ทำงานจนตายใครว่าไม่มีจริง เพราะความเครียดสะสมจากการทำงานหนักได้เป็นสาเหตุที่ทำให้คนเสียชีวิตมาแล้ว แถมยังมีเคสที่เกิดในประเทศไทยอีกด้วย โดยโรคทำงานหนักที่อาจทำให้เสียชีวิตนี้มีชื่อเรียกว่า “Karoshi Syndrome” นั่นเอง
หลายๆ คนอาจสงสัยว่า การทำงานหนักจะสามารถทำให้คนเสียชีวิตได้อย่างไร ลองมาทำความรู้จักกับโรค Karoshi Syndrome ให้มากขึ้นในบทความนี้ พร้อมเช็กให้ชัวร์ว่า ตอนนี้คุณกำลังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้หรือไม่ หรือจะมีวิธีป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ ได้อย่างไรบ้าง
รู้จัก Karoshi Syndrome
Karoshi Syndrome หรือ คาโรชิซินโดรมเป็นโรคที่เกิดจากการทำงานอย่างหนักที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจากการทำงานหนัก ไปจนถึงการสร้าง Toxic Productivity ในที่ทำงาน ไม่เพียงแต่จะสนับสนุนการทำงานหนักตลอดเวลา จนทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า และไม่อยากคุยกับใครเท่านั้น แต่หากยังฝืนนั่งทำงานหนักต่อไปเรื่อยๆ ร่างกายอาจเกิดภาวะขาดสารอาหารจากการรับประทานอาหารไม่เหมาะสม ตลอดจนเกิดเครียดสะสมได้เช่นกัน
นอกจากจะส่งผลต่อร่างกายของเราแล้ว การทำงานหนักและ Toxic Produtivity ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อทำงานหนักจนเครียดมากๆ ก็จะรู้สึกกดดัน ทั้งยังพาลให้รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็คิดไม่ออก หาทางออกไม่เจอ จนทำให้ใครหลายคนตัดสินใจลาโลกไปในที่สุด
รู้ไว้ใช่ว่า! Toxic Productivity คือ สภาวะสะกดจิตให้ตัวเองทำแต่งาน! Toxic Productivity คือ ภาวะคลั่งไคล้การทำงานหนักหรือภาวะคลั่งไคล้ความ Productive หรือพูดง่ายๆ คือ เป็นส่วนหนึ่งของอาการเสพติดการทำงาน หมกมุ่นกับการทำงานตลอดเวลา ต่อให้ไม่ได้ทำงานก็จะคิดแต่เรื่องงาน หรือหากไม่ได้ทำงานก็จะรู้สึกผิด จนส่งผลต่อสภาวะจิตใจและร่างกายในที่สุด |
คุณกำลังเข้าข่ายเป็นโรคคาโรชิซินโดรมอยู่หรือเปล่า?
สำหรับผู้ที่มีโอกาสเป็นโรคคาโรชิซินโดรมนั้นส่วนใหญ่ก็จะมีภาวะ Toxic Productivity ด้วย เพราะโรคนี้หลักๆ แล้วเกิดจากการทำงานหนัก ลองมาเช็กดูกันว่า คุณกำลังมีอาการเหล่านี้อยู่หรือไม่
- ทำงานทั้งวันทั้งคืนติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
- รู้สึกผิดเวลาไม่ได้ทำงานและคิดถึงเรื่องงานตลอดเวลา
- มาเช้ากลับสาย ยิ่งทำงานเป็นเวลาหลายชั่วโมงยิ่งตอบสนองความพึงพอใจของตัวเอง
- ไม่ใช้วันลา ใช้เมื่อไรจะรู้สึกผิด
- เครียดจนนอนไม่หลับ บางรายถึงขั้นต้องพึ่งยานอนหลับ
- อาการออฟฟิศซินโดรมถามหา ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว
- หงุดหงิดง่าย เก็บตัว ไม่ค่อยออกไปสังสรรค์ และไม่ค่อยอยากสุงสิงกับใครหากไม่ใช่เรื่องงาน
โรคคาโรชิซินโดรมไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อจิตใจเท่านั้น แต่พฤติกรรมเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานแบบไม่พักผ่อน เครียดสะสม นั่งทำงานเป็นเวลานาน ยังทำให้เกิดโรคจากการทำงานต่างๆ ตามมาได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม โรคหัวใจ กระเพาะอาหาร เบาหวาน ความดันโลหิต มะเร็ง เส้นเลือดในสมองแตก
ป้องกันโรค Karoshi Syndrome ก่อนสาย!
การป้องกันโรคคาโรชิซินโดรมต้องเริ่มต้นจากการปรับทัศนคติตัวเองก่อน อย่าปล่อยให้ Toxic Productivity หรือภาวะการทำงานอย่างบ้าคลั่งเข้ามาครอบงำเรา
เริ่มจากต้องรู้จักการปล่อยวาง หรือ หากทำไม่ได้หรือไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี ควรเริ่มปรึกษานักจิตวิทยาเพื่อปรับพฤติกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเริ่มปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของตัวเองควบคู่กันไป ดังนี้
- นอนหลับให้เพียงพอ เพราะการนอนเป็นกุญแจสำคัญของการลดฮอร์โมนคอร์ติซอลหรือฮอร์โมนความเครียด
- หากิจกรรมที่ชื่นชอบทำ
- พบปะเพื่อนฝูง เพื่อระบายความเครียดหรือรับพลังงานดีๆ จากคนรอบข้าง
- ออกกำลังกายกระตุ้นฮอร์โมนเซโรเทนิน หรือ ฮอร์โมนแห่งความสุข
- หากงานหนักจนไม่มีเวลาหลับนอน ก็ควรเปลี่ยนงานหรือปรึกษาหัวหน้างาน โดยไม่ควรรู้สึกผิดหากเราทำเต็มที่แล้ว
การทำงานเยอะเกินไปไม่ได้ส่งผลดีต่อร่างกาย แถมยังทำให้ร่างกายอ่อนเพลียและเกิดความเครียดสะสม จนอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมาอีกด้วย ดังนั้น อย่าทำงานจนลืมดูแลสุขภาพตัวเอง เพราะร่างกายของเราไม่เหมือนอะไหล่รถยนต์ที่นึกจะเปลี่ยนก็เปลี่ยนได้เลย แต่นอกจากจะวางแผนการทำงานอย่างเหมาะสมเพื่อรักษาสุขภาพกายและใจแล้ว อย่าลืมทำประกันสุขภาพออนไลน์กับ Sunday ที่เป็นตัวช่วยบริหารความเสี่ยงด้านค่าใช้จ่ายที่มาจากการเจ็บป่วย ให้คุณได้สร้าง Work-Life Balance ได้อย่างลงตัวมากขึ้น โดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องทำงานหนักเพื่อเก็บเงินมารักษาสุขภาพเพียงอย่างเดียว