หน้าหลัก สาระสุขภาพ คนทำงานในแต่ละวัย ควรตรวจสุขภาพประจำปีอะไรบ้าง?

คนทำงานในแต่ละวัย ควรตรวจสุขภาพประจำปีอะไรบ้าง?

ตอนยังเป็นวัยรุ่นจะอดนอนหามรุ่งหามค่ำก็ชิลๆ แต่พอย่างเข้าสู่วัยทำงานเริ่มสร้างเนื้อสร้างตัว ก็เริ่มรู้สึกว่าร่างกายไม่ค่อยจะฟิตเหมือนเดิม ซึ่งเป็นเรื่องปกติของสุขภาพ เมื่อร่างกายของเราเริ่มเสื่อมถอยลงไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น

“การตรวจสุขภาพประจำปี” จึงกลายเป็นเรื่องสำคัญที่คนทำงานต้องใส่ใจ หลายๆ บริษัทจัดแพ็กเกจตรวจสุขภาพให้กับพนักงานเป็นเรื่องปกติ แต่คำถามก็คือ นอกจากแพ็กเกจตรวจสุขภาพเบื้องต้นที่เราคุ้นเคยกันดีอย่างการตรวจเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจเอ็กซ์เรย์ ฯลฯ เราควรจะเลือกตรวจอะไรเพิ่มเติมนอกเหนือจากนี้อีกบ้าง? ถึงจะเหมาะกับวัยและความเสี่ยงของคนทำงานอย่างเรามากที่สุด


เราควรเริ่มต้นตรวจสุขภาพเมื่ออายุเท่าไหร่?

ส่วนใหญ่แล้วทางการแพทย์จะมีการสำรวจ และกำหนดช่วงอายุของการตรวจสุขภาพเอาไว้คร่าวๆ เนื่องจากรูปแบบการดูแลสุขภาพของทุกคนนั้นแตกต่างกันไป อาทิ โดยเฉลี่ยคนที่อายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป มักจะมีโอกาสที่ไขมันในเลือด และความดันโลหิตสูงขึ้น ฯลฯ แต่หากคนที่อายุประมาณ 30 แต่มีประวัติในครอบครัวป่วยเป็นโรคเบาหวาน และตนเองก็มีอาการอ่อนเพลียง่าย แพทย์มักจะแนะนำให้มาตรวจสุขภาพเพื่อหาความเสี่ยงโรคเบาหวานได้เลย

จากสถิติของกรมควบคุมโรค ย้อนหลังไปเมื่อปี 2562-2563 พบว่า โรคไม่ติดต่อ (NCDs) ที่คร่าชีวิตคนไทยในช่วงอายุตั้งแต่ 3-69 ปีไปมากที่สุด ได้แก่โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคเบาหวาน, ภาวะความดันโลหิตสูง และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง ดังนั้น นอกจากการเข้ารับการตรวจสุขภาพตามกำหนดในแต่ละช่วงอายุแล้ว หากรู้สึกว่าร่างกายมีอาการแปลกๆ ที่เรื้อรังไม่หายเสียที ก็ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีเพิ่มเติมเสมอ


วัยรุ่น – วัยเริ่มต้นทำงาน (อายุ 13-25 ปี)

ช่วงวัยเรียนจนถึงวัยทำงานตอนต้น ส่วนใหญ่ร่างกายของเรามักจะแข็งแรง ทำให้หลายคนละเลยการดูแลสุขภาพ และอาจะเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาด้านสุขภาพที่จะส่งผลระยะยาวตอนอายุมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคอเรสเตอรอล หรือความดันโลหิตสูง ดังนั้น คนที่อยู่ในช่วยวัยนี้ จึงควรเน้นไปที่การตรวจสุขภาพที่เห็นผลโดยรวม ดังนี้

  • ตรวจสุขภาพโดยรวม
  • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  • ตรวจระดับไขมันในเลือด
  • ตรวจระบบการทำงานของตับและไต
  • ตรวจปัสสาวะ และอุจจาระ
  • เอ็กซ์เรย์ปอด
  • อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง
  • ตรวจการทำงานของหัวใจ (EKG)

วัยทำงาน (อายุ 26-40 ปี)

ช่วงวัยทำงานแบบนี้ หลายคนอาจจะมุ่งมั่นทำงานหนักเพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิต รวมถึงเป็นวัยที่มักจะเกิดความเครียดได้ง่าย บางคนอาจมีการสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ซึ่งอาจส่งผลต่ออวัยวะต่างๆ ในระยะยาวได้ ดังนั้นผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทำงานควรเน้นไปที่การตรวจหาความเสี่ยงขั้นต้นของมะเร็งต่างๆ อาทิ

  • ตรวจสุขภาพตามรายการที่เคยตรวจในช่วงวัย 13-25 ปี
  • ตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งตับ
  • ตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งปอด
  • ตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานสำคัญอย่างไร?

การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและเป็นเรื่องจำเป็น เพราะโดยส่วนมากแล้วในหลายๆ บริษัท เมื่อผู้สมัครงานผ่านกระบวนการสัมภาษณ์งานเป็นที่เรียบร้อย ขั้นตอนถัดไปคือการให้พนักงานทำการตรวจสุขภาพ เพื่อเป็นเอกสารที่มีน้ำหนักในการตัดสินใจก่อนที่จะรับเข้าทำงาน นอกจากนี้ ผลการตรวจสุขภาพยังเป็นการรับรองว่าสุขภาพของพนักงานมีความปกติดี ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับองค์กรว่าพนักงานมีความพร้อมทางร่างกายก่อนที่จะเริ่มทำงาน และยังเป็นการรับประกันความปลอดภัยในการทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ ภายในบริษัทอีกด้วย

นอกจากนั้นการตรวจสุขภาพยังถือเป็นเรื่องที่ดีกับตัวผู้สมัครงาน เพราะบางครั้งภายนอกอาจดูเหมือนสุขภาพร่างกายปกติดิ แต่ภายในอาจกำลังป่วยเป็นโรคต่างๆ อยู่ก็ได้ เช่น โรคเอดส์, โรคหลอดเลือด, และโรคอื่น หากตรวจพบก็จะได้รักษาตั้งแต่เนินๆ

สำหรับรายการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานก็จะมีดังต่อไปนี้

รายการตรวจสุขภาพก่อนสมัครงาน/เริ่มงาน สำหรับเพศชาย

  • ตรวจการมองเห็น เกี่ยวกับสายตา สั้น/ยาว/ตาบอดสี (V/A)
  • ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (CBC)
  • เอกซเรย์ปอดและหัวใจ (CXR)
  • ตรวจร่างกายโดยแพทย์ (PE)
  • ตรวจปัสสาวะหาสารเสพติด (Amphetamine)
  • ตรวจความผิดปกติในปัสสาวะ (U/A)

รายการตรวจสุขภาพก่อนสมัครงาน/เริ่มงาน สำหรับเพศหญิง

  • ตรวจการมองเห็น เกี่ยวกับสายตา สั้น/ยาว/ตาบอดสี (V/A)
  • ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (CBC)
  • เอกซเรย์ปอดและหัวใจ (CXR)
  • ตรวจร่างกายโดยแพทย์ (PE)
  • ตรวจปัสสาวะหาสารเสพติด (Amphetamine)
  • ตรวจความผิดปกติในปัสสาวะ (U/A)
  • ตรวจการตั้งครรภ์  (Preg Test)

วัยกลางคน (อายุ 41-60 ปี)

ช่วงวัยกลางคน ถือเป็นช่วงอายุที่คนทั่วไปเริ่มมีความมั่นคงในชีวิตจากการทำงานมาระยะหนึ่ง และยังเป็นช่วงที่ร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพ รวมถึงมีอาการต่างๆ แสดงออกมาในช่วงอายุนี้อีกด้วย อาทิ ผู้หญิงเริ่มมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งเต้านม ส่วนผู้ชายนั้นก็มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ เบาหวาน ระบบทางเดินปัสสาวะ และโรคมะเร็งต่างๆ เช่นกัน นอกจากนั้นบางคนอาจเริ่มมีปัญหาด้านสายตา จึงต้องมีการตรวจภาวะสายตายาวเป็นประจำทุกๆ 2 ปี เพิ่มเติม

  • ตรวจสุขภาพตามรายการที่เคยตรวจในช่วงวัย 26-40 ปี
  • ตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งเต้านมสำหรับผู้หญิง
  • ตรวจความดันโลหิตสูง
  • ตรวจหาความเสี่ยงโรคหัวใจ
  • ตรวจเบาหวาน
  • ตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ตรวจสายตายาว

วัยสูงอายุ (อายุ 61 ปีขึ้นไป)

ช่วงวัยสูงอายุ คือช่วงเวลาที่หลายคนเกษียณอายุการทำงาน หากมีการเตรียมพร้อมที่ดีก็จะทำให้ความเครียดลดลง เพียงแต่คนวัยนี้มักจะมีความเสี่ยงในเรื่องความเสื่อมถอยของร่างกาย รวมถึงอวัยวะต่างๆ ก็จะมีความเสี่ยงในการทำงานผิดจากปกติมากขึ้น ดังนั้นคนวัยนี้จะต้องทำการตรวจสอบการทำงานของอวัยวะต่างๆ อย่างละเอียด และมีการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเป็นประจำ

  • ตรวจสุขภาพตามรายการที่เคยตรวจในช่วงวัย 41-60 ปี
  • ตรวจการทำงานของร่างกายในภาพรวมอย่างละเอียด
  • ตรวจเฉพาะทางอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ไต สมอง ช่องท้อง ความดันโลหิตสูง ความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคเกี่ยวกับไขข้อ โรคต้อกระจก ฯลฯ
  • ตรวจมวลกระดูก ที่อาจมีการเสื่อมสภาพ ผุกร่อนลงไปตามอายุ

ก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

สำหรับใครที่ยังสงสัยว่า ก่อนที่เราจะเดินทางไปตรวจสุขภาพต้องเตรียมตัวยังไง? มีอะไรควรทำหรือไม่ควรทำบ้าง? กรมควบคุมโรคได้ให้คำแนะนำเอาไว้ ดังนี้

  • พักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมง 
  • งดอาหารและน้ำ ประมาณ 8-10 ชั่วโมง (ดื่มน้ำเปล่าได้)
  • งดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24-48 ชั่วโมงก่อนตรวจ
  • สามารถทานยาโรคประจำตัวได้ แต่ก่อนเข้ารับการตรวจควรแจ้งเจ้าหน้าที่
  • ผู้หญิงหากสงสัยว่าจะตั้งครรภ์ ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนทุกครั้ง
  • เลือกใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบาย สะดวกในการเจาะเลือด
  • หากมีการตรวจปัสสาวะ ควรปัสสาวะช่วงต้นทิ้งเล็กน้อย แล้วค่อยเก็บปัสสาวะช่วงกลาง
  • ให้ข้อมูลประวัติการรักษาของตัวเองแก่แพทย์ผู้ตรวจอย่างตรงไปตรงมาไม่ปิดบัง

เตรียมประกันสุขภาพเอาไว้รับความเสี่ยง แถมยังได้ลดหย่อนภาษี

นอกจากการตรวจสุขภาพประจำปีไม่มีขาดแล้ว สิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงเมื่อตรวจพบอาการเจ็บป่วยได้ก็คือ “การซื้อประกันสุขภาพให้กับตัวเอง” Sunday ขอแนะนำ ประกันสุขภาพออนไลน์ ไม่ว่าคุณจะมองหาความคุ้มครองการรักษาโดยไม่ต้องนอน รพ. (OPD) ความคุ้มครองสำหรับการเข้าพักรักษาตัวใน รพ. (IPD) ความคุ้มครองโรคร้ายแรง (Critical illness)

โดยประกันสุขภาพจากซันเดย์ ยังมอบสิทธิพิเศษและฟีเจอร์ให้ชีวิตคุณง่ายขึ้นอีก ดังนี้

  • ให้ความคุ้มครองที่คุ้มค่า ในราคาจับต้องได้
  • เบี้ยประกันสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ พร้อมคุ้มครอง COVID-19
  • สามารถใช้บริการปรึกษาแพทย์ทางไกล พร้อมรับยาถึงบ้าน ใช้งานง่ายผ่านมือถือของคุณ
  • ยื่นเคลมด้วยตนเองได้ง่ายๆ ผ่านซูเปอร์แอปฯ Jolly by Sunday โหลดเลยที่ App Store และ Google Play Store
  • ได้รับสิทธิพิเศษมากมายจาก ซันเดย์ พริวิเลจ โปรแกรม

ไม่ว่าคุณจะเป็นคนทำงานวัยไหน ซันเดย์ก็อยากให้ทุกคนหมั่นดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดี สังเกตอาการป่วยของตัวเองและเข้ารับการปรึกษาแพทย์อย่างสม่ำเสมอ หมั่นตรวจสุขภาพประจำปีอย่างละเอียดทุกครั้ง ไม่ว่าจะพบอาการอะไรหากเป็นแค่ระยะเริ่มแรก เราก็จะเพิ่มโอกาสในการรักษาหายได้มากขึ้น หรือป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ในอนาคต การมีสุขภาพที่ดีจะช่วยให้เราสามารถใช้ชีวิตก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นใจและเต็มไปด้วยความสุขอยู่เสมอ



อ้างอิง [1], [2], [3], [4]

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

นอนเยอะแต่เหมือนนอนไม่พอ คุณอาจจะเป็นโรคนอนเกิน!

นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ อาจเป็นโรคนอนเกินได้นะ! มีใครเคยเป็นบ้าง นอนเต็ม 8 ชั่วโมงก็แล้ว 12 ชั่วโมงก็แล้ว…
oversleeping-symptoms-feeling-tired-despite-sleeping-a-lot

หนาวนี้ ดูแลตัวเองยังไงให้ห่างไกลจากโรคที่มากับหน้าหนาว

ระวังโรคช่วงหน้าหนาว พร้อมวิธีดูแลสุขภาพช่วงอากาศเปลี่ยน เผลอแปปเดียวก็จะสิ้นปีอีกแล้ว ช่วงใกล้หน้าหนาวแบบนี้…
winter-health-tips-prevent-cold-season-illnesses
0
Share