หน้าหลัก สาระสุขภาพ ปวดเต้านม ภัยเงียบที่ผู้หญิงและผู้ชายต้องระวังให้ดี!

ปวดเต้านม ภัยเงียบที่ผู้หญิงและผู้ชายต้องระวังให้ดี!

หลายคนมักเข้าใจว่า อาการปวดเต้านมเป็นสัญญาณเตือนโรคร้ายของผู้หญิงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความรู้สึกเจ็บเต้านม ไม่ว่าจะทั้งสองข้างหรือข้างเดียว ล้วนเป็นอาการเสี่ยงด้านสุขภาพที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับผู้หญิงและผู้ชาย

หากใครมีอาการเจ็บเต้านมสองข้าง ข้างใดข้างหนึ่ง หรือรู้สึกเจ็บใต้ซี่โครงซ้ายบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย มารู้เท่าทันความเสี่ยงโรคร้ายที่มาพร้อมกับอาการปวดเต้านมได้ในบทความนี้

เจ็บเต้าสองข้างเกิดจากอะไร

รู้จักอาการปวดเต้านมให้มากขึ้น

เมื่อพูดถึงอาการปวดเต้านม เชื่อว่าหลาย ๆ คนต้องนึกถึงอาการคัดเต้านมในช่วงประจำเดือนไม่มา หรือ ช่วงที่ใกล้ถึงรอบประจำเดือน ซึ่งถึงแม้จะดูเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความรู้สึกเจ็บที่บริเวณเต้านมอาจไม่ใช่เรื่องปกติเสมอไป

ปวดเต้านม รู้สึกเจ็บเต้าสองข้างเกิดจากอะไร?

โดยทั่วไปแล้ว อาการปวดเต้านม รวมไปถึงความรู้สึกเจ็บเต้าทั้งสองข้าง จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ซึ่งจะมีสาเหตุในการเกิดที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. อาการปวดหน้าอกที่สัมพันธ์กับประจำเดือน (Cyclical Breast Pain) 

อาการปวดหน้าอกที่สัมพันธ์กับการมีประจำเดือนมักเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกายของเพศหญิง ซึ่งในระหว่างช่วงที่ไข่กำลังจะตก ร่างกายของเพศหญิงจะมีการหลั่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่สูงขึ้น ทำให้กรดกาโมลีนิก (Gamolenic Acid) ลดน้อยลง และทำให้เกิดการขยายตัวของเต้านมมากยิ่งขึ้น

ด้วยเหตุนี้ ผู้หญิงหลาย ๆ คนจึงมักมีอาการปวดเต้านมในช่วงก่อนที่ประจำเดือนจะมา หรือบางคนอาจรู้สึกเจ็บเต้านมทั้งสองข้างไปจนกว่าที่ประจำเดือนจะหมดรอบ รวมถึงมีอาการคัดเต้าเกิดขึ้นแม้ไม่ได้ท้องหรือในขณะที่ประจำเดือนไม่มา

2. อาการปวดหน้าอกที่ไม่สัมพันธ์กับการมีประจำเดือน (Non-Cyclical Breast Pain)

สำหรับผู้ชาย หรือ ผู้หญิงที่มีอาการคัดเต้านมแม้ประจำเดือนไม่มา ไม่แน่ว่าอาจมีอาการปวดเต้านมที่ไม่สัมพันธ์กับการมีประจำเดือนก็เป็นได้ โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการปวดในกลุ่มนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก

  1. ตั้งครรภ์ 

เมื่อร่างกายเข้าสู่ภาวะตั้งครรภ์ในช่วง 1 – 3 เดือนแรก คุณแม่มือใหม่หลาย ๆ คนอาจรู้สึกถึงอาการคัดเต้านมและเจ็บเต้าทั้งสองข้าง เนื่องจากในระหว่างตั้งครรภ์จะมีเลือดเข้าไปเลี้ยงที่เต้านมมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะรู้สึกปวดและตึงแล้ว บ่อยครั้งเต้านมยังไวต่อความรู้สึกมากยิ่งขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ ผู้ที่กำลังให้นมบุตร หรือ อยู่ในช่วงใกล้คลอด อาจมีอาการเจ็บเต้านมทั้งสองข้าง หรือ ข้างเดียวได้เช่นกัน

2. สาเหตุภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อทรวงอก 

เช่น การบาดเจ็บ หรือ ความผิดปกติที่ส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อหน้าอก การผ่าตัดเสริมหน้าอก ข้อต่อกระดูกชายโครง กระดูกบริเวณทรวงอก ไปจนถึงการเจ็บป่วยด้วยไข้หวัด การติดเชื้อที่แผลหรือการมีเพศสัมพันธ์ โรคเบาหวาน ไปจนถึงปัญหาที่ระบบทางเดินหายใจและหัวใจ ส่งผลให้หลาย ๆ คนรู้สึกเจ็บใต้ซี่โครงซ้ายและขวาได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย

3. ความผิดปกติจากเต้านมเอง 

ไม่ว่าจะเป็นภาวะการเกิดโรคถุงน้ำที่เต้านม มีเนื้องอก ฝีภายในเต้านม ภาวะเต้านมอักเสบ ไปจนถึงการเกิดมะเร็งเต้านมในระยะต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโรคร้ายที่ต้องเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที

นอกจากนี้ ผู้ชายที่มีภาวะผู้ชายมีนม (Gynecomastia) ก็มีความเสี่ยงจะรู้สึกปวดเต้านมได้เช่นกัน โดยภาวะที่ผู้ชายมีนมนั้นจะเกิดขึ้นจากการที่ร่างกายมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ไม่สมดุลกับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ส่งผลทำให้เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้น หรืออาจมีอาการคัดเต้า หัวนมแข็ง หรือรู้สึกคันที่บริเวณหัวนมได้

ผู้ชายปวดเต้านมอันตรายไหม?

อาการปวดเต้านมแบบไหนต้องรีบไปพบแพทย์?

โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการปวดเต้านมในผู้หญิงและผู้ชายจะสามารถหายได้เอง หากระดับฮอร์โมนในร่างกายกลับเข้ามาสู่ภาวะปกติ แต่หากใครรู้สึกเจ็บ หรือ มีอาการปวดเต้านมตามลิสต์ด้านล่างนี้ ขอแนะนำให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยโดยด่วน ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็ตาม

  1. มีก้อนไตแข็งเกิดขึ้นที่บริเวณเต้านมและหัวนม
  2. มีของเหลว น้ำเหลือง หรือ เลือดไหลออกจากหัวนม
  3. มีรอยบุ๋ม หรือ กดที่บริเวณเต้านมแล้วมีรอยบุ๋มที่ไม่คืนตัว
  4. รู้สึกเจ็บเต้าจี๊ด ๆ ข้างซ้ายหรือขวา ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย นานกว่า 1 สัปดาห์
  5. รูปร่างและขนาดของเต้านมเปลี่ยนแปลงไปโดยไม่ทราบสาเหตุ
  6. มีอาการบวมแดง รู้สึกร้อน เกิดแผลและผื่นที่บริเวณเต้านมที่ไม่สามารถหายเองได้ นานเกินกว่า 2 สัปดาห์
  7. รู้สึกคันที่บริเวณเต้านมนานเกิน 2 สัปดาห์

หากรู้สึกเจ็บเต้านมทั้งสองข้าง หรือ ข้างเดียวร่วมกับ 7 อาการข้างต้นนี้เมื่อไหร่ ขอแนะนำให้รีบเข้าไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยก่อนที่อาการปวดธรรมดาจะลุกลามกลายเป็นโรคร้ายแบบไม่ทันตั้งตัว


ปวดเต้านมบ่อย จะมีวิธีบรรเทา หรือ ป้องกันอาการปวดได้อย่างไร?

สำหรับใครที่รู้สึกเจ็บเต้านมทั้งสองข้าง แต่ไม่ได้มี 7 อาการร้ายแรงที่ต้องรีบไปพบแพทย์ ขอแนะนำให้บรรเทาอาการปวดและดูแลตัวเองเบื้องต้น ดังนี้

  1. สวมชุดชั้นในที่พอดีกับหน้าอก ไม่คับแน่น หรือ หลวมจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่หน้าอกได้
  2. ประคบด้วยผ้าอุ่น เพื่อลดการตึงตัวและอาการคัดเต้านม
  3. หาวิธีระบายน้ำนมที่ถูกต้อง เช่น ให้ลูกกินนมจากข้างที่รู้สึกคัดตึงก่อน หรือ นวดกระตุ้นน้ำนมให้สมดุลและน้ำนมไหลได้ดี 
  4. ใช้ยาบรรเทาอาการปวด หรือ ยาแก้อักเสบ ที่เหมาะสมกับข้อจำกัดร่างกายและโรคประจำตัว
  5. ปรึกษาแพทย์เรื่องการใช้ยารักษาโรคประจำตัว เนื่องจากยารักษาโรคบางชนิดสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บที่บริเวณหน้าอกได้ เช่น ยารักษาโรคหัวใจ ยาต้านเศร้า ฮอร์โมนทดแทน ไปจนถึงการใช้ยาคุมกำเนิด
  6. มีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย เช่น สวมถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยเชื้อ HIV ถือเป็นอีกหนึ่งเชื้อโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดเต้านมได้เช่นกัน
  7. เข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการเฝ้าระวังความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรงที่มาพร้อมกับอาการปวดเต้านมตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยหากมีความผิดปกติเกิดขึ้น แพทย์อาจเริ่มทำการจ่ายยาเพื่อลดอาการปวดและอักเสบที่เต้านม จากนั้นจึงทำการตรวจหาความผิดปกติที่เต้านมต่อไป โดยจะเริ่มตั้งแต่การตรวจแมมโมแกรม อัลตราซาวด์ ตรวจเอ็มอาร์ไอ ไปจนถึงการตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจหาความผิดปกติ

จะเห็นได้ว่า ความผิดปกติเล็ก ๆ ในร่างกายอย่างอาการปวดเต้านมก็สามารถพัฒนากลายเป็นโรคร้ายแรงได้โดยไม่ทันตั้งตัว ดังนั้น นอกจากจะดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ตลอดจนออกกำลังกายเป็นประจำแล้ว การทำประกันสุขภาพก็เป็นหนึ่งในตัวช่วยบริหารความเสี่ยงด้านสุขภาพที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน

ประกันสุขภาพออนไลน์ Sunday ไม่เพียงแต่จะมาพร้อมกับความคุ้มครองที่เมคเซนส์ในเบี้ยประกันที่เหมาะสมที่คุณสามารถเลือกพิจารณาได้ตามต้องการเท่านั้น แต่คุณยังสามารถรับประสบการณ์ประกันภัยครบวงจรแบบครบจบในแอปฯ เดียว ตั้งแต่การแจ้งเคลม ติดตามสถานะการเคลม ซื้อยาและปรึกษาแพทย์ออนไลน์กับพาร์ทเนอร์ชั้นนำ ไปจนถึงการติดตามสุขภาพส่วนบุคคล

เช็กเบี้ยประกันสุขภาพออนไลน์กับ Sunday ได้ง่าย ๆ ใช้แค่ ‘วันเดือนปีเกิด’ เท่านั้น

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

นอนเยอะแต่เหมือนนอนไม่พอ คุณอาจจะเป็นโรคนอนเกิน!

นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ อาจเป็นโรคนอนเกินได้นะ! มีใครเคยเป็นบ้าง นอนเต็ม 8 ชั่วโมงก็แล้ว 12 ชั่วโมงก็แล้ว…
oversleeping-symptoms-feeling-tired-despite-sleeping-a-lot

หนาวนี้ ดูแลตัวเองยังไงให้ห่างไกลจากโรคที่มากับหน้าหนาว

ระวังโรคช่วงหน้าหนาว พร้อมวิธีดูแลสุขภาพช่วงอากาศเปลี่ยน เผลอแปปเดียวก็จะสิ้นปีอีกแล้ว ช่วงใกล้หน้าหนาวแบบนี้…
winter-health-tips-prevent-cold-season-illnesses
0
Share