จากที่ประเทศไทยขึ้นไปอยู่อันดับต้นๆ ของพื้นที่ที่มี PM2.5 มากที่สุด วันนี้ซันเดย์เลยอยากพาทุกคนมาดู 4 โรคร้าย ที่อาจเกิดขึ้นได้จาก PM2.5
PM2.5 คืออะไร?
หลาย ๆ คนอาจยังไม่รู้ว่า PM2.5 ตัวนี้ มันคือฝุ่นขนาดเล็ก ที่สามารแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายได้ทุกส่วน ผ่านการสูดดมเข้าไป มันสามารถเข้าไปแทรกแซงและทำลายระบบอวัยวะต่างๆได้ ตั้งแต่ สมอง หัวใจ ปอด รวมถึงอวัยวะสำคัญอื่นๆ ดังนั้น เมื่อได้รับเข้าไปมากๆ ก็สามารถก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งมากขึ้นด้วย

โรคที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการได้รับ PM2.5
1. โรคหัวใจ
การได้รับ PM2.5 ติดต่อกันระยะหนึ่ง ส่งผลให้เกิดการตะกอนภายในหลอดเลือด จนทำให้เกิดหัวใจวาย หรือหลอดเลือดสมองตีบได้ ทั้งนี้การสัมผัสมลพิษทางอากาศยังมีผลต่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เต้นผิดจังหวะ และอาจรุนแรงจนส่งผลให้หัวใจวายเฉียบพลัน
2. โรคหลอดเลือด
หากได้รับ PM2.5 สะสมในระยะเวลาหนึ่ง อาจส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูง และเลือดมีความหนืดขึ้น ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดลิ่มเลือดในสมอง รวมถึงหลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว ทำให้เส้นเลือดในสมองตีบ หรือแตก เป็นสาเหตุของโรคอัมพฤกษ์อัมพาตและเสียชีวิตได้
3. โรคระบบทางเดินหายใจ
มลพิษในอากาศส่งผลโดยตรงกับระบบทางเดินหายใจและปอด ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคหอบหืดกำเริบ หรือเป็นสาเหตุให้คนปกติเป็นหอบหืดได้เช่นกัน และหากได้รับ PM2.5 สะสมเป็นเวลานาน อาจเป็นปัจจัยให้เกิดมะเร็งปอดได้ แม้ไม่ได้สูบบุหรี่
4. โรคอัลไซเมอร์
มีหลายงานวิจัยที่บอกว่า PM2.5 มีผลต่อความผิดปกติทางด้านพัฒนาการทางสติปัญญาในเด็ก และทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์เพิ่มมากขึ้นถึง 3 เท่าในผู้ใหญ่ และยังทำให้เกิดโรคพาร์กินสันเพิ่มได้ด้วย
การป้องกันตัวเองจาก PM2.5
และเมื่อ PM2.5 สามารถก่อให้เกิดโรคเหล่านี้ได้ ยิ่งต้องป้องกันตัวเองให้ดียิ่งขึ้น
- สวมหน้ากาก ที่สามารถป้องกัน PM 2.5
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง
- พยายามอยู่บ้านหรือภายในอาคารที่ปิดมิดชิด
- งดสูบบุหรี่และกิจกรรมที่ทำให้เกิดควัน
- ติดตามการเฝ้าระวังดัชนีคุณภาพอากาศ หรือ AQI
โดยสามารถเช็คค่า AQI หรือจำนวน PM2.5 ในพื้นที่ ผ่านฟีเจอร์ ‘ใกล้ฉัน’ บนซูเปอร์แอปฯ Jolly ได้แล้ว! โหลดเลย https://jollyinsure.com/th/
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลน่าสนใจอื่น ๆ เกี่ยวกับ PM2.5 ที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้มาก่อน สามารถฟังข้อมูลดีๆ จาก นพ.วิชัย อังคเศกวินัย ได้ที่ https://youtu.be/C2uxrGJMygI

ที่มา : โรงพยาบาลสมิติเวช และโรงพยาบาลกรุงเทพ