หน้าหลัก สาระสุขภาพ 8 วิธีคลายเครียดในที่ทำงาน รักษาออฟฟิศซินโดรมเบื้องต้น

8 วิธีคลายเครียดในที่ทำงาน รักษาออฟฟิศซินโดรมเบื้องต้น

8-วิธีคลายเครียดในที่ทำงาน-ทำตามง่าย-ลดเสี่ยงออฟฟิศซินโดรม

เพราะจุดหมายปลายทางของการทำงานหนัก คือ ความฝันที่ตั้งใจ ไม่ว่าจะเป็นทริปเที่ยวที่ใฝ่ฝัน กระเป๋าแบรนด์เนมสักใบ นาฬิกาเรือนใหม่ที่ต้องการ การเกษียณอายุในเร็ววัน ไปจนถึงการมีเงินเก็บที่เพียงพอต่อการใช้ชีวิต ในวันที่ไม่มีเรี่ยวแรงในการทำงานเหมือนอย่างเคย

ไม่ว่าจุดหมายปลายทางของการทำงานหนักของแต่ละคนจะเป็นเช่นไร เชื่อว่าในระหว่างทางไปสู่ความฝันที่ตั้งใจในอนาคตนี้ ใครหลายคนอาจได้รู้จักกับเพื่อนร่วมทางอย่าง ‘ออฟฟิศซินโดรม’ เข้าสักวัน 

ไม่เพียงแต่จะมาพร้อมกับอาการปวดเมื่อยที่แสนรำคาญใจเท่านั้น แต่นานวันเข้า เพื่อนร่วมทางอย่าง ‘ออฟฟิศซินโดรม’ นี้ก็อาจชักชวนเพื่อนร่วมทางคนใหม่ที่จะกลายมาเป็นโรคร้ายประจำตัว ทำให้มีความเสี่ยงที่ความต้องการที่เฝ้าฝันจากการทำงานหนักต้องพังทลายลงไป

สำหรับใครที่ไม่อยากให้ความฝันต้องหลุดลอยไปอย่างน่าเสียดาย ลองมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า โรคออฟฟิศซินโดรมคืออะไร มีการรักษาออฟฟิศซินโดรมอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ พร้อมรู้จัก 8 วิธีคลายเครียดในที่ทำงาน ที่จะช่วยให้คนมีฝันทุกคนห่างไกลจากออฟฟิศซินโดรมกัน

8-วิธี-ห่างไกล-ออฟฟิศซินโดรม

เข้าใจโรคออฟฟิศซินโดรมกันก่อน

แม้จะเป็นเพื่อนที่ไม่ได้รับเชิญ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ‘ตัวของเราเอง’ กลับเป็นผู้ชักชวนเพื่อนอย่าง ‘ออฟฟิศซินโดรม’ ให้เข้ามาร่วมเดินทางไปกับชีวิตเช่นกัน 

ดังนั้น หากไม่ต้องการให้มีเพื่อนไม่ได้รับเชิญอย่าง ‘ออฟฟิศซินโดรม’ เข้ามาในชีวิต ลองมาทำความเข้าใจกันสักนิดว่า โรคออฟฟิศซินโดรมคืออะไร มีสาเหตุมาจากไหน รักษาได้อย่างไร และตัวของเราจะสามารถป้องกันโรคนี้อย่างไรกันบ้าง

โรคออฟฟิศซินโดรมคืออะไร

โรคออฟฟิศซินโดรมคืออะไร?

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือ กลุ่มอาการปวดและอักเสบของกล้ามเนื้อ เยื่อพังผืด เอ็น และข้อกระดูกบางส่วน อันเนื่องมาจากการใช้งานเป็นประจำซ้ำไปซ้ำมาเป็นระยะเวลานานและต่อเนื่อง จนทำให้เกิดอาการอักเสบที่แสดงออกมาในรูปแบบของความรู้สึกปวด เมื่อย หรือชา 

สาเหตุของออฟฟิศซินโดรม

โดยส่วนมากแล้ว ออฟฟิศซินโดรมมักเกิดขึ้นกับพนักงานออฟฟิศที่จำเป็นต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน มีการจดจ่อใช้คอมพิวเตอร์และมือถือหลายชั่วโมงต่อเนื่อง นอกจากนี้ ออฟฟิศซินโดรมยังสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ที่ต้องทำงานในอิริยาบถเดิมเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง

แน่นอนว่า หากยิ่งใช้มัดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น พังผืด รวมถึงข้อกระดูกชิ้นเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ย่อมทำให้เกิดอาการอักเสบขึ้น ซึ่งสามารถแสดงออกมาได้ในหลากหลายรูปแบบ เช่น อาการปวดเมื่อยอันเนื่องมาจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ อาการตึงที่เกิดขึ้นจากพังผืดและกล้ามเนื้อที่ขมวดเป็นก้อนตึง ไปจนถึงอาการชาเนื่องจากกล้ามเนื้อหรือกระดูกไปกดทับเส้นประสาท

Sunday’s Tips!

รู้ไว้ใช่ว่า! กล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายนั้นจะมีการเชื่อมโยงกันทั้งหมด หากมีกล้ามเนื้อส่วนใดเริ่มหดเกร็ง หรือ มีอาการอักเสบขึ้น กล้ามเนื้อส่วนนั้นมีโอกาสที่จะดึงรั้งกล้ามเนื้อมัดอื่น ๆ ทำให้เกิดอาการปวดในจุดอื่น ๆ ตามมาด้วย
 
ดังนั้น หากเริ่มรู้สึกปวดที่จุดใดจุดหนึ่งเมื่อไหร่ ขอแนะนำให้รีบไปพบแพทย์ หรือ หาทางแก้ไขที่เหมาะสมก่อนที่จะลุกลามไปจุดอื่น ๆ จนไม่สามารถหาต้นตอ ทำให้ลุกลามกลายเป็นปัญหาการปวดเมื่อยเรื้อรังต่อไป หรือ ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทและอวัยวะอื่นได้
ซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่าย

อาการของออฟฟิศซินโดรม

อาการและความรุนแรงของออฟฟิศซินโดรมในแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันไป เริ่มจากการนั่งทำงานผิดท่าเป็นเวลานานที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ภาวะหลังค่อม รวมไปถึงอาการปวดตามต้นคอ บ่า และแผ่นหลังตามมาได้ นอกจากนี้ การใส่ส้นสูงยืนทำงานเป็นประจำอย่างต่อเนื่องยังทำให้เกิดภาวะปวดหลังเรื้อรังได้เช่นกัน

นอกจากปวดหลังแล้ว ออฟฟิศซินโดรมยังครอบคลุมไปถึงอาการปวดเมื่อยที่บริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย โดยส่วนใหญ่มักพบได้ที่บริเวณคอ บ่า ไหล่ แขน และข้อมือ อันเนื่องมาจากการใช้งานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง

ไม่เพียงเท่านั้น ออฟฟิศซินโดรมยังสามารถแสดงอาการออกมาในรูปแบบของอาการปวดหัว ปวดตา และมีอาการตาพร่ามัว เนื่องจากจำเป็นต้องใช้สายตาโฟกัสกับงานเป็นเวลานาน ทั้งยังมีความเครียดสะสมจากการทำงาน จนทำให้กล้ามเนื้อที่บริเวณตาและศีรษะเกิดอาการหดเกร็งได้ 

นอกจากนี้ ออฟฟิศซินโดรมยังแสดงอาการในรูปแบบของอาการเหน็บชาที่บริเวณกล้ามเนื้อที่ใช้งานบ่อย ๆ เช่น บางคนมีอาการเหน็บชาที่มือ นิ้ว หรือ มีปัญหานิ้วล็อกและปวดข้อมือ ในขณะที่หลาย ๆ คนมีอาการชาที่ขาและบริเวณหลัง

อันตรายและการรักษาออฟฟิศซินโดรม

อันตรายของออฟฟิศซินโดรม

อาการปวดและชาตามจุดต่าง ๆ ของร่างกายเกิดขึ้นจากการใช้งานกล้ามเนื้อ กระดูก รวมไปถึงส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องซ้ำไปซ้ำมาเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้เกิด ‘ภาวะทับเส้นประสาท’ เท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดพังผืดเกาะขึ้นมาตามจุดต่าง ๆ ได้เช่นกัน

นานวันเข้า ภาวะทับเส้นประสาทและพังผืดเหล่านี้สามารถลุกลามกลายเป็นโรคเรื้อรังได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นกระดูกทับเส้นประสาท กล้ามเนื้อหนีบเส้นประสาท ปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณมือ กระดูกสันหลังคด และนิ้วล็อก นอกจากนี้ การกดทับกล้ามเนื้อเป็นเวลานานจนทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยและชาได้ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคร้ายแรงอย่างความดันโลหิตสูงและแขนขาอ่อนแรงได้

นอกจากอาการปวดเมื่อยและชาที่รบกวนกิจวัตรประจำวัน ทั้งยังทำให้รู้สึกรำคาญใจในทุกเวลาแล้ว ออฟฟิศซินโดรมยังมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรคร้ายแรงอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นไขมันสูง เบาหวาน หัวใจ ทั้งยังเสี่ยงทำให้เกิดโรคซึมเศร้าอันเนื่องมาจากความเครียดสะสมจากการทำงานหนักอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน

แนวทางการรักษาออฟฟิศซินโดรม

การรักษาออฟฟิศซินโดรมขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ เริ่มตั้งแต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนั่งทำงาน การใช้อุปกรณ์ปรับสรีระการนั่งทำงาน การหาท่ายืดลดออฟฟิศซินโดรมที่บริเวณคอ บ่า ไหล่ และหลัง ไปจนถึงการนวดแผนต่าง ๆ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

สำหรับใครที่เริ่มมีอาการปวดเมื่อยเรื้อรัง ปวดเฉียบพลัน หรือ เริ่มมีอาการชาร่วมด้วย แพทย์อาจมีการจ่ายยาเพื่อทำการรักษา หรือ มีการแนะนำการรักษาด้วยวิธีการอื่น ๆ เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นการทำกายภาพ การรักษาด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู ไปจนถึงการรักษาทางเลือกอย่างการฝังเข็มสลายจุดปวด การกดจุด ไปจนถึงการแนะนำการออกกำลังกายเพื่อสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

แต่ไม่ว่าจะอย่างไร หากเกิดอาการปวด เมื่อยล้า หรือเหน็บชาที่บริเวณใด ต่อให้จะเล็กน้อยแค่ไหนก็ควรเริ่มต้นปรับพฤติกรรมการนั่งของตนเองก่อน หากยังไม่ดีขึ้นก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่อาการปวดเมื่อยชั่วคราวจะลุกลามกลายเป็นอาการปวดเรื้อรังและลุกลามเป็นโรคร้ายอื่น ๆ ได้

ซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่าย

8 วิธีคลายเครียดในที่ทำงาน ลดอาการออฟฟิศซินโดรมได้จริง!

หลังจากที่เข้าใจเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่าโรคออฟฟิศซินโดรมคืออะไร สามารถรักษาออฟฟิศซินโดรมได้อย่างไรบ้าง สำหรับใครที่เพื่อนร่วมทางอย่าง ‘ออฟฟิศซินโดรม’ กำลังยืนรออยู่หน้าประตูบ้านเป็นที่เรียบร้อย หรือบ้านไหนได้เปิดประตูให้ออฟฟิศซินโดรมเข้ามาเป็นเพื่อนร่วมทางชีวิตแล้ว ลองมาดู 8 วิธีคลายเครียดในที่ทำงาน ช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของออฟฟิศซินโดรมแบบง่าย ๆ กัน


1. อย่านั่งทำงานติดต่อกันจนเกินไป

การนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานถือเป็นการใช้มัดกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ จนทำให้เกิดอาการหดเกร็งและอักเสบตามมา จนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรมได้ ดังนั้น ขอแนะนำให้กำหนดเวลาการทำงานแต่ละชิ้น หรือ เลือกกำหนดเวลาลุกเดินเพื่อเป็นการคลายกล้ามเนื้อ เช่น ต้องเดินทุก 1 ชั่วโมง หรือ ตั้งกฎในการไปดื่มน้ำทุก 1 ชั่วโมง 


2. ลองยืดเส้นยืดสายง่าย ๆ ดู

การหาท่ายืดคลายออฟฟิศซินโดรมก็เป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับสำคัญที่ช่วยคลายกล้ามเนื้อในระหว่างวันได้เป็นอย่างดี ทั้งยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นออฟฟิศซินโดรมจากการนั่งทำงานนาน ๆ อีกด้วย โดยในแต่ละช่วงอาจจะลองลุกยืดเหยียดกล้ามเนื้อของตัวเองดูสักหน่อย หรือ หากใครพอมีเวลา ‘ซันเดย์’ เองก็เคยทำคลิปสอนยืดเหยียดกล้ามเนื้อด้วยตัวเองง่าย ๆ เช่นกัน ดูเลยที่


3. ปรับท่านั่งให้เหมาะสมกับการทำงาน

การปรับท่านั่งทำงานถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเริ่มต้นจากการนั่งหลังตรงแนบพนักพิง ตลอดจนพยายามนั่งโดยงอหลัง ก้มหน้า หรือ เงยหน้ามากจนเกินไป ง่าย ๆ เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดอาการปวดเมื่อยในการทำงานได้ในระยะยาวแล้ว


4. อย่าลืมพักเบรกสัก 10 – 20 นาที

หลังจากที่ทราบไปแล้วว่าโรคออฟฟิศซินโดรมคืออะไร จะเห็นได้ว่าอาการปวดหัวและปวดตาก็เป็นส่วนหนึ่งของโรคออฟฟิศซินโดรมเช่นกัน ดังนั้น เพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อตา คอ บ่า และหลัง ทั้งยังเป็นการคลายเครียดไปในตัว อย่าลืมลองหาเวลาพักเบรกสัก 10 – 20 นาทีในระหว่างการทำงานด้วย ซึ่งในระหว่างพักนี้ก็ควรหลีกเลี่ยงการเล่นโทรศัพท์มือถือด้วย เพราะจะทำให้ยิ่งปวดตาและกล้ามเนื้อมากยิ่งขึ้น

ลดอาการออฟฟิศซินโดรมอย่างไร

5. จัดลิสต์การทำงาน ช่วยบริหารความเครียด

ความเครียดจากการทำงานอาจเกิดขึ้นจากการบริหารงานที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น เมื่อได้รับมอบหมายงานมาแล้ว ลองมานั่งจัดลำดับความสำคัญของงานแต่ละชิ้นก่อนเริ่มลงมือทำก่อน 

Sunday’s Tips! 

หากยังไม่รู้จะเริ่มอย่างไร ลองปรับใช้เทคนิคการจัดการงานอย่าง Eisenhower Box ที่จะแบ่งตารางการทำงานตามความเร่งด่วนและความสำคัญ ดังนี้

ลิสต์สำหรับ
งานด่วนและสำคัญ
ให้ทำทันที
ลิสต์สำหรับ
งานไม่ด่วน แต่สำคัญ
ให้ทำเป็นอันดับถัดมา
ลิสต์สำหรับ
งานด่วน แต่ไม่สำคัญ
มอบหมายให้คนอื่นทำแทน
ลิสต์สำหรับ
งานไม่ด่วน และไม่สำคัญ
ยังไม่ต้องทำงานชิ้นนี้

6. เลือกเติมน้ำตาลระหว่างวันอย่างมีประสิทธิภาพ

การทำงานหนักในแต่ละวันจำเป็นต้องใช้พลังงานสูงมาก จึงไม่แปลกที่ใครหลายคนอาจเริ่มรู้สึกเพลียในช่วงบ่ายจนถึงเย็น แต่แทนที่จะเติมกาแฟ น้ำอัดลม หรือ เครื่องดื่มน้ำตาลสูงเข้าสู่ร่างกาย ขอแนะนำให้เลือกเติมน้ำตาลจากผลไม้ เพื่อให้ร่างกายค่อย ๆ ย่อยอาหารและดูดซึมน้ำตาลไปใช้ ทั้งยังได้กากอาหารที่ดีต่อระบบทางเดินอาหารอีกด้วย


7. โฟกัสลมหายใจขณะทำงาน

การโฟกัสลมหายใจขณะทำงาน ไม่เพียงแต่จะช่วยทำให้มีสมาธิกับงานที่ทำเท่านั้น แต่ยังถือเป็นการผ่อนคลายระบบประสาท สมอง รวมถึงกล้ามเนื้อมัดต่าง ๆ ไปในตัวด้วย ดังนั้น หากเริ่มรู้สึกว่ากล้ามเนื้อหดเกร็งและตึงเครียดเมื่อไหร่ ลองค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจและผ่อนคลายตัวเองดู


8. หาเวลาออกกำลังกายหลังเลิกงาน

การพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อถือเป็นการรักษาออฟฟิศซินโดรมที่มีประสิทธิภาพ โดยการออกกำลังกายอย่างเวทเทรนนิ่งอย่างถูกต้อง รวมถึงการคาร์ดิโออย่างเหมาะสมสามารถช่วยลดไขมันสะสมร่างกาย ทั้งยังช่วยผ่อนคลายจิตใจและสร้างความแข็งแรงให้กับมัดกล้ามเนื้อเพื่อรองรับการใช้งานได้เป็นอย่างดี


เพียงเท่านี้ก็เข้าใจเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่าโรคออฟฟิศซินโดรมคืออะไร ควรดูแลตัวเองและรักษาสุขภาพอย่างไรให้สามารถป้องกันและลดอาการออฟฟิศซินโดรมได้ รู้แบบนี้แล้วอย่าลืมนำทั้ง 8 วิธีคลายเครียดในที่ทำงานที่นำมาฝากนี้ไปพิจารณาและปรับใช้ให้เหมาะสมกับตัวเองด้วย

อย่างไรก็ดี ในระหว่างการเดินทางไปสู่ความฝันที่ตั้งเป้าไว้จากการทำงานหนัก นอกจากออฟฟิศซินโดรมแล้ว ในระหว่างทางนี้หลายคนก็อาจเจอเข้ากับเพื่อนร่วมทางใหม่ ๆ ที่มาพร้อมกับความเสี่ยงด้านสุขภาพเช่นกัน ดังนั้น หากต้องการทำงานเพื่อไปถึงฝันที่ใจปรารถนาได้โดยไม่มีความเสี่ยงด้านค่าใช้จ่ายที่มาพร้อมกับการรักษาพยาบาล เลือกบริหารความเสี่ยงตั้งแต่วันนี้ด้วยประกันสุขภาพออนไลน์ จาก Sunday

ซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่าย
Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

5 สิ่งที่นักลงทุนมือใหม่ต้องรู้ ก่อนเริ่มลงทุนก้อนแรก

มือใหม่อยากลงทุนต้องรู้จักกับ 5 สิ่งนี้ เมื่อพูดถึงการลงทุน หลาย ๆ คนอาจจะมองว่ายังเป็นเรื่องไกลตัวอยู่มาก…

สายกินต้องระวัง! กินหมูกระทะ เสี่ยงเป็นโรคไข้หูดับได้!

หมูไม่สุก สาเหตุของโรคไข้หูดับ อันตรายถึงชีวิต! สุขไหนจะเท่าการได้นั่งกินหมูกระทะอร่อย ๆ หรือจะเป็นหมูจุ่มฟิน ๆ…
หมูกระทะ เสี่ยงโรค

เช็กลิสต์ 10 วิธีดูแลสุขภาพให้ดีทั้งกายและใจ ใคร ๆ ก็ทำได้

สุขภาพดีที่สร้างได้จาก 10 วิธีการดูแลตัวเองเหล่านี้ อยากมีสุขภาพดี แต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน…
how to take care your self
0
Share