hero-image

Toxic Productivity ทำงานหนักไป ระวังโรคคาโรชิซินโดรมถามหา

ทำงานจนตายใครว่าไม่มีจริง เพราะความเครียดสะสมจากการทำงานหนักได้เป็นสาเหตุที่ทำให้คนเสียชีวิตมาแล้ว แถมยังมีเคสที่เกิดในประเทศไทยอีกด้วย โดยโรคทำงานหนักที่อาจทำให้เสียชีวิตนี้มีชื่อเรียกว่า “Karoshi Syndrome” นั่นเอง 

หลายๆ คนอาจสงสัยว่า การทำงานหนักจะสามารถทำให้คนเสียชีวิตได้อย่างไร ลองมาทำความรู้จักกับโรค Karoshi Syndrome ให้มากขึ้นในบทความนี้ พร้อมเช็กให้ชัวร์ว่า ตอนนี้คุณกำลังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้หรือไม่ หรือจะมีวิธีป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ ได้อย่างไรบ้าง

ทำงานหนักเกินไประวังคาโรชิซินโดรมถามหา

รู้จัก Karoshi Syndrome

Karoshi Syndrome หรือ คาโรชิซินโดรมเป็นโรคที่เกิดจากการทำงานอย่างหนักที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจากการทำงานหนัก ไปจนถึงการสร้าง Toxic Productivity ในที่ทำงาน ไม่เพียงแต่จะสนับสนุนการทำงานหนักตลอดเวลา จนทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า และไม่อยากคุยกับใครเท่านั้น แต่หากยังฝืนนั่งทำงานหนักต่อไปเรื่อยๆ ร่างกายอาจเกิดภาวะขาดสารอาหารจากการรับประทานอาหารไม่เหมาะสม ตลอดจนเกิดเครียดสะสมได้เช่นกัน

นอกจากจะส่งผลต่อร่างกายของเราแล้ว การทำงานหนักและ Toxic Produtivity ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อทำงานหนักจนเครียดมากๆ ก็จะรู้สึกกดดัน ทั้งยังพาลให้รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็คิดไม่ออก หาทางออกไม่เจอ จนทำให้ใครหลายคนตัดสินใจลาโลกไปในที่สุด

รู้ไว้ใช่ว่า!
Toxic Productivity คือ สภาวะสะกดจิตให้ตัวเองทำแต่งาน!
Toxic Productivity คือ ภาวะคลั่งไคล้การทำงานหนักหรือภาวะคลั่งไคล้ความ Productive หรือพูดง่ายๆ คือ เป็นส่วนหนึ่งของอาการเสพติดการทำงาน หมกมุ่นกับการทำงานตลอดเวลา ต่อให้ไม่ได้ทำงานก็จะคิดแต่เรื่องงาน หรือหากไม่ได้ทำงานก็จะรู้สึกผิด จนส่งผลต่อสภาวะจิตใจและร่างกายในที่สุด
ประกันสุขภาพ Sunday

คุณกำลังเข้าข่ายเป็นโรคคาโรชิซินโดรมอยู่หรือเปล่า?

สำหรับผู้ที่มีโอกาสเป็นโรคคาโรชิซินโดรมนั้นส่วนใหญ่ก็จะมีภาวะ Toxic Productivity ด้วย เพราะโรคนี้หลักๆ แล้วเกิดจากการทำงานหนัก ลองมาเช็กดูกันว่า คุณกำลังมีอาการเหล่านี้อยู่หรือไม่

  • ทำงานทั้งวันทั้งคืนติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
  • รู้สึกผิดเวลาไม่ได้ทำงานและคิดถึงเรื่องงานตลอดเวลา
  • มาเช้ากลับสาย ยิ่งทำงานเป็นเวลาหลายชั่วโมงยิ่งตอบสนองความพึงพอใจของตัวเอง
  • ไม่ใช้วันลา ใช้เมื่อไรจะรู้สึกผิด
  • เครียดจนนอนไม่หลับ บางรายถึงขั้นต้องพึ่งยานอนหลับ 
  • อาการออฟฟิศซินโดรมถามหา ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว
  • หงุดหงิดง่าย เก็บตัว ไม่ค่อยออกไปสังสรรค์ และไม่ค่อยอยากสุงสิงกับใครหากไม่ใช่เรื่องงาน

โรคคาโรชิซินโดรมไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อจิตใจเท่านั้น แต่พฤติกรรมเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานแบบไม่พักผ่อน เครียดสะสม นั่งทำงานเป็นเวลานาน ยังทำให้เกิดโรคจากการทำงานต่างๆ ตามมาได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม โรคหัวใจ กระเพาะอาหาร เบาหวาน ความดันโลหิต มะเร็ง เส้นเลือดในสมองแตก

อาการคาโรชิซินโดรม ทำงานหนัก

ป้องกันโรค Karoshi Syndrome ก่อนสาย!

การป้องกันโรคคาโรชิซินโดรมต้องเริ่มต้นจากการปรับทัศนคติตัวเองก่อน อย่าปล่อยให้ Toxic Productivity หรือภาวะการทำงานอย่างบ้าคลั่งเข้ามาครอบงำเรา 

เริ่มจากต้องรู้จักการปล่อยวาง หรือ หากทำไม่ได้หรือไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี ควรเริ่มปรึกษานักจิตวิทยาเพื่อปรับพฤติกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเริ่มปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของตัวเองควบคู่กันไป ดังนี้

  • นอนหลับให้เพียงพอ เพราะการนอนเป็นกุญแจสำคัญของการลดฮอร์โมนคอร์ติซอลหรือฮอร์โมนความเครียด
  • หากิจกรรมที่ชื่นชอบทำ
  • พบปะเพื่อนฝูง เพื่อระบายความเครียดหรือรับพลังงานดีๆ จากคนรอบข้าง
  • ออกกำลังกายกระตุ้นฮอร์โมนเซโรเทนิน หรือ ฮอร์โมนแห่งความสุข
  • หากงานหนักจนไม่มีเวลาหลับนอน ก็ควรเปลี่ยนงานหรือปรึกษาหัวหน้างาน โดยไม่ควรรู้สึกผิดหากเราทำเต็มที่แล้ว
วิธีป้องกันโรค Karoshi Syndrome

การทำงานเยอะเกินไปไม่ได้ส่งผลดีต่อร่างกาย แถมยังทำให้ร่างกายอ่อนเพลียและเกิดความเครียดสะสม จนอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมาอีกด้วย ดังนั้น อย่าทำงานจนลืมดูแลสุขภาพตัวเอง เพราะร่างกายของเราไม่เหมือนอะไหล่รถยนต์ที่นึกจะเปลี่ยนก็เปลี่ยนได้เลย แต่นอกจากจะวางแผนการทำงานอย่างเหมาะสมเพื่อรักษาสุขภาพกายและใจแล้ว อย่าลืมทำประกันสุขภาพออนไลน์กับ Sunday ที่เป็นตัวช่วยบริหารความเสี่ยงด้านค่าใช้จ่ายที่มาจากการเจ็บป่วย ให้คุณได้สร้าง Work-Life Balance ได้อย่างลงตัวมากขึ้น โดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องทำงานหนักเพื่อเก็บเงินมารักษาสุขภาพเพียงอย่างเดียว

ประกันสุขภาพ Sunday