หน้าหลัก สาระสุขภาพ ถ้าจำเป็นต้องเดินทาง ทำยังไงถึงปลอดภัย ลดเสี่ยง COVID-19

ถ้าจำเป็นต้องเดินทาง ทำยังไงถึงปลอดภัย ลดเสี่ยง COVID-19

ในช่วงวิกฤติไวรัส COVID-19 กำลังระบาด หลายๆ ออฟฟิศ ก็ได้เริ่มใช้มาตรการ Work from home ในการจำกัดการเดินทางและเว้นระยะห่างของคนในสังคมเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสกันไปบ้าง ซึ่งก็ทำให้คนทำงานหลายคนต้องปรับตัวกันยกใหญ่

แต่ถึงจะใช้เวลาอยู่กับบ้านเป็นหลักแบบนี้ ยังไงๆ ชีวิตเราก็ยังคงต้องมีความจำเป็นบางอย่างที่จะทำให้ต้องเดินทางออกจากบ้านอย่างเลี่ยงไม่ได้อยู่ดี ไม่ว่าจะเป็นการต้องออกไปซื้ออาหาร และของใช้ประจำวัน เดินทางเพื่อไปหาหมอที่ รพ. เมื่อเจ็บป่วย หรือความจำเป็นที่จะต้องเดินทางไปดูแลคนที่เรารัก ฯลฯ

ซึ่งเมื่อเราจำเป็นที่จะต้องเดินทางอย่างเลี่ยงไม่ได้แล้ว ซันเดย์ ก็จะขอแนะนำวิธีที่จะช่วยเซฟให้ทุกคนปลอดภัย เมื่อจำเป็นต้องไปทำภารกิจสำคัญนอกบ้านในช่วงนี้กัน

1. เตรียมอุปกรณ์ป้องกันตัวจาก COVID-19 พร้อมไว้ไม่กังวล

แน่นอนว่าการออกจากบ้านคือความเสี่ยง ดังนั้นเราจึงต้องเตรียมอุปกรณ์ป้องกันตัวจาก COVID-19 ให้พร้อม ซึ่งหลายคนก็น่าจะทราบกันดีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากอนามัยแบบผ้าที่ช่วยป้องกันสารคัดหลั่งจากผู้อื่นได้ เจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮออล์ 70% ขึ้นไปเท่านั้น แต่เราอยากจะบอกว่าช่วงต้นเดือนเมษายนหน้าร้อนแบบนี้ เราก็ควรจะพกอุปกรณ์กันแดดอย่างร่มกัน UV แว่นกันแดด และทาครีมกันแดดเอาไว้ให้พร้อมด้วยอีกอย่างนึงก็จะเป็นการดี

ที่สำคัญนอกเหนือจากอุปกรณ์แล้ว ทุกคนก็ควรจะปรับพฤติกรรมบางอย่างเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของตัวเราเองด้วย ไม่ว่าจะเป็นการหมั่นล้างมือให้บ่อย (ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง) หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งของที่ใช้ร่วมกับผู้อื่น ลดการเอามือไปสัมผัสกับใบหน้า เป็นต้น

2. อย่าลืมทำ Social Distancing ถึงจะห่างไกล แต่ปลอดภัยระหว่างกัน

ไม่ต้องกังวลว่าคนอื่นจะหาเราว่าเย็นชา เพราะตอนนี้ไม่ว่าใครก็ต้อง “ทิ้งระยะ” (Social Distancing) ให้ห่างกันเอาไว้ก่อน เพราะไวรัส COVID-19 นั้น จะติดต่อได้ผ่านสารคัดหลั่งที่ออกมาจากร่างกาย อย่างเช่น น้ำมูก เสมหะ และน้ำลายที่ไอจามออกมาในระยะ 1-2 เมตร ดังนั้นให้พยายามรักษาระยะห่างจากคนอื่นๆ ในสังคมให้มากกว่า 2-3 เมตรถ้าเป็นไปได้

3. ถ้าเป็นไปได้ให้หลีกเลี่ยงระบบขนส่งสาธารณะที่ทิ้งระยะห่างกับคนอื่นได้ยาก

สืบเนื่องจากการทำ Social Distance ในข้อที่สอง ดังนั้นจะเป็นการดีกว่าหากเราเลือกที่จะเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวเป็นหลักในช่วงนี้ เพราะการเลือกเดินทางด้วยรถไฟฟ้าหรือรถสาธารณะอื่นๆ นั้น จะเป็นเรื่องยากในการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการต้องอยู่ใกล้กับผู้อื่น หรือต้องสัมผัสกับอุปกรณ์สาธารณะอย่าง ราวจับ ห่วงจับ และเสาสำหรับยืน

4. เก็บประวัติการเดินทางของเราให้ดี เช็กความเสี่ยงย้อนหลังได้ทุกเวลา

นี่อาจเป็นเรื่องที่หลายคนไม่ได้ใส่ใจ แต่จะบอกว่าทุกครั้งที่คุณออกเดินทางไปไหนก็ตามในช่วงเวลาที่ไวรัส COVID-19 กำลังระบาดแบบนี้ การเก็บบันทึกประวัติการเดินทางเอาไว้ว่าตัวคุณได้มีการใช้เวลาไปกับสถานที่ใด หรือมีโอกาสเสี่ยงที่จะไปสัมผัสกับผู้คนในตำแหน่งใด จะมีความสำคัญมากสำหรับทั้งตัวของคุณเอง ที่สามารถเช็กย้อนหลังจากข่าวสารการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID-19 ได้ว่าคุณพาตัวเองไปอยู่ ณ จุดเสี่ยงหรือเปล่า รวมถึงยังเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นที่สามารถเช็กตำแหน่งของคุณได้หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน

ซึ่งการเก็บประวัติการเดินทางนี้ไม่ใช่เรื่องยากเลย โดยเฉพาะคนที่ใช้งานแอปพลิเคชัน Google Map เป็นประจำ คุณก็สามารถเลือกให้ตัวแอปฯ เก็บข้อมูลการใช้งานเอาไว้ได้อย่างละเอียด และสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้เพียงเข้าไปที่เมนู Account Profile จากนั้นเลือก “ข้อมูลของคุณในแผนที่” และไปที่เมนู “ประวัติตำแหน่ง” เท่านี้คุณก็สามารถตรวจสอบสถานที่ย้อนหลังได้ทุกเมื่อ

5. ทำประกัน COVID-19 เตรียมไว้ให้พร้อมถ้าไม่ชัวร์ ไม่ต้องกลัวถ้าเข้ารักการรักษา

เพราะการเดินทางย่อมต้องมาพร้อมกับความเสี่ยง ถึงเราจะป้องกันตัวเองเป็นอย่างดีแต่อะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นการตัดสินใจทำประกันสุขภาพที่มีความคุ้มครองครอบคลุมการรักษากรณีติดเชื้อไวรัส COVID-19 เอาไว้ก่อนถือเป็นความคิดที่ถูกต้อง เพราะแม้ว่าภาครัฐจะมีสวัสดิการด้านค่ารักษามอบให้กับทุกคน แต่หากมองว่าถ้าสถานการณ์เกิดวิกฤติจนทำให้โรงพยาบาลไม่มีเตียงรองรับผู้ป่วยได้เพียงพอขึ้นมา คุณก็ยังสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนได้โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาจนเกินไป

อย่างไรก็ดี ทางเลือกที่ดีที่สุดในสถานการณ์วิกฤติช่วงนี้นั่นก็คือต้องหลีกเลี่ยงการเดินทางออกไปนอกบ้าน และการสัมผัสกับผู้อื่นให้ได้มากที่สุดหากไม่จำเป็นจริงๆ ซันเดย์เชื่อว่าหากเราร่วมมือกันลดความเสี่ยงและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID-19 ให้ได้มากที่สุดตั้งแต่ตอนนี้ เราทุกคนก็จะสามารถผ่านวิกฤตินี้ไปได้อย่างปลอดภัยในอนาคตอันใกล้แน่นอน

Share this article
Shareable URL
Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

นอนเยอะแต่เหมือนนอนไม่พอ คุณอาจจะเป็นโรคนอนเกิน!

นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ อาจเป็นโรคนอนเกินได้นะ! มีใครเคยเป็นบ้าง นอนเต็ม 8 ชั่วโมงก็แล้ว 12 ชั่วโมงก็แล้ว…
oversleeping-symptoms-feeling-tired-despite-sleeping-a-lot

หนาวนี้ ดูแลตัวเองยังไงให้ห่างไกลจากโรคที่มากับหน้าหนาว

ระวังโรคช่วงหน้าหนาว พร้อมวิธีดูแลสุขภาพช่วงอากาศเปลี่ยน เผลอแปปเดียวก็จะสิ้นปีอีกแล้ว ช่วงใกล้หน้าหนาวแบบนี้…
winter-health-tips-prevent-cold-season-illnesses
0
Share