รถยนต์ทุกประเภทที่นำออกมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค จะต้องผ่านการทดสอบรถหลากหลายด้าน โดยหนึ่งในการทดสอบที่สำคัญที่สุด คือ การทดสอบ Crash Test ซึ่งเป็นการทดสอบความปลอดภัยของชีวิตผู้โดยสารและผู้ใช้ท้องถนน ในระหว่างที่การเกิดอุบัติเหตุ
แล้วการทดสอบรถด้วย Crash Test มีขั้นตอนอย่างไร และมีมาตรฐานใดที่นำมาใช้ทดสอบในระดับสากลบ้าง มาหาคำตอบไปพร้อมได้ในบทความนี้กัน
วิธีการทำ Crash Test มีอะไรบ้าง?
การทดสอบรถแบบ Crash Test เป็นการทดสอบที่มีความซับซ้อนสูง เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณาในการทดสอบเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ น่าเชื่อถือ และและสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อพัฒนาระบบความปลอดภัยของรถได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบความหลากหลายของสถานการณ์การชน ความแม่นยำของข้อมูล ความปลอดภัยของผู้ทดสอบ ตลอดจนไปถึงกฎระเบียบและมาตรฐานที่ถูกกำหนดเอาไว้
การเตรียมตัวก่อนการทำสอบ Crash Test
ก่อนเริ่มทำการทดสอบรถยนต์แบบ Crash Test ทางผู้ทดสอบจะต้องตั้งค่าและเตรียมการหลาย ๆ อย่างเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความแม่นยำมากที่สุด ประกอบไปด้วย
- การเตรียมรถยนต์ให้พร้อมสำหรับการทดสอบ เริ่มตั้งแต่การตรวจสภาพรถยนต์ เติมน้ำมัน น้ำยาหล่อเย็น ลมยาง และตรวจสอบระบบอื่น ๆ ให้ครบถ้วนตรงตามมาตรฐาน
- ติดตั้งอุปกรณ์การวัดค่าต่าง ๆ ตามมาตรฐานกำหนด เช่น หุ่นจำลองมนุษย์ กล้องภายในรถยนต์ กล้องรอบ ๆ บริเวณทดสอบ ตัววัดแรงกระแทกและตัววัดความเร่ง (accelerometer)
- เตรียมสถานที่สำหรับการทดสอบ โดยจะต้องสามารถควบคุมสภาพอากาศและปัจจัยอื่น ๆ ได้ เพื่อความแม่นยำของผลลัพธ์
ขั้นตอนการทดสอบ Crash Test
หลังจากเตรียมรถยนต์และอุปกรณ์ที่จำเป็น รวมถึงควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ได้ตามมาตรฐานแล้ว ผู้ทดสอบจะเริ่มทำการทดสอบรถยนต์ตามขั้นตอน ดังนี้
- จำลองสถานการณ์การชนหลาย ๆ รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการชนทางตรง การชนจากด้านข้าง การชนจากด้านหลัง การพลิกคว่ำของรถ รวมถึงการใช้วัตถุที่ต้องการจะชนที่แตกต่างกันออกไป เช่น ชนกับรถยนต์ด้วยกัน ชนกำแพงหรือเสา
- ทดสอบประสิทธิภาพของระบบความปลอดภัยรถยนต์ ตั้งแต่ระบบเบรก การควบคุมการทรงตัวของรถยนต์ การทำงานของถุงลมนิรภัยและเข็มขัดนิรภัยในเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน
- บันทึกข้อมูลที่ได้อย่างละเอียด เพื่อนำไปวิเคราะห์และประมวลผลหลังการทดสอบ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้นอกจากจะช่วยวัดมาตรฐานได้แล้ว ก็ยังช่วยทำให้ผู้ผลิตในวงการรถยนต์สามารถนำไปพัฒนาระบบความปลอดภัยของรถยนต์ให้ดีขึ้นได้อีกด้วย
- การวิเคราะห์และสรุปผล โดยวิเคราะห์จากความเสียหายของตัวถังรถยนต์ การทำงานของระบบความปลอดภัยต่าง ๆ และความเสี่ยงต่อผู้โดยสารเมื่อเกิดการชนในรูปแบบต่าง ๆ
มาตรฐานการทดสอบ Crash Test มีอะไรบ้าง?
แต่ละภูมิภาคและประเทศจะมีมาตรฐาน Crash Test ที่แตกต่างกันออกไป แต่ทุกมาตรฐานจะมีการประเมินข้อมูลอย่างละเอียด เพื่อให้มั่นใจว่ารถยนต์รุ่นต่าง ๆ จะมีความปลอดภัยในการใช้งานได้มากที่สุด โดยในปัจจุบันนี้ มาตรฐานการทดสอบ Crash Test จะประกอบไปด้วย 4 มาตรฐานหลัก ดังนี้
1. Euro NCAP (European New Car Assessment Programme)
เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่มีชื่อเสียงในการทดสอบและให้คะแนนรถยนต์เกี่ยวกับความปลอดภัยในยุโรป ทดสอบด้วยการชนด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง และการพลิกคว่ำ รถยนต์ที่รับคะแนน Euro NCAP 5 Stars จะถือว่ามีมาตรฐานความปลอดภัยสูงสำหรับทั้งผู้โดยสารและคนเดินเท้า การทดสอบนี้ถูกบังคับใช้กับรถยนต์ที่จำหน่ายในประเทศยุโรป แต่ผู้ผลิตจากที่อื่น ๆ ก็สามารถส่งรถยนต์เข้ารับการทดสอบได้เช่นกัน
2. ASEAN NCAP (ASEAN New Car Assessment Program)
เป็นโครงการประเมินความปลอดภัยของรถยนต์ใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รถยนต์ทุกยี่ห้อที่วางจำหน่ายในประเทศสมาชิกอาเซียนจำเป็นต้องผ่านการทดสอบนี้ทั้งหมด มีเกณฑ์การให้คะแนน 0-5 ดาว โดย 5 ดาวคือปลอดภัยที่สุด ข้อเสียคือเกณฑ์การทดสอบยังไม่เข้มงวดเท่ากับ Euro NCAP
IIHS (Insurance Institute for Highway Safety)
เป็นองค์กรอิสระในสหรัฐอเมริกาที่ทำการวิจัยและทดสอบความปลอดภัยของรถยนต์ โดยรถยนต์แต่ละคันจะได้รับคะแนน Good, Acceptable, Marginal, Poor โดย Good คือปลอดภัยที่สุด โดยมีการทดสอบความแข็งแรงของหลังคาและการชนแบบซ้อนทับ อีกทั้งการทดสอบนี้ยังไม่มีการบังคับใช้ แต่ผู้ผลิตรถยนต์มักจะส่งรถยนต์ไปทดสอบกับ IIHS เพราะเป็นหน่วยงานที่มีชื่อเสียงและมีผลการทดสอบที่น่าเชื่อถือ
NHTSA (National Highway Traffic Safety Administration)
เป็นหน่วยงานภาครัฐในสหรัฐอเมริกาที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยบนท้องถนน โดยรถแต่ละคันจะได้รับคะแนน 1-5 ดาว โดย 5 ดาวคือปลอดภัยที่สุด แต่เกณฑ์การทดสอบจะไม่เข้มงวดเท่ากับ IIHS หรือ EURO NCAP
เจาะลึกผลทดสอบ Crash Test ของรถยนต์ไฟฟ้า EV รุ่นดังในไทย
Euro NCAP เป็นการทดสอบรถยนต์ที่มีความเป็นสากลและได้รับความน่าเชื่อถือจากทั่วโลก รถยนต์ไฟฟ้าหลายรุ่นดังก็มีการทดสอบตามมาตรฐานนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะประกอบไปด้วย
- MG กับผลทดสอบ Euro NCAP มี 2 รุ่นด้วยกันคือ MG ZS EV ซึ่งได้รับคะแนน 4 ดาวในปี 2019 และ MG5 EV ที่ได้รับคะแนน 5 ดาวในปี 2021
- ORA มีแค่รุ่นเดียวคือ ORA Cat ที่รับการทดสอบ Euro NCAP โดยได้คะแนน 4 ดาวในปี 2022
- BYD ทดสอบ Euro NCAP หลายรุ่นคือ BYD Han EV โดยได้รับคะแนน 5 ดาวในปี 2023 มีรุ่น BYD Tang EV ที่ได้คะแนน 5 ดาวในปี 2023 และรุ่น BYD Atto 3 ที่ได้คะแนน 5 ดาวเช่นกันในปี 2022
- Tesla ได้คะแนนจาก Euro NCAP เต็ม 5 ดาวสำหรับ Tesla Model 3 ในปี 2019 และ Tesla Model Y ในปี 2022 สำหรับรุ่นอื่น ๆ ก็ได้คะแนนเต็มจากการทดสอบจาก NHTSA และ การทดสอบการชนจาก IIHS
มาตรฐานเหล่านี้ช่วยอะไรผู้บริโภคได้บ้าง?
แน่นอนว่า การทดสอบเหล่านี้ทำมาเพื่อประเมินความปลอดภัย ซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคที่กำลังตัดสินใจซื้อรถยนต์อยู่ เนื่องจากการตรวจสอบมาตรฐานการทดสอบรถเหล่านี้ทำให้สามารถเปรียบเทียบตัวเลือกระหว่างรถยนต์ยี่ห้อและรุ่นต่าง ๆ ได้ดี โดยควรการเลือกพิจารณาจากคะแนนจากการทดสอบ Euro NCAP หรือ ASEAN NCAP เพื่อให้ได้รถยนต์ที่มีความระบบความปลอดภัยประสิทธิภาพสูง
ดูผลการทดสอบแล้ว อย่าลืมเพิ่มความอุ่นใจด้วยประกันรถยนต์
ถึงแม้ว่าผลการทดสอบจะได้มาตรฐานและยืนยันถึงประสิทธิภาพความปลอดภัยของรถยนต์ได้แล้ว แต่อย่าลืมเพิ่มความอุ่นใจให้กับการใช้งานรถยนต์อีกขั้นด้วยการทำประกันรถยนต์เอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ทั่วไปหรือรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อช่วยบริหารความเสี่ยงที่มาจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุได้
และหากใครกำลังมองหาประกันรถยนต์ที่สามารถ ‘ปรับแต่งความคุ้มครอง’ ที่เหมาะกับตัวเองได้ นี่คือ โอกาสที่ห้ามพลาด
เพราะว่า Sunday พร้อมให้คุณออกแบบความคุ้มครองของประกันรถยนต์ให้ตรงกับความต้องการ มาพร้อมระบบช่วยคำนวณเบี้ยประกันที่แม่นยำ ให้คุณได้จ่ายเบี้ยประกันรถยนต์ที่เหมาะสมมากที่สุด ลองเช็กเบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้าที่เหมาะกับตัวเอง กรอกแค่ ‘วันเดือนปีเกิดผู้ขับขี่’ และ ‘รหัสไปรษณีย์ที่อยู่ปัจจุบัน’ ไม่ต้องกรอกข้อมูลส่วนตัวให้วุ่นวาย