หน้าหลัก สาระสุขภาพ นอนเยอะแต่เหมือนนอนไม่พอ คุณอาจจะเป็นโรคนอนเกิน!

นอนเยอะแต่เหมือนนอนไม่พอ คุณอาจจะเป็นโรคนอนเกิน!

oversleeping-symptoms-feeling-tired-despite-sleeping-a-lot

นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ อาจเป็นโรคนอนเกินได้นะ!

มีใครเคยเป็นบ้าง นอนเต็ม 8 ชั่วโมงก็แล้ว 12 ชั่วโมงก็แล้ว ยังไม่วายที่จะรู้สึกง่วงระหว่างวัน ตื่นมาก็รู้สึกไม่สดชื่น เหมือนไม่ได้นอนมาตลอดทั้งคืน? จริง ๆ แล้วอาการเหนื่อยล้าระหว่างวันสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน แต่วันนี้ซันเดย์จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรคนอนเกิน (Hypersomnia) ที่หลาย ๆ คนไม่รู้ว่ามีอยู่และใกล้ตัวมาก ๆ ไปดูกันว่าโรคนอนเกินคืออะไร วิธีรักษาโรคนอนเกินมีอะไรบ้าง และอันตรายมากน้อยแค่ไหน

โรคนอนเกินคืออะไร?

โรคนอนเกินคือโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการง่วงนอนตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะนอนพักผ่อนมาครบชั่วโมงแล้วก็ตาม นอกจากอาการง่วงนอนแล้ว ก็ยังส่งผลทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า จนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ เช่น ต้องหาที่งีบระหว่างเวลาทำงาน ขับรถไกล ๆ ไม่ได้ ต้องจอดรถนอน เป็นต้น

สิ่งที่น่ากังวลเกี่ยวกับโรคนี้คือ สามารถสังเกตอาการเริ่มต้นได้ยาก เพราะรู้สึกเหมือนกับแค่นอนไม่พอ หรืออ่อนเพลียระหว่างวันเท่านั้น แต่ถ้าหากเป็นติดต่อกันนาน ๆ ถึงแม้ว่าจะนอนหลับอย่างเพียงพอแล้ว ก็ควรรีบเข้าไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอย่างละเอียดต่อไป เพราะอาจจะเกิดจากสาเหตุด้านสุขภาพที่เราไม่รู้ก็เป็นได้

วิธีสังเกตอาการโรคนอนเกิน

หากใครที่มีอาการนอนเยอะแต่เหมือนนอนไม่พออยู่ แล้วสงสัยว่าตัวเองอาจจะเป็นโรคนอนเกิน ซันเดย์อยากให้ลองตรวจสอบดูว่ามีอาการหรือปัจจัยอื่น ๆ เหล่านี้ร่วมด้วยหรือไม่

  • ตื่นนอนแล้วไม่สดชื่น ถึงจะนอนอย่างเต็มอิ่ม
  • รู้สึกอ่อนล้า อ่อนเพลียระหว่างวัน ซึ่งแตกต่างจากอาการง่วงนอนทั่ว ๆ ไป
  • ต้องงีบระหว่างวันบ่อยครั้ง
  • สมาธิสั้น โฟกัสกับงานไม่ได้ มีอาการหลงลืมร่วมด้วย
  • หงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่คงที่
  • นอนเยอะผิดปกติในวันหยุด

โรคนอนเกินเกิดจากอะไรได้บ้าง? 

โรคนอนเกินสามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุด้วยกัน โดยเกิดได้ทั้งจากปัญหาด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต และอาจจะมีปัจจัยมาจากกรรมพันธุ์ด้วยเช่นกัน

  • มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนเป็นระยะ ๆ ส่งผลให้นอนหลับไม่ต่อเนื่อง จึงรู้สึกเหนื่อยล้าเมื่อตื่น
  • เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท เช่น ภาวะง่วงเกิน (Narcolepsy) ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับการนอนหลับผิดปกติเรื้อรัง บางครั้งรู้สึกง่วงนอนฉับพลันระหว่างวัน เกิดจากการที่สมองควบคุมการนอนหลับได้ยาก
  • นาฬิกาชีวิตไม่คงที่ อาจจะเกิดจากการเดินทางไปยังประเทศที่มีช่วงเวลาต่างกัน หรือการทำงานเป็นกะที่ต้องอาศัยการปรับตัว ปกติจะสามารถกลับมาเป็นปกติได้เมื่อปรับตัวได้
  • มีภาวะซึมเศร้าหรือเป็นโรควิตกกังวล ซึ่งส่งผลทำให้ผู้ป่วยนอนหลับมากเกินไป หรือนอนได้น้อยกว่าปกติ เวลานอนก็จะนอนหลับไม่สนิท ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียระหว่างวันได้
  • มีโรคประจำตัวหรือภาวะที่ส่งผลโดยตรงกับร่างกาย เช่น โรคไทรอยด์ต่ำหรือโรคเบาหวาน ที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยล้าระหว่างวันได้ง่าย
  • เกิดจากโรคทางพันธุกรรม โดยเฉพาะหากมีสมาชิกในครอบครัวที่มีอาการของโรคนอนเกินเช่นกัน
  • ความเครียดสะสม ที่ทำให้สมองของเราทำงานอย่างหนัก ส่งผลให้เกิดการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ นอนหลับไม่ลึก

วิธีรักษาโรคนอนเกิน

โชคดีที่ในปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยวินิจฉัยโรคนอนเกินได้ดีมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ป่วยสามารถทราบสาเหตุที่ชัดเจนได้มากยิ่งขึ้น โดยวิธีรักษาก็จะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค รวมถึงการปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมกับการพักผ่อน ได้แก่

  • ทำการทดสอบ Sleep Study เพื่อดูว่าเรามีอาการหยุดหายใจขณะหลับหรือไม่ การตรวจสุขภาพเพื่อประเมินความเสี่ยง รวมถึงการตรวจเลือดต่าง ๆ โดยหลังจากการวินิจฉัยแล้ว ทางแพทย์จะมีวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลต่อไป
  • ปรับเวลานอนให้สม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายชินกับนาฬิกาชีวิต สามารถนอนหลับได้ดีและลึกมากยิ่งขึ้น
  • ไม่ดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในช่วงบ่าย เพื่อช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้นในช่วงกลางคืน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเครียด และทำให้รู้สึกมีพลังงานมากขึ้น
  • หาตัวช่วยช่วงก่อนนอน เช่น การใช้สเปรย์ฉีดหมอน การรับประทานอาหารเสริมที่ช่วยทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น หรือการอาบน้ำอุ่นก่อนนอน
  • หากโรคนอนเกินของเรามีสาเหตุมาจากภาวะซึมเศร้าหรืออาการทางจิตเวช จะต้องได้รับการรักษาด้วยยา หรือการพบแพทย์เพื่อช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนในสมอง ทำให้พักผ่อนได้ดีขึ้น
  • หาวิธีจัดการกับความเครียดอย่างสม่ำเสมอ 

ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการนอนก็สำคัญ

นอกจากการพบแพทย์และการดูแลตัวเองในด้านอื่น ๆ แล้ว การจัดห้องนอนให้มีความเหมาะสมกับการพักผ่อนเองก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยห้องนอนควรจะใช้แสงไฟที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เลือกใช้ผ้าม่านกันแสงแดดก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยทำให้ร่างกายพักผ่อนได้ดีถึงแม้ว่าจะต้องนอนช่วงกลางวันก็ตาม ในช่วงวันหยุด ควรเปิดหน้าต่างและประตูให้อากาศได้ถ่ายเทจากภายในห้อง พร้อมกับจัดห้องนอนให้เป็นระเบียบอยู่เสมอ เพียงเท่านี้ก็ช่วยทำให้การนอนของเรามีคุณภาพมากขึ้นได้แล้ว

ดูแลสุขภาพรอบด้าน เลือกซื้อประกันสุขภาพเอาไว้ด้วยนะ

เพราะอาการเจ็บป่วยสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การเลือกซื้อประกันสุขภาพดี ๆ ติดตัวไว้ จะช่วยลดความกังวลเกี่ยวกับการรักษาและค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี เลือกซื้อประกันออนไลน์กับซันเดย์

sleep

เคยไหม? ที่นอนไม่พอแล้วรู้สึกหมดแรง เหนื่อยล้าทั้งวัน ถ้ามีอาการแบบนี้ บทความนี้มีจะเป็นตัวช่วยให้คุณเอง ข้อเสียของการนอนน้อย นอนไม่พอ พร้อมวิธีปรับเวลานอนแบบมือโปร

ประกัน ipdopd 2000

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

รู้จักไวรัส RSV โรคทางเดินหายใจในเด็ก อันตรายถึงชีวิต

โรค RSV คืออะไร สังเกตอาการได้อย่างไรบ้าง? ในช่วงที่อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ อย่างช่วงปลายฝนต้นหนาว…
0
Share