จากที่ประเทศไทยขึ้นไปอยู่อันดับต้นๆ ของพื้นที่ที่มี PM 2.5 มากที่สุด ซึ่งเป็นมลพิษทางอากาศที่สร้างความกังวลด้านสุขภาพกับใครหลายคน ในวันนี้ซันเดย์เลยอยากพาไปทำความรู้จักฝุ่น PM 2.5 ดูว่าเกิดจากอะไร หากแพ้ฝุ่น PM 2.5 จะมีอาการอะไรบ้าง 4 โรคร้าย ที่อาจเกิดขึ้นจากการสูดเข้าร่างกาย พร้อมแนะนำถึงวิธีป้องกันตัวเองจากฝุ่นละอองเหล่านี้ และวิธีคำนวณค่า AQI ต้องทำอย่างไร
PM 2.5 คืออะไร?
หลาย ๆ คนอาจยังไม่รู้ว่า PM2.5 ตัวนี้ มันคือฝุ่นอนุภาคขนาดเล็ก ที่สามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายได้ทุกส่วน ผ่านการสูดดมเข้าไปถึงปอดแล้ว ยังสามารถเข้าไปแทรกแซงและทำลายระบบอวัยวะต่างๆได้ ตั้งแต่ สมอง หัวใจ ปอด รวมถึงอวัยวะสำคัญอื่นๆ ดังนั้น เมื่อได้รับเข้าไปมากๆ สามารถก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคร้ายแรงอีกด้วย ไปดูกันต่อว่าฝุ่นอนุภาคขนาดเล็กนี้มาจากไหน ส่งผลเสียกับร่างกายยังไง
ฝุ่น pm 2.5 มาจากไหน?
ได้มีผลการวิจัยจากสถาบันวิจัยหลายแห่งทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ วิเคราะห์สาเหตุออกมาว่า สาเหตุของการเกิด PM 2.5 หลักๆ มาจากการเผาไหม้ ซึ่งรวมถึงเครื่องยนต์ของรถและการเผาไหม้อื่นๆ อีกหลายอย่าง ข้อมูลจากกรมมลพิษและกระทรวงพลังงานระบุว่า สาเหตุหลักของ PM 2.5 ในประเทศไทยมาจาก ‘การเผาในที่โล่ง’ เป็นแหล่งที่มาหลักๆ ตามด้วยควันมลพิษที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรม ไอเสียจากยานพาหนะต่างๆ และโรงงานไฟฟ้า
รู้ได้อย่างไรว่าแพ้ฝุ่น PM 2.5 อาการที่บ่งบอกว่ากำลังแพ้ฝุ่นเป็นอย่างไร?
ทีนี้เราไปดูกันต่อว่าเมื่อแพ้ฝุ่น PM 2.5 จะมีอาการอย่างไรบ้าง หากใครเริ่มสังเกตได้ว่าตัวเองเริ่มมีอาการเหล่านี้ แสดงว่าเริ่มโดนฝุ่น PM เล่นงานเข้าซะแล้ว
- ในระยะเริ่มต้นจะมีอาการแสบ หรือคันในโพรงจมูก โพรงจมูกแน่น และมีนำ้มูกใสๆ
- มีอาการรเกี่ยวกับระบบผิวหนัง อย่างเช่นเป็นตุ่มหรือผื่นนูนแดงกระจายไปทั่วบนผิวหนังโดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนังมาก่อน ฝุ่น PM 2.5 อาจทำให้เกิดอาการกำเริบ มีผื่นแดงกลับมาขึ้นตามตัวได้
- ตาแดง บริเวณเปลือกตาบวม ใต้ตาช้ำ สังเกตได้จากสีที่คล้ำขึ้น มีน้ำตาไหลบ่อย ๆ
หากมีการการแพ้ฝุ่น PM 2.5 แล้วปล่อยไว้ อาจมีส่งผลกระทบต่อไปถึงระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง และอาการอื่นๆ ดังนี้
- มีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย หายใจติดขัด หรือหายใจมีเสียงหวีด
- ตัวร้อน มีไข้
- สะสมอยู่ในร่างกายนานเข้าอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เพราะว่าฝุ่นอนุภาคขนาดเล็กเหล่านี้เป็นตัวกลางนำพาสารพิษอื่นๆ เข้าไปในร่างกาย เช่นสารโลหะหนัก เป็นต้น
ขอแนะนำว่า หากเกิดอาการเหล่านี้กับร่างกาย แนะนำให้ตรวจสอบว่าตัวเองมีไลฟ์สไตล์หรือกิจวัตที่ทำให้ต้องสัมผัส หรือหายใจเอาฝุ่นเข้าร่างกายเป็นประจำอยู่หรือป่าว หากมีอาการรุนแรงมากขึ้นก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
โรคที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการได้รับ PM 2.5
1. โรคหัวใจ
การได้รับ PM2.5 ติดต่อกันระยะหนึ่ง ส่งผลให้เกิดการตะกอนภายในหลอดเลือด จนทำให้เกิดหัวใจวาย หรือหลอดเลือดสมองตีบได้ ทั้งนี้การสัมผัสมลพิษทางอากาศยังมีผลต่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เต้นผิดจังหวะ และอาจรุนแรงจนส่งผลให้หัวใจวายเฉียบพลัน
2. โรคหลอดเลือด
หากได้รับ PM2.5 สะสมในระยะเวลาหนึ่ง อาจส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูง และเลือดมีความหนืดขึ้น ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดลิ่มเลือดในสมอง รวมถึงหลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว ทำให้เส้นเลือดในสมองตีบ หรือแตก เป็นสาเหตุของโรคอัมพฤกษ์อัมพาตและเสียชีวิตได้
3. โรคระบบทางเดินหายใจ
มลพิษในอากาศส่งผลโดยตรงกับระบบทางเดินหายใจและปอด ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคหอบหืดกำเริบ หรือเป็นสาเหตุให้คนปกติเป็นหอบหืดได้เช่นกัน และหากได้รับ PM2.5 สะสมเป็นเวลานาน อาจเป็นปัจจัยให้เกิดมะเร็งปอดได้ แม้ไม่ได้สูบบุหรี่
4. โรคอัลไซเมอร์
มีหลายงานวิจัยที่บอกว่า PM2.5 มีผลต่อความผิดปกติทางด้านพัฒนาการทางสติปัญญาในเด็ก และทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์เพิ่มมากขึ้นถึง 3 เท่าในผู้ใหญ่ และยังทำให้เกิดโรคพาร์กินสันเพิ่มได้ด้วย
การป้องกันตัวเองจาก PM 2.5
และเมื่อ PM 2.5 สามารถก่อให้เกิดโรคต่างๆ เหล่านี้ได้ เราก็ยิ่งต้องป้องกันตัวเองให้ดียิ่งขึ้น
- สวมหน้ากาก เพื่อป้องกันฝุ่น PM 2.5 โดยหน้ากากที่ใช้ป้องกัน PM 2.5 ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด คือหน้ากาก N95 หรือจะใช้หน้ากากอนามัยที่มีฟิลเตอร์ 3 ชั้น หรือหน้ากากอนามัยแบบธรรมดาแล้วสวมทับ 2 ชั้น ก็สามารถทดแทนกันได้
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง
- พยายามอยู่บ้านหรือภายในอาคารที่ปิดมิดชิด
- งดสูบบุหรี่และกิจกรรมที่ทำให้เกิดควัน
- ติดตามการเฝ้าระวังดัชนีคุณภาพอากาศ หรือ AQI
อยากรู้ว่าค่าฝุ่น pm 2.5 วันนี้อยู่ที่เท่าไหร่ มาดูวิธีคำนวณค่า AQI กัน!
AQI คืออะไร คำนวณอย่างไร?
AQI นั้นย่อมาจาก Air Quality Index หรือดัชนีคุณภาพอากาศ ซึ่งในประเทศไทยได้มีการนำดัชนีนี้มาใช้รายงานสภาพอากาศนานแล้ว และหลังปี 2561 ก็ได้เพิ่มฝุ่นละออง PM 2.5 เข้าไปในการคำนวณด้วย
สำหรับสารพิษในอากาศที่ถูกนำมาคำนวณรวมเป็นค่า AQI มีดังนี้
- ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10)
- ก๊าซโอโซน (O3)
- ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
- ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)
- ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
- ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)
ค่า AQI เท่าไหร่ถึงเป็นอันตรายกับร่างกาย?
ปกติแล้วการวัดระดับความอันตรายของค่า AQI จะวัดกันที่ 0-200 ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงคุณภาพอากาศ ที่คำนวณจากปริมาณสารพิษที่ปะปนอยู่ ดังนี้
- 0 – 25 คุณภาพอากาศดีมาก เหมาะกับการทำกิจกรรมกลางแจ้งและออกไปท่องเที่ยวข้างนอก
- 26-50 คุณภาพอากาศดี สามารถออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง ไปที่ยวได้ตามปกติ
- 51-100 คุณภาพอากาศปานกลาง สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้ง ได้ตามปกติ แต่สำหรับผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการท่า กิจกรรมกลางแจ้ง
- 101-200 อากาศแย่ เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ สำหรับคนทั่วไปควรเฝ้าระวังสุขภาพ หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจ ลำบาก ระคายเคืองตา ควรลด ระยะเวลาการทำกิจกรรมกลาง แจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกัน ตนเองหากมีความจําเป็น ส่วนผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรม กลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกัน ตนเอง ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้น ไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ควรปรึกษาแพทย์
- 200 ขึ้นไป อากาศแย่มาก เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทุกคนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง และหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษ ทางอากาศสูง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น อย่างไรก็ตามถ้ามีอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์
อย่างไรก็ตาม ดัชนีคุณภาพอากาศ AQI ที่คำนวณออกมาได้เป็นค่าที่คำนวณทุกสารพิษในอากาศ และสารพิษในอากาศแต่ละตัวก็มีความอันตรายแตกต่างต่างกัน ดังนั้นเราไม่สามารถที่จะดูเพียงแค่ค่า AQI อย่างเดียวได้ แต่จะต้องดูที่ค่าปริมาณ PM 2.5 ที่วัดด้วยหน่วยไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรด้วย (μg/m3) หากมีค่าเกิน 25โครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
*อ้างอิงจากมาตรฐานของ WHO ซึ่งกำหนดค่าปริมาณ PM 2.5 ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอยู่ที่ 25
หากไม่ต้องการคำนวณค่า AQI ด้วยตัวเองให้เสียเวลา สามารถเช็คค่า AQI หรือจำนวน PM 2.5 ในพื้นที่ ผ่านฟีเจอร์ ‘ใกล้ฉัน’ บน ซูเปอร์แอปฯ Jolly ได้แล้ว! โหลดเลยที่ App Store และ Google Play Store พร้อมกับหา ประกันสุขภาพ สำหรับตัวเองและคนที่คุณรัก ปรับแต่งกรมธรรม์ได้อย่างอิสระในเบี้ยประกันที่เหมาะสม ตอบโจทย์ความต้องการแบบตรงจุด
ฟังข้อมูลเรื่อง PM 2.5 จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่นี่!
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลน่าสนใจอื่น ๆ เกี่ยวกับ PM2.5 ที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้มาก่อน สามารถฟังข้อมูลดีๆ จาก นพ.วิชัย อังคเศกวินัย ได้ที่นี่
ที่มาของเนื้อหาในบทความ : โรงพยาบาลสมิติเวช และโรงพยาบาลกรุงเทพ