หน้าหลัก รู้ทันประกันสุขภาพ เปิดบัญชีดำ! ประเทศสุดฮอต ค่ารักษาพยาบาลสุดโหด

เปิดบัญชีดำ! ประเทศสุดฮอต ค่ารักษาพยาบาลสุดโหด

เปิดบัญชีดำ! ประเทศสุดฮอต ค่ารักษาพยาบาลสุดโหด

ขึ้นชื่อว่าอุบัติเหตุหรือโรคภัยไข้เจ็บ ไม่เคยเลือกเวลาหรือสถานที่ แค่เดินทางไปต่างประเทศไม่กี่วัน เหตุไม่คาดฝันก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน สูญเสียมากี่รายแล้ว กับค่ารักษาพยาบาลในเมืองนอกที่ขึ้นชื่อเรื่องความหฤโหด ซึ่งเราได้หาข้อมูลราคาและจัดอันดับแบล็กลิสต์มาให้แล้ว ว่าประเทศใดบ้างที่หากไม่มีประกันการเดินทาง อย่าได้เฉียดหน้าโรงพยาบาลเลยทีเดียว

1. ฮ่องกง ยืนงงในดงบิล

เริ่มกันใกล้ๆในเอเชีย กับเกาะสุดฮิตที่คนไทยพลุกพล่านอย่างกับจังหวัดที่ 78 ใครไปฮ่องกง ไม่ไปช้อปก็ไปกิน แต่ถ้าแจ็กพ็อต เจออาหารเป็นพิษต้องเข้ารพ.ขึ้นมา รู้หรือยังว่า ต้องเปลี่ยนงบเที่ยวงบกิน มาจ่ายบิลค่ารักษาพยาบาลกันเท่าไหร่

ค่าห้องพัก/คืน

เตียงเดี่ยว   $290 – $842   (ประมาณ ฿9,100 – ฿26,000 )
เตียงคู่   $153 – $217   (ประมาณ ฿4,800 – ฿10,800)
เตียงรวม   $86 – $208   (ประมาณ ฿2,700 – ฿6,500)

ค่าห้องฉุกเฉิน/คืน: $180  (ประมาณ ฿5,600)

ข้อมูลอื่นๆที่น่าสนใจ

  • นอกจากจะติดอันดับ 1 ใน 10 ประเทศ ที่ค่าครองชีพสูงที่สุดในโลกมาตลอด 7 ปี ล่าสุดในปี 2016-2017 ฮ่องกงยังไต่ขึ้นมาเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโลกเรียบร้อยแล้ว (Mercer)
  • ค่าประกันสุขภาพเฉลี่ยต่อคน สูงเป็นอันดับหนึ่งในเอเชียที่ปีละ $12,585 (Pacific Prime)

2. ป่วยสวิต(เซอร์แลนด์) ชีวิตเปลี่ยน

เทือกเขาสูง และธรรมชาติอันงดงาม อาจทำให้หลังคาแห่งทวีปยุโรปแห่งนี้ เป็นดินแดนในฝันของใครหลายคน แต่ค่ารักษาพยาบาล
ที่สูงเป็นอันดับต้นๆของโลก ก็ทำให้มันกลายเป็นฝันร้ายได้เช่นกัน ถ้าเผลอปีนป่ายจนได้แผล แล้วต้องพบหมอขึ้นมา

สาวไทยสะใภ้สวิสท่านหนึ่งยังเล่าไว้ว่า หมอสวิสส่วนใหญ่นิยมให้ยาสลบคนไข้ แม้แต่เคสเล็กๆ ยังต้องตรวจนู่นนี่ละเอียดยิบ และลงท้ายที่ต้องแอดมิทหลายวัน ซึ่งหากไม่มีประกันก็เตรียมช็อคซีเนม่ากับบิลค่ารักษาได้เลย

ค่าห้องพัก/คืน (โดยเฉลี่ย): $8,477   (ประมาณ ฿264,742)*
ค่าห้องฉุกเฉิน/คืน (โดยเฉลี่ย): $5,095   (ประมาณ ฿159,129)*

ข้อมูลอื่นๆที่น่าสนใจ:

  • รายจ่ายด้านสุขภาพของสวิตเซอร์แลนด์จัดว่าครองอันดับ 1 ใน 3 อันดับแรกของโลกมาโดยตลอดเกือบทุกปี จากข้อมูลปีล่าสุดของธนาคารโลก (2014) ระบุว่าสูงถึง $7,919 หรือราว 240,000 บาท ต่อคน/ปี เลยทีเดียว (Worldbank)
  • รัฐบาลสวิสออกกฎหมายบังคับให้ประชากรทุกคนต้องมีประกันสุขภาพ ซึ่งค่าเบี้ยโดยเฉลี่ยตกอยู่ที่ 447CHF หรือประมาณ เกือบ 15,000 บาทต่อคน/เดือน นั่นแปลว่า ไม่ว่าจะป่วยหรือไม่ ก็ต้องจ่ายปีละประมาณแสนกว่าบาทอยู่ดี (Expatica)

3. อเมริกา บิลมาน้ำตานอง

อันดับหนึ่ง เป็นใครไปไม่ได้นอกจากลุงแซม แชมป์อันดับหนึ่งตลอดกาล ที่ค่ารักษาพยาบาลโหดและจุกจิก จนคนในประเทศบางทียังต้องหนีไปรักษาตปท. ประสาอะไรกับคนต่างแดนตาดำๆอย่างเรา แค่เอาสกุล US Dollar ตีเป็นเงินบาทก็จุกแล้ว

และถ้าคิดจะหายากินเองก็เลิกคิดได้เลย เพราะบ้านนี้เมืองนี้การซื้อยาเป็นเรื่องซีเรียสมาก ขนาดยาง่ายๆที่หาได้ตามร้านขายยาบ้านเรา ก็ยังต้องให้หมอเป็นคนจ่ายเท่านั้น ซึ่งการพบหมอแต่ละครั้ง ก็ต้องจ่ายค่าพบหมอ (co-pay) ที่เป็นไปได้ตั้งแต่ $10-300! (แล้วแต่ประเภทหมอ)

บางเคสของคนไทยแค่เจ็บไหล่นิดหน่อย ยังไม่ทันได้ยา แต่ค่าตรวจก็ปาไปพันกว่าเหรียญแล้ว ไม่ต้องสืบเรื่องค่าห้องต่อคืน จะพีคขนาดไหนลองดูกันเองได้เลย

ค่าห้องพัก/คืน: $3,181 – $12,708 (ประมาณ ฿99,250 – ฿396,500)
ค่าห้องฉุกเฉิน/คืน: $150 – $3,000 (ประมาณ ฿4680 – ฿93,600)

ข้อมูลอื่นๆที่น่าสนใจ:

  • จากข้อมูลของวารสารการแพทย์ The Lancet พบว่าชาวอเมริกันมีค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยต่อคนที่ $9,237 หรือเกือบ 300,000 บาท ต่อปี ซึ่งจัดว่าสูงเป็นอันดับหนึ่งของโลกเลยทีเดียว!

รู้อย่างนี้แล้ว ก่อนไปเที่ยวก็ซื้อประกันเดินทางไว้ก่อนอุ่นใจกว่า เผื่อเจ็บป่วยขึ้นมาก็ไม่ต้องเสียเงินเสียทองมากมายเพราะมีประกันดูแลให้ เที่ยวสบายใจโลด

ทำไมประกันเดินทางซันเดย์จึงแตกต่าง

  • คิดราคาเบี้ยประกันตามจำนวนวันเดินทางจริง – ไม่ต้องจ่ายสำหรับวันที่ไม่ได้ไป
  • เคลมค่าชดเชยอื่นๆ สะดวก – ผ่านเบอร์ฉุกเฉิน +66 2 026 3355 หรือ LINE @sundayclaim ได้ 24 ชั่วโมง
  • แค่แผนประกันเริ่มต้นก็คุ้มครองครอบคลุมสิ่งจำเป็น – ตั้งแต่กระเป๋าหาย ชำรุด ไฟลท์ดีเลย์ เจ็บป่วย ราคาเริ่มต้นไม่ถึงร้อย เช็คราคาเลย

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:

1. ฮ่องกง ยืนงงในดงบิล
https://www.mercer.com/newsroom/cost-of-living-2017.html
https://www.pacificprime.com/blog/cost-international-insurance-companies-2017.html
http://www.scmp.com/business/article/1104776/hong-kongs-out-pocket-medical-expenses-set-double-2020
https://www.hongkongfp.com/2017/04/19/govt-proposes-increase-emergency-room-charges-hk100-hk180/

2. ป่วยสวิต(เซอร์แลนด์) ชีวิตเปลี่ยน
Health at a Glance 2017: OECD Indicators: Health expenditure per capita
http://databank.worldbank.org/data/reports.aspx?source=2&series=SH.XPD.PCAP.PP.KD&country=CHE
https://lenews.ch/2015/10/08/15-things-you-should-know-about-swiss-health-insurance
https://www.expatica.com/ch/healthcare/Swiss-health-insurance_693473.html
https://storylog.co/story/572f7ca9d1a4bc2e5f101447
https://www.semanticscholar.org/paper/Determinants-of-Costs-and-the-Length-of-Stay-in-A-Bramkamp-Radovanovi%C4%87/cefc70d608be23babe984c79aea7c4ee909cb47e

3. อเมริกา บิลมาน้ำตานอง
https://www.huffingtonpost.com/d-brad-wright/the-price-of-hospital-sta_b_367323.html
https://www.fastmed.com/health-resources/how-much-does-an-emergency-room-visit-cost/
https://www.npr.org/sections/goatsandsoda/2017/04/20/524774195/
what-country-spends-the-most-and-least-on-health-care-per-person

https://www.debt.org/medical/health-insurance-premium
https://pantip.com/topic/32633897
https://pantip.com/topic/31901346

Share this article
Shareable URL
Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

คนไทยป่วย OPD โรคอะไรมากที่สุด รักษาอะไรบ้างที่ผ่านมา?

การรักษาแบบ OPD คืออะไร คนไทยป่วยด้วย OPD ด้วยโรคอะไรมากที่สุด? การรักษาแบบ OPD หรือ Out-Patient Department คือ…
5 โรคแบบ OPD

ครบที่เดียว! สรุปสาเหตุ + อาการของวัยทองในผู้หญิงและผู้ชาย

สูงวัยเช็กด่วน! รวมสาเหตุและอาการของวัยทองในผู้หญิงและผู้ชาย เมื่อเวลาเปลี่ยนไป…
menopause-in-men-and-women

เข้าใจก่อนซื้อ! 6 ปัจจัยที่ส่งผลต่อเบี้ยประกันสุขภาพ

สรุปครบ! ทำไมจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพไม่เท่ากัน ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางประชากร รวมถึงความเสี่ยงจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ…
factors-affect-health-insurance-premium

ประกันอุบัติเหตุจำเป็นแค่ไหน ผู้หญิงเสี่ยงกว่าจริงไหม?

ผู้หญิงเสี่ยงอุบัติเหตุมากกว่าจริงหรือไม่ ทำไมต้องทำประกันอุบัติเหตุผู้หญิงโดยเฉพาะ? “อุบัติเหตุ”…
does-woman-face-more-accidents-than-men
0
Share