หน้าหลัก รู้ทันประกันสุขภาพ เข้าใจก่อนซื้อ! 6 ปัจจัยที่ส่งผลต่อเบี้ยประกันสุขภาพ

เข้าใจก่อนซื้อ! 6 ปัจจัยที่ส่งผลต่อเบี้ยประกันสุขภาพ

factors-affect-health-insurance-premium

สรุปครบ! ทำไมจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพไม่เท่ากัน

ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางประชากร รวมถึงความเสี่ยงจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การทำประกันสุขภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม 

อย่างไรก็ดี เมื่อกำลังจะตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพให้ตัวเองหรือคนที่รัก ไม่ว่าจะเป็นการทำประกันสุขภาพออนไลน์ หรือ ผ่านช่องทางอื่น นอกจากจะต้องเช็กว่าการประกันสุขภาพมีกี่แบบแล้ว เชื่อว่าหลายๆ คนคงสงสัยเหมือนกันว่า ทำไมประกันสุขภาพของแต่ละบุคคลถึงมีค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่ไม่เท่ากัน 

หากคุณเป็นอีกคนที่สงสัยแบบเดียวกันอยู่ ลองมาดูสรุปทุกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อค่าเบี้ยประกันสุขภาพในบทความนี้กัน

1. อายุ

อายุที่เปลี่ยนแปลงไป มาพร้อมกับความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้จะดูแลสุขภาพเป็นอย่างดี แต่ด้วยความเสื่อมของร่างกายก็ย่อมมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะโรคเรื้อรังอย่างเบาหวาน ความดัน ไขมัน ไปจนถึงโรคหัวใจ ที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นมากขึ้นในผู้สูงอายุ

นอกจากความเสี่ยงด้านการเจ็บป่วยแล้ว ด้วยสภาพร่างกายที่ถดถอยจากอายุที่เพิ่มขึ้น ก็ย่อมมีความเสี่ยงที่จะฟื้นตัวได้ช้า มีความจำเป็นต้องใช้การรักษาเฉพาะทาง หรือ การรักษาพยาบาลบางโรคจำเป็นต้องใช้ยา เครื่องมือ รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางช่วยดูแลอย่างใกล้ชิด ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น

จากความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้นจากอายุที่มากขึ้น ส่งผลให้ค่าเบี้ยประกันสุขภาพจึงสูงขึ้น แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกันภัยแต่ละแห่งด้วยเช่นกัน

2. เพศกำเนิด

แม้สถิติจากองค์การอนามัยโลก (WHO) จะชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่มีเพศกำเนิดเป็นหญิงมักมีอายุที่ยืน และมีอัตราการเสียชีวิตที่น้อยกว่าผู้ที่มีเพศกำเนิดเป็นชาย ประกอบกับข้อมูลจากทางสสส. ปีพ.ศ. 2559 ที่พบว่าผู้ที่มีเพศกำเนิดหญิงอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 77 ปี ในขณะที่เพศกำเนิดชายมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 71 ปี แต่เบี้ยประกันสุขภาพของผู้ที่มีเพศกำเนิดหญิงกลับสูงกว่า

โดยเหตุผลที่ทำให้ผู้ที่มีเพศกำเนิดหญิงมีเบี้ยประกันสุขภาพสูงกว่า เป็นเพราะอัตราการฟื้นตัวที่แตกต่างกัน ตลอดจนผู้ที่มีเพศกำเนิดหญิงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคและเจ็บป่วยที่สูงกว่าด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของบริษัทประกันภัยแต่ละแห่งด้วย

3. อาชีพการงาน

อาชีพเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อเบี้ยประกันสุขภาพ เนื่องจากแต่ละอาชีพมีระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกัน เช่น ผู้ที่ทำงานในโรงงาน ไซต์ก่อสร้าง แพทย์ นักบิน หรือ อาชีพที่มีความเสี่ยงสูง มักจะมีโอกาสได้รับบาดเจ็บ หรือ เจ็บป่วยจากสาเหตุต่างๆ มากกว่าพนักงานออฟฟิศที่นั่งทำงานอยู่ในสำนักงาน

นอกจากนี้ อาชีพที่แตกต่างกันยังส่งผลต่อรูปแบบการใช้ชีวิต พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ซึ่งส่งผลต่อความเสี่ยงในการเจ็บป่วยที่แตกต่างกัน จึงส่งผลให้เบี้ยประกันสุขภาพของแต่ละคนแตกต่างกันออกไปด้วย 

4. สุขภาพ

สุขภาพของผู้เอาประกันถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อเบี้ยประกันสุขภาพ โดยหากผู้เอาประกันมีความเสี่ยงด้านสุขภาพ เช่น เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือ มีปัญหาสุขภาพในอดีตที่ผ่านมา อาจทำให้ต้องจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพที่สูงขึ้นตามความเสี่ยงด้านสุขภาพที่มี

จริงอยู่ที่บริษัทประกันภัยหลายๆ แห่งมีนโยบายให้ผู้เอาประกันสามารถทำประกันสุขภาพได้โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพ แต่ผู้เอาประกันเองก็จะต้องตอบคำถามสุขภาพตามความเป็นจริง และต้องสามารถแสดงประวัติสุขภาพที่ผ่านมาได้เมื่อมีการร้องขอ ซึ่งหากพบว่ามีการแถลงประวัติสุขภาพเท็จเกิดขึ้น บริษัทประกันมีสิทธิ์ที่จะยกเลิกความคุ้มครองของประกันสุขภาพได้เช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ หากต้องการรับความคุ้มครองที่เหมาะสมกับสุขภาพ อย่าลืมสอบถามไปยังบริษัทประกันภัยที่สนใจ เพื่อรับทราบเงื่อนไขความคุ้มครอง พร้อมรับทราบเบี้ยประกันสุขภาพที่เหมาะสมต่อไป

5. พฤติกรรมการใช้ชีวิต

หากผู้เอาประกันมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วย เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือ มีงานอดิเรกที่เสี่ยงจะบาดเจ็บง่าย อาจทำให้ต้องจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพที่สูงกว่า ซึ่งเงื่อนไขการตรวจสอบพฤติกรรมของผู้เอาประกันจะเป็นไปตามเงื่อนไขของบริษัทประกันภัยแต่ละแห่ง ดังนั้น จึงควรสอบถามไปยังบริษัทประกันภัยที่สนใจก่อนตัดสินใจทำประกันสุขภาพด้วย

แต่เพื่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ นอกจากจะรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพแล้ว อย่าลืมหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรงอย่างรอบด้าน พร้อมหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจนำไปสู่การเจ็บป่วยด้วย

6. ความคุ้มครองที่ต้องการ

ประเภทและความคุ้มครองที่แตกต่างกันของประกันสุขภาพ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกับเบี้ยประกันสุขภาพโดยตรง โดยประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองสูงมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เบี้ยประกันสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ ก่อนทำประกันสุขภาพออนไลน์ หรือ ผ่านช่องทางไหนก็ตาม อย่าลืมพิจารณาเลือกความคุ้มครองที่เหมาะสม ทั้งในแง่ของผลประโยชน์สูงสุดที่ต้องการ ความคุ้มครองการรักษาผู้ป่วยในและผู้ป่วย ค่ารักษาพยาบาลในแต่ละหมวด ไปจนถึงความคุ้มครองอื่นๆ ตามที่ต้องการ 

เท่านี้ก็หมดข้อสงสัยเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่า ทำไมซื้อประกันสุขภาพเหมือนกันถึงจ่ายเบี้ยประกันไม่เท่ากัน โดยหากคุณไม่มั่นใจว่าจะซื้อประกันสุขภาพกรมธรรม์ไหนให้ตอบโจทย์กับความต้องการ ลองมาเช็กเบี้ยประกันสุขภาพที่เหมาะกับคุณได้ง่ายๆ ที่เว็บไซต์ของซันเดย์วันนี้ ใช้แค่วันเดือนปีเกิดก็เช็กได้ทันทีว่ามีกรมธรรม์ไหนเหมาะกับเราบ้าง

เปรียบเทียบแผนประกันสุขภาพ

เปิดแผนประกันออนไลน์ เลือกประกันสุขภาพซันเดย์ แผนไหนดี?

ประกัน opd ราคา

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

คนไทยป่วย OPD โรคอะไรมากที่สุด รักษาอะไรบ้างที่ผ่านมา?

การรักษาแบบ OPD คืออะไร คนไทยป่วยด้วย OPD ด้วยโรคอะไรมากที่สุด? การรักษาแบบ OPD หรือ Out-Patient Department คือ…
5 โรคแบบ OPD

ครบที่เดียว! สรุปสาเหตุ + อาการของวัยทองในผู้หญิงและผู้ชาย

สูงวัยเช็กด่วน! รวมสาเหตุและอาการของวัยทองในผู้หญิงและผู้ชาย เมื่อเวลาเปลี่ยนไป…
menopause-in-men-and-women

ประกันอุบัติเหตุจำเป็นแค่ไหน ผู้หญิงเสี่ยงกว่าจริงไหม?

ผู้หญิงเสี่ยงอุบัติเหตุมากกว่าจริงหรือไม่ ทำไมต้องทำประกันอุบัติเหตุผู้หญิงโดยเฉพาะ? “อุบัติเหตุ”…
does-woman-face-more-accidents-than-men

โรคที่รักษาแบบผู้ป่วยนอก คุ้มครองด้วยประกันสุขภาพ OPD

การรักษาแบบ OPD คืออะไร ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกคุ้มครองโรคไหนบ้าง? จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า…
opd-diseases-and-opd-health-insurance
0
Share