หน้าหลัก เรื่องราวรอบตัว วิธีเอาตัวรอดใน สถานการณ์ฉุกเฉิน

วิธีเอาตัวรอดใน สถานการณ์ฉุกเฉิน

ใช้ร่างหนักทำงานเหนื่อยมาทั้งปี เชื่อว่าใกล้เทศกาลขึ้นปีใหม่แบบนี้หลายคนคงมีแผนเที่ยวเพื่อสลัดความเหนื่อยล้าจากปีที่ผ่านมาให้หายไป แต่นอกจากแผนกิน แผนเที่ยว อีกหนึ่งสิ่งที่มองข้ามไปไม่ได้เลยคือแผนรับมือสำหรับ “สถานการณ์ฉุกเฉิน” วันนี้ซันเดย์จะมาบอกแผนตั้งรับเมื่อคุณเจอสถานการณ์ฉุกเฉินกัน


สถานการณ์ฉุกเฉินจากเหตุไฟไหม้ ควรรับมืออย่างไร?

ไฟไหม้ เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่สร้างความเสียหายต่อทั้งร่างกายและทรัพย์สินได้ไม่น้อย จำนวนผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มักเกิดจากความตื่นตระหนกและไม่รู้วิธีรับมืออย่างถูกต้อง เช่นการสำลักควัน หรือถูกไฟเผาตามร่างกาย วิธีการเอาตัวรอดในสถานการณ์ไฟไหม้ควรปฏิบัติตัวดังนี้

  1. ตั้งสติ มองหากล่องแดงตามผนังทางเดินเพื่อส่งสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้โดยไวที่สุด
  2. หากเปลวไฟยังอยู่ในระยะเริ่มต้นไม่ลุกลามมาก ให้พยายามใช้อุปกรณ์ดับเพลิงของอาคารให้ได้ภายใน 2 นาที
  3. รีบอพยพออกจากตัวอาคาร ถอดเครื่องประดับ เช่น นาฬิกา สร้อยคอ ฯลฯ เนื่องจากเป็นวัสดุอมความร้อนที่ส่งผลให้เกิดแผลพุพอง
  4. หากยังไม่สามารถหนีออกมาจากตัวอาคารได้ ให้รีบหาผ้าชุบน้ำมาปิดปากและจมูก เพื่อลดอาการสำลักควัน รวมถึงหาอุปกรณ์ที่สามารถให้ความสว่างได้อย่างไฟฉาย เพื่อช่วยในการมองเห็น
  5. หมอบหรือย่อตัวต่ำที่สุดในช่วงของการอพยพ เพราะระหว่างนี้ออกซิเจนจะลอยตัวในที่ต่ำ
  6. ห้ามใช้ลิฟต์เป็นอันขาด หลีกเลี่ยงการหนีเข้ามุมอับ และใช้บันไดหนีไฟเป็นทางออก หากพบว่าเสื้อผ้าติดไฟ ให้รีบนอนราบและกลิ้งตัวไปกับพื้น
  7. กรณีที่ไม่สามารถหนีออกจากห้องได้ และภายนอกห้องมีเปลวเพลิงลามอยู่ ควรใช้ผ้าชุบน้ำมาปิดตามรอยขอบประตูเพื่อป้องกันเขม่าควัน และขอความช่วยเหลือผ่านทางระเบียงหรือหน้าต่าง

ทั้งนี้ หากสามารถเอาตัวรอดจากสถานการณ์ฉุกเฉินไฟไหม้ได้แล้ว แต่พบว่ายังมีคนขอความช่วยเหลืออยู่ในตัวอาคาร ห้ามกลับเข้าไปช่วยเด็ดขาด แต่ควรแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อให้ทำการเร่งช่วยเหลือ


เตรียมรับมือจากสถานการณ์ฉุกเฉินแผ่นดินไหว

สิ่งปลูกสร้างที่อาจถล่มลงมาถือเป็นความน่ากังวลหลักสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินแผ่นดินไหว นอกจากสติที่ต้องมีแล้ว เราควรปฏิบัติตัวดังนี้

  1. ห้ามวิ่งหนีเป็นอันขาด ให้ทิ้งตัวลงกับพื้น หลบใต้โต๊ะหรือหาที่กำบังที่มีความแข็งแรงทนทาน อยู่ให้ห่างจากหน้าต่าง ประตู และระเบียง
  2. หากอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีโต๊ะเป็นที่กำบัง ให้พยายามหมอบตัวต่ำใกล้กับเฟอร์นิเจอร์ที่มีน้ำหนัก หรือหมอบตัวชิดกำแพงด้านใน
  3. เมื่อสถานการณ์มีวี่แววรุนแรงน้อยลง ให้เดินอพยพลงทางบันไดหนีไฟ ห้ามใช้ลิฟต์เป็นอันขาด
  4. หากอยู่ในสถานที่เปิดแต่ใกล้กับตัวอาคาร ให้รีบนำตัวเองออกห่างตัวอาคารมากที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงเศษแก้วหรือวัตถุต่างๆที่อาจตกลงมา หากกำลังขับรถในสถานการณ์แผ่นดินไหว ให้หาที่จอดโดยทันที

เอาตัวรอดจากอุบัติเหตุทางน้ำ

โดยปกติแล้วปอดของคนเราสามารถช่วยพยุงร่างกายเอาไว้ได้หากพลัดตกน้ำขึ้นมา แต่ส่วนใหญ่คนที่จมน้ำมักเกิดจากความตระหนก พยายามตะกายให้ตัวพ้นเหนือน้ำจนหมดแรง หากเราต้องประสบภัยจากอุบัติเหตุทางน้ำ ควรปฏิบัติตัวดังนี้

  1. ตั้งสติ พยายามว่ายน้ำให้ออกห่างจากเรือมากที่สุด เพราะหากเรือล่มจะเกิดกระแสน้ำที่ดูดเราลงไปใต้ท้องเรือ รวมถึงถอดเครื่องประดับหรืออุปกรณ์ที่มีน้ำหนักออกจากตัวให้ไวที่สุด
  2. หากไม่มีเสื้อชูชีพหรืออุปกรณ์ช่วยพยุง ให้นอนหงายกางแขน-ขาในท่าปลาดาว หายใจเข้า-ออกช้าๆ ให้ใบหน้าพ้นผิวน้ำเข้าไว้ รอความช่วยเหลือ
  3. หากสังเกตเห็นเรือหรือคน การตะโกนขอความช่วยเหลือถือเป็นวิธีที่ดีที่สุด เป่านกหวีดหากมีบนเสื้อชูชีพ

ฝูงชนแออัด รับมืออย่างไรไม่ให้ขาดอากาศหายใจ

แน่นอนว่าช่วงเทศกาลแบบนี้ ไม่ว่าจะไปที่ไหนคนก็จะหลั่งไหลมากันเยอะเสมอ หนีไม่พ้นจากการเจอผู้คนมากมาย และความแออัด จนอาจจะเกิด Crowd Crush ได้ หากเราตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว สิ่งที่ควรทำคือ

  1. สายตาสอดส่องหาทางหนีที่ไล่ไว้ก่อนเสมอ เมื่อรู้สึกว่าผู้คนเริ่มทยอยอัดกันเข้ามามากขึ้น ควรรีบนำตัวเองออกมาจากฝูงชนให้ไวที่สุด
  2. ยืนให้มั่น ควบคุมการหายใจให้ดี หากล้มลงอาจเสี่ยงต่อการโดนเหยียบจนเสียชีวิตได้  
  3. ใช้แขนตั้งการ์ดกันหน้าอก เพื่อป้องกันการถูกเบียดและทำให้เรายังสามารถหายใจได้
  4. ไหลไปตามฝูงชน อย่าฝืน พยายามอยู่ให้ห่างจากกำแพงมากที่สุด

นอกจากรู้วิธีรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ แล้ว อุปกรณ์เทคโนโลยีบางชนิดก็มีประโยชน์สำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็น แบตเตอรี่สำรอง วิทยุฉุกเฉิน เครื่องกรองน้ำฉุกเฉิน ชุดปฐมพยาบาล หรือแม้กระทั่งเตาตั้งแคมป์ เรียกได้ว่ามีติดบ้าน ติดตัวไว้ก็ไม่เสียหาย แถมยังอุ่นใจอีกต่างหาก ซันเดย์หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกคนได้ความรู้ไม่มากก็น้อยเพื่อดูแลตัวเองด้วยนะ

หากต้องการลดความเสี่ยงในการใช้ชีวิตประจำวัน จากโรคภัยไข้เจ็บ อุบัติเหตุ หรือภัยจากสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ลองออกแบบแผนประกันสุขภาพออนไลน์ หรือ ประกันโรคร้ายแรงออนไลน์ กับ Sunday โดยสามารถศึกษาข้อมูลรายละเอียดแผนประกันทั้งหมดได้ในลิ้งค์ที่ให้ไว้

ซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่าย

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

อาการแพ้แอลกอฮอล์เป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน พร้อมวิธีแก้

คนแพ้แอลกอฮอล์มีอาการเป็นอย่างไรบ้าง?  อาการแพ้แอลกอฮอล์หรือแพ้เหล้าเป็นอาการที่พบได้ไม่มาก…
alcohol-allergy-symptoms-risks-and-solutions

รีวิว 1 ดาวโดนฟ้องได้ไหม รีวิวยังไงให้ไม่โดนฟ้อง?

สรุป! กฎหมายการรีวิวในไทย พร้อมเข้าใจวิธีรีวิวยังไงไม่ให้โดนฟ้อง ก่อนจะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการใดๆ…
review-and-lawsuit-for-defamation
0
Share