หน้าหลัก รู้ทันประกันสุขภาพ รวมจุดลับๆ ในบ้านและออฟฟิศ ที่เชื้อโรคมักซ่อนตัวมิดชิดรอเล่นงานคุณ!

รวมจุดลับๆ ในบ้านและออฟฟิศ ที่เชื้อโรคมักซ่อนตัวมิดชิดรอเล่นงานคุณ!

จุดลับๆ ในบ้านและออฟฟิศ ที่เชื้อโรคมักซ่อนตัว

หากจะถามว่าอะไรน่ากลัวกว่าผี ก็น่าจะมี “เชื้อโรค” นี่แหละที่ติดอันดับ! เพราะเชื้อโรคและเชื้อไวรัสถือเป็นภัยร้ายที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แถมเรายังไม่รู้ด้วยว่ามันจะซ่อนตัวอยู่ในมุมใดมุมหนึ่งของบ้าน แอบอยู่ใต้โต๊ะในออฟฟิศ พร้อมซุ่มจู่โจมสุขภาพของเราแบบไม่ทันตั้งตัวหรือเปล่า

แล้วเจ้าเชื้อโรคและเชื้อไวรัส ที่เรากังวลกันนี่จะแอบซ่อนตัวรอเล่นงานเราได้นานแค่ไหน? ถ้าเราลองตรวจสอบจากข้อมูลงานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ (New England Journal of Medicine) พบว่าเชื้อไวรัส COVID-19 ที่เราวิตกกัน สามารถมีชีวิตอยู่บนพื้นผิวพลาสติกและสแตนเลสได้นานถึง 2-3 วัน ซึ่งแน่นอนว่าต้องส่งผลถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้านที่เราใช้งานกันในชีวิตประจำวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ดังนั้น เพื่อเป็นการตั้งการ์ดสกัดภัยร้ายให้เราและครอบครัวปลอดภัย ซันเดย์จึงขอแนะนำให้ทุกคนบุกไปยังจุดซ่อนตัวของเหล่าเชื้อโรคเพื่อทำความสะอาดพื้นที่เหล่านั้นให้เอี่ยมอ่อง โดยตำแหน่งและจุดลับๆ ที่ทุกคนควรตรวจเช็กและใส่ใจ มีดังนี้

รวมจุดเสี่ยงในบ้านและออฟฟิศ ที่เชื้อโรคซ่อนตัวมิดชิดรอเล่นงานเรา

ตำแหน่งต่างๆ ในบ้านที่เราต้องใช้มือสัมผัสเป็นประจำ

เมื่อเปิดประตูเข้าไปในบ้าน หนึ่งในพื้นที่จุดแรกที่เราควรจัดการนั่นก็คือ แม่กุญแจ ลูกบิดประตู มือจับประตู และสวิตซ์เปิด-ปิดไฟ เพราะถือเป็นจุดที่แขกไปใครมาก็ต้องเข้ามาสัมผัสเพื่อใช้งาน และนั่นก็หมายถึงความเสี่ยงที่เชื้อโรคต่างๆ จะไปกระจุกตัวอยู่เช่นกัน

จุดถัดมาที่เรามักจะใช้ชีวิตอยู่เป็นประจำก็คือห้องนั่งเล่นและห้องนอน นอกจากเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่อย่างโซฟาหรือเตียงที่ต้องทำความสะอาดเป็นระยะแล้ว ยังมีบางจุดที่หลายคนอาจจะมองข้ามไป หนึ่งคือ ถังใส่ขยะที่แม้ว่าหลังจากเก็บถุงขยะไปทิ้งแล้ว ตัวถังเองก็ถือเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคที่ควรนำไปล้างทำความสะอาดบ้าง อีกจุดหนึ่งก็คือตัวมู่ลี่และผ้าม่านภายในห้องที่ต้องถอดไปซักเพื่อลดโอกาสหมักหมมของฝุ่นผงและเชื้อโรคเช่นกัน

อีกหนึ่งพื้นที่สำคัญนั่นก็คือ “ห้องน้ำ” ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งทำเลสำคัญที่เชื้อโรคมารวมตัวกันได้ง่าย โดยเฉพาะส่วนของฝารองนั่งรวมถึงปุ่มกดชักโครกที่ต้องใช้ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายสัมผัสตลอดเวลา แน่นอนก๊อกน้ำและซิงก์สำหรับล้างหน้าแปรงฟันก็ควรต้องขัดทำความฆ่า + ฆ่าเชื้อด้วยเช่นกัน

พื้นที่ส่วนกลางที่ต้องใช้ร่วมกับผู้อื่นในออฟฟิศ

ช่วงนี้หลายออฟฟิศต่างก็กลับไปทำงานกันอย่างเต็มรูปแบบแล้ว ซึ่งแต่ละบริษัทฯ ก็จะมีนโยบายในเรื่องของสุขอนามัยที่เพิ่มขึ้นมาก แต่ตัวเราเองก็ไม่ควรปล่อยปละละเลยจนไม่ได้ทำความสะอาดในหลายจุดเสี่ยงที่เราสัมผัสบ่อย

รวมจุดเสี่ยงในออฟฟิศ - ซันเดย์ - ประกันสุขภาพ

เริ่มจากจุดแรกที่คนทำงานทุกคนต้องสัมผัสนั่นก็คือ “ที่สแกนลายนิ้วมือเข้างาน” ซึ่งเป็นจุดที่มีการใช้งานตลอดทั้งวัน เป็นเรื่องยากที่จะทำความสะอาดได้ตลอดเวลา ดังนั้นหลังจากที่เราแตะนิ้วเช็กอินเข้าทำงานแล้ว ก็ควรจะล้างมือให้เรียบร้อยทุกครั้งก่อนที่จะสัมผัสสิ่งอื่น

คีย์บอร์ดและเมาส์ ถืออีกหนึ่งตัวการสำคัญซึ่งเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ที่จำเป็นต้องทำความสะอาดยิ่งบ่อยยิ่งดี เนื่องจาก นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้เปิดเผยรายงานที่ได้รับจากประเทศอังกฤษ พบว่าคีย์บอร์ดเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคมากกว่านั่งโถชักโครกในห้องน้ำถึง 5 เท่า ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นเชื้ออีโคไล และเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ เป็นต้น

เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เราต้องใช้งานเป็นประจำ

ถ้าเราลองมองรอบตัวดูจะพบว่า ยังมีอุปกรณ์อีกหลายอย่างที่มีการเปลี่ยนมือใช้งานกันบ่อยๆ อย่างโทรศัพท์มือถือ รีโมท แม้กระทั่งฟองน้ำล้างจาน ซึ่งทั้งสามอย่างนี้ถือเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคที่อันตรายได้มากกว่าเราคาดคิด

เริ่มต้นที่โทรศัพท์มือถือ จากผลการวิจัยของ Emily Martin  รองผู้ช่วยศาสตรจารย์จากมหาวิทยาลัยมิชิแกนได้เปิดเผยว่าบนหน้าจอมือถือมือถือส่วนใหญ่นั้นเต็มไปด้วยแบคทีเรียมากกว่า 17,000 ชนิด ซึ่งมีจำนวนมากกว่าฝารองนั่งชักโครกถึง 10 เท่า! มีทั้งเชื้ออิโคไลที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย เชื้อไข้หวัดใหญ่ที่เกาะอยู่บนพื้นผิวหน้าจอ แน่นอนว่ารีโมทของอุปกรณ์ต่างๆ ก็มีแนวโน้มเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ซึ่งจำเป็นต้องทำความสะอาดเช่นกัน

รวมจุดเสี่ยงในออฟฟิศ - ซันเดย์ - ประกันสุขภาพ

ที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือฟองน้ำล้างจาน ซึ่งทีมวิจัยของเยอรมนีได้เผยแพร่ผลงานการวิจัยผ่านวารสารวิชาการเช่นกัน ว่าฟองน้ำสำหรับใช้ล้างจานในครัวถือเป็นแหล่งสะสมแบคทีเรียที่มีชีวิตใหญ่ที่สุดเท่าที่มีในบ้านผลงานวิจัยชิ้นนี้สอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้านี้ของ ชัค เกอร์บา นักจุลชีววิทยา จากมหาวิทยาลัยแอริโซนา สหรัฐอเมริกา ได้เปิดเผยการทดสอบชิ้นตัวอย่างของฟองน้ำล้างจานซึ่งมีขนาดเท่ากับก้อนน้ำตาลก้อนสี่เหลี่ยมหนึ่งก้อน มีเซลล์แบคทีเรียปนเปื้อนอยู่มากถึง 54,000 ล้านเซลล์ ซึ่งเทียบเท่ากับที่มีในสิ่งปฏิกูลเลยทีเดียว

โดยพบแบคทีเรีย 5 ใน 10 ชนิดซึ่งเป็นกลุ่มของแบคทีเรียที่มีความสามารถในการก่อโรคซึ่งพบเห็นบ่อยที่สุด รวมทั้ง อาซีเนโทแบคเทอร์ จอห์นโซนี (Acinetobacter johnsonii), ครายเซโอแบคทีเรียม โฮมินีส (Chryseobacterium hominis) และ โมแรกเซลลา ออสโลเอนซิส (Moraxella osloensis) และพบเชื้อแบคทีเรียก่อโรค ในกลุ่มที่ก่อให้เกิดอาการคออักเสบอีกด้วย

จะเปลี่ยนจุดเสี่ยงทั้งในบ้านและที่ออฟฟิศให้ปลอดเชื้อและปลอดภัยยังไงดี?

เมื่อเราได้รู้จุดเสี่ยงต่างๆ แล้วเราจะอยากทำความสะอาดให้พื้นที่นั้นปลอดภัยขึ้น แต่คำถามก็คือ เราจะใช้ “น้ำยา” อะไร ที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคได้หมดจด ไว้ใจได้ มาใช้สำหรับเช็ดถูพื้นที่ของเราดี คำตอบก็คือ ต้องเป็นน้ำยาทำความสะอาด ที่มีส่วนผสมของสารเคมี 2 ประเภท ดังนี้

เลือกใช้น้ำยาทำความสะอาด ที่มีส่วนผสมของสารที่ชื่อว่าคลอโรไซลีนอล (Chloroxylenol) ชนิดอ่อนๆ ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อดี ฆ่าเชื้อได้เร็ว แต่ไม่ทำให้เกิดความระคายเคืองผิวหนัง ซึ่งสารประเภทนี้มักจะอยู่ภายในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอย่าง Dettol® และ Zurthol® ซึ่งเราคุ้นเคยกันดี

สารอีกอย่างที่เราสามารถนำมาใช้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อได้ ก็คือสาร โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (Sodium hypochlorite) หรือที่เราเรียกว่าน้ำยาฟอกขาว ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักของผลิตภัณฑ์อย่าง ไฮเตอร์ (Haiter®), คลอร็อกซ์ (Clorox®) ฯลฯ เราก็สามารถนำมาเจือจางกับน้ำเปล่าเพื่อเช็ดอุปกรณ์หรือพื้นที่ต่างๆ ได้เช่นกัน

แต่หากใครที่คิดว่าการทำความสะอาดเป็นเรื่องยุ่งยาก หรือเป็นบ้านและออฟฟิศขนาดใหญ่ที่ทำเองไม่ไหว ถ้าคุณเป็นลูกค้าประกันสุขภาพและประกันรถยนต์ของซันเดย์ ก็สามารถรับส่วนลดพิเศษ สำหรับใช้บริการทำความสะอาดของ Seekster ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการครบวงจร ตั้งแต่เช็ดเครื่องเรือนด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ล้างแอร์ ขัดพื้น ทำความสะอาด จัดสวน ขนย้าย ฯลฯ ซึ่งเหมาะมากสำหรับผู้ทีต้องการมืออาชีพเพื่อใช้บริการกำจัดเชื้อโรค ในราคาที่คุ้มค่า ซึ่งจะทำให้ชีวิตคุณง่าย สะดวก และอุ่นใจได้ยิ่งกว่าที่เคยอย่างแน่นอน

Share this article
Shareable URL
Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

ประกันอุบัติเหตุจำเป็นแค่ไหน ผู้หญิงเสี่ยงกว่าจริงไหม?

ผู้หญิงเสี่ยงอุบัติเหตุมากกว่าจริงหรือไม่ ทำไมต้องทำประกันอุบัติเหตุผู้หญิงโดยเฉพาะ? “อุบัติเหตุ”…
does-woman-face-more-accidents-than-men

โรคที่รักษาแบบผู้ป่วยนอก คุ้มครองด้วยประกันสุขภาพ OPD

การรักษาแบบ OPD คืออะไร ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกคุ้มครองโรคไหนบ้าง? จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า…
opd-diseases-and-opd-health-insurance

ทำประกันต้องรู้! ค่าห้องพิเศษโรงพยาบาล อัปเดตปี 2567

ซื้อประกันต้องเข้าใจ! ค่าห้องพิเศษโรงพยาบาลคืออะไร พร้อมอัปเดตค่าห้องปี 2567 นอกจากโรงพยาบาลในเครือข่ายแล้ว…
private-room-hospital-update-2024

อัปเดต! ค่าห้องโรงพยาบาลเอกชนปี 2567 งบไม่เกิน 10,000 บาท!

ค่าห้องโรงพยาบาลเอกชน ไม่เกิน 10,000 บาท อัปเดตล่าสุด เจ็บป่วยต้องนอนโรงพยาบาล เชื่อว่าหลายๆ…
hospital-room-costs-2024
0
Share