที่ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติที่บริเวณข้อต่อ กล้ามเนื้อ เอ็นส่วนต่างๆ รวมถึงเส้นประสาท และเนื้อเยื่ออ่อนในร่างกาย โดยโรคที่พบได้บ่อยจะมีตั้งแต่โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพ กล้ามเนื้ออักเสบ รวมถึงการเสื่อมของกระดูกประเภทต่างๆ ในร่างกาย

โรค OPD ในกลุ่มนี้ ไม่เพียงแต่จะสร้างความรำคาญใจให้กับผู้ป่วยเท่านั้น แต่หากป่วยแล้วไม่รีบดูแลรักษา อาการป่วยเหล่านี้อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ทั้งยังเป็นอันตรายต่อชีวิตในระยะยาว โดยเฉพาะภาวะกระดูกพรุนในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาเมื่อไหร่ อาจเสี่ยงฟื้นตัวได้ช้า รวมถึงมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

โดยส่วนใหญ่แล้ว กลุ่มโรคระบบกล้ามเนื้อ โครงร่าง และเนื้อยึดเสริมมักเกิดขึ้นจากความเสื่อมของร่างกายเมื่ออายุมากขึ้น ไปจนถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ส่งผลกระทบกับกล้ามเนื้อ โครงร่าง และเนื้อยึดเสริม ไม่ว่าจะเป็นการทำงานด้วยท่านั่งที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการไม่ดูแลสุขภาพจนทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกิน

ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเป็นโรค OPD ในกลุ่มโรคระบบกล้ามเนื้อ โครงร่าง และเนื้อยึดเสริมให้ได้มากที่สุด การดูแลสุขภาพควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

4. โรคระบบย่อยอาหาร

โรคระบบย่อยอาหาร (Digestive System Diseases) เป็นหนึ่งในกลุ่มโรค OPD ที่มีผู้ป่วยมากที่สุดในประเทศไทย โดยเฉพาะโรคกรดไหลย้อน โรคลำไส้อักเสบ และภาวะท้องผูก

โดย “โรคกรดไหลย้อน” (Gastroesophageal Reflux Disease – GERD) เป็นหนึ่งในโรคระบบย่อยอาหารที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงานที่มีความเครียดสะสมและรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ไปจนถึงกลุ่มเสี่ยงอย่างผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ที่สูบบุหรี่และดื่มสุราเป็นประจำ รวมไปถึงผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน

โดยส่วนใหญ่แล้ว กรดไหลย้อนมักมาพร้อมกับอาการท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ ไปจนถึงอาการจุกและแสบร้อนที่บริเวณหน้าอก หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษา กรดไหลย้อนอาจลุกลามกลายเป็นปัญหาทางเดินอาหารเรื้อรัง ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งหลอดอาหารและระบบทางเดินอาหารได้อีกด้วย

ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเป็นโรคระบบย่อยอาหาร โดยเฉพาะกรดไหลย้อน ไม่เพียงแต่จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและใช้ชีวิตเท่านั้น การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอก็สามารถช่วยให้รู้เท่าทันโรคกรดไหลย้อน รวมถึงความเสี่ยงในการเป็นโรคร้ายอื่นๆ ได้เช่นกัน

5. โรคระบบทางเดินหายใจ

กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ (Diseases of the respiratory system) ไม่ว่าจะเป็นหอบหืด การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง รวมถึงโรคปอดอักเสบ ถือเป็นอีกหนึ่งโรค OPD ที่พบได้บ่อยได้ประเทศไทยเช่นกัน

ด้วยอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย ตลอดจนมลพิษในอากาศที่สูงขึ้น ทั้งจากควันบุหรี่ ฝุ่น PM 2.5 และมลพิษที่ปะปนอยู่ในอากาศ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจมากขึ้น นอกจากนี้ จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขยังพบว่า ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease) มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้

ในปัจจุบันนี้ การป้องกันโรคในระบบทางเดินหายใจสามารถทำได้ด้วยการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการอยู่ในบริเวณพื้นที่แออัดและพื้นที่มลภาวะสูง เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ ตลอดจนช่วยรักษาคุณภาพและความแข็งแรงของระบบทางเดินหายใจเอาไว้ให้ได้มากที่สุด

เทียบประกันแบบ IPD OPD

ประกัน OPD คืออะไร เลือกทำประกันสุขภาพเน้น OPD ดีไหม?

โรค OPD ร้ายแรงกว่าที่คิด ทำประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD) ตั้งแต่วันที่ยังแข็งแรง

โรค OPD ไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิต แต่ยังเสี่ยงที่จะลุกลามกลายเป็นโรคเรื้อรังและโรคร้ายแรงได้ ด้วยเหตุนี้ นอกจากจะดูแลสุขภาพให้แข็งแรงแล้ว การทำประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก หรือ ประกันสุขภาพ OPD เหมาจ่ายยังเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล หรือ จำเป็นต้องนำเงินสำหรับเป้าหมายอื่นๆ มาใช้เพื่อรักษาพยาบาล

อย่างไรก็ดี เพื่อรับความคุ้มครองการรักษาพยาบาล OPD ได้อย่างครอบคลุม การทำประกันสุขภาพที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD) ตั้งแต่วันที่แข็งแรงอยู่จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรพิจารณาตั้งแต่วันนี้ เพราะการเจ็บป่วยที่เป็นมาก่อนการทำประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกจะถูกยกเว้นความคุ้มครอง เนื่องจากถือเป็นโรคที่เป็นมาก่อนการทำประกันสุขภาพ

ประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่าย + OPD ของซันเดย์ ไม่เพียงแต่จะให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยในแบบเหมาจ่ายแล้ว ผู้เอาประกันยังได้รับความคุ้มครองการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอกตามวงเงินการรักษาพยาบาลที่กำหนด 

โดยวงเงิน OPD ดังกล่าวสามารถใช้ได้กับทั้งการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอกที่สถานพยาบาล ไปจนถึงบริการรับยาจากร้านขายยาในเครือ (Walk-in Pharmacy) และบริการปรึกษาแพทย์ทางไกล (Telemedicine) โดยระบบจะตัดวงเงินค่ารักษาพยาบาลตามจำนวนครั้งที่ใช้ได้

หากคุณมองหาประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกที่ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมขนาดนี้ สามารถเช็กเบี้ยประกันง่ายๆ ที่เว็บไซต์ของซันเดย์ ใช้แค่ “วันเดือนปีเกิด” เท่านั้น หรือ หากต้องการสอบถามเพิ่มเติมว่า ประกัน OPD ของซันเดย์คืออะไร ต่างจากแผนอื่นๆ อย่างไร สามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่โดยตรงที่ Line: @easysunday (มี @ ด้วย)

อยากใช้ซูเปอร์แอปฯ Jolly by Sunday ต้องทำอย่างไร?

แอปประกันซูเปอร์แอปฯ Jolly by Sunday ทำอะไรได้บ้าง?

หากคุณเป็นอีกคนที่อยากใช้ซูเปอร์แอปฯ Jolly by Sunday แอปประกันที่ตอบโจทย์ความต้องการทุกอย่างได้ครอบคลุมแบบนี้ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันมาใช้งานได้ในทันที ผ่าน App Store หรือ Google Play Store แล้วอย่าลืมติดตามข่าวสารและโปรโมชันดีๆ จากซันเดย์ในทุกๆ วันของคุณ

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

ครบที่เดียว! สรุปสาเหตุ + อาการของวัยทองในผู้หญิงและผู้ชาย

สูงวัยเช็กด่วน! รวมสาเหตุและอาการของวัยทองในผู้หญิงและผู้ชาย เมื่อเวลาเปลี่ยนไป…
menopause-in-men-and-women

เข้าใจก่อนซื้อ! 6 ปัจจัยที่ส่งผลต่อเบี้ยประกันสุขภาพ

สรุปครบ! ทำไมจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพไม่เท่ากัน ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางประชากร รวมถึงความเสี่ยงจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ…
factors-affect-health-insurance-premium

ประกันอุบัติเหตุจำเป็นแค่ไหน ผู้หญิงเสี่ยงกว่าจริงไหม?

ผู้หญิงเสี่ยงอุบัติเหตุมากกว่าจริงหรือไม่ ทำไมต้องทำประกันอุบัติเหตุผู้หญิงโดยเฉพาะ? “อุบัติเหตุ”…
does-woman-face-more-accidents-than-men

โรคที่รักษาแบบผู้ป่วยนอก คุ้มครองด้วยประกันสุขภาพ OPD

การรักษาแบบ OPD คืออะไร ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกคุ้มครองโรคไหนบ้าง? จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า…
opd-diseases-and-opd-health-insurance
0
Share